นอกจากราคาน้ำมันจะขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์แล้ว ในสหรัฐอเมริกา ราคา SMS ก็เพิ่มขึ้นสูงไม่แพ้กัน นับจากปี 2005 ถึงปัจจุบัน SMS ขึ้นราคามาแล้วอีกหนึ่งเท่าตัว
เดิมที SMS ในสหรัฐคิดข้อความละ 10 เซนต์ หลังจากนั้นขึ้นมาเป็น 15 และเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เครือข่าย Sprint Nextel เป็นผู้นำการขึ้นราคามาเป็น 20 เซนต์ ซึ่งส่งผลให้ AT&T กับ Verizon Wireless ขึ้นราคาตามมาให้เท่ากัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออีกรายที่เหลืออยู่คือ T-Mobile เพิ่งประกาศปรับราคาตาม โดยมีผลสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
จากข่าวเก่าที่ AIS เปลี่ยนใจไม่สนใจ 3G บนความถี่ 900MHz แล้ว ล่าสุด AIS ประกาศจะไม่ต่ออายุสัญญา TOT แล้ว หาก กทช. สามารถที่จะออกใบอนุญาตบริการ 3G บนความถี่ 2100MHz เนื่องจากว่าไม่เห็นประโยชน์จากการใช้งานคลื่นความถี่เดิมที่ 900MHz โดยสัญญาต่ออายุใหม่นี้มีมูลค่าสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท โดยสัญญาจะหมดอายุในปี 2558
ทุกวันนี้ AIS ต้องแบ่งรายได้ตามสัมปทานให้แก่ TOT เฉลี่ยปีละ 25% โดยปีที่แล้วเป็นเงินทั้งหมด 2.5 หมื่นล้านบาท ทำให้รายได้มากกว่า 50% ของ TOT มาจาก AIS ทั้งสิ้น
คณะกรรมการโทรคมนาคมของสหรัฐ (FCC - Federal Communications Commission เทียบได้กับ กทช. ของบ้านเรา) ได้เตรียมการเปิดประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ โดยช่วงคลื่นที่จะเปิดประมูลถูกเรียกว่า Advanced Wireless System (AWS) ซึ่งประกอบด้วยช่วง 1915-1920 MHz, 1995-2000 MHz และ 2155-2180 MHz
สิ่งน่าสนใจอยู่ในกติกาที่ FCC เสนอ ซึ่งระบุว่าผู้ที่ประมูลชนะจะต้องให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ฟรี ความเร็วอย่างต่ำ 768 kbps (downstream) โดยใช้ช่วงความถี่ไม่เกิน 25% ของทั้งหมดที่ประมูลได้ บริการอินเทอร์เน็ตนี้ต้องมีระบบกรองภาพโป๊ที่ "always on" และสามารถมีโฆษณาได้เพื่อชดเชยกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป
การที่ iPhone 8GB มีราคาขายเครื่องละ 199 ดอลลาร์ และ 299 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 16GB นั้นเป็นการขายต่ำกว่าทุนแน่ แต่ราคาทุนที่แท้จริงของ iPhone อยู่ที่เท่าไรย่อมมีแต่แอปเปิลที่ทราบ
นักวิเคราะห์จากบริษัท Oppenheimer ออกมาประมาณตัวเลขให้ว่าราคา 199 ดอลลาร์นี้ บริษัทโทรศัพท์มือถือ (ในที่นี้คือ AT&T ของสหรัฐ) ช่วยเราจ่ายมาแล้ว 325 ดอลลาร์เพื่อทำราคาเครื่องให้ถูก ดึงดูดลูกค้าให้เซ็นสัญญาจ่ายรายเดือน ตัวเลขนี้ (ถึงจะเป็นตัวเลขคาดการณ์) สูงกว่าตัวเลขปกติของสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 200 ดอลลาร์ต่อเครื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า AT&T ทุ่มกับ iPhone มากพอสมควร
อินเทลและพันธมิตรรวม 6 บริษัท เปิดตัว Open Paten Alliance เพื่อหนุนให้ WiMAX เกิดเร็วขึ้น โดยรวมสิทธิบัตรด้าน WiMAX ของสมาชิกเข้าด้วยกันเป็น patent pool และอนุญาตให้บริษัทที่สนใจสามารถนำสิทธิบัตรเหล่านี้ไปใช้ได้ในราคาที่สมเหตุสมผล
Sriram Viswanathan จากอินเทลยกกรณีของเทคโนโลยี 3G ขึ้นมาเทียบ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีด้าน 3G ในโลกมีจากหลายบริษัท (เช่น โนเกีย, อีริคสัน และ Qualcomm) ใช้ด้วยกันไม่ได้ และแต่ละบริษัทเก็บค่าใช้งานสิทธิบัตรแยกขาดจากกัน ทำให้บริษัทโทรคมนาคมที่ต้องการสร้างเครือข่าย 3G มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ดังนั้นการรวมตัวของพันธมิตร OPA จะช่วยให้การสร้างเครือข่าย WiMAX มีราคาถูกและง่ายขึ้น
ถ้าใครยังพอจำความทะเยอทะยานและการล่มสลายของ Iridium ได้ น่าจะได้ว่าสุดท้ายบริษัทสื่อสารผ่านดาวเทียมเหล่านี้ประสบปัญหาทางธุรกิจ และทยอยถูกฟ้องล้มละลายกันเกือบหมด จนเราคิดว่าจะไม่เห็นระบบสื่อสารแบบนี้อีกแล้ว
แต่ตอนนี้บริษัทพวกนี้กำลังเริ่มกลับมาอีกครั้ง โดยบรรดากองทุนและนักลงทุนอิสระรายใหญ่ของสหรัฐ หันมาจ่ายเงินสนับสนุนหรือซื้อกิจการบริษัทเหล่านี้ ซึ่งเกือบทุกแห่งมีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมหมดแล้ว (ดาวเทียมก็ยิงไปแล้ว) ขาดแต่การบริหารงานและโอกาสธุรกิจที่ถูกต้องเท่านั้น บริษัทเหล่านี้ได้แก่ Intelsat, Gilat Satellite Networks, TerreStar และ InmarSat บริการผ่านดาวเทียมคือโทรศัพท์, ทีวีแบบออนดีมานด์ และอินเทอร์เน็ต
นายวรุธ สุวกร รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที ซึ่งจะบริหารงานเป็นเวลา 60 วันในระหว่างการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ ได้ชูนโยบายว่าจะเน้นการบริหารงานที่ทำได้จริงในช่วง 60 วันนี้ โดยประเดิมจากการการันตีว่าลูกค้าของทีโอทีจะได้ใช้เบอร์โทรศัพท์บ้านภายใน 1 วันหลังขอ จากเดิมที่ต้องรอนานเป็นเดือน
นายวรุธกล่าวอีกว่าปัญหาสำคัญของทีโอทีคือเรื่องการบริการ ซึ่งพนักงานของทีโอทียังเข้าถึงลูกค้าได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดูจากอัตราการใช้โทรศัพท์บ้านมีเพียง 70% ของเบอร์ทั้งหมด 4 ล้านเลขหมายเท่านั้น
ที่มา - โพสต์ทูเดย์
หลังจากนโยบาย 3G ภายใน 6 เดือนของไทยนั้นได้ส่งผลทำให้ AIS, DTAC และ True Move นั้นได้รับสัมปทานในการอัพเกรดระบบมาใช้ HSPA ในย่านคลื่นความถี่ 900MHz และ 1800MHz แล้วก็ตาม แต่ปัญหาปัจจุบันอยู่ที่ว่าโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ที่รองรับระบบ 3G เกือบทั้งหมดรองรับการใช้งานย่าน 2100MHz เท่านั้น
โดยนายริคาร์โด ทาวาเรส รองประธานบริหารอาวุโสฝ่ายนโยบายสาธารณะของสมาคม GSM โลก (GSMA) ได้กล่าวว่าการออกใบอนุญาตการให้บริการ 3G บนแถบคลื่นความถี่ 2100MHz ยังเป้นสิ่งสำคัญต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดบรอดแบนด์ไร้สาย เพื่อที่ไทยจะได้มีระบบที่สอดคล้องกับประเทศอื่นทั่วโลก
หลายๆ คนในบ้านเราคงใช้งานอินเทอร์เน็ตนอกบ้านผ่านทาง EDGE ผ่านทางผู้ให้บริการ GSM ที่มีให้เลือกในบ้านเรากันเป็นประจำ ปัญหาหลักของ EDGE ในตอนนี้คือความเร็วที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในบ้าน แต่ตอนนี้เองทาง Nokia Siemens Network ก็ได้เสนอการอัพเกรดซอฟต์แวร์ให้กับเครือข่าย EDGE เพื่อให้สามารถให้บริการได้ที่ความเร็ว 592 kbps หรือเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวจากในปัจจุบัน
พร้อมกันนี้ยังเตรียมการอัพเกรดเป็นเครือข่าย EDGE 2 ที่รองรับความเร็ว 1.2 Mbps สำหรับการดาวน์โหลดและ 473 kbps
เริ่มขายซอฟต์แวร์ในไตรมาสสามของปีนี้ ส่วน EGPRS 2 นั้นยังไม่ระบุเวลาเปิดตลาดแต่อย่างใด
DoCoMo ได้ทำการทดสอบระบบ Super 3G ในสภาวะแวดล้อมที่ใช้งานจริง ใกล้กับสถานีวิจัยที่ Yokosuka ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น
Super 3G มีความสามารถที่โดดเด่น ต่างจากเทคโนโลยี 3G ที่วไป เช่น มีการหน่วงเวลาที่ต่ำ, มีประสิทธิภาพในการใช้งาน spectrum ที่สูง โดยในการทดสอบดังกล่าว พบว่าสามารถใช้ความเร็ว Downlink ได้สูงถึง 250 Mbps
ว่าแต่ว่า 3G บ้านเรา จะเกิดใน 6 เดือน จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้
ที่มา - Physorg
ข่าวใหญ่ในสหรัฐแต่ไกลตัวคนไทยสักหน่อย อ่านข่าวเก่าประกอบด้วยจะดีมาก การประมูลคลื่นความถี่ 700MHz เริ่มขึ้นแล้ว
เรื่องมีอยู่ว่าความถี่ 700 MHz ในสหรัฐจะว่างลง เพราะเป็นคลื่นสำหรับสถานีโทรทัศน์เดิม แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นดิจิทัลหมดแล้ว ทางรัฐบาลสหรัฐจึงเปิดให้ประมูลความถี่กันรอบใหม่ โดยกติกาการประมูลจะซับซ้อนพอสมควร หลักสำคัญคือแบ่งความถี่เป็นบล็อคเล็กๆ และแยกประมูลกันไป โดยแต่ละบล็อคจะมีเงื่อนไขในการประมูลต่างกัน หมวดบล็อคใหญ่มี 5 อัน เรียกตามอักษร A-E
สี่ค่ายโทรศัพท์มือถือของไทยได้แก่ เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ และฮัชท์ ร่วมกันเตรียมซิมโปรโมชั่นใหม่ในราคาถูก โดยค่าโทรอยู่ที่นาทีละ 50 สตางค์ในช่วงกลางวัน และนาทีละ 1.5 - 2 บาทนอกช่วงเวลาที่กำหนดจำนวนรวมหนึ่งแสนชุด ในชื่อโครงการ "ซิมพาณิชย์"
ซิมการ์ดรุ่นนี้ยังไม่มีวางตลาดแต่อย่างใดเนื่องจากต้องใช้เวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ทางกฏหมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้อำนาจเหนือตลาด และหากโครงการนี้เริ่มดำเนินการแล้วจะมีการจำหน่ายซิมเหล่านี้ผ่านทางช่องทางของกระทรวงพาณิชย์ โดยหวังให้ซิมเหล่านี้ลงไปถึงมือของผู้ที่มีกำลังซื้อไม่สูงนักเป็นหลัก
เขียนข่าวนี้แล้วนึกถึงข่าวเมื่อปีที่แล้ว
เมื่อวานนี้ ITU ซึ่งหน่วยงานกำหนดมาตรฐานการสื่อสารภายใต้สหประชาชาติได้มีมติยอมรับ WiMAX เข้าเป็นหนึ่งในมาตรฐาน IMT-2000 หรือมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G แล้ว ท่ามกลางความยินดีของผู้ผลิตหลายรายเช่น อินเทล, ซัมซุง, โมโตโรลา, และโนเกีย ที่ลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในการวิจัยและผลักกันเทคโนโลยีนี้ให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อย่างไรก็ดีบางประเทศสมาชิกยังคงไม่เห็นด้วยกับการยอมรับดังกล่าว เช่น จีนนั้นต้องการผลักกันเทคโนโลยีของตนเป็นหลัก
บริษัท TerraNet AB. ในสวีเดน ได้พัฒนาระบบการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ ให้ใช้พื้นฐานแบบ peer-to-peer ซึ่งจะทำให้เครื่องลูกข่ายติดต่อกันได้โดยตรงในรัศมี ๒ ก.ม. โดยไม่ต้องมีสถานีฐาน (Base Station) และสามารถเชื่อมโยงสัญญาณต่อกันเป็นเครือข่าย ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป ผ่านทางเครื่องที่อยู่ระหว่างทางได้ด้วย (อ่านจากเว็บไซต์ สามารถเชื่อมต่อได้ 7 ช่วงเครื่อง) ทั้งหมดนั้นหมายความว่า ผู้ใช้ จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์แต่ละครั้งด้วย
จากข่าว จุดจบของ BitTorrent... "ไม่มี ISP ไหนชอบ P2P" มีหลายคนเสนอว่าน่าจะมีไอเอสพีที่ไม่บล็อกหรือบีบบริการใดบริการหนึ่งเป็นพิเศษ (ในที่นี้ก็หมายถึง BitTorrent แต่ในความหมายรวมๆ ก็คือบริการทุกอย่าง ถ้าสนใจประเด็นนี้ลองอ่านเรื่อง network neutrality) ตอนนี้สหรัฐอเมริกามีแล้วครับ
Copowi เป็นชื่อย่อมาจาก Community Powered Internet เป็นไอเอสพีรายแรกของสหรัฐที่ประกาศว่าจะการันตีเรื่อง network neutrality อย่างแน่นอน แถมยังแจกซีดี Ubuntu ให้กับลูกค้าทุกรายอีกต่างหาก ปัจจุบัน Copowi เปิดบริการใน 12 มลรัฐ กำลังขยายตัวให้ครบทั่วประเทศ และมีแผนจะขยายตัวไปยังต่างประเทศด้วย
ถ้าคุณเป็นผู้ที่ใช้อุปกรณ์จำพวก Windows Mobile ทั้งหลาย น่าจะเคยเห็นคำว่า DirectPush Technology กันมาบ้างแล้ว โดยเจ้า DirectPush นี่เริ่มมีมาตั้งแต่ AKU2 ของ Windows Mobile 5 เป็นต้นมา หลักการของ DirectPush ก็เหมือนกับ Push Technology ทั่วไป เช่น BlackBerry ที่ใช้การส่งข้อมูลผ่าน Data service ของโทรศัพท์มือถือ อย่าง GPRS หรือ EDGE เมื่อมีอีเมลใหม่เข้ามาในเมลบอกซ์ที่กำหนดเอาไว้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดเว็บเพื่ออ่าน และ DirectPush สามารถส่งข้อมูล PIM อื่นๆ เช่น Calendar, Contacts และ Tasks มาที่โทรศัพท์ของคุณได้ด้วย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบน Exchange server
รายงานจาก Organization for Security and Cooperation in Europe สำรวจการใช้งานอินเทอร์เน็ตในคาซัคสถาน พบว่า
นอกจากราคาสุดโหดแล้วก็ยังมีกฎระเบียบเข้มงวดอื่นๆ ที่น่าจะพอจินตนาการตามกันได้ เช่น content filtering, การปิดบริษัทรับจดโดเมนด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง, การจับกุมบล็อกเกอร์ที่โจมตีหรือให้ร้ายรัฐบาล และนโยบายใหม่ที่กำลังจะบังคับใช้ Information Security Concept ซึ่งควบคุมข้อมูลที่มีปัญหากับความมั่นคง ความแตกแยกทางความคิดในเรื่องต่างๆ ของประเทศ
คณะกรรมการโทรคมนาคมของสหรัฐ (FCC - เหมือน กทช. บ้านเรา) ได้ออกกฎบังคับว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์ผ่านระบบ VoIP ต้องสนับสนุนคนพิการ โดยเฉพาะด้านการได้ยิน
กฎนี้ครอบคลุมทั้งผู้ให้บริการโทรศัพท์อย่าง Vonage และผู้ผลิตอุปกรณ์อย่าง Linksys ว่าอุปกรณ์, บริการ รวมไปถึงคู่มือการใช้งาน จะต้องสนับสนุนการใช้งานโดยคนพิการอย่างเต็มที่
นอกจากนี้บรรดาบริษัทยังต้องจ่ายเงินเข้ากองทุน Telecommunications Relay Services (TRS) ซึ่งจะนำไปเป็นค่าจ้างของโอเปเรเตอร์ที่ช่วยโอนสายของคนพิการ (เค้าใช้วิธีส่งเป็นข้อความ) บริการโอนสายนี้เป็นบริการมาตรฐานของระบบโทรศัพท์ในสหรัฐอยู่แล้ว และ VoIP ก็ไม่มีข้อยกเว้น
