China Unicom ผู้ให้บริการมือถือหมายเลขสองของประเทศจีน (อันดับหนึ่งคือ China Mobile) กำลังพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟนของตัวเองชื่อ "WoPhone" เพื่อแข่งกับ iOS และ Android
"WoPhone" จะใช้ลินุกซ์เป็นแกนหลัก รองรับทั้งมือถือและแท็บเล็ต และในเบื้องต้นมีพันธมิตรฮาร์ดแวร์เข้าร่วมหลายราย ฝั่งของจีนเองมี ZTE, Huawei, TCL ส่วนต่างชาติก็มี Samsung, Motorola, HTC ตัวแทนของ China Unicom บอกว่า WoPhone ไม่ได้พัฒนามาจาก Android เพราะต้องการเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกูเกิลกับรัฐบาลจีน
มาถึงวันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธแล้วว่า "บรอดแบนด์" เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศ และหลายๆ ประเทศ (รวมถึงไทย) ก็มีหรือเตรียมทำ "แผนบรอดแบนด์แห่งชาติ" กันแล้ว
ในส่วนของสหรัฐ แม้จะไม่ใช่ประเทศที่มีบรอดแบนด์เป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ก็มีแผนพัฒนาบรอดแบนด์แห่งชาติเช่นเดียวกัน และล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐก็เพิ่งเปิดตัวเครื่องมือสำคัญ "แผนที่บรอดแบนด์" (National Broadband Map) เอาไว้ดูได้ว่าพื้นที่ส่วนไหนของประเทศมีหรือไม่มีบรอดแบนด์ (ทั้งแบบมีสายและไร้สาย) เข้าถึงบ้าง รวมถึงดูอัตราเร็วของบรอดแบนด์ในแต่ละพื้นที่ด้วย
ปัญหาเรื่อง net neutrality เริ่มเข้าสู่วงการมือถือจนได้ (จากที่ก่อนหน้านี้มักคุยกันเฉพาะอินเทอร์เน็ตแบบมีสาย)
เครือข่าย Verizon ของสหรัฐออกบันทึกเผยแพร่บนเว็บไซต์ว่าบริษัทจะเริ่ม "จำกัดความเร็ว" ของลูกค้าที่ใช้ mobile data มากผิดปกติที่อยู่ใน 5% ของลูกค้าทั้งหมด การจำกัดความเร็วจะทำเป็นระยะๆ ในรอบบิลนั้นและรอบบิลถัดไป Verizon ให้เหตุผลว่ามาตรการนี้ทำไปเพื่อรักษาคุณภาพของบริการกับลูกค้าอีก 95% ที่เหลือ
ประเด็นเรื่อง net neutrality ยังเป็นที่ถกเถียงกัน และยังไม่มีข้อสรุปว่าผู้ให้บริการเครือข่ายควรจำกัดปริมาณ-ความเร็วของลูกค้าหรือไม่ รวมถึงแบ่งความเร็วของทราฟฟิกตามชนิดของข้อมูลด้วย
ที่ผ่านมาเราเห็นการแฮ็กมือถือเพื่อปรับแต่งค่าต่างๆ ทำกันที่ระดับระบบปฏิบัติการหลัก (อาจรวมถึง bootloader) แต่ในงานประชุมแฮ็กเกอร์ Black Hat Conference นักวิจัยด้านความปลอดภัยเริ่มโชว์การแฮ็กตัว baseband processor (หรือบางคนเรียก radio) ซึ่งเป็นตัวสื่อสารระหว่างมือถือกับเสาสัญญาณ
Ralf-Philipp Weinmann นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลักเซมเบิร์ก ให้สัมภาษณ์ว่าเขาพบบั๊กในหน่วยประมวลผลสัญญาณ GSM ที่ผลิตจาก Qualcomm และ Infineon จึงสามารถแฮ็กเข้าไปที่ตัวมือถือได้ กระบวนการที่เขาใช้คือสร้างเสาสัญญาณหลอกๆ ขึ้นมาให้มือถือเชื่อว่าเป็นเสาจริงก่อน แล้วค่อยยิงโค้ดเข้าไปที่เฟิร์มแวร์
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ หรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า "พ.ร.บ. กสทช." ที่เพิ่งผ่านการโหวตของวุฒิสภาไปเมื่อเดือนที่แล้ว ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และมีผลบังคับใช้ในวันนี้ (20 ธ.ค. 53)
เมื่อ พ.ร.บ. กสทช. บังคับใช้ ทำให้ กทช. สิ้นสุดลง แต่ในบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ระบุให้คณะกรรมการ กทช. และเลขาธิการ กทช. ทำหน้าที่รักษาการไปก่อน จนกว่าจะสรรหาคณะกรรมการ กสทช. ชุดแรกได้
จากนี้ไป หน้าที่จะตกอยู่กับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นผู้เริ่มกระบวนการสรรหาคณะกรรมการ กสทช. ให้ครบ 11 คน เพื่อจะมาปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิตให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ถึงแผนการปรับโครงสร้างภาษีในแง่มุมต่างๆ ซึ่งในแผนมีการเก็บภาษีตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ และภาษีโทรคมนาคมที่จะเก็บจากโอเปอเรเตอร์อยู่ด้วย
ในส่วนของภาษีเครื่องโทรศัพท์มือถือจะเป็นภาษีด้านสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารของ Verizon Wireless โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ให้สัมภาษณ์ว่าบริษัทกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการคิดค่าใช้งานแบ่งตาม "ความเร็ว" ในการเชื่อมต่อ
Fran Shammo ซีเอฟโอของ Verizon บอกว่าอาจผสมเรื่องความเร็วเข้ากับจำนวนข้อมูลด้วย เช่น ถ้าอยากประหยัดก็อาจใช้เน็ตช้าเพื่อโหลดข้อมูลมากๆ หรือไม่ก็ใช้เน็ตเร็วแต่โหลดข้อมูลน้อยลง ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้คิดราคาแบบนี้ได้ก็เพราะเครือข่าย LTE สามารถกำหนดความเร็วได้นั่นเอง
ส่วนซีอีโอ Ivan Seidenberg บอกว่าเราน่าจะเห็นมือถือที่รองรับ 4G LTE ในงาน CES 2011 เดือนมกราคมนี้
ที่มา - Wall Street Journal
เป็นอีกมหากาพย์ที่จบลงด้วยความล้มเหลว CAT Telecom เจรจาซื้อกิจการของ Hutch จากบริษัทแม่ที่ฮ่องกงมายาวนาน ตอนแรกลงตัวที่ราคาประมาณ 6-7.5 พันล้านบาท แต่เมื่อนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี CAT ก็ได้รับมติให้ลดวงเงินลงมาเหลือประมาณ 4 พันล้านบาท
เมื่อสัปดาห์ก่อนคณะผู้บริหารของ CAT ได้เดินทางไปเจรจากับ Hutch ที่ฮ่องกง และได้รับคำตอบว่าไม่สามารถลดราคาลงจาก 7.5 พันล้านได้ ในวันนี้นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้แจ้งว่า CAT ยุติแผนการซื้อกิจการ Hutch อย่างเป็นทางการแล้ว
จากที่การประมูล 3G ต้องหยุดชะงักเพราะปัญหาข้อกฎหมายว่า กทช. มีอำนาจในการประมูลคลื่นหรือไม่ ทางฝ่ายนิติบัญญัติก็เร่งการออกกฎหมายจัดตั้ง กสทช. หรือชื่อเต็มๆ ชื่อ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
เดิมทีกฎหมายฉบับนี้มีประเด็นที่ขัดแย้งกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา แต่เมื่อตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างทั้งสองสภาก็สามารถประนีประนอมกันได้ ตัวร่างผ่านการโหวตของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และวันนี้วุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 82 ต่อ 4 งดออกเสียง 4 และไม่ลงคะแนน 1 ครับ
สืบเนื่องจากการที่แผนแม่บท ICT แห่งชาติฉบับที่ 2 ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 แต่ผมเพิ่งจะได้มีโอกาสมายุ่งเกี่ยวและศึกษาแผนแม่บทนี้อย่างละเอียด จึงอยากนำมาสรุปให้ทุกท่านได้ย้อนมามองสาระสำคัญของแผนแม่บทนี้อีกสักครั้ง
ผมคิดว่าเราทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชน Blognone ไม่ควรจะมองข้ามแผนแม่บทนี้ อย่างน้อยก็น่าจะพอเห็นภาพและเข้าใจในระดับหนึ่งว่าการบริหารระดับประเทศตั้งใจจะพา ICT ของประเทศไทยไปในทิศทางใด เราจะได้ร่วมแรงร่วมใจกัน มุ่งพัฒนาให้ไปในทิศทางเดียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อก่อให้เกิดศักยภาพอันสูงสุด
บทความชิ้นนี้เป็นการผสมผสานระหว่างข้อความดั้งเดิมจากแผนแม่บท การสรุปความจากแผนแม่บท และความเห็นส่วนตัวในบางส่วนเท่าที่จำเป็นครับ
บริษัท TeliaSonera ร่วมกับ Ncell เปิดตัวบริการ 3G ที่สูงที่สุดในโลกแล้วในประเทศเนปาล โดยบริการดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่ปีนเขาในบริเวณยอดเขาเอเวอร์เรสต์สามารถคุยโทรศัพท์ เช็คอีเมล เล่นเว็บ และคุยวีดีโอโฟนได้อย่างสะดวกโยธิน ความเร็วเริ่มต้นที่เปิดให้บริการคือ 3.6Mbps และสามารถเพิ่มได้ถึง 7.2Mbps
ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการคือช่วยเพิ่มการติดต่อสื่อสารระหว่างการไต่เขา และอาจใช้ในการขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินได้อีกทางหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตาม งานนี้ก็มีคนออกมาต่อต้านเหมือนกัน ประมาณว่าตอนอยู่ในเมืองก็รำคาญเสียงคุยโทรศัพท์ (ของคนอื่น) จะแย่อยู่แล้ว นี่หนีมาไกลขนาดนี้ ยังไม่พ้นอีกหรือ
ใครหนอจะเป็นคนแรกที่เขียนข่าวลง Blognone จากจุดที่สูงที่สุดของโลก :-)
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการติดตั้งสถานีฐานและอุปกรณ์เพื่อให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตของ ทีโอที ทั่วประเทศ สามารถทำได้เพราะเป็นการออกใบอนุญาตที่ดำเนินการก่อนวันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งและเป็นไปตามแผนคลื่นความถี่เดิม แต่ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์ 3G จาก กทช. ก่อน
หลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการงบประมาณลงทุน 3G ทั่วประเทศ มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท ทีโอทีได้ปรับรูปแบบการลงทุน จากเดิมจะลงทุนเองทั่วประเทศเป็นการใช้เสาสถานีฐานร่วมกันกับ เอไอเอส และ กสท เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการลงทุน นอกจากนี้ทีโอทียังเตรียมแผนรองรับ หลังจากเอกชนได้รับใบอนุญาตฯ จาก กทช. ว่าต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป
แม้หลายยี่ห้อจะอ้างว่าสินค้าของตัวเองใช้เทคโนโลยี 4G แล้วก็ตามแต่มาตรฐาน 4G จากทาง ITU ซึ่งเป็นหน่วยงานกำหนดมาตรฐานการสื่อสารระหว่างประเทศนั้นยังไม่เคยออกมาก่อนหน้านี้ และวันนี้ทาง ITU ก็ได้ประกาศให้เทคโนโลยี LTE-Advanced และ WirelessMAN-Advanced เป็นเทคโนโลยี 4G อย่างเป็นทางการ
เทคโนโลยี LTE นั้นเราอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ตัว LTE-Advanced โดยมันคือเทคโนโลยีที่บ้านเราเคยได้ยินกันในชื่อ 3.9G เมื่อครั้งที่เรากำลังจะประมูลคลื่นความถี่ 2100MHz และถูกระงับไป ส่วน WirelessMAN-Advanced นั้นคือ WiMAX2 นั่นเอง
ชื่ออย่างเป็นทางการของ 4G นั้นคือ IMT-Advanced ซึ่งถ้าใครเคยอ่านประกาศกทช. บ้านเราก็จะเห็นว่ามีการเรียกว่า IMT
Google Fiber เป็นโครงการที่กูเกิลประกาศมาเมื่อต้นปีว่าจะเลือกหมู่บ้านจำนวนหนึ่งเพื่อติดตั้งโครงข่ายและให้บริการอินเทอร์เน็ตระดับ 1Gbps แก่ทุกบ้านในบริเวณ และวันนี้ทางกูเกิลก็ประกาศพื้นที่ทดสอบการติดตั้งพื้นที่แรกคือส่วนที่อยู่อาศัยของมหาวิทยาลัย Stanford
ถ้าจำได้มหาวิทยาลัยนี้คือที่ๆ Larry Page และ Sergey Brin สองผู้ก่อตั้งกูเกิลมาพบกัน และนั่งทำกูเกิลจนเรียนไม่จบกันทั้งคู่
ข่าวแรก หลังจากที่ ศาลปกครองสูงสุดสั่งระงับการประมูล 3G ได้ไม่ถึงเดือน TOT3G ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์คลื่น 3G ย่านความถี่ 2100 GHz รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ได้แย่งซีนทุกค่ายเปิดตัวแพคเกจใหม่ "Unlimited Data SIM" เอาใจลูกค้าขาโหลดหนักๆหลังจากที่มีลูกค้าเรียกร้องจำนวนมาก ในราคาเริ่มต้นที่ 790 บาท ใช้ได้ 15 วัน และอีกราคาคือ 1,490 บาท ใช้ได้ 30 วัน สามารถใช้บริการ Data ได้อย่างเดียว หากหมดอายุจะต้องซื้อซิมใหม่ มีขายแล้วตามศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที ในกรุงเทพฯและปริมณฑล และ ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที ชั้น 1 อาคาร 3 บมจ.ทีโอที สำนักงานใหญ่ แจ้งวัฒนะ
