WIRED รายงานโดยอ้างอิงการวิเคราห์ของ Originality AI ว่า จากการตรวจสอบโพสต์ขนาดยาวบน LinkedIn จำนวน 8,795 ชิ้น นับตั้งแต่ปี 2018 ถึงปัจจุบัน พบว่า มีโพสต์ที่มีความเป็นน่าจะเขียนโดย AI เป็นสัดส่วนเกินครึ่ง (54%)
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2023 หลังจากเปิดตัว ChatGPT ในเวลานั้นจำนวนโพสต์ที่น่าจะเขียนด้วย AI เพิ่มขึ้นถึง 189%
ทาง LinkedIn ระบุว่าไม่ได้ติดตามจำนวนโพสต์ AI อย่างเป็นทางการ แต่มีระบบป้องกันเนื้อหาคุณภาพต่ำ โดยมองว่า AI เป็นเพียงเครื่องมือช่วยเหลือในการเขียน นอกจากนี้ LinkedIn ยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยปรับภาษาในโพสต์ หน้าโปรไฟล์ และ Direct Message ด้วย AI สำหรับผู้ใช้ LinkedIn Premium
ทีมวิศวกรรมของ LinkedIn เขียนบล็อกเล่าเบื้องหลังการย้ายระบบของ LinkedIn ที่เดิมรันอยู่บน CentOS 7 มาใช้ Azure Linux ของไมโครซอฟท์
หลังจากโดนไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ LinkedIn มีแผนการย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์เดิมทั้งหมดไปอยู่บน Azure แต่สุดท้ายก็ยังทำไม่สำเร็จ ส่วนการย้ายระบบปฏิบัติการรอบนี้เกิดขึ้นช่วงต้นปี 2024 และสิ้นสุดช่วงเดือนเมษายน
ไมโครซอฟต์ร่วมกับ LinkedIn เผยผลวิจัย Work Trend Index 2024 ที่รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจพนักงานและผู้บริหารกว่า 31,000 คน ใน 31 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย พบว่าปี 2024 พนักงานทั่วโลกนำ Generativa AI มาใช้ทำงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมา และผู้ใช้จำนวน LinkedIn จำนวนไม่น้อยได้นำเอาทักษะความสามารถที่เกี่ยวกับ AI มาเพิ่มเติมลงในเรซูเม่ของตนมากขึ้น ทางด้านผู้บริหารส่วนใหญ่ ก็มีมุมมองว่าจะไม่จ้างผู้สมัครที่ไม่มีทักษะด้าน AI
LinkedIn ประกาศเพิ่มเครื่องมือสำหรับการค้นหาตำแหน่งงานพลัง AI สำหรับลูกค้าที่สมัครแผน Premium เริ่มต้นที่เนื้อหาภาษาอังกฤษก่อน และจะปรับปรุงเพิ่มเติมในอนาคต มีรายละเอียดดังนี้
นอกจากนี้ LinkedIn Learning ยังเพิ่มส่วนให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งคัดเลือกด้วย AI ให้เหมาะกับผู้ใช้งานแต่ละคนอีกด้วย
ที่มา: LinkedIn
LinkedIn เปิดบริการเล่นเกมอย่างเป็นทางการบนแพลตฟอร์ม ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้
เหตุผลของการเพิ่มเกมบนแพลตฟอร์ม ทาง LinkedIn อธิบายว่าเป็นวิธีการในการเชื่อมต่อคนทำงานเข้าด้วยกัน โดย LinkedIn เลือกเกมที่ต้องใช้ความคิดเท่านั้น เพื่อเป็นเครื่องมือให้บริหารสมองระหว่างช่วงพัก แต่ก็ยังเป็นเหตุให้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเรื่องเกมได้ และสร้างบทสนทนาหรือสายสัมพันธ์ตามมา
ฟีดวิดีโอสั้นแนวตั้งแบบปัดขึ้นเพื่อดูไปเรื่อย ๆ ตามสไตล์ TikTok ไม่ใช่เรื่องแปลกของโซเชียลยุคนี้ แต่อาจจะแปลกหน่อยเพราะแพลตฟอร์มล่าสุดที่ทดสอบสิ่งนี้คือ LinkedIn
LinkedIn ยืนยันการทดสอบฟีเจอร์นี้ มีผลกับผู้ใช้งานกลุ่มเล็ก โดยบอกว่าวิดีโอเป็นฟอร์แมตเนื้อหาที่ผู้ใช้งานต้องการดูมากขึ้น ผ่านรูปแบบการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ
Austin Null ผู้อำนวยการของเอเจนซี McKinney ซึ่งได้ทดสอบฟีเจอร์นี้ด้วย โพสต์ตัวอย่างวิดีโอปัดขึ้นแนวตั้งใน LinkedIn ซึ่งหน้าตานั้นก็คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ที่น่าสนใจคือเนื้อหานั้นว่าด้วยโลกของการทำงาน การพัฒนาทักษะ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
LinkedIn กำลังทดสอบและยืนยันเกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่นั่นคือ เกม ภายในแอป ซึ่งอาจดูแปลกสักหน่อยที่แพลตฟอร์มโซเชียลสำหรับเครือข่ายคนทำงาน-หางาน จะมีเกมอยู่ในนั้น โดยเกมที่ทดสอบตอนนี้ได้แก่เกม Queens, Inference และ Crossclimb ทั้งหมดเป็นเกมแนวพัซเซิล สามารถเล่นและจัดอันดับคะแนนกันได้ในคนทำงานองค์กรเดียวกัน หรือระหว่างองค์กร
ตัวแทนของ LinkedIn อธิบายว่าฟีเจอร์นี้ยังเป็นการทดสอบ ไม่มีกำหนดเปิดให้ใช้งานทั่วไป โดยแนวทางของเกมนั้นเพื่อเพิ่มความสนุก ความสนิทสนม และเพิ่มเรื่องราวพูดคุยสนทนาระหว่างกัน
เรื่องนี้เป็นรายงานในสหรัฐอเมริกา ว่าได้เกิดเทรนด์ใหม่ของการนัดเดตหาคู่กันผ่าน LinkedIn แพลตฟอร์มโซเชียลสำหรับคนทำงาน ซึ่งดูแล้วฟังก์ชันในนั้นไม่น่าจะรองรับการหาคู่นัก เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มที่เน้นสำหรับการออกเดตหาคู่ หรือค้นหาเพื่อนใหม่โดยเฉพาะ
CNBC อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องบอกว่า LinkedIn ได้สั่งหยุดโครงการย้ายระบบจากศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ไปอยู่บนคลาวด์ Azure ของไมโครซอฟท์ โดยสถานะตอนนี้คือพักโครงการชั่วคราว แต่ยังไม่ได้ยกเลิกไปเลย
LinkedIn เคยประกาศแผนย้ายระบบทั้งหมดไปอยู่บน Azure ภายใต้โครงการ Blueshift ในปี 2019 ซึ่งสามารถเข้าใจได้ไม่ยากเพราะ LinkedIn เป็นบริษัทในเครือไมโครซอฟท์มาตั้งแต่ปี 2016 ตอนนั้น LinkedIn ก็บอกว่าโครงการจะใช้เวลาหลายปีจึงจะย้ายระบบทั้งหมดสำเร็จ
LinkedIn ประกาศหลักไมล์สำคัญของแพลตฟอร์ม โดยมีจำนวนสมาชิกมากกว่า 1 พันล้านคนแล้ว หลังจากเริ่มให้บริการเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในปี 2003 และขายกิจการให้ไมโครซอฟท์ในปี 2016
นอกจากนี้ LinkedIn ยังประกาศเพิ่มบริการใหม่ให้กับลูกค้า LinkedIn Premium โดยนำ AI มาช่วยแนะนำและค้นหาแบบเฉพาะบุคคล รองรับคำถามทั้งเรื่องการทำงาน เครือข่ายในชุมชน และอื่น ๆ
ฟีเจอร์ AI ที่เพิ่มมาสำหรับลูกค้า Premium เป็นการต่อยอดจากฟีเจอร์ที่มีก่อนหน้านี้ อาทิ AI ช่วยเขียนโปรไฟล์, AI สำหรับช่วยแนะนำการสร้างข้อความสนทนากับผู้ดูแลการจ้างงาน และระบบแนะนำตำแหน่งงานที่น่าสนใจ
LinkedIn ประกาศปลดพนักงานรวมประมาณ 668 ตำแหน่ง โดยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายวิศวกรรม รวมถึงฝ่ายผลิตภัณฑ์ ฝ่ายการเงิน และฝ่ายทรัพยากรบุคคล
ในประกาศนั้น Mohak Shroff และ Tomer Cohen ผู้บริหารระดับสูงของ LinkedIn บอกว่าตามแผนบริษัทต้องปรับลำดับความสำคัญ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ซึ่งมาพร้อมกับการปรับโครงสร้างองค์กร ให้ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับแผนงาน
LinkedIn เคยประกาศปลดพนักงานไปแล้วครั้งหนึ่งในปีนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม
ก่อนหน้านี้ X ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ X Hiring เพื่อให้องค์กรประกาศรับสมัครพนักงาน ซึ่งมีฟีเจอร์คล้ายกับ LinkedIn หนึ่งในแพลตฟอร์มของ Microsoft
