ต่อจากซีพียู อินเทลเปิดตัวชิปเซ็ตที่ออกมาคู่กันในชื่อว่า Intel 7 Series หรือ Panther Point เป็นตัวต่อของ Cougar Point ที่ออกมาคู่กับ Ivy Bridge มีฟีเจอร์สำคัญคือมันรองรับพอร์ตใหม่ๆ เช่น USB 3.0 (ในที่สุด), Thunderbolt, จอภาพ 3 จอผ่าน DisplayPort 1.1a และ HDMI 1.4a
ชิปรุ่นใหม่ทั้งหมด จะใช้ร่วมกับ Ivy Bridge ได้พร้อมกับรองรับ Sandy Bridge ด้วย ส่วนชิปเซ็ตในตระกูล Cougar Point บางตัวจะใช้งานร่วมกับ Ivy Bridge ได้แต่ต้องอัพเกรดเฟิร์มแวร์เสียก่อน
ตอนที่แอปเปิลเริ่มใช้งาน Thunderbolt ใหม่ๆ ยังมีแค่ Lacie ที่ผลิตไดร์ฟภายนอกออกมารองรับ แต่ตอนนี้ผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็เริ่มเข้ามาในตลาดนี้ เริ่มจาก Western Digital ที่ปล่อย My Book Thunderbolt Duo ขนาด 6TB
ภายในมีดิสก์สองลูก สามารถเลือกได้ว่าจะทำ RAID 0 หรือ 1 แล้วแต่ความต้องการขนาดพื้นที่กับความมั่นใจ ส่วนราคา 699 ยูโร หรือ 28,000 บาท งานนี้ต้องเงินถุงเงินถังกันสักหน่อย แลกกับความแรง
ที่มา - The Register
หลายคนในที่นี้คงเริ่มมีโน๊ตบุ๊คที่ใช้พอร์ต Thunderbolt กันบ้างแล้ว (เช่นใน MacBook Pro รุ่นใหม่ และ Vaio Z) ในด้านความเร็วการส่งข้อมูลเหนือกว่าคู่แข่งอย่าง USB 3.0 ถึงสองเท่าตัว แต่ยังเร็วไม่พอในบางกรณี เช่น เมื่อเชื่อมด็อกกิงของ Vaio Z แล้วไม่สามารถส่งการประมวลผลของชิปกราฟิกผ่าน Thunderbolt ได้เต็มที่ เป็นต้น
ล่าสุดอินเทลได้ออกมาประกาศว่าภายในปี 2012 นี้อินเทอร์เฟซ Thunderbolt ที่ใช้สายใยแก้ว (ซึ่งอยู่ในแผนมาตั้งแต่แรก แต่เสร็จไม่ทัน) ซึ่งทำความเร็วได้สูงสุดตามทฤษฎีถึง 100 Gