Daniel Moghimi นักวิจัยความปลอดภัยของกูเกิล ค้นพบช่องโหว่ในซีพียูอินเทลจำนวนมาก ตั้งแต่ Core 6th Gen (Skylake) มาถึง Core 11th Gen (Tiger Lake) รวมถึงซีพียูกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ Xeon, ซีพียู Atom ที่ออกขายในช่วงเดียวกัน รายชื่อทั้งหมด
Intel เปิดตัวซีพียู Core 11th Gen สถาปัตยกรรม Tiger Lake รุ่นใหม่สำหรับโน้ตบุ๊กบางเบา รุ่น Core i7-1195G7 และ Core i5-1155G7 การเปลี่ยนแปลงหลักคือลดสัญญาณนาฬิกาพื้นฐาน แต่เพิ่มสัญญาณนาฬิกาขณะบูสต์ด้วย Intel turbo Boost Technology 3.0 และเพิ่มสัญญาณนาฬิกาให้ชิปกราฟฟิก Iris Xe รุ่นละ 50 Mhz
Acer เปิดตัวเกมมิ่งโน้ตบุ๊กใหม่สามรุ่น Predator Triton 300, Predator Helios 300 และ Nitro 5 Gaming ใช้ซีพียู Intel Core 11th Gen Tiger Lake-H ที่เพิ่งเปิดตัว มาพร้อมการ์ดจอตระกูล Nvidia GeForce RTX รายละเอียดดังนี้
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core 11th Gen Tiger Lake มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2020 แต่ในช่วงครึ่งปีกว่าๆ ที่ผ่านมาก็มีแต่ Tiger Lake-U รุ่นกินไฟต่ำ (สูงสุดคือ 28 วัตต์) สำหรับโน้ตบุ๊กสายบางเบาเท่านั้น (เมื่อต้นปีมีออก Tiger Lake H35 ออกมาคั่นรายการ แต่ก็ยังเป็นซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งสายบางเบาอีกเช่นกัน กินไฟสูงสุด 35 วัตต์)
หลังรอคอยกันมานาน วันนี้อินเทลเปิดตัว Tiger Lake-H สำหรับโน้ตบุ๊กสมรรถนะสูงและเกมมิ่งกับเขาแล้ว
อินเทลออกซีพียู Tiger Lake มาได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว แต่เพิ่งออกผลการเบนช์มาร์คเทียบกับ Apple M1 โดยระบุว่าใช้งานท่องเว็บผ่าน Chrome ได้เร็วกว่าเฉลี่ย 30%
เบนช์มาร์คของอินเทลใช้ Chrome v87 ทั้งบนวินโดวส์และแมค รันชุดทดสอบ WebXPRT 3 ที่รวมงานหลายประเภทบนเว็บ เช่น แต่งภาพ ดูราคาหุ้น ฯลฯ ผลคือฮาร์ดแวร์ Tiger Lake ทำงานได้เร็วกว่า 30% ในภาพรวม และบางการทดสอบ เช่น แต่งภาพ เร็วกว่าเกือบ 3 เท่า
ในกราฟเดียวกัน อินเทลยังโชว์ผลทดสอบ Office 365 เทียบ Tiger Lake กับ M1 ผลคือบางการทดสอบ เช่น แปลงเอกสาร PowerPoint เป็น PDF เร็วกว่า 2.3 เท่า
อินเทลเปิดตัวแพลตฟอร์มมินิพีซี NUC11 มาแบบเงียบๆ โดยอัพเกรดซีพียูมาเป็น Tiger Lake เวอร์ชันฝังบน SoC มาให้เรียบร้อย ใช้โค้ดเนมว่า Panther Canyon
ซีพียูมีให้เลือกทั้งหมด 3 รุ่นคือ Core i3-1115G4, Core i5-1135G7, Core i7-1165G7 โดยสองรุ่นหลังที่ห้อย G7 ใช้จีพียู Iris Xe ส่วนตัวแรกเป็น Intel UHD for 11th Gen
สเปกอย่างอื่นคือชิป Intel Wi-Fi 6 AX201, Bluetooth 5.1 เริ่มวางขายภายในไตรมาส 1 ยังไม่เปิดเผยราคา
