รัสเซียเป็นประเทศที่มีการควบคุมสื่อค่อนข้างเข้มข้น ถูกจัดให้อยู่ในพื้นที่สีแดง คือค่อนข้างไม่มีเสรีภาพสื่อ ล่าสุดรัฐบาลรัสเซียออกมาประกาศว่าทางรัฐบาลทำเว็บไซต์ตรวจสอบข่าวปลอมของตัวเอง ที่จะแปะตรายางใหญ่หน้าข่าวนั้นว่าเป็นข่าวปลอม
เว็บไซต์ จะติดตามเฉพาะข่าวจากสำนักข่าวสหรัฐฯ เท่านั้น เช่น New York Times, Bloomberg, the Telegraph, NBC News และ the Santa Monica Observer นอกจากเว็บตรวจข่าวปลอมแล้ว รัฐบาลยังมีเว็บไซต์เชิงข่าวของตัวเองอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในเว็บไซต์ไม่มีอธิบายว่าเพราะเหตุใดข่าวนี้จึงเชื่อไม่ได้ แปะแค่ตรายางเท่านั้น ตัวอย่างข่าวที่ทางเว็บระบุว่าปลอมคือข่าวของ Bloomberg ที่พาดหัวว่ารัสเซียเกี่ยวข้องการแฮกข้อมูลของนักการเมืองฝรั่งเศส และเนื้อหาในข่าวระบุว่าโฆษกในรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว การที่รัฐบาลแปะตรายางว่าข่าวนี้ปลอมทำให้สับสนว่าปฏิเสธอะไรระหว่างมีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องแฮกข้อมูล หรือปฏิเสธว่าสิ่งที่โฆษกรัสเซียพูดว่าไม่จริง
เจ้าหน้าที่ระดับสูง 2 คนที่ดูแลฝ่ายความปลอดภัยของข้อมูลในหน่วยข่าวกรองของรัสเซีย และผู้จัดการของ Kaspersky Lab อีกหนึ่งคน ถูกอัยการยื่นฟ้องในข้อหากบฎ ด้วยสงสัยเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 คนว่าเป็นสายและมีการติดต่อกับรัฐบาลสหรัฐ
โฆษกรัฐบาลรัสเซียชี้แจงว่า การฟ้องร้องครั้งนี้ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข่าวการเจาะระบบเลือกตั้งสหรัฐก่อนหน้านี้ โดยคดีนี้เริ่มมีการสืบสวนกันมาตั้งแต่ปี 2012 ขณะที่รายละเอียดในคดีนี้ไม่มีการเปิดเผยออกมามากนัก และหากทั้ง 3 คนถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง อาจต้องติดคุกสูงสุดถึง 20 ปี
ที่มา - South China Morning Post
Sherlock ละครยอดนิยมของ BBC มีกำหนดฉายตอนจบของซีซั่นล่าสุดเวลาสามทุ่มวันจันทร์ตามเวลา GMT (ตีสี่วันอังคารของไทย) แต่เมื่อวานนี้ไฟล์เต็มของตอนล่าสุดพร้อมเสียงพากษ์ภาษารัสเซียกลับหลุดออกสู่อินเทอร์เน็ต โดย Channel One ผู้ได้สิทธิ์ฉายในรัสเซียระบุว่าถูกแฮกเกอร์ขโมยไฟล์ออกไป
ตอนนี้ทาง Channel One อยู่ระหว่างการสอบสวน จึงยังไม่มีรายละเอียดใดๆ เพิ่มเติมนอกจากระบุว่าไฟล์หลุดเพราะถูกแฮก แต่ทางช่องสัญญาว่าจะชี้แจงเพิ่มเติมเมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว
ปัญหาใหญ่ของชาวรัสเซียในตอนนี้คือมีคนจำนวนมากได้ชมรายการก่อนเวลาฉายจริง และมีคนคุยเรื่องราวตอนจบจำนวนมาก เว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง VK.com จะแปะป้ายเตือนทุกโพสที่พูดถึงละครเรื่องนี้ว่าอาจจะมีสปอยด์อยู่ในโพส
สืบเนื่องจากกรณีที่รัฐบาลรัสเซียโจมตีทางไซเบอร์ เพื่อขโมยข้อมูลในช่วงการเลือกตั้ง ซึ่งนอกจากประเด็นการตอบโต้ทางการเมืองดังกล่าวแล้ว กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ ได้กำหนดให้โครงสร้างพื้นฐานของการเลือกตั้ง เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ critical