Musk ได้พูดถึง LinkedIn ว่า มีผู้สมัครงานส่ง LinkedIn มาให้ แต่ส่วนตัวรู้สึกว่ามันประจบประแจงเกินไป และไม่ได้ใช้ LinkedIn เพื่อดูประวัติของผู้สมัครเลย พร้อมพูดเสริมว่า X Hiring จะแตกต่างจาก LinkedIn ตรงที่เจ๋งกว่า แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรไว้
ตอนนี้ X Hiring ยังอยู่ในช่วงเบต้าและให้บริการเฉพาะบริษัทที่จ่ายแบบสมัครสมาชิก 1,000 ดอลลาร์ต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการเปลี่ยน X ให้กลายเป็น Everything App เหมือนกับ WeChat ที่เคยพูดไว้
LinkedIn ประกาศปรับโครงสร้างองค์กร ในส่วนของฝ่ายที่ดูแลธุรกิจทั่วโลก และส่วนธุรกิจในจีน โดยให้เหตุผลเรื่องสภาพตลาดและพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องปลดพนักงานที่อยู่ในสองส่วนนี้รวม 716 คน
ผลจากการปรับโครงสร้างนี้ ทำให้ LinkedIn จะปิดให้บริการ InCareer แอปหางานที่ทำตลาดเฉพาะในจีน เปลี่ยนมาโฟกัสการให้บริการบริษัทที่ดำเนินงานหลายสาขาทั่วโลกและมีสาขาในจีน ทั้งส่วนของการจ้างงานและฝึกอบรม ส่วนกลุ่มที่ดูแลธุรกิจทั่วโลก จะปรับลดจำนวนทีม ลดจำนวนพนักงานฝ่ายบริหาร และว่าจ้างเวนเดอร์มาช่วยดำเนินงานหลายส่วนแทนพนักงานประจำ
บริษัท Inflection AI ที่ก่อตั้งโดย Reid Hoffman ผู้ร่วมก่อตั้ง LinkedIn และ Mustafa Suleyman ผู้ร่วมก่อตั้ง DeepMind ช่วงต้นปี 2022 ตอนนี้มีผลงานออกมาแล้ว เป็นแชทบ็อทชื่อว่า Pi
Pi ย่อมาจาก “personal intelligence” จุดเด่นของมันที่ต่างจากแชทบ็อทตัวอื่นๆ อย่าง ChatGPT, Bing, Bard คือการตั้งใจให้เป็นผู้ช่วยส่วนตัวที่ "ใจดี" และพยายามช่วยเหลือเราในเรื่องต่างๆ (kind and supportive) ตัวบทสนทนามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น พยายามชวนเราคุยด้วย ไม่ใช่ตอบคำถามอย่างเดียว
LinkedIn ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ในการใช้งานหลายรายการ โดยบอกว่าเป็นการนำเทคโนโลยี AI GPT-4 ตัวล่าสุดของ OpenAI เข้ามาเสริมการใช้งาน มีรายละเอียดดังนี้
ฟีเจอร์แรกเป็นฝั่งของฝ่ายพนักงานคือ Personalized Writing Suggestions ปรับแต่งเนื้อหาหน้าโปรไฟล์ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ปัจจุบัน แต่เสริมไฮไลท์ด้านความสามารถ ประสบการณ์ ที่สำคัญ ทำให้ส่วนของ About ดูน่าสนใจมากขึ้น ฟีเจอร์นี้เปิดให้ใช้กับลูกค้า Premium เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัวโครงการ Skills for Jobs เพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัลที่จำเป็นต่อตำแหน่งงานยอดนิยม พร้อมทักษะพื้นฐาน ได้แก่ Digital Literacy & Productivity, Soft Skills และ Entrepreneurship โดยเปิดให้เรียนรู้หลักสูตรออนไลน์เพิ่มเติมอีกกว่า 350 คอร์สผ่าน LinkedIn Learning ได้ฟรีจนถึงปี 2568 พร้อมประกาศนียบัตร Career Essentials เพิ่มโอกาสในการได้รับจ้างงาน
โดยนับเป็นการต่อยอดจากโครงการ Global Skills Initiative (GSI) ที่ได้ให้การสนับสนุนกับผู้คนกว่า 80 ล้านคนทั่วโลกตั้งแต่ปี 2563 (มีผู้เรียนชาวไทยรวมกว่า 534,000 ราย)
LinkedIn ประกาศเพิ่มคุณสมบัติการใช้งานใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาบัญชีปลอม ที่พยายามติดต่อกับคนในชุมชนผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นปัญหาที่ LinkedIn ได้รับการร้องเรียนเพิ่มขึ้นช่วงที่ผ่านมา
คุณสมบัติแรกคือ About this profile โดยในหน้าโปรไฟล์แต่ละคน จะแสดงข้อมูลพื้นฐานเพิ่มเติม ว่าบัญชีนี้สร้างขึ้นเมื่อใด และมีการอัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อใด รวมทั้งมีการยืนยันด้วยเบอร์โทรศัพท์ และ/หรือ อีเมลที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจตอบรับคำเชิญในการสนทนา เฉพาะส่วนอีเมล LinkedIn ช่วงแรกจะจำกัดเฉพาะบางหน่วยงาน แล้วจะทยอยเพิ่มอีเมลองค์กรที่รองรับต่อไป
ไม่ได้มีแต่ Twitter ที่มีปัญหาบัญชีปลอมระบาด เพราะโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn ก็มีปัญหาบัญชีปลอมเพื่อหลอก scam ด้วยเช่นกัน
ล่าสุด LinkedIn เพิ่มมาตรการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้เพิ่ม โดยต้องยืนยันอีเมลทำงาน (work email) หรือหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งจะถูกนำไปแสดงในหน้า About this Profile ว่ายืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วจริงๆ และยังเพิ่มการระบุวันที่สร้างบัญชี เพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่ายขึ้นว่าเป็นบัญชีสร้างใหม่หรือไม่
ฟีเจอร์ตรวจสอบตัวตนยังทยอยปล่อยให้ผู้ใช้ในวงจำกัด และจะค่อยๆ ขยายในวงกว้างขึ้นต่อไป
Brad Smith ประธานบริษัท Microsoft เปิดเผยว่า บริษัทจะไม่ติดป้ายโพสต์ที่ให้ข้อมูลเท็จบน Bing และ LinkedInเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกมองว่าบริษัทพยายามที่จะปิดกั้นการแสดงความเห็นทางออนไลน์
การตัดสินใจของ Microsoft ถือว่าแตกต่างจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ หลังจากที่ Meta และ Twitter ติดป้ายเตือนข้อความเท็จและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ โดยเฉพาะความเห็นที่เชื่อมโยงกับการเมืองว่าบริษัทปิดกั้นการแสดงความเห็นจากฝ่ายขวา
Smith กล่าวว่าจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อสาธารณะว่าใครเป็นผู้โพสต์และสิ่งที่โพสต์มีเนื้อหาอย่างไร และจะให้ผู้ใช้งานเป็นผู้ตัดสินเองว่าโพสต์นั้น ๆ เป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งบริษัทมองว่าเป็นการปฏิบัติตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตย
ช่วงที่ผ่านมาเกิดปัญหาสแคมชวนลงทุนคริปโตระบาดหนัก ผ่านระบบข้อความของ LinkedIn โดยผู้เสียหายบางรายอาจสูญเงินเป็นหลักล้านดอลลาร์ และ FBI เริ่มเข้ามาสอบสวนแล้ว
แนวทางการหลอกลวงอยู่ในรูปการสร้างบัญชีปลอมบน LinkedIn ให้ดูเป็นนักลงทุนที่น่าเชื่อถือ แล้วส่งข้อความไปพูดคุย ทำความสนิทสนมกับผู้ใช้คนอื่นๆ บน LinkedIn เป็นเวลานานพอสมควร เมื่อเหยื่อตายใจแล้วก็จะเริ่มชวนมาลงทุนในวงการคริปโตรูปแบบต่างๆ โดยตอนแรกชวนไปลงทุนในแพลตฟอร์มคริปโตจริงๆ ด้วยเงินไม่เยอะนัก แล้วขยายไปยังแพลตฟอร์มปลอมด้วยเงินที่มากขึ้นกว่าเดิม
เหยื่อที่หลงเชื่อให้สัมภาษณ์ว่าเป็นเพราะ LinkedIn เป็นเครือข่ายคนทำงานที่น่าเชื่อถือกว่าโซเชียลอื่นๆ ก็จะหลงเชื่อได้โดยง่าย
LinkedIn ตกลงจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานหญิงในบริษัท 686 คน เป็นเงินรวม 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 61.79 ล้านบาทรวมดอกเบี้ย หลังถูกกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกาตรวจสอบและพบว่าพนักงานหญิงกลุ่มดังกล่าวได้เงินตอบแทนน้อยกว่าพนักงานชายที่ทำงานลักษณะเดียวกันในช่วงปี 2015 ถึง 2017
ด้าน LinkedIn ระบุว่าเราตกลงที่จะจ่ายเงินชดเชยเพื่อยุติเรื่องนี้ แม้เราจะไม่เห็นด้วยกับข้อกล่าวหาของรัฐฯ เพราะยืนยันว่าบริษัทจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมเสมอมา และในเวลา 3 ปีนับจากนี้ LinkedIn จะจัดทำรายงานให้รัฐฯ เพื่อชี้แจงว่ามีการประเมินนโยบายผลตอบแทนและปรับเงินเดือนให้พนักงานเรื่อยๆ รวมถึงจะจัดอบรมพนักงานเรื่องการไม่เลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
LinkedIn ประกาศซื้อกิจการ Oribi สตาร์ทอัพผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการตลาดออนไลน์แบบ Marketing Attribution มูลค่าของดีลไม่มีการเปิดเผย แต่ TechCrunch อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าอยู่ราว 80-90 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ Oribi ได้รับเงินทุนจากนักลงทุนไปแล้วรวม 28 ล้านดอลลาร์
เหตุผลของดีลนี้ LinkedIn บอกว่ารายได้ของบริษัทที่ผ่านมา จากโซลูชันการตลาดสำหรับลูกค้าธุรกิจเพิ่มขึ้นถึง 43% จึงต้องการเสริมเทคโนโลยีด้านนี้ให้กับลูกค้าที่เป็นองค์กรมากขึ้น แลพได้เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจผลตอบแทนการลงทุนการตลาดแต่ละช่องทาง ซึ่งเครื่องมือที่เป็นที่นิยมในตลาดตอนนี้ อาทิ Mixpanels, Heap Analytics, Adobe Marketing Clouds และ Google Analytics
สองเดือนหลังจาก LinkedIn ประกาศเตรียมปิดให้บริการในจีนในปีนี้ เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของทางการจีน ในการให้บริการส่วนที่เป็นโซเชียลได้ ล่าสุด LinkedIn เปิดตัวแอปใหม่ InCareer สำหรับประเทศจีนโดยเฉพาะ
InCareer เป็นแอปค้นหาตำแหน่งงานในจีน โดยให้บริการผ่านแอป iOS, Android และเว็บ www.linkedin.cn
ส่วนผู้ใช้งานนั้น หน้าโปรไฟล์ยังสามารถแก้ไขข้อมูล เพื่อให้ถูกค้นพบจากผู้ว่าจ้างได้ แต่จะไม่สามารถโพสต์เนื้อหาได้
ที่มา: LinkedIn
LinkedIn เปิดบริการใหม่ ในรูปแบบฟีเจอร์ Service Marketplace เป็นบริการช่วยคนหางานฟรีแลนซ์ แข่งกับแพลตฟอร์มที่ดังเรื่องนี้อยู่แล้วอย่าง Fiverr และ Upwork โดย LinkedIn ทดสอบ Service Marketplace เป็นเวอร์ชันเบต้า ผู้ใช้แล้ว 2 ล้านคนจากผู้ใช้เกือบ 800 ล้านคนตามรายงานผลประกอบการ ซึ่งล่าสุดเตรียมเปิดใช้งานทั่วโลกแล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศปิดให้บริการ LinkedIn เวอร์ชันในจีน โดยให้เหตุผลว่าแม้แพลตฟอร์มจะช่วยให้สมาชิกผู้ใช้งานในจีน สามารถค้นหางานและโอกาสใหม่ ๆ ได้ แต่ในมุมของการเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลนั้น มีความท้าทาย ต่อการปฏิบัติให้ได้ตามข้อกำหนดของทางการจีน ทำให้บริษัทตัดสินใจปิดบริการดังกล่าวภายในปีนี้
เนื่องจากไมโครซอฟท์ยังเห็นโอกาสในการให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับค้นหางานในจีน บริษัทจึงเตรียมเปิดตัว InJobs แอปแยกตัวใหม่สำหรับการหางานโดยเฉพาะ ซึ่งตัดฟีเจอร์โซเชียลออกไป แอปนี้จะเปิดตัวภายในปีนี้
LinkedIn เริ่มให้บริการในเวอร์ชันสำหรับจีนโดยเฉพาะในปี 2014 ซึ่งมีการปรับให้เป็นไปตามข้อกำหนด ข้อมูลจาก Statista ระบุว่า LinkedIn ถือเป็นตลาดค้นหางานที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในจีน