Securities and Exchange Commission
จากข่าว Elon Musk ประกาศแผน เตรียมซื้อหุ้น Tesla คืน เพื่อนำออกนอกตลาดหลักทรัพย์ ส่งผลให้หุ้นของ Tesla ราคาพุ่งทันที
ล่าสุดมีข่าวว่า ก.ล.ต. สหรัฐหรือ SEC กำลังรวบรวมข้อมูลในเรื่องนี้ เพื่อพิจารณาว่าข้อความทวีตของ Musk เข้าข่ายการปั่นราคาหุ้นหรือไม่
ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ Musk ระบุว่าเขาหาเงินได้พอสำหรับการซื้อหุ้นคืนแล้ว (funding secured) แต่ไม่ให้รายละเอียดไปมากกว่านั้นว่าแหล่งที่มาของเงินมาจากไหน (มีข่าวลือกันว่าเป็นกลุ่มทุนจากซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีหุ้นใน Tesla อยู่แล้วประมาณ 3-5%)
William Hinman ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินองค์กร (SEC Director of Corporate Finance) กล่าวในงาน Yahoo Finance All Markets Summit กล่าวถึงการกำกับดูแลทรัพย์สินดิจิตอลตามกฎหมายสหรัฐฯ แลยังระบุว่า Ethereum ไม่ใช่หลักทรัพย์โดยตัวมันเอง
ก่อนหน้านี้กลต.สหรัฐฯ เคยระบุว่าบิตคอยน์ไม่ใช่หลักทรัพย์มาก่อนแล้ว แต่ Ethereum นั้นมีความแตกต่างอยู่บ้าง เนื่องจากการเปิดขายครั้งแรกก็เป็นการระดมทุนมาก่อน และตัว Ethereum ก็เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการทำ ICO จำนวนมาก โดยการทำ ICO ทั้งหมดก็อยู่ใต้การกำกับดูแลของกลต.สหรัฐฯ ทั้งสิ้น
Hinman ระบุว่าสถานะโดยปัจจุบันของ Ethereum เมื่อมองกระบวนการซื้อขายแล้วมันไม่ใช่การซื้อขายหลักทรัพย์ การนำกฎหมายหลักทรัพย์ไปใช้กับ Ethereum สร้างคุณค่าได้เพียงเล็กน้อย
SEC หรือ ก.ล.ต.สหรัฐฯ ได้เปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลใหม่ HoweyCoin ซึ่งชูว่าเป็นมาตรฐานสกุลเงินคริปโตสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการขายโทเคนแบบ pre-ICO (มี whitepaper ด้วย) โดยในเว็บไซต์มีทางเลือกให้ผู้ใช้ซื้อเหรียญและจะมีส่วนลดเมื่อลงทุนเป็นปริมาณมาก ๆ แต่ว่าเมื่อคลิกปุ่ม Buy Coins Now! ก็จะรีไดเรกไปที่เว็บไซต์ SEC เกี่ยวกับคำเตือนเกี่ยวกับวิธีที่ผู้หลอกลวงผ่าน ICO มักจะใช้กัน
SEC หรือ ก.ล.ต.ของสหรัฐฯ ออกคำสั่งปรับบริษัท Altaba หรือ Yahoo! เดิมเป็นเงิน 35 ล้านดอลลาร์ ในความผิดที่ทางบริษัทไม่เปิดเผยการรั่วไหลของข้อมูลแม้ว่าทางบริษัทจะรู้ตัวมานานแล้วก็ตาม
Yahoo! เคยยอมรับเมื่อปีที่แล้วว่า ผู้ใช้ทุกคนถูกแฮกข้อมูลทั้งหมดหลายครั้งซึ่งรวมแล้วกว่า 3 พันล้านบัญชี ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะมีผลกระทบทั้งด้านการเงินและกฎหมาย แม้ว่าการรั่วไหลของข้อมูลจะถูกรายงานไปยังผู้บริหารระดับสูงของบริษัท แต่ทางบริษัทก็ไม่สอบสวนกรณีนี้อย่างเหมาะสมและเปิดเผยให้นักลงทุนได้รับรู้ ซึ่งเท่ากับว่าบริษัทรู้ตัวในปลายปี 2014 กว่าจะเปิดเผยครั้งแรกก็ใช้เวลาล่วงเลยไปจนถึงปี 2016 ที่ Yahoo! อยู่ระหว่างการถูกซื้อโดย Verizon
กลต. สหรัฐฯ แจ้งข้อหากับ Sam Sharma และ Robert Farkas ผู้ก่อตั้งบริษัท Centra Tech ที่ระดมทุน ICO ได้ 32 ล้านดอลลาร์หรือพันล้านบาท ด้วยความผิดฐานโกหกหลอกลวงนักลงทุน จากการนำประวัติผู้บริหารปลอมๆ ไปนำเสนอ และยังอ้างว่าจะออกบัตร Visa และ MasterCard เพื่อการจ่ายเงินคริปโตได้อย่างสะดวกอีกด้วย
Centra Tech ออก ICO เป็นโทเค็น CTR บน Ethereum และถูกนำไปซื้อขายบนกระดานต่างๆ เช่น Binance, EtherDelta, KuCoin แต่ตอนนี้ทาง Binance ก็ออกมาประกาศแล้วว่า CTR ถือว่ามีความเสี่ยงสูง และทางตลาดกำลังพิจารณาว่าจะถอนโทเค็นออกจากตลาดหรือไม่ หากถอนก็จะแจ้งล่วงหน้า 72 ชั่วโมง
โทเค็น CTR เพิ่มระดมทุนสำเร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2017 ราคาเริ่มต้น 0.71 ดอลลาร์ต่อ CTR และตอนนี้ราคาก็ตกลงไปกว่า 90% แล้ว
SEC หรือหน่วยงาน ก.ล.ต. ของอเมริกา ออกคำสั่งปรับเงิน Theranos, ซีอีโอ Elizabeth Holmes และอดีตประธานบริษัท Ramesh Balwani จากเหตุผลฉ้อโกงเงินจากนักลงทุนรวมกว่า 700 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีการทำเอกสารเท็จเกี่ยวกับเทคโนโลยี, ข้อมูลทางธุรกิจ และข้อมูลทางการเงินของบริษัท โดย Theranos และซีอีโอ Holmes ยอมจ่ายค่าปรับ 500,000 ดอลลาร์เพื่อยุติคดี, ถอนสิทธิการโหวตในฐานะผู้ถือหุ้น, รับคำตัดสินห้ามรับตำแหน่งในบริษัทมหาชน 10 ปี, คืนหุ้น 18.9 ล้านหุ้นที่ได้มาจากช่วงฉ้อโกงคืนให้บริษัท
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ หรือ SEC ออกมาประกาศว่าขอคำสั่งศาลให้อายัดทรัพย์สินบริษัท AriseBank ที่อาจเป็นบริษัท ICO ที่ใหญ่ที่สุด และได้รับคำสั่งศาลแล้ว
ในคำฟ้องระบุว่า AriseBank ใช้โซเชียลมีเดีย คนดังมาให้การรับรองและช่วยโปรโมทการระดมทุน ICO โดยตัวบริษัทอ้างว่าระดมทุนได้ 600 ล้านดอลลาร์ภายใน 2 เดือน จากเป้าหมาย 1 พันล้านดอลลาร์ โดยขณะนี้ศาลได้รับการอนุมัติให้ระงับทรัพย์สินของ AriseBank และผู้ก่อตั้งทั้งสองแล้ว
SEC ระบุในคำแถลงการณ์ว่า SEC ยื่นข้อกล่าวหา AriseBank และผู้บริหารของบริษัทว่ามีพยายามที่จะระดมทุนจากนักลงทุนเป็นจำนวนมากโดยการบอกว่าตัวเองเป็นธนาคารกระจายอำนาจซึ่งถือเป็นการบิดเบือนความจริง และนี่เป็นครั้งแรกที่ SEC จัดหาหน่วยงานภายนอกให้มาเก็บทรัพย์สินเอาไว้
ช่วงนี้มีหน่วยงานหลายแห่งออกมาเตือนเรื่องความเสี่ยงของการลงทุนใน Bitcoin, cryptocurrency และ ICO
เมื่อสัปดาห์ก่อน หน่วยงานสำคัญอย่าง SEC หรือ กลต. ของสหรัฐ นำโดยประธาน Jay Clayton ก็ออกแถลงการณ์ต่อประชาชน เรื่องความเสี่ยงของการลงทุนใน cryptocurrency และ ICO ด้วยเช่นกัน
Clayton เริ่มโดยกล่าวว่าตลาดการเงินเริ่มพูดถึงการลงทุนใน cryptocurrency และมีเรื่องเล่ากล่าวขานถึงคนที่ทำเงินได้มาก สร้างความฝันให้ผู้คนมากมาย และประโยคที่พูดให้ได้ยินกันบ่อยๆ ว่า "คราวนี้ไม่เหมือนคราวอื่นๆ" (this time is different)
ข่าวต่อเนื่องจาก ก.ล.ต.สหรัฐ ตั้งข้อหา ICO หลอกระดมทุน อ้างนำเงินไปซื้อทรัพย์สินแต่ไม่ได้ทำจริง ล่าสุด Maksim Zaslavskiy ผู้ก่อตั้งโครงการ ICO รายนี้ถูกทางการสหรัฐจับกุมแล้ว
Maksim Zaslavskiy ถูกตั้งข้อหาฉ้อโกงที่เกี่ยวกับการระดมทุน จากบริษัทของเขา 2 บริษัทที่ระดมทุนผ่าน ICO โดยอ้างว่านำไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และเพชร แต่ไม่ได้นำเงินไปลงทุนจริงๆ ตามที่กล่าวอ้าง