เว็บไซต์ The Verge รายงานว่า ทางแอปเปิลและกูเกิลต่างตกลงที่จะนำแอพ LinkedIn โซเชียลมีเดียด้านการหางาน ออกจากหน้า App Store และ Play Store ในประเทศรัสเซีย หลังจากที่ตัวเว็บไซต์ได้ถูกบล็อกไปก่อนแล้ว
LinkedIn ถูกบล็อกในรัสเซียเนื่องจาก ได้ทำผิดกฎหมายของรัสเซียว่าด้วยการห้ามทำการเก็บข้อมูลของชาวรัสเซียไว้นอกประเทศ
ที่มา - The Verge
ต่อจากข่าว โอบามาสั่งหน่วยข่าวกรองสหรัฐ สอบสวนการโจมตีไซเบอร์ช่วงการเลือกตั้งปี 2016 วันนี้ ทำเนียบขาวออกมาแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ยืนยันการโจมตีไซเบอร์จากรัฐบาลรัสเซียแล้ว
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ระบุว่าการโจมตีไซเบอร์เพื่อขโมยข้อมูลในช่วงเลือกตั้ง ถูกขับเคลื่อนโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของรัฐบาลรัสเซีย อีกทั้งเจ้าหน้าที่ด้านการทูตของสหรัฐในกรุงมอสโก ก็ถูกกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและตำรวจรัสเซียมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
หลังเกิดเหตุการณ์ช็อคโลก จากการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจของตุรกีแฝงตัวเข้าไปในงานเปิดตัวแกลลอรีศิลปะในกรุงอังการา เพื่อลอบสังหารนาย Andrei Karlov เอกอัคราชทูตรัสเซียประจำตุรกี ก่อนะจะถูกวิสามัญจนเสียชีวิต เจ้าหน้าที่ของตุรกี พร้อมด้วยความช่วยเหลือจากรัสเซียได้พบ iPhone 4s ของคนร้าย ซึ่งเจ้าหน้าที่คาดว่าน่าจะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี แต่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในได้ เนื่องจากติดรหัส 4 หลักตอนปลดล็อคหน้าจอ
ทำเนียบขาวแถลงข่าวว่าประธานาธิบดีบารัค โอบามา สั่งการให้หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐ ตรวจสอบการโจมตีทางไซเบอร์ต่อสหรัฐในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 หลังมีรายงานการโจมตีจากประเทศรัสเซีย
Lisa Monaco ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของโอบามา ให้ข้อมูลกับสื่อว่าโอบามาเป็นคนสั่งการเรื่องนี้ด้วยตัวเอง โดยให้หน่วยงานด้านข่าวกรองตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเลือกตั้งปี 2016 อย่างละเอียด ตรวจสอบเทียบกับการเลือกตั้งรอบก่อนๆ และขอให้เร่งทำเรื่องนี้ให้เสร็จ ก่อนเขาหมดวาระเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2017
ธนาคารกลางรัสเซียได้แถลงเมื่อวันศุกร์ว่า มีแฮกเกอร์ได้ทำการบุกรุกเข้าไปยังระบบ และสามารถขโมยเงินได้กว่า 2 พันล้านรูเบิล หรือคิดเป็นเงินประมาณ 31 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นการแฮกองค์กรการเงินครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในปีนี้
