พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และประธานคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์ 3G ทวิตข้อความหลังศาลปกครองกำหนดอ่านคำสั่งรับอุทธรณ์ของ กทช. หรือไม่ โดยมีข้อความดังภาพตัดแปะหน้าจอของทวิตเตอร์ @DrNatee39G ท้ายข่าว (อ่านย้อนศรแบบ Twitter Timeline) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
สรุปสถานการณ์ล่าสุดกับการประมูล 3G ประจำวัน
หลังจากที่ช่วงหัวค่ำของวันพฤหัสที่ 16 ก.ย. ศาลปกครองกลางสั่งระงับการประมูล 3G วันถัดมา ศุกร์ที่ 17 ก.ย. ช่วงบ่าย ทาง กทช. นำโดย พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้เข้ายื่นเอกสารอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดด้วยตัวเอง
ช่วงเย็นของวันที่ 17 ก.ย. มีข่าวว่าศาลจะส่งคำสั่งมายัง กทช. ในเวลา 23.00 น. แต่เมื่อถึงเวลาที่กำหนด พ.อ. นที ได้ทวีตข้อความ แจ้งว่า "เรียนทุกท่านครับ เราต้องรอวันจันทร์ 0830 ครับ ศาลจะอ่านคำสั่งครับ"
เมื่อช่วงเช้าวันนี้ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ได้เข้ายื่นอุทธรณ์ต่อคำสั่งศาลปกครองสูงสุด จากกรณีที่ศาลปกครองกลาง (ชั้นต้น) มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และสั่งระงับการประมูล 3G ที่กำลังจะมีขึ้นที่โรงแรมเอวาซอน หัวหินฯ ลง
ล่าสุด ดร.นที ศุกลรัตน์ ก็ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองสูงสุดว่า ให้รอฟังคำสั่งของศาลที่จะมีขึ้นในเวลา 23:00 น. ของวันนี้ แต่ยังไม่แจ้งว่าจะเป็นคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ หรือจะเป็นคำสั่งไต่สวนฉุกเฉิน หรือจะเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคุ้มครองหรือเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น
จากความล่าช้าและอุปสรรคในการออกใบอนุญาต 3G ทาง Blognone เห็นว่าควรแสดงจุดยืนบางอย่างผ่านแถลงการณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมเล็งเห็นว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจาก "โครงสร้าง" ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีปัญหาเรื้อรังมายาวนาน (มิใช่เกิดจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งเพียงลำพัง)
แถลงการณ์นี้ถือเป็นความเห็นของเว็บมาสเตอร์ มิใช่ความเห็นจากสมาชิกทั้งหมดของเว็บไซต์ ถ้าหากสมาชิกท่านใดเห็นด้วยกับแถลงการณ์ ก็สามารถลงชื่อไว้ได้ที่ช่องคอมเมนต์
ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่ กสท โทรคมนาคม ยื่นฟ้อง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่าไม่มีอำนาจในการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G เนื่องจากทำให้ กสท สูญเสียรายได้จากสัมปทานโครงข่ายโทรศัพท์ พร้อมขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและพิจารณาไต่สวนฉุกเฉิน ซึ่งเป็นผลให้การเปิดประมูลใบอนุญาตโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3G ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 20 ก.ย.นี้ ต้องถูกระงับไปอย่างไม่มีกำหนด
สั้นๆ ครับข่าวนี้ เมื่อเวลา 19:20 น. ที่ผ่านมาศาลปกครองกลาง (ชั้นต้น) ได้ทำการสั่งคุ้มครองการประมูล 3G ตามที่ กสท โทรคมนาคม และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นฟ้องร้องไป โดยมีผลตั้งแต่วันนี้ ซึ่งนั่นทำให้ กทช. ไม่สามารถเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ได้ตามกำหนดการเดิม
ด้าน ดร. นที ศุกลรัตน์ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ แจ้งว่า กทช. เองเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในวันพรุ่งนี้ ซึ่งถ้าหากศาลรับอุทธรณ์ ก็จะยังคงมีการจัดการประมูลตามกำหนดการเดิมครับ
สหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนผ่านจากยุคทีวีอนาล็อกไปยังทีวีดิจิตอล สิ่งที่ได้กลับมาอย่างหนึ่งคือคลื่นความถี่จำนวนมหาศาล เพราะเทคโนโลยีทีวีอนาล็อกนั้นใช้ความถี่กันเปลืองมาก แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้คลื่นความถี่หลายช่องในหลายพื้นที่เริ่มถูกส่งคืนให้กับ FCC ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลคลื่นความถี่และการสื่อสารของสหรัฐฯ (เทียบเท่ากสทช. ของบ้านเราที่กำลังจะเกิด) ในที่สุดก็มีการเสนอให้คลื่นเหล่านี้ถูกใช้งานได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้าแล้ว
อัพเดตข่าวการประมูล 3G แบบรายวันครับ ข่าวแรกคือ กทช. ประกาศผลการตรวจคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูล 3G ทั้งสามรายแล้ว ผ่านฉลุยไม่มีปัญหา เตรียมเข้าสู่กระบวนการประมูลจริงในสัปดาห์หน้า
ข่าวที่สอง จากที่มีข่าวว่า กสท. ประกาศยื่นฟ้อง กทช. ในวันนี้ ผู้จัดการฝ่ายคดี บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัดได้รับมอบอำนาจจากบริษัท ยื่นฟ้องต่อ กทช. ด้วยข้อหาว่า กทช. ไม่มีอำนาจการจัดสรรคลื่นความถี่ พร้อมทั้งขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจากศาลปกครองกลางด้วย
ทางศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องรับเรื่อง แต่ยังไม่พิจารณาว่าจะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ เพราะต้องฟังข้อมูลจากฝั่ง กทช. ด้วย
คงต้องลุ้นกันอีกหลายรอบกว่าจะถึงวันเริ่มประมูล 20 กันยายนนี้
เมื่อวานนี้ กทช. เริ่มจัดงาน 3.9G Thailand เป็นวันแรก แต่ก็มีเรื่องให้ลุ้นกันเล็กน้อย เพราะศาลปกครองนัดฟังคำสั่งกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.กสท โทรคมนาคม ยื่นฟ้อง กทช. เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา
นายสุขุม ชื่นมะนา ประธานสหภาพฯ ระบุว่าสหภาพฯ ต้องการปกป้องผลประโยชน์ของ กสท เพราะการประมูล 3G เกิดผลกระทบต่อ กสท รวมถึงลูกจ้างกว่า 6 พันราย โดยคำฟ้องของทางสหภาพฯ ระบุว่าการดำเนินการประมูลของ กทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดตั้ง กสทช. ขึ้นมาแทน
ปรากฎว่าศาลปกครองกลางไม่รับฟ้องครับ โดยศาลเห็นว่า สหภาพฯ ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง ผู้ยื่นฟ้องควรจะเป็นบริษัท บมจ.กสท โทรคมนาคม มากกว่า
ผมกับคุณ lew จะไปพูดเรื่อง 3G ในงาน เวทีสาธารณะ “สิทธิพลเมือง 3G: อิสรภาพการสื่อสารในมือใคร?” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน 3.9G Thailand ของ กทช.
งานวันที่ 12 กันยายน (อาทิตย์) ช่วงบ่าย ใครสนใจไปฟังก็เชิญได้ครับ ไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า
“สิทธิพลเมือง 3G: อิสรภาพการสื่อสารในมือใคร?”
วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงาน 3.9G Thailand Human D.N.A
13.00 น. ลงทะเบียน
13.30 – 14.30 น. อภิปรายว่าด้วยเรื่อง “สิทธิพลเมือง 3G”
ต่อจากข่าว กทช. สรุปค่าปรับบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ล่าช้า 166,667 บาทต่อวัน ทางฝ่ายผู้ให้บริการออกมาให้สัมภาษณ์แล้ว โดยผ่านบริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด (เคลียริ่งเฮ้าส์) ซึ่งผู้ให้บริการช่วยกันลงขันตั้งขึ้น
นายปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานกรรมการบริษัทเคลียริ่งเฮ้าส์ ให้สัมภาษณ์ว่ายังไม่ได้จดหมายจาก กทช. แต่คิดว่าค่าปรับวันละ 166,667 บาทนั้นสูงเกินไป โดยระบุว่าถ้า กทช. จะคิดค่าปรับโดยอิงจากค่าเสียหายของลูกค้าที่ต้องการโอนย้ายเครือข่าย ก็ควรเริ่มคิดวันที่ 1 ก.ย. 2553 ไม่ใช่นับรวมทั้งปี
ผู้อำนวยการทั่วไป บริษัท ลาว เทเลคอมมูนิเคชั่น ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G รายแรกของประเทศลาว เปิดเผยว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องมีเทคโนโลยี 3G ได้แล้ว เพราะขณะนี้ทั่วโลกมีหมดแล้ว แม้กระทั่งประเทศลาวที่มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพียง 58% ของประชากรทั้งประเทศ ก็ยังเปิดบริการ 3G มา 2 ปีแล้ว
ส่วนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มโฟน ผู้ให้บริการมือถือประเทศกัมพูชา กล่าวว่า ระบบ 3G จะทำให้การแข่งขันในตลาดมือถือเปลี่ยนสู่เรื่องของคอนเทนต์มากขึ้น แทนที่จะแข่งขันแต่เรื่องราคาเหมือนที่ไทยเป็นอยู่ ซึ่งไม่ทำให้ตลาดก้าวไปข้างหน้า
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กทช. เผย ที่ประชุม กทช. พิจารณาค่าปรับจากการเปิดบริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ตามกำหนดไม่ได้ วันละ 166,667 บาท เริ่มปรับหลังจากได้รับจดหมายแจ้ง 5 วัน โดยคำนวณค่าปรับจากการประเมินมูลค่าความเสียหายที่ประชาชนได้รับจากการต้องใช้บริการที่ตนเองไม่พึงพอใจ และอาจพิจารณาเพิ่มค่าปรับเป็น 2 เท่าในเดือนที่ 2 และ 3 เท่าในเดือนที่ 3 หากยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ค่าปรับนี้จะเข้ากระทรวงการคลัง
ที่มา: มติชนออนไลน์
กทช. ออกร่างประกาศเรื่องมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมฯ และเตรียมจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป เนื้อหาของร่างประกาศฯ นี้คือจะเพิ่มมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการที่ซื้อผลิตภัณฑ์โทรคมของไทยไปสร้างโครงข่าย เพื่อส่งเสริมตลาดในประเทศ โดยกำหนดไว้ว่าผลิตภัณฑ์โทรคมของไทยต้องมีคนไทยร่วมวิจัยและพัฒนาอย่างน้อยร้อยละ 70 ของนักวิจัยทั้งหมด นอกจากนี้ยังเตรียมจะจัดตั้งศูนย์ทดสอบแอพพลิเคชัน (Application Test Center: ATC) เพื่อเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของคนไทย
ที่มา - ประกาศ กทช.
คุณปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานกรรมการ บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด กล่าวว่า ผู้ประกอบการทุกรายได้วางระบบนัมเบอร์พอร์ตฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มทดสอบระบบระหว่างกันตั้งแต่ 1 ก.ย. เป็นต้นไป โดยระยะเวลาในการทดสอบระบบจะขึ้นอยู่กับปัญหาที่เจอ
เขายังกล่าวเสริมว่าที่ผ่านมาไม่มีประเทศใดที่ทดสอบแล้วไม่เจอปัญหา ซึ่งจากประสบการณ์ของต่างประเทศจะใช้เวลาทดสอบโดยเฉลี่ยราว 4–5 เดือน ดังนั้นคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนการที่วางไว้คือภายในสิ้นปี 2553
ที่มา: มติชนออนไลน์
การประมูล 3G ใกล้เข้ามาทุกที อัพเดตสถานการณ์ล่าสุดโดยคุณ @supinya ซึ่งมีตำแหน่งเป็น "คณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond" ของ กทช.
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกทช. ได้เปิดเผยรายชื่อบริษัทเอกสนที่สนใจเข้าประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ที่ได้เข้ามาขอรับซองประมูลแล้วไปแล้วจำนวน 8 บริษัท แต่ก็ยังคาดหวังว่าจะมีนักลงทุนชาวต่างชาติจะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ด้วย
โดย 8 บริษัทที่เข้ารับการประมูลในครั้งนี้คือ
ต่อจากข่าว บอร์ด กทช. ยืนยัน Number Portability ต้องใช้ได้ 1 กันยายนนี้ ซึ่งมีข่าวว่าผู้ให้บริการขอเลื่อนเป็น 1 พฤศจิกายนแทน เพราะทำระบบไม่ทัน
แต่การประชุมบอร์ด กทช. ในสัปดาห์ถัดมา กทช. ยังยืนยันมติเดิมว่า Number Portability ต้องเปิดบริการได้ในวันที่ 1 กันยายน ถ้าทำไม่ทันผู้ให้บริการจะโดนปรับวันละ 20,000 บาท และถ้าเป็นเหตุสุดวิสัยจริงๆ ผู้ให้บริการต้องไปร้องต่อศาลปกครองกันเอง
นอกจากนี้ กทช. บางคนยังมีแนวคิดว่าจะ "ตัดสิทธิ์" การเข้าประมูลคลื่น 3G ด้วย หากผู้ให้บริการยังไม่สามารถเปิด Number Portability ได้ เพื่อให้เอกชนปฏิบัติตามกฎระเบียบของ กทช. อย่างเคร่งครัด แต่เรื่องนี้ต้องรอเข้าบอร์ด กทช. อีกครั้งหนึ่ง
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยถึง เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ให้บริการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ว่า มีหลายประเด็นที่ควรมีการพิจารณา เช่น
กทช. ออกร่างประกาศฯ ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว และกำหนดจะให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะสำหรับร่างประกาศฯ นี้ในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2553 (ดูรายละเอียดได้ที่ กทช.)
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รองเลขาธิการ กทช. แถลงข่าวมติที่ประชุมบอร์ด กทช. เมื่อวานนี้ (4 สิงหาคม 2553) ว่า กทช. ยังยืนยันให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกเจ้า เริ่มให้บริการคงสิทธิเลขหมาย หรือที่เราเรียกกันว่า number portability ในวันที่ 1 กันยายนนี้เช่นเดิม แม้ผู้ให้บริการจะขอเลื่อนเป็นวันที่ 1 มกราคม 2554 ก็ตาม
เหตุผลที่ผู้ให้บริการขอเลื่อนได้แก่ ภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศไอซ์แลนด์, ความไม่สงบทางการเมืองของไทย และปัญหาเทคนิคทำให้การขนส่งอุปกรณ์โทรคมนาคมล่าช้า
นอกจากนี้บอร์ด กทช. ยังมีมติเรื่องการครอบงำกิจการโทรคมนาคม-อำนาจเหนือตลาด (ที่สำคัญไม่แพ้กัน) อ่านเพิ่มได้ตามลิงก์ที่มาครับ
ที่มา - ไทยรัฐ
ข่าวสั้นๆ แต่เต็มไปด้วยเสียงเฮครับ หลังจากที่ กทช. ได้ส่งใบอนุญาต 3G ไปให้ทางราชกิจจานุเบกษาทำการพิจารณาเพื่อลงประกาศบังคับใช้นั้น ขณะนี้ทางราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศใบอนุญาต 3G จำนวน 3 ใบเรียบร้อยแล้ว
กำหนดวันยื่นซองประมูล 3G แล้วครับ 30 สิงหาคมนี้ ราคาเริ่มต้นประมูล 12,800 ล้านบาท และจะเปิดประมูล 22-28 กันยายน โดยการไปโรดโชว์รอบแรกที่จีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น ได้รับความสนใจจากบริษัท โคเรีย เทเลคอม (Korea Telecom) จากเกาหลี และบริษัทเทเลคอมมาเลเซีย ส่วนทางไชน่า โมบาย และไชน่า ยูนิคอมจากจีนก็สนใจแต่ต้องไปขออนุญาตจากรัฐบาลจีนก่อน และ กทช. เตรียมไปเยือนบริษัทเทเลคอมในโซนยุโรป อินเดีย และดูไบ ในสัปดาห์หน้าด้วย
สี่เรื่องในข่าวเดียว
อย่างแรก หลังจาก กทช. ออก ร่างหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาต 3G, รับฟังความเห็นสาธารณะ และปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์ สุดท้าย กทช. ได้นำร่างหลักเกณฑ์ฉบับปรับปรุงมาออกเป็น ประกาศ กทช. เรื่อง "หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz" ฉบับสมบูรณ์ และรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
กสท เตรียมอนุมัติให้ดีแทคและทรูมูฟสามารถพัฒนาบริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิม คาดดีเดย์ให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ 29 กรกฎาคมนี้ครับ จากที่เคยมีมติให้ทรูมูฟยกเลิกการทดลองให้บริการเพราะทำผิดเงื่อนไข เนื่องจากให้บริการนอกพื้นที่ที่ขออนุญาต (ข่าวเก่า) รวมทั้งไม่อนุญาตให้ดีแทคขยายบริการ HSPA เชิงพาณิชย์กว่า 1,000 สถานี
โดย กสท ให้เหตุผลว่าเพื่อจูงใจให้ผู้ให้บริการทั้งสองรายพัฒนาโครงข่ายเดิมต่อไปซึ่งจะทำให้ กสท มีรายได้จากส่วนแบ่งในสัญญาสัมปทานมากขึ้น เนื่องด้วย กสท เห็นว่ายังไงก็ตาม ผู้ประกอบการจะเข้าประมูล 3G อยู่แล้ว ก็มีความเห็นว่าควรจะใช้ประโยชน์จากสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากที่มาครับ