สำนักงานอัยการเขตนิวยอร์กตะวันออก และ FBI ออกแถลงการณ์ว่าร่วมกันยื่นฟ้อง Zaslavskiy ต่อศาลแล้ว และถ้ามีความผิดจริง จะโดนโทษคุก 5 ปีและค่าปรับอีกจำนวนหนึ่ง
สำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐ (SEC) ออกแถลงการณ์เตือนการระดมทุนผ่าน ICO ที่ใช้คนดังหรือดาราเป็นพรีเซนเตอร์ ว่าอาจผิดกฎหมายได้ ถ้าหากไม่เปิดเผยข้อมูลว่าคนดังนั้นได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทอย่างไร
ช่วงหลังโครงการระดมทุน ICO นิยมใช้คนดังเป็นพรีเซนเตอร์ ชักจูงให้คนมาซื้อเหรียญ ตัวอย่างเช่น นักมวย Floyd Mayweather และนักฟุตบอล Luis Suarez ที่รับโฆษณาให้โครงการ Stox หรือนักแสดง Jamie Foxx กับโครงการ Cobinhood
SEC เตือนคนดังเหล่านี้ว่า อาจละเมิดกฎหมายด้านการฉ้อโกง ถ้าหากเข้าร่วมการขาย "หลักทรัพย์" ให้กับผู้ขายที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นตัวแทนขายหลักทรัพย์ (broker) อย่างถูกกฎหมาย
Securities and Exchange Commission (SEC) หรือ ก.ล.ต. ของสหรัฐ ตั้งข้อหา Maksim Zaslavskiy เจ้าของบริษัทสองรายที่หลอกนักลงทุนมาซื้อเหรียญ ICO ที่ไม่มีอยู่จริง
บริษัทแรก REcoin โฆษณาว่าเป็นสกุลเงิน cryptocurrency ที่ค้ำประกันโดยอสังหาริมทรัพย์ ("The First Ever Cryptocurrency Backed by Real Estate") และโฆษณาว่าจ้างทีมนักกฎหมาย-นักบัญชีมืออาชีพ-ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำเงินจาก ICO ไปซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่กลับไม่ได้จ้างใครจริงแต่อย่างใด บริษัทระบุว่าระดมเงินได้ 2-4 ล้านดอลลาร์ แต่จริงๆ แล้วระดมเงินได้ 300,000 ดอลลาร์เท่านั้น
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่หลายเดือนก่อนแต่เพิ่งเป็นข่าว โดย SEC หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของอเมริกา ได้ทำสอบถาม Twitter ถึงวิธีรายงานตัวเลขผลการดำเนินงาน โดยคำถามหนึ่งคือ
Twitter บอกว่า จำนวนผู้ใช้เป็นประจำทุกเดือน (MAU - Monthly Active Users) เป็นตัววัดว่ามีผู้ใช้งานแบบล็อกอินเท่าใด ส่วนจำนวนผู้ใช้เป็นประจำทุกวัน (DAU - Daily Active Users) เป็นตัววัดว่ามี engagement เท่าใด แต่ทำไม Twitter จึงเลือกรายงานจำนวนเป็นตัวเลขเฉพาะ MAU ขณะที่ DAU กลับรายงานเป็นเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง โดยไม่บอกจำนวนเป็นตัวเลขออกมา
ในรายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุด Twitter บอกว่ามี MAU 328 ล้านคน แต่เมื่อพูดถึง DAU ก็บอกว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 12% โดยไม่ได้บอกว่ามีจำนวนอยู่เท่าใด
Theranos ออกมายอมรับว่าตอนนี้สำนักงานอัยการของ California เขตเหนือ และ SEC (U.S. Securities and Exchange Commission) หน่วยงาน ก.ล.ต. ของสหรัฐอเมริกา กำลังเข้ามาสืบสวนว่า Theranos กระทำความผิดเข้าข่ายหลอกลวงนักลงทุนหรือไม่