Artyom Sychyov เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางได้ให้ความเห็นในรายงานของธนาคารที่ออกมาว่า แฮกเกอร์นั้นใช้วิธีเข้าไปยังบัญชีโดยใช้การปลอม credential ของผู้ใช้ โดยในรายงานของธนาคารกลางไม่ได้ให้รายละเอียดของการบุกรุกมากกว่านี้
สถานีโทรทัศน์ในรัสเซียพร้อมกันรายงานข่าวว่า LinkedIn โซเชียลมีเดียด้านการหางานถูกศาลรัสเซียสั่งบล็อค หลังละเมิดกฎหมายไซเบอร์ฉบับใหม่ ที่บังคับให้ผู้ให้บริการเก็บล็อกข้อมูลไว้ในรัสเซีย 6 เดือน
ถึงแม้ศาลจะอ้างว่าละเมิดกฎหมาย แต่หลายฝ่ายก็คาดว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลรัสเซีย ที่จะปิดกั้นการเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ เนื่องจากถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปลุกปั่นและนัดประท้วงต่อต้านรัฐบาล ซึ่ง LinkedIn เป็นสื่อโซเชียลมีเดียแรกที่โดน ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ของรัฐก็อ้างด้วยว่า LinkedIn เคยมีประวัติเสียเรื่องการเก็บล็อกข้อมูลเก่าและข้อมูลผู้ใช้รั่วไหลด้วย
Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย ส่งข้อความแสดงความยินดีต่อ Donald Trump ที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ด้วย "โทรเลข"
ตามข่าวบอกว่า Putin นิยมใช้โทรเลขส่งข้อความถึงผู้นำประเทศต่างๆ เป็นปกติอยู่แล้ว
ส่วนข้อความที่ส่ง ระบุว่าเขาหวังว่าจะร่วมกันปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและสหรัฐ และหวังว่ามอสโกกับวอชิงตันจะหาวิธีพูดคุยที่เคารพซึ่งกันและกัน และสุดท้ายขอให้ Trump ประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำประเทศ
Rocket Internet บริษัทปั้นสตาร์ทอัพผู้อยู่เบื้องหลังสตาร์ทอัพส่งอาหารสด Foodpanda ประกาศว่าได้ขายกิจการส่งอาหารสาขารัสเซีย หรือ Russian Delivery Club ให้กับ Mail.Ru Group (บริษัทอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่อันดับต้นๆ ในรัสเซีย) ในราคา 100 ล้านดอลลาร์ ด้าน Foodpanda ระบุว่า การขายนี้ช่วยให้เราโฟกัสที่ภูมิภาคที่เราตั้งอยู่มากขึ้น
ถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ สำหรับการมีอยู่ของ Foodpanda ในรัสเซีย โดย Foodpanda เข้ามาในรัสเซียปี 2012 ขยายใหญ่ขึ้นในปี 2014 และ 2016 ก็ขายไป
ในเมื่อสี่เท้ายังรู้พลาด คอมพิวเตอร์ก็อาจจะรู้พลั้งได้เหมือนกัน ดังเช่นเหตุการณ์ในประเทศรัสเซีย ที่หน่วยงานตำรวจจราจรได้ออกใบสั่งปรับเงินชายชาวรัสเซียคนหนึ่ง พร้อมแนบภาพถ่ายหลักฐานการกระทำผิดไปด้วย ซึ่งภาพก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นเพราะเขาขับรถแล้วเงาพาดทับเส้นทึบกลางถนน
อ่านไม่ผิดหรอก ภาพประกอบใบสั่งที่ชายคนดังกล่าวได้รับ แสดงภาพรถที่เขาขับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมาบนถนนวงแหวนของ Moscow จากในภาพตัวรถก็วิ่งอยู่ในช่องทางเดินรถตามปกติมิได้ล้ำออกนอกเส้นทึบแต่อย่างใด ทว่าเงาของตัวรถในขณะนั้นซึ่งเกิดจากแสงแดดได้ทอดผ่านทับข้ามเส้นทึบล้ำไปยังช่องทางเดินรถข้างๆ ที่อยู่ติดกัน