วานนี้ รมว.คลัง ได้เรียกผู้ประกอบการโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ 3 รายของไทยคือ เอไอเอส ทรู และดีแทค เพื่อหารือถึงแนวทางในการพัฒนาโทรคมนาคมของไทย รมว.คลัง กล่าวว่า การหารือในครั้งนี้เอกชนรายใหญ่ทั้ง 3 รายเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลทั้ง 4 แนวทางคือ 1) การแปรสัญญาสัมปทานมาเป็นใบอนุญาต 3G 2) การพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 13 และ 22 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุน 3) การจัดตั้ง กสทช. และ 4) การทำตลาด MVNO ร่วมกับทีโอที ในส่วนของ พ.ร.บ.ร่วมทุนตามมาตรา 13 และ 22 นั้น ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ไปดำเนินการ คาดว่าภายในสิ้นปีจะเสร็จ
เมื่อวานนี้ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่รมว.ไอซีทีได้ให้กสท.กลับไปทบทวนการเข้าซื้อกิจการโครงข่ายระบบ CDMA และลูกค้าจาก ฮัทชิสัน (ฮัทช์) ใหม่ โดยให้เจรจาลดราคาลงเหลือไม่เกิน 4,000 ล้านบาท จากเดิม 7,500 ล้านบาทนั้น กสท.ได้แจ้งผู้บริหารฮัทช์แล้ว ต้องรอคำตอบจากฮัทช์ว่าจะยินยอมขายตามที่รมว.ไอซีทีให้นโยบายหรือไม่ ขณะเดียวกันกสท.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการเข้าซื้อกิจการฮัทช์กับการลงทุนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก CDMA เป็น HSPA (High-Speed Packet Access) คาดว่าภายในสิ้นเดือนต.ค.นี้จะรู้ผลการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียและการลงทุนว่าแบบไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน หลังจากนั้นจะนำรายงานให้บอร์ด กสท.รับทราบเพื่ออนุมัติในเดือนพ.ย.นี้
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กลุ่มบริษัทวายทีแอล คอร์ป. (YTL Corp.) ของมาเลเซีย เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า เตรียมเปิดให้เครือข่ายการสื่อสารอินเทอร์เน็ตระบบ 4G ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ รวมถึงเตรียมแผนเสนอขอเชื่อมต่อโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ตกับบริษัทเซซมิ คอร์ป. (Sezmi Corp.) ของสหรัฐฯ อีกด้วย
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
เพิ่มเติม โลกนี้ยังไม่มี 4G อย่างแท้จริง ITU กำลังพิจารณามาตรฐานนี้ และน่าจะเสร็จประมาณปี 2012 คำว่า 4G ที่เห็นในช่วงนี้เป็นชื่อเพื่อการโฆษณาเท่านั้น (ขอบคุณคุณ mk ด้วยครับที่เข้ามาเสนอแนะ)
มาตรฐาน WiMAX 2 หรือ IEEE 802.16m ที่มีกำหนดการเสร็จสิ้นการวางมาตรฐานในเดือนพฤศจิกายนนี้นั้น ล่าสุด Samsung และ UQ Communications ได้โชว์เดโมการใช้งานผ่านมาตรฐานดังกล่าวที่ประเทศญี่ปุ่น โดยสาธิตการใช้งานโดยผ่านภาพยนตร์แบบ 3 มิติความละเอียดสูงจำนวน 4 หน้าจอ ซึ่งใช้การสตรีมมิ่งสดๆ จากเซิร์ฟเวอร์โดยตรง การเดโมในงานสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 330 Mbps เลยทีเดียว
ที่มา: Boy Genius Report
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ฉลองครบรอบ 6 ปี โดยมีการจัดงานเฉลิมฉลองภายใต้คอนเซปต์ล้านนา พร้อมกับเขียนภาษาพม่าไว้ที่เวทีหอประชุมที่มีความหมายว่า "ประเทศไทยและพม่ายังไม่เปิดให้บริการ 3G" ในงานดังกล่าว กทช. ได้รับมอบกระเช้าแสดงความยินดีจากผู้รับใบอนุญาต คือ ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม และจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย
คุณ Neelie Kroes ประธานที่ดูแลด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของสหภาพยุโรป (EU) ได้กล่าวในงานสัมมนาของสมาคมผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมแห่งยุโรป (European Telecommunications Network Operators Association: ETNO) ว่าการที่เก็บค่าบริการข้ามแดนอัตโนมัติ (โรมมิ่ง) ระหว่างเครือโทรศัพท์มือถือแพงนั้นเป็นแนวคิดที่ล้าสมัยแล้ว
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้เผยผลสำรวจล่าสุด พบว่าในช่วงเริ่มต้นปี 2010 มีผู้ใช้บริการระบบสื่อสารเคลื่อนที่ยุคที่ 3 (3G) ทั่วโลกมากกว่า 667 ล้านคน ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงกว่าเมื่อ 4 ปีก่อนถึงเกือบ 10 เท่า และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะมีผู้ใช้บริการ 3G ทั่วโลกมากกว่า 900 ล้านคน
จากสถิติล่าสุดพบว่าบริการ 3G นั้นคิดเป็นร้อยละ 16 ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในปัจจุบัน
ในด้านการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบผ่านสายในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เพิ่มขึ้นจาก 216 ล้านเลขหมายเป็น 479 ล้านเลขหมาย ITU เชื่อว่าภายในปี 2015 ประชากรโลกเกินครึ่งน่าจะสามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ได้
หลังจากที่ศาลปกครองเลื่อนการตัดสินคดีความจากการที่ กทช. เข้ายื่นอุทธรณ์ และ ศาลปกครองสูงสุดรับอุทธรณ์ และให้ กสท โทรคมนาคม ทำอุทธรณ์มาแก้ จนในวันนี้ ที่เป็นวันเส้นตายหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายยื่นอุทธรณ์ทั้งหมด ได้ข้อสรุปว่า ศาลปกครองสูงสุดยังคงยืนคำสั่งศาลปกครองกลางเดิม หรือก็คือสั่งให้ระงับการประมูล 3G ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดลง โดยมีความเห็นบางส่วนว่า "การที่ไม่มี 3G ไม่ได้ถือว่าเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ถึงแม้ว่าจะเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะประโยชน์ แต่ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความชอบด้วยกฎหมาย"
แถลงการณ์ฉบับนี้เป็นคนละฉบับกับแถลงการณ์ของ Blognone แต่มีจุดมุ่งหมายใกล้เคียงกัน เป็นแถลงการณ์ที่หลายกลุ่มช่วยกันร่างขึ้น สามารถร่วมลงชื่อได้ตามลิงก์ท้ายแถลงการณ์ (ไม่ใช่ในคอมเมนต์)
แถลงการณ์เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://bit.ly/thai3g-statement ถ้าต้องการเผยแพร่ต่อกรุณาใช้ลิงก์นี้ครับ - mk
แถลงการณ์ ขอให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมืองสนับสนุนการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมเพื่อประชาชน กรณีการประมูลสามจี
ตอนที่ผมเขียนอยู่นี้ เรายังไม่รู้ว่ามหากาพย์ 3G จะลงเอยเช่นไร จะเลื่อน เลิก หรือเดินหน้าต่อ
แต่ในเมื่อสัปดาห์ก่อน ผมมีโอกาสได้ร่วมทริปสื่อมวลชน เยี่ยมชมพื้นที่รีสอร์ทที่ใช้จัดประมูล เตรียมทำสกู๊ปเพื่อรายงานการประมูลอย่างเต็มที่ (แถมยังได้อยู่ฟัง ดร. นที แถลงข่าวหลังศาลมีคำสั่งคุ้มครองอีกด้วย) ดังนั้นระหว่างที่เรายังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับอนาคตของ 3G ก็อ่านรายงานกันไปก่อน ถ้าเกิดว่าได้ประมูลต่อจริงๆ จะได้ทำความเข้าใจกับระบบและขั้นตอนการประมูลได้ง่ายขึ้นนะครับ
ก่อนอื่นขอใช้พื้นที่ตรงนี้ แนะนำข้อมูลเบื้องต้นของการประมูลสักเล็กน้อย เพราะจากข่าวก่อนๆ หน้านี้ ยังมีความสับสนและเข้าใจผิดอยู่มาก