ไม่รู้ว่า กทช. บ้านเรามีระเบียบพวกนี้บ้างหรือเปล่า ใครทราบช่วยเพิ่มเติมหน่อยก็ดีครับ
อย่างที่รู้กันว่าปัจจุบันนี้ Wireless Lan ที่เราใช้กันอย่างแพร่หลายในไทยนั้น คือมาตรฐาน 802.11b/g ซึ่งใช้ความถี่ในย่าน 2.4GHz แต่เนื่องจากความถี่ย่านนี้ เป็น unlicensed ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต จึงทำให้มีอุปกรณ์หลายตัวที่แย่งกันใช้ความถี่ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น Wireless Lan, Bluetooth, Cordless Phone หรือแม้กระทั่ง เตาอบไมโครเวฟ ทำให้อาจเกิดการรบกวนซึ่งกันและกันได้
อย่างไรก็ตามย่านความถี่ที่ไม่ต้องขออนุญาตนี้ยังมีอีกหลายช่วงที่กำหนดโดย ITU-R แต่เนื่องจากกฏหมายในแต่ละประเทศไม่จำเป็นต้องสงวนคลื่นไว้ตามที่ ITU-R กำหนดไว้ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ ทำไม ประเทศไทยถึงใช้ 802.11a ไม่ได้
Comcast ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีและอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของสหรัฐ ได้เปิดตัวเคเบิลโมเด็มที่มีอัตราส่งข้อมูล (ดาวน์โหลด) 150 Mbps ซึ่งเยอะกว่าเคเบิลโมเด็มในปัจจุบัน 25 เท่า! บ้านเราไม่มีเคเบิลโมเด็ม ลองเทียบกับมาตรฐาน ADSL2+ ซึ่งมีอัตราส่งข้อมูลสูงสุด 24 Mbps ดูก็น่าจะพอเห็นภาพ
เทคโนโลยีที่ใช้มีชื่อว่า DOCSIS 3.0 ซึ่งโมเด็มแบบใหม่มีราคาไม่ต่างจากแบบเดิมมากนัก ทาง Comcast ให้ความเห็นว่าน่าจะใช้ได้จริงภายในสองสามปีนี้
ที่มา - Rocky Mountain News
หลายคนอาจจะกำลังมึนกับการ์ดเมมโมรีในมือถือที่มีสารพัดแบบตั้งแต่ T-Flash, microSD, RS-MMC, ฯลฯ และที่น่าแค้นใจกว่านั้นคือมือถือของคุณไม่รับมันเลยสักการ์ดทั้งที่เล่นเอ็มพีสามได้ แต่หลังจากนี้การ์ดทุกรูปแบบที่ว่ามาอาจจะต้องกลับไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อทางซัมซุงออกซิมการ์ดที่มีความจุในตัวถึง 1 กิกะไบต์ (ถ้าพูดแบบแอปเปิลต้องบอกใส่เพลงได้ 250 เพลง) ในชื่อว่า S-SIM ซึ่งสามารถอัดหน่วยความจำเข้าไปได้มาในซิมขนาดเล็กด้วยการใช้เทคโนโลยี NAND Flash ถ้าใครเข้าไปดูที่มาจะเห็นภาพที่ตัวชิปหน่วยความจำนั้นกินพื้นที่เกือบเต็มซิมเข้าไปแล้ว
ตอนนี้กำลังฮิตแจกซิมฟรี มีค่ายไหนสนใจเรารุ่นนี้มาแจกมั่งมั๊ย...
เป็นเวลานานแสนนานที่เราถูกเตือนให้ต้องปิดโทรศัพท์เมื่ออยู่บนเครื่องบิน เพราะมันอาจจะไปรบกวนระบบอิเล็กทรอนิกส์บนเครื่องบิน แต่ตอนนี้สายการบิน Emirates จะให้เราโทรศัพท์ขณะกำลังอยู่บนเครื่องได้แล้ว โดยใช้เทคโนโลยีของ Aeromobile บนโบอิ้ง 777 โดยจะเปิดให้บริการอย่างเร็วที่สุดในต้นปีหน้านี้ ซึ่งการเปิดตัวนี้หลังจากที่สายการบิน Ryanair ประกาศที่จะให้บริการนี้ในกลางปีหน้า และขณะนี้ทาง Aeromobile ก็กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับสายการบินอื่นเพื่อให้บริการกับผู้โดยสารของเขาด้วยเช่นกัน
สำหรับค่าบริการ สายการบินกล่าวว่าจะอยู่ในระดับเดียวกับการโทรระหว่างประเทศ และเพื่อป้องกันการร้องเรียนจากผู้โดยสารอื่นจากการใช้โทรศัพท์ ทางสายการบินจะแนะนำให้ผู้โดยการปิดเสียงหรือใช้ระบบสั่นแทน