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ประธานาธิบดีรัสเซียประกาศสั่ง FSB ให้สร้างโค้ดที่จะถอดรหัสข้อมูลได้ทั้งหมด ตอนนี้ทางฝั่ง FSB ก็ออกมาระบุว่าแนวทางการถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งของประธานาธิบดีแล้ว
FSB ประกาศคำสั่งหมายเลข 432 ประกาศระเบียบการการส่งมอบข้อมูลให้กับ FSB แม้จะมีการเข้ารหัสไว้ก็ตาม โดยผู้ให้บริการต้องสามารถถอดรหัสข้อความที่ รับ, ส่ง, ส่งต่อ, หรือประมวลผล ให้กับทาง FSB ได้เมื่อถูกร้องขอ โดยก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีรัสเซียสั่งให้ FSB สร้างโค้ดเพื่อให้ผู้ให้บริการนำไปใช้ กระบวนการนี้จึงเป็นไปได้ว่าจะมีการสั่งให้ผู้ให้บริการต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ดักฟังไว้ในเครื่องของตัวเอง อย่างไรก็ตามตัวประกาศไม่ได้ลงรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติตามเอาไว้
ภายในประเทศรัสเซียเริ่มมีกระแสต่อต้านเกม Pokemon Go แล้ว การเล่นในสถานที่ต้องห้ามอย่างตามชายแดน หรือภายในโบสถ์อาจส่งผลให้ติดคุกถึง 2-3 ปี ได้ ทาง Moscow City Hall พยายามดับกระแสของ Pokemon Go ด้วยการสร้างแอพเลียนแบบขึ้นมา แต่แทนที่จะจับ Pokemon เราจะไปจับบุคคลที่สำคัญตามประวัติศาสตร์ของรัสเซียแทน
บุคคลจำนวนมากภายในรัสเซียต่างเริ่มกังวลว่า Pokemon Go อาจเป็นแผนการทางจิตวิทยาของทางฝั่งตะวันตก ในการแทรกซึมความคิดของผู้เยาว์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการปฏิวัติภายในประเทศขึ้นได้
สืบเนื่องจากกฎหมายไซเบอร์ฉบับใหม่ของรัสเซียที่นอกจากจะบังคับให้ผู้ให้บริการข้อมูล มอบกุญแจถอดรหัสให้กับรัฐบาลแล้ว ยังต้องเก็บล็อกอินเทอร์เน็ตไว้อย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปีเอาไว้ด้วย เป็นเหตุให้เซิร์ฟเวอร์ของ Private Internet Access ผู้ให้บริการ VPN รายหนึ่งถูกรัฐบาลยึด เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ทาง Private Internet Access ส่งจดหมายหาสมาชิกยืนยันว่าความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของลูกค้า คือเป้าหมายอันดับแรก ทำให้บริษัทไม่ได้เก็บล็อกทราฟฟิคหรือดาต้าใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งคาดว่าเป็นต้นเหตุของการยึดเซิร์ฟเวอร์ โดยบริษัทระบุด้วยว่าได้ตัดสินใจระงับเกตเวย์ไปยังรัสเซีย และไม่ทำธุรกิจในประเทศนี้ต่อไป
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียสั่ง Federal Security Service (FSB) ให้สร้างโค้ดที่จะถอดรหัสข้อความได้ทั้งหมดภายในสองสัปดาห์ข้างหน้า หลังจากรัสเซียเพิ่งผ่านกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายออกมา
กฎหมายใหม่ของรัสเซียบังคับให้ผู้ให้บริการข้อมูล เช่น เว็บไซต์ต่างๆ หรือบริการส่งข้อความ SMS ต้องสำเนาข้อมูลเก็บเอาไว้ทั้งหมดอย่างน้อยหกเดือน และเก็บรักษาข้อมูล metadata เอาไว้อีกสามปี หากข้อมูลมีการเข้ารหัส ต้องส่งข้อมูลที่จำเป็นต่อการถอดรหัสให้กับรัฐบาล
นอกจากการเก็บและส่งข้อมูลให้รัฐบาลแล้ว กฎหมายยังเปิดช่องให้ FSB สามารถสร้างโค้ดสำหรับการเข้ารหัสแบบพิเศษ ให้ผู้ให้บริการนำไปใช้ เพื่อที่ FSB จะสามารถถอดรหัสได้เมื่อต้องการ
อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการปลดแอกของหุ่นยนต์จากมนุษย์ก็เป็นได้ (ผมก็ว่าไปนั่น) หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หุ่นยนต์ของบริษัท Promobot หลบหนีออกจากห้องแล็บวิจัยในเมือง Perm ประเทศรัสเซีย จนสร้างความวุ่นวายบนท้องถนนในบริเวณนั้น
วิศวกรของ Promobot ระบุว่าลืมปิดประตูห้องแล็บ ก่อนที่หุ่นยนต์จะออกมาวิ่งอยู่บนท้องถนน จนทำให้การจราจรในบริเวณนั้นชะงักไปชั่วคราว โดยทางทีมวิศวกรระบุว่าหุ่นยนต์ตัวนี้วิ่งไปราว 50 เมตรก่อนที่แบตเตอรี่ของหุ่นยนต์จะหมดลงกลางถนน
ทั้งนี้หุ่นยนต์ตัวนี้ถูกสร้างขึ้นสำหรับโปรโมทผลิตภัณฑ์ในงานอีเวนท์ต่าง โดยถูกออกแบบมาให้เคลื่อนที่และมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยตัวเอง
รัฐบาลรัสเซียได้ประกาศอย่างเป็นทางการที่จะเพิ่ม eSport ลงทะเบียนร่วมเป็นหนึ่งในการกีฬาแห่งชาติ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย. 59 นี้
นับเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่สำหรับวงการ eSport ของโลก และนับว่าเป็นการมีตัวตันจริงครั้งแรกของ eSport เลยนับตั้งแต่ปี 2001 แต่กลับถูกยกเลิกไปในปี 2006 เพราะล้มเหลวและตอบสนองความต้องการไม่เพียงพอต่อชนกลุ่มใหญ่นั่นเอง
LeakedSource รายงานว่ามีแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า "Tessa88@exploit.im" ส่งฐานข้อมูลผู้ใช้ของเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ VK.com มาให้ถึงกว่าร้อยล้านบัญชี รหัสผ่านทั้งหมดไม่มีการเข้ารหัสใดๆ ทำให้สามารถสรุปสถิติรหัสผ่านยอดนิยมออกมาได้ เช่น "123456", "123456789", หรือ "qwerty"
ผู้ใช้ของ VK.com ส่วนมากเป็นชาวรัสเซีย อีเมลที่ใช้สมัครส่วนมากก็เป็นอีเมลในโดเมน .ru เช่นกัน
ยังไม่แน่ชัดว่ารหัสผ่านที่หลุดออกมานี้เป็นข้อมูลตอนไหน Swati Khandelwal จาก The Hacker News คาดว่าจะเป็นข้อมูลปี 2012-2013 ที่ VK.com ยังมีผู้ใช้ไม่ถึงสองร้อยล้านคน
เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา ชายชาวรัสเซียคนหนึ่งชื่อ Andrei Bubeyev ถูกตัดสินจำคุก 2 ปี 3 เดือน ข้อหาแชร์รูปภาพที่มีลักษณะแชร์รูปภาพที่ถูกตีความว่าต่อต้านรัฐบาลลงใน VKontakte โซเชียลที่ได้รับความนิยมในรัสเซีย มีบัญชีผู้ใช้ถึง 270 ล้านบัญชี
รูปภาพเจ้าปัญหาที่ทำให้ Andrei Bubeyev ติดคุกเป็นรูปยาสีฟัน ที่น้ำยาเป็นสีธงชาติรัสเซีย มีข้อความใต้ภาพว่า "Squeeze Russia out of yourself!" หรือ รีดความเป็นรัสเซียออกจากตัวคุณ
ต่อจากข่าว พบข้อมูลหลุดชุดใหญ่ 272 ล้านบัญชีจากแฮ็กเกอร์รัสเซีย บัญชีจำนวนมากเป็นของบริษัทอินเทอร์เน็ตรัสเซีย Mail.ru ซึ่งทาง Mail.ru ตรวจสอบข้อมูลที่ได้แล้ว พบว่า 99.8% ของบัญชีเป็นของปลอม โดยในจำนวนนี้ 23% เป็นบัญชีที่ไม่มีอยู่จริง, 65% เป็นบัญชีจริงแต่รหัสผ่านผิด, 12% เป็นบัญชีที่ถูกแบนไปแล้ว
ฝั่งของ Gmail ก็ออกมาให้ข้อมูลคล้ายๆ กันว่า 98% ของบัญชี Gmail ในข้อมูลหลุดชุดนี้ไม่สามารถใช้งานได้จริง ส่วน Yahoo Mail และ Microsoft Hotmail ยังไม่ออกมาแถลงเรื่องนี้
บัญชีก้อนนี้ไม่ได้มาจากการแฮ็กผู้ให้บริการอีเมลโดยตรง แต่เกิดจากการรวบรวมบัญชีอีเมลหลุดจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ แล้วนำมายำรวมกันเป็นรายชื่อขนาดใหญ่แทน
เมื่อสัปดาห์ก่อนรัสเซียเพิ่งได้ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาอินเทอร์เน็ตคนใหม่อย่าง Herman Klimenko ที่รับตำแหน่งได้ไม่นานก็ออกมาแสดงความเห็นว่าบรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์ทั้งหลายควรจะหยุดการเรียกร้องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ไปก่อน อย่างน้อยก็จนกว่าเศรษฐกิจท้องถิ่นจะดีขึ้น ล่าสุดมีคนไปขุดค้นจนได้หลักฐานที่ว่าเหตุที่ Klimenko ออกมาให้ความเห็นแบบนั้นอาจมีอะไรแฝงอยู่ก็เป็นได้
ประเด็นการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลทั่วโลกเป็นประเด็นที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายพยายามลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วยการหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนเช่นพลังงาแสงอาทิตย์, พลังงานลม, หรือพลังงานความร้อนใต้พิภพ แต่บริษัท Rosenergoatom ที่เป็นรัฐวิสาหกิจพลังงานของรัสเซียกำลังสร้างศูนย์ข้อมูลที่อาศัยพลังงานหลักจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แทน
ศูนย์ข้อมูลใหม่นี้จะตั้งอยู่ติดกับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ Udomlya ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าถึง 4,000 เมกะวัตต์ ตัวศูนย์ข้อมูลมีพื้นที่ถึง 10,000 ตู้ rack คาดว่าจะกินพลังงาน 80 เมกะวัตต์ เฉพาะมูลค่าการก่อสร้าง 975 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะเปิดบริการส่วนแรกได้ในเดือนมีนาคม 2017 และส่วนที่สองในปี 2018
The New York Times รายงานข้อมูลว่าวงการทหารและข่าวกรองของสหรัฐ มีประเด็นกังวลว่ารัสเซียอาจส่งเรือดำน้ำไปตัดสายเคเบิลในมหาสมุทร ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตในสหรัฐไม่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศอื่นได้
แหล่งข่าวของ The New York Times ระบุว่าพบกิจกรรมของเรือดำน้ำรัสเซียเพิ่มขึ้นในจุดที่มีสายเคเบิลอยู่ ความถี่ของเรือดำน้ำถือว่าใกล้เคียงกับสมัยสงครามเย็น สิ่งที่หน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐกลัวคือสายเคเบิลจะถูกตัดในจุดที่น้ำลึกมาก ซึ่งซ่อมแซมได้ยากกว่าจุดที่น้ำตื้น
ปัญหาเรื่องเคเบิลใต้น้ำไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในสมัยสงครามเย็น ประเด็นที่กลัวกันคือการดักฟังข้อมูลฝ่ายตรงข้ามจากสายเคเบิล แต่ปัจจุบันกลายเป็นประเด็นเรื่องสาธารณูปโภคด้านการสื่อสารที่อาจถูกทำลายแทน