ซีพียูกลุ่ม Tiger Lake ใหม่อีกตัว นอกจาก Core 11th รหัส H35 สำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งสายบางเบา คือสินค้ากลุ่ม vPro สำหรับภาคธุรกิจตามรอบปกติ (ที่ออกหลังรุ่นคอนซูเมอร์ประมาณครึ่งปี) โดยอินเทลเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า 11th Gen Intel vPro Platform
แกนหลักของ 11th Gen vPro ยังเป็น Tiger Lake รหัส U ที่ใช้จีพียู Iris Xe แต่เพิ่มมาด้วยฟีเจอร์ความปลอดภัยของลูกค้าฝั่งองค์กร ฟีเจอร์ที่เป็นของใหม่จริงๆ รอบนี้คือ
ปีที่แล้วเราเห็น อินเทลเริ่มต้นซีพียู Gen 11 ด้วยซีพียูโน้ตบุ๊ก Tiger Lake รุ่นกินไฟต่ำรหัส U และเริ่มมีสินค้าโน้ตบุ๊กออกทำตลาดกันแล้ว
อินเทลเริ่มปี 2021 ด้วยการเปิดตัวซีพียู Gen 11 สำหรับโน้ตบุ๊กรหัส H แต่ก็ถือเป็น H รุ่นพิเศษที่อินเทลเรียกว่า "H35 Series" กินไฟ 35 วัตต์ จับตลาดเซกเมนต์โน้ตบุ๊กเกมมิ่งรุ่นบางเบา (Ultraportable Gaming) ส่วนรุ่น H เต็มรูปแบบจริงๆ จะเปิดตัวตามมาภายในไตรมาส 1/2021
ในงาน The New XPS Virtual Launch วันนี้ Dell เปิดราคาโน้ตบุ๊กตระกูล XPS รุ่นใหม่ปลายปี 2020 ที่วางจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว ทั้งหมด 4 รุ่น คือ XPS 13, XPS 13 2-in-1, XPS 15 และ XPS 17 รายละเอียดราคาดังนี้
ASUS ประเทศไทย เปิดตัวโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู Intel Core 11th Gen "Tiger Lake" เป็นแบรนด์แรกในไทย โดยเปิดตัวมา 3 รุ่น ทุกรุ่นจะมาพร้อม Windows 10 Home และ Office Home and Student 2019
แบรนด์พีซีทยอยเปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ที่ใช้ Tiger Lake เช่น Dell, Lenovo
คิวล่าสุดคือ HP ที่เปิดตัวโน้ตบุ๊กพรีเมียมจอพับได้ Spectre x360 ที่เดิมทีมีเฉพาะรุ่น 13" และ 15" แต่ปีนี้เพิ่มรุ่น 14" เข้ามาอีกรุ่นหนึ่งด้วย (รอบนี้อัพเดตเฉพาะ 13" ยังไม่อัพเดต 15")
ดีไซน์ภายนอกของ Spectre x360 13/14 ยังเป็นดีไซน์เดิมคือ gem cut หรือตัดมุมสองข้าง ความแตกต่างสำคัญคือขนาดและสัดส่วนหน้าจอ โดยรุ่น 13" ยังเป็นจอสัดส่วน 16:9 เหมือนเดิม แต่รุ่น 14" เป็นจอสัดส่วน 3:2 ที่เพิ่มสัดส่วนแนวตั้งมากขึ้น (เลือกสั่งเป็นจอ OLED ได้ถ้าต้องการ)
Lenovo เปิดตัว ThinkPad X1 Nano โน้ตบุ๊กตระกูล ThinkPad ที่น้ำหนักเบาที่สุดที่เคยทำมา 907 กรัม ด้วยสโลแกน "carry the power, not the weight"
ThinkPad X1 Nano ใช้ซีพียู Intel Core 11th Gen "Tiger Lake" ใส่ได้สูงสุดถึง Core i7, จีพียู Iris Xe, ผ่านมาตรฐาน Intel Evo เรื่องอายุการใช้งานแบตเตอรี่ และความเร็วในการปลุกเครื่องให้ตื่น, ใส่แรมได้สูงสุด 16GB, สตอเรจ SSD PCIe ขนาดสูงสุด 1TB
เมื่อต้นปี Dell เปิดตัวโน้ตบุ๊กเรือธง XPS 13 รุ่นปี 2020 ที่ใช้ซีพียู Intel Core 10th Gen (รหัสรุ่นคือ 9300)
หลัง Intel เปิดตัว Core 11th Gen Tiger Lake ไปเมื่อต้นเดือนกันยายนนี้ ทำให้ Dell ตามอัพเดต XPS 13 ด้วย หน้าตาภายนอกยังใช้ดีไซน์ขอบจอบางเหมือนเดิมทุกประการ เปลี่ยนรหัสรุ่นมาเป็น 9310 ให้เห็นความแตกต่างของฮาร์ดแวร์ภายใน
อินเทลเปิดตัวซีพียูสำหรับงานสาย IoT โดยมาพร้อมหน้าทุกระดับแบรนด์ ตั้งแต่ Core 11th Gen (Tiger Lake), Atom, Pentium, Celeron โดยใช้รหัสรุ่นห้อยท้ายตัว E ให้เห็นความแตกต่างจากรุ่นปกติ
ซีพียูทั้งสามรุ่นคือ Atom x6000E, Pentium, Celeron มีฟีเจอร์ใหม่ Programmable Services Engine (Intel PSE) มันคือไมโครคอนโทรลเลอร์ ARM Cortex-M7 ที่ช่วยแบ่งโหลดงานบางอย่าง (โดยเฉพาะงานกินพลังงานต่ำ) ออกจากซีพียูเพื่อประหยัดพลังงาน การที่มีหน่วยประมวลผลแยกอีกตัวยังรองรับการรีโมทเข้ามาจัดการ โดยไม่ต้องยุ่งกับซีพียูหลักได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์หาก OS ที่รันบนซีพียูหลักค้างหรือไม่ตอบสนอง
สัปดาห์ที่แล้ว เว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ต่างประเทศหลายรายเริ่มได้ Intel Core 11th Gen รหัส "Tiger Lake" ไปทดสอบกันแล้ว จุดที่น่าสนใจคือตัวจีพียู Iris Xe (อ่านว่า "เอ็กซ์อี") ที่อิงจากสถาปัตยกรรมใหม่ Xe-LP ให้ผลการทดสอบออกมาดี ชนะจีพียูแบบออนบอร์ดของคู่แข่งคือ Radeon Vega ใน Ryzen ซีรีส์ 4000U ได้แบบทิ้งห่าง
หน่วยประมวลผลรุ่นที่นำไปทดสอบคือ Core i7-1185G7 ซึ่งเป็นรุ่นท็อปสุดของ Tiger Lake ที่เปิดตัวมาในขณะนี้ ตัวจีพียู Iris Xe มีคอร์ (execution unit หรือ EU) จำนวน 96 คอร์ โดยโน้ตบุ๊กที่ทดสอบเป็นโน้ตบุ๊กตัวอย่าง (reference design) ของอินเทลเอง ยังไม่ใช่สินค้าที่วางขายจริง
อินเทลเปิดตัวซีพียู Core รุ่นที่ 11 สำหรับโน้ตบุ๊กบางเบา พร้อมส่วนกราฟิกใหม่ Iris Xe หรือชื่อรหัส Tiger Lake ผลิตด้วยกระบวนการผลิต SuperFin 10 นาโนเมตร ตัวชิปรองรับการเชื่อมต่อ Thunderbolt 4 และ PCIe Gen 4 ใช้แรม LPDDR4X พร้อมระบุว่าตัวควบคุมรองรับแรมแบบอื่นในอนาคตได้
อินเทลทดสอบซีพียูรุ่นใหม่เทียบกับ AMD Ryzen 7 4800U เป็นหลักเพื่อยืนยันว่าผลการทดสอบการใช้งานประสิทธิภาพดีกว่าทุกประเภท ด้านกราฟิกอินเทลระบุว่า Iris Xe สามารถคอนฟิกจำนวนคอร์ได้สูงสุด 96 EU ประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการเล่นเกมยุคใหม่ เช่น Borderlands 3, Far Cry New Dawn, และ Hitman 2 ที่ระดับ 1080p รองรับข้อมูลแบบ INT8 ในตัวสำหรับการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์
Lenovo เปิดตัวโน้ตบุ๊ก 2-in-1 แบรนด์ Yoga ชุดใหญ่ 5 รุ่น มีทั้งซีพียู Ryzen 4000 Mobile และ Intel Tiger Lake ที่ยังไม่เปิดตัว (โน้ตบุ๊กเปิดตัวก่อนซีพียู)
รุ่นรหัส i คือซีพียู Intel Tiger Lake โดยทั้งหมดจะวางขายเดือนพฤศจิกายน 2020
อินเทลจัดงาน Architecture Day 2020 โดยหัวหน้าทีมสถาปัตยกรรม Raja Koduri นำทีมมาเล่าแผนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของอินเทลในอนาคตอันใกล้นี้ สินค้าหลักที่ทุกคนให้ความสนใจย่อมหนีไม่พ้นซีพียูโค้ดเนม Tiger Lake ที่จะใช้ชื่อ Core 11th Gen ทำตลาด
อินเทลเริ่มให้ข้อมูลของ Tiger Lake มาตั้งแต่ต้นปี มันจะเป็น SoC สำหรับโน้ตบุ๊กที่มีทั้งซีพียูและจีพียูมาในตัว (อินเทลใช้คำเรียกว่า XPU)
ของใหม่ใน Tiger Lake มีทั้งซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่ Willow Cove, จีพียูตัวใหม่ Xe-LP และการผลิตแบบใหม่ 10nm SuperFIN
อินเทลเปิดตัวสเปกของ Thunderbolt 4 ที่ทิ้งช่วงจาก Thunderbolt 3 ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 เป็นเวลา 5 ปี
ก่อนหน้านี้หลายคนอาจคุ้นเคยว่าพอร์ต USB กับ Thunderbolt เป็นคู่แข่งกันโดยตรง แต่ช่วงหลังๆ มาตรฐานสองค่ายเริ่มควบรวมกัน ตั้งแต่ Thunderbolt 3 ที่เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C และล่าสุดคือ USB 4 ที่พัฒนาขึ้นจากสเปกของ Thunderbolt 3 อีกที
พอมี Thunderbolt 4 เข้ามาอีกตัว เลยชวนสับสนว่าความต่างของ Thunderbolt 3, 4, USB 4 คืออะไรกันแน่
เมื่อเดือนมกราคม 2020 อินเทลเริ่มโชว์ข้อมูลของ Tiger Lake ซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นหน้าที่จะเป็นผู้สืบทอด Ice Lake ในปัจจุบัน (และน่าจะใช้ชื่อ Core 11th Gen ทำตลาด)
เวลาผ่านมาประมาณครึ่งปี อินเทลเริ่มโหมโฆษณา Tiger Lake โดยส่งของขวัญ (เป็นเมล็ดดอกลิลลี่สีส้ม ที่บางคนเรียก tiger lily) และบัตรเชิญไปยังนักข่าวสายไอทีในต่างประเทศแล้วว่า "พบกันช่วงกลางปีนี้" (This Summer ซึ่งหมายถึงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม)
อินเทลโชว์การทำงานซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊ก Tiger Lake ในงาน CES โดยจะเป็นซีพียูตัวแรกที่ใช้ส่วนกราฟิกจาก Intel Xe พร้อมกับระบุว่าประสิทธิภาพจะอยู่ระดับเดียวกับการ์ดจอแยก (discrete-level integrated graphics)
Tiger Lake จะใช้กระบวนการผลิต 10nm+ รองรับ Thunderbolt 4 และจะเริ่มส่งมอบซีพียูในกลุ่มนี้ภายในปีนี้
ส่วนกราฟิก Intel Xe นั้นอินเทลประกาศไว้แต่แรกว่าจะมีตั้งแต่รุ่นราคาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ไปจนถึงการ์ดแยกสำหรับเกมเมอร์ และการ์ดสำหรับศูนย์ข้อมูล โดยตัวการ์ดแยกรุ่นแรกคือ DG1 นั้นทางอินเทลก็ยังพรีวิวให้ดูโดยไม่ได้แจ้งรายละเอียดมากนัก
ที่มา - Intel