วันศุกร์นี้ (11 มิ.ย.) ผมจะไปเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่อง การอนุญาตประกอบกิจการสื่อสารความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไร้สาย (Broadband Wireless Access : BWA) (แปลง่ายๆ ว่ามันคือเรื่อง WiMAX นั่นล่ะครับ) ดังนั้นเป็นโอกาสอันดีที่ใครอยากฝากคำถามถึง กทช. เรื่อง WiMAX (เรื่อง 3G/3.9G ไม่รับเพราะคนละงานกัน) สามารถใส่ไว้ในคอมเมนต์ได้เลย แล้วจะเอาไปถามให้เท่าที่ถามได้ครับ
หมายเหตุ: ก่อนถามลองอ่านข่าวที่เกี่ยวข้องก่อน จะได้ไม่ถามซ้ำ เช่น
มีรายงานว่า MobilTel ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในประเทศบัลแกเรียสั่งระงับเบอร์ 0888-888-888 หลังจากที่เจ้าของเบอร์นี้ทุกรายในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาล้วนแต่ต้องมีอันเป็นไปก่อนวัยอันควร
กทช. เร่งผลักดันให้ออกใบอนุญาต 3.9G เตรียมเปิดประชาพิจารณ์ปลายเดือนนี้ เริ่มประมูลเดือน ส.ค. เสร็จสิ้น ก.ย. หวังให้ได้ใช้กันภายในปีนี้
วันที่ 26 พ.ค. 2553 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และประธานคณะทำงาน 3.9 จี เริ่มให้ความชัดเจนว่าการประมูลใบอนุญาตจะเสร็จสิ้นประมาณเดือน ก.ย. ปีนี้และคาดว่าคนไทยจะได้ใช้บริการดังกล่าวภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นแบบโฟกัสกรุ๊ปไปรอบหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมา
อิทธิพลของสตีฟ จ็อบส์ สำหรับการตอบคำถามจากลูกค้าทางอีเมล อาจส่งผลสะเทือนต่อ CEO ของบริษัทอื่นๆ เสียแล้ว
จากกรณีของ AT&T เริ่มจำกัดปริมาณการใช้งาน data ทำให้ลูกค้าหลายคนไม่พอใจ และมีลูกค้ารายหนึ่งชื่อ Giorgio Galante ได้ตัดสินใจอีเมลไปบ่นกับ Randall Stephenson (ซีอีโอของ AT&T) ว่าการคิดราคาแบบนี้ไม่สมเหตุสมผล โดยเขาจะเปลี่ยนไปใช้ Sprint แทน แถมยังดักคอไว้ด้วยว่าอย่าให้พนักงานประชาสัมพันธ์ประจำตัว CEO ที่ไม่รู้เรื่องอะไรโทรมาหาเขา
ไม่นานหลังจากนั้น เขาได้รับ voicemail จากพนักงานประชาสัมพันธ์ที่ว่า พูดสั้นๆ ว่า "ขอบคุณสำหรับความเห็น แต่อย่ามารบกวน CEO ของเราอีก มิฉะนั้นคุณจะได้รับจดหมายเตือนทางกฎหมาย"
แม้จะไม่โด่งดังเท่ากับการประมูลคลื่น 3G ในอินเดีย แต่การประมูลคลื่นความถี่ในเยอรมันก็เพิ่งปิดฉากลงในเวลาไล่เลี่ยกันหลังจากผ่านมา 27 วัน 224 รอบ ในวันที่ 20 พ.ค. 2553 ที่ผ่านมา งานนี้รัฐบาลเยอรมันได้ไปราว 1.75 แสนล้านบาท
ย้ำก่อนว่าอันนี้คือ Micro SIM ของทาง True Move ที่ออกมาสำหรับผู้ใช้ iPad และอุปกรณ์ใกล้เคียงอื่นๆ (iPhone 4G?) ไม่ใช่ข่าว True Move วางขาย iPad แต่อย่างใดนะครับ
ผมได้เมลจากประชาสัมพันธ์ของบริษัท สรุปสั้นๆ ว่าทาง True Move จะออกซิม 3G พร้อมแพกเกจ True Wi-Fi ที่พิเศษกว่าปกติคือซิมอันนี้เป็น Micro SIM เท่านั้นเอง
รายละเอียดดูได้จากข้อความประชาสัมพันธ์ด้านในครับ
19 พ.ค. 2553 - อินเดียปิดฉากการประมูลใบอนุญาต 3G แล้วหลังจากผ่านมา 34 วัน 183 รอบ มูลค่ารวมกว่าห้าแสนล้านบาท!
Bharti ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดในอินเดียต้องจ่ายเงินสูงสุดราว 9.4 หมื่นล้านบาทเพื่อให้บริการใน 13 พื้นที่ ตามมาด้วย Vodafone 8.9 หมื่นล้านบาทสำหรับใบอนุญาตใน 9 พื้นที่ และ Reliance 6.5 หมื่นล้านบาทสำหรับใบอนุญาตใน 11 พื้นที่ มูลค่ารวมของการประมูลนั้นอยู่ที่ 5.2 แสนล้านบาท (เกือบสองเท่าจากที่ทางการอินเดียเคยคาดการณ์ไว้)
หลังจากเป็นข่าวลือมาตั้งแต่เมื่อวานนี้ วันนี้ทาง กทช. โดยนายพิทยาพล จันทนะสาโร รองเลขาธิการ กทช. ก็ออกมาให้ข่าวแล้วว่า บอร์ดมีมติให้ผู้ให้บริการทั้งหมดต้องให้บริการในราคาเท่ากัน ทั้งการโทรในเครือข่ายและนอกเครื่อข่ายจริง โดยมีเหตุผลว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ใช้มักไม่รู้ว่ากำลังโทรไปยังเครือข่ายใด โดยค่าโทรที่กำหนดไว้นั้นจะต้องไม่เกิน 3 บาทต่อนาที
จุดน่าสนใจของเรื่องนี้คือการที่นายพิทยาพลกล่าวถึงเรื่องการตั้งราคาค่าโทรตามเวลา ว่าเป็นเรื่องเล็กและจะมีการลงมติในเรื่องนี้อีกครั้ง ทำให้น่าสนใจว่าหากผู้บริโภคไม่รู้ว่ากำลังโทรไปเครือข่ายใด ผู้บริโภคก็อาจจะไม่รู้ด้วยว่าค่าโทรแต่ละเวลาเป็นเท่าใดหรือไม่ในความคิดของ กทช.
คณะกรรมการการสื่อสารเกาหลีประกาศว่าจะร่วมมือกับบริษัทหลักๆทางด้านการสื่อสารโทรคมในประเทศ ทำการทดลองแพร่สัญญาณภาพสามมิติด้วยความละเอียดขนาด Full HD ผ่านทางเครือข่ายทีวีผ่านอินเตอร์เน็ต (IPTV) ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ โดยที่ทางคณะกรรมการคาดว่าจะเริ่มอนุมัติไลเซนส์การเผยแพร่สัญญาณภาพสามมิติในช่วงต้นปีหน้า
ถึงแม้อังกฤษและญี่ปุ่นได้ทำการทดลองแพร่สัญญาณภาพสามมิติผ่านทางดาวเทียมไปแล้ว เกาหลีใต้จะเป็นประเทศแรกที่ทำการทดลองแพร่สัญญาณภาพสามมิติทางสายสัญญาณบนดิน
ที่มา - TechCrunch
หันกลับมามองกทช.บ้านเราแล้วถอนหายใจหนึ่งเฮือก
มีข่าวอย่างไม่เป็นทางการออกมาว่าบอร์ดกทช. กำลังมีมติเพื่อบังคับให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งหมดยกเลิกโปรโมชั่นโทรราคาถูกภายในเครือข่าย โดยข่าวนี้มีการเปิดเผยจากนายธนา เธียรอัจฉริยะ ผู้บริหารทางฝั่ง DTAC ส่วนทางด้าน AIS และ Truemove นั้นยังไม่มีการออกมาให้ความเห็นในกรณีนี้ แต่ค่อนข้างแน่ชัดว่าจะมีคำสั่งนี้จริง
ผมไม่แน่ใจเหตุผลของการออกคำสั่งนี้นัก อย่างไรก็ตามหากค่าบริการภายในเครือข่ายไม่สามารถถูกไปกว่าค่าบริการข้ามเครือข่ายได้ นั่นจะหมายความว่าเราจะไม่สามารถใช้ค่าบริการที่ถูกกว่าค่าบริการระหว่างผู้ให้บริการเก็บกันเองหรือค่า IC ไปได้เพราะไม่เช่นนั้นหากลูกค้าโทรข้ามเครือข่ายจำนวนมากๆ ก็จะกลายเป็นว่าผู้ให้บริการขาดทุนไป
ตามรัฐธรรมนูญปี 40 กำหนดให้ประเทศไทยต้องมีองค์กรกำกับดูแลคลื่นความถี่ 2 องค์กรคือ กทช. และ กสช. ซึ่งสามารถตั้งสำเร็จได้แค่ กทช.
พอมาถึงรัฐธรรมนูญปี 50 ได้แก้ปัญหานี้โดยระบุว่ามีเพียงองค์กรเดียวคือ กสทช. ซึ่งจำเป็นต้องมี พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูและวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... ซึ่งปัจจุบันผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และอยู่ในชั้นของวุฒิสภา โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้กำหนดให้หน่วยงานที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ (เช่น ทหาร หรือรัฐวิสาหกิจ) ต้องคืนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของคลื่นมาให้ กสทช. เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ด้วยการประมูล
รายงานอุตสาหกรรมมือถือประจำไตรมาสแรกของปี 2010 พบว่ายอดขายโตเพิ่มถึง 22% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2009 ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก สรุปว่ามีโทรศัพท์ถูกขายออกไปทั้งหมด 294.9 ล้านเครื่อง
งานนี้คนที่รับเต็มๆ คือ RIM เจ้าของ BlackBerry ที่ขึ้นมาติดห้าอันดับแรกผู้ผลิตมือถือ (รวมทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะสมาร์ทโฟน) ได้เป็นครั้งแรก โดยแซง Motorola ขึ้นมาเป็นอันดับสี่ร่วมกับ Sony Ericsson ที่ 10.6 ล้านเครื่อง ส่วน Motorola อดีตผู้ผลิตมือถืออันดับสอง ตอนนี้ร่วงจากห้าอันดับแรกไปเรียบร้อยแล้ว ยอดขาย 8.5 ล้านเครื่อง
สามอันดับแรกยังเป็น Nokia, Samsung, LG ตามลำดับ มียอดขายเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะ Samsung โตถึง 40% ถ้านับอัตราการเติบโตเป็นรองแค่ RIM เท่านั้น
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รายงานว่า บอร์ดของบริษัท กสท โทรคมนาคม ในฐานะผู้ให้สัมปทานโทรศัพท์มือถือแก่ True Move ได้มีมติเอาผิด True ในหลายข้อหา ซึ่งประกอบด้วย
อินเดียเพิ่งเปิดให้ประมูลใบอนุญาต 3G ไปเมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา อินเดียถือเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตของผู้ใช้บริการรวดเร็วที่สุดโลก โดยแต่ละเดือนจะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นราว 20 ล้านราย จึงไม่แปลกที่ราคาของใบอนุญาตที่ครอบคลุมทั่วประเทศจะไต่ระดับขึ้นไปสูงถึงใบละ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว (ณ วันที่ 19 เมษายน ซึ่งเป็นวันที่ 7 ของการประมูล ผ่านมาแล้ว 40 รอบ) ไม่รู้จะไปจบกันที่เท่าไหร่
อ้างอิง Mobile Business Briefing
(มีต่อ)
ขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติมเสริมความเข้าใจ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่านนะครับ
T-Mobile (บริษัทลูกของ Deutsche Telekom) และ Orange (บริษัทลูกของ France Telecom) ในสหราชอาณาจักรแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา (ไม่ได้โกหก) ว่าแผนการควบรวมกิจการของทั้งคู่ได้รับอนุมัติจากทางการแล้ว ส่งผลให้บริษัทใหม่กลายเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร และ O2, Vodafone, และ 3 (Hutchison) กลายเป็นที่สอง ที่สาม และที่โหล่ไปตามลำดับ
รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของญี่ปุ่นได้พิจารณาทบทวนการ "ล็อกซิม" ไม่ให้โทรศัพท์มือถือจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรายใช้ซิมการ์ดของค่ายอื่น และจะประชุมในประเด็นนี้กับภาคธุรกิจและผู้บริโภคในวันศุกร์นี้
ทาง NTT DoCoMo ค่ายมือถืออันดับ 1 ของญี่ปุ่นออกมาโต้ว่า ต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง เพราะบริษัทมีบริการที่มีลักษณะเฉพาะหลายอย่าง ไม่ใช่เฉพาะด้านเสียง ซึ่งจะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อใช้เครื่องโทรศัพท์รุ่นพิเศษทั้งหลาย การปลดล็อกซิมอาจจะทำให้มีข้อจำกัดในการบริการได้
บริษัท Telecom Egypt ที่มีรัฐบาลของประเทศอียิปต์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ได้ออกมาประกาศว่ารายได้นั้นหดลงกว่า 13 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว โดยสาเหตุหลักเกิดจากการที่ลูกค้าหนีไปใช้บริการ VoIP ราคาถูกกันหมด ถ้าคุณเป็นเจ้าของหน่วยงานรัฐที่ขาดทุนแบบนี้คุณจะทำอย่างไร?
แน่นอน ง่ายนิดเดียว ก็แบนมันซะสิ! รัฐบาลอียิปต์ได้ทำการสั่งแบนการโทรระหว่างประเทศผ่าน VoIP ทุกชนิด โดยการสั่งแบนในครั้งนี้ส่งผลกระทบกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมเกือบทุกรายในประเทศรวมถึง Vodafone, Mobinil และ Etisalat
การเจริญเติบโตของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายต่างๆ คงจะส่งผลต่อปรากฎการณ์นี้ เมื่อ CEO ของอิริกสัน Hans Vestberg กล่าวในงานประชุม CTIA 2010 (งานประชุมของผู้นำเทคโนโลยีไร้สาย) ที่ลาสเวกัสว่าปริมาณข้อมูลแบบ Non-voice นั้นเติบโตเร็วมาก (โตขึ้นถึง 280% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา) และมากกว่าทราฟฟิคของข้อมูลเสียงบนเครือข่ายไร้สายซึ่งสูงถึงเดือนละ 140,000 เทราไบท์ไปเรียบร้อยแล้ว
Vestberg ระบุว่า แค่ในวันตรุษจีนที่ผ่านมาก็มีการส่งข้อความถึงกว่า 2.3 พันล้านข้อความในช่วงเวลาเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น ซึ่ง Vestberg เห็นว่านี่เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมาก ที่คนใช้บริการข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายเพียง 400 ล้านคน สามารถสร้างทราฟฟิคมากกว่าคนใช้โทรศัพท์กว่า 4.6 พันล้านคนทั่วโลกได้
บริษัทวิจัย comScore เผยผลการสำรวจส่วนแบ่งตลาดมือถือในสหรัฐอเมริกา ในรอบ 3 เดือนที่สิ้นสุดในเดือนมกราคม 2010
ตลาดมือถือรวม (ทั้งสมาร์ทโฟนและมือถือธรรมดา) ส่วนแบ่งตลาดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และอันดับไม่เปลี่ยนแปลง 5 อันดับแรกได้แก่ Motorola (22.9%) LG (21.7%) Samsung (21.1%) Nokia (9.1%) และ RIM (7.8%)
ถ้าคิดเฉพาะสมาร์ทโฟน 5 อันดับแรก
ผมสรุปเอาเองว่า ถึงไมโครซอฟท์จะลดเยอะ แต่มี Windows Phone 7 รอไว้แล้ว น่าจะอยู่ได้ยาว แต่ Palm นี่อาการหนักแฮะ
หลังจากภารกิจของ กทช. ขาดช่วงไประยะหนึ่ง เพราะคณะกรรมการชุดก่อนหมดวาระ ต้องจับฉลากออกและสรรหากรรมการใหม่บางส่วน ตอนนี้คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ เรียบร้อย พร้อมทำงานต่อ
วันนี้ (2 มี.ค.) เป็นวันเริ่มงานวันแรกของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมชุดใหม่ ซึ่งก็ไฟแรงเริ่มประชุมทันที สิ่งที่ กทช. ชุดใหม่ได้ประกาศต่อสื่อคือ จะเร่งการออกใบอนุญาต 3G, WiMax รวมถึงติดตามการดำเนินงานของ number portability ด้วย ในกรณีของ 3G นั้นคาดว่าภายใน 3 เดือนจะสามารถเริ่มเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาได้
ในขณะที่บ้านเรายังเพิ่งได้เริ่มใช้ 3G กันแบบพอหอมปากหอมคอไม่กี่พื้นที่ ตอนนี้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงบนโครงข่ายโทรศัพท์มือถือก็พัฒนามาถึงระดับกิกะบิตกันแล้ว
งานนี้ บริษัทอีริคสัน ผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้นำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดอันนี้มาแสดงเป็นครั้งแรกในงาน Mobile World Congress 2010 ด้วย โดยการที่จะทำให้ได้ความเร็วสูงขนาดนั้น อีริคสันได้ใช้เทคโนโลยี MIMO 4 เสา คู่กับ Multi Carrier อีก 4 ช่องสัญญาณ ช่องละ 20MHz รวมช่องสัญญาณทั้งสิ้น 80MHz ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะทำความเร็วได้ถึง 1 Gbps
ประกาศสำคัญอันหนึ่งในงาน Mobile World Congress 2010 คือผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรายใหญ่ของโลก นับได้ทั้งสิ้น 24 เจ้า เช่น Orange, AT&T, China Unicom, China Mobile, Verizon, Vodafone, NTT DoCoMo, Softbank, Telefónica รวมถึง Telenor (เจ้าของ DTAC) และ SingTel (เจ้าของ AIS) ประกาศสร้างระบบการจำหน่ายแอพพลิเคชันบนมือถือที่ใช้งานได้ทั่วโลก
พันธมิตรทั้ง 24 รายรวมตัวกันใช้ชื่อว่า Wholesale Applications Community (ชุมชนแอพพลิเคชันขายส่ง?) มีลูกค้ารวมกัน 3 พันล้านเลขหมาย นอกจากนี้ยังผนึกกำลังกับผู้ผลิตมือถือ 3 เจ้าใหญ่คือ Samsung, LG, Sony Ericsson และสมาคม GSMA อีกด้วย
เมื่อปี 2008 มีข่าวว่า Motorola แยกบริษัท หวังกู้วิกฤตกิจการมือถือ แต่เรื่องก็เงียบไป และ Motorola ก็ยังพยุงตัวพอไปได้ แม้จะมีส่วนแบ่งในตลาดโลกลดลงเรื่อยๆ ก็ตาม
แต่ล่าสุดแผนการแยกบริษัทกลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้ง เพราะ Motorola ออกมาประกาศว่าน่าจะแยกสำเร็จในไตรมาสแรกของปี 2011 บริษัทแรกจะขายตัวเครื่องมือถือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้าน ส่วนบริษัทที่สองเน้นลูกค้าองค์กรและระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ ทั้งสองบริษัทจะขายหุ้นแยกจากกันในตลาดหลักทรัพย์
ซีอีโอคู่ของ Motorola จะแยกกันไปดูแลคนละบริษัท โดย Sanjay Jha ที่ออกข่าวมือถือของ Motorola บ่อยๆ จะดูแลบริษัทแรก และ Greg Brown ซีอีโออีกคนรับบริษัทที่สองไป
DTAC ได้ยื่นเรื่องไปยัง กสท. เพื่อขอเปิดบริการ 3G (HSPA) บนคลื่นความถี่เดิมทั่วกรุงเทพมหานครแบบไม่คิดค่าบริการ หลังจากได้ทดลองเปิดบริการไปในบางพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา ผลตอบแทนที่คาดหวังไม่ใช่รายได้ แต่เป็นการสร้างชุมชนการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และรักษาฐานลูกค้าไม่ให้ไหลออกไปใช้ 3G ของระบบอื่น
นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DTAC พูดถึงภาพรวมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมปีนี้ที่ใบอนุญาตการให้บริการ 3G ยังไร้ความชัดเจนว่า
แข่งขันกันที่ความเร็วของบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย จะเป็นปีที่ผู้ใช้จะมีโอกาสได้ใช้บริการฟรีเหมือนรถเมล์ฟรี
ทางด้าน กสท. เจ้าของสัมปทาน บอกว่าอนุญาตให้ขยายพื้นที่ให้บริการเท่าใดก็ได้ ถ้าหากเป็นการให้บริการฟรี