ข้อมูลนี้มาจากบันทึกที่ Theranos ส่งถึงบริษัทพันธมิตรธุรกิจซึ่งร่วมถึง Walgreens Boots Alliance Inc. บริษัทเจ้าของร้านขายยาผู้รับหน้าที่เป็นศูนย์ตรวจเลือดของ Theranos กว่า 40 แห่ง โดยมีใจความระบุว่า Theranos กำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรดาหน่วยงานรัฐให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่สำหรับการสืบสวนในทุกประเด็น
หลังจากกระแสความนิยมของการระดมทุนออนไลน์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกลต. สหรัฐฯ ประกาศมติใหม่ให้นักลงทุนรายเล็กสามารถเข้าเป็นเจ้าของหุ้นส่วนในสตาร์ทอัพผ่านกระบวนการระดมทุนออนไลน์ได้แล้ว
หลังการประกาศกฎใหม่ ข้อจำกัดเดิมที่กำหนดให้นักลงทุนสามารถมีหุ้นส่วนในบริษัทเอกชนจะต้องมีเงินสดมากกว่า 1 ล้านเหรียญ (ไม่รวมสินทรัพย์) หรือมีรายได้ต่อปีมากกว่า 200,000 ซึ่งเป็นกำแพงสำหรับนักลงทุนรายเล็กมาตลอดจะถูกผ่อนผันลง โดยจะเปลี่ยนเป็นการจำกัดมูลค่าหุ้นตามปริมาณรายได้แทน ถ้าหากรายได้ต่อปีต่ำกว่า 100,000 เหรียญจะสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 5% (หรือไม่เกิน 2,000 เหรียญ) แต่ถ้าหากมีรายได้เกิน 100,000 เหรียญ เพดานการถือครองหุ้นจะสูงขึ้นเป็น 10% แทน แต่ไม่เกิน 100,000 เหรียญตลอดรอบปี
คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา หรือกลต. ของสหรัฐฯ (SEC) ได้จับกุม Brian Jorgenson อดีตผู้จัดการอาวุโสแผนกการเงินและการลงทุนองค์กรของไมโครซอฟท์ ข้อหาใช้ข้อมูลภายในเพื่อทำการซื้อขายหุ้น (Insider Trading)
โดย Jorgenson ได้ร่วมมือกับเพื่อน Sean Stokke ซึ่งเป็นเทรดเดอร์ นำข้อมูลภายในที่สำคัญของไมโครซอฟท์เพื่อใช้ซื้อขายหุ้นก่อนที่ข่าวจะปรากฏออกมา ทางกลต. แจ้งความผิดจากการกระทำทั้งหมด 3 ครั้ง รวมเป็นกำไรเกือบ 400,000 ดอลลาร์ ได้แก่
รายงานจาก กลต. ของสหรัฐฯ (SEC) เผยข้อตกลงระหว่าง Steven Sinofsky อดีตพนักงานของไมโครซอฟท์ โดยเขาจะได้รับหุ้นจำนวน 418,361 หุ้น มูลค่า 14.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 435 ล้านบาท ถือว่าเป็นรางวัลตาม "ข้อตกลงเกษียณ" สำหรับพนักงานที่ทำงานให้กับไมโครซอฟท์เป็นเวลา 15 ปี และเกษียณที่อายุ 55 ปีหรือมากกว่า
ข้อตกลงนี้ ยังระบุอีกว่า Sinofsky จะไม่สามารถไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งของไมโครซอฟท์ และไม่สามารถบอกลูกค้าให้เลือกใช้สินค้าของคู่แข่งได้ จนกว่าจะถึงสิ้นปี 2013 โดยข้อตกลงนี้ถือว่าเป็นข้อตกลง Non-competing ที่บริษัทไอทีหลายรายมีเป็นปรกติอยู่แล้ว
Dell ได้ตกลงจ่ายเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อยอมความกับคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (SEC) ในกรณีถูกกล่าวหาว่าบริษัทได้มีการทำบัญชีแบบไม่โปร่งใส และตัวนาย Michael Dell ก็จะต้องจ่ายอีก 4 ล้านเหรียญด้วย
สาเหตุของการยอมความในครั้งนี้ก็เนื่องจากการที่ Dell ไม่สามารถทำให้นักลงทุนเชื่อได้ว่า รายรับ "พิเศษ" ที่ได้มาจาก Intel นั้น ไม่ได้เป็นการจ่ายเพื่อให้ Dell ไม่ใช้ชิปของคู่แข่งในคอมพิวเตอร์ของ Dell ที่ออกขาย ซึ่งรายรับ "พิเศษ"นี้ ทำให้รายได้ของ Dell ระหว่างปี 2001 - 2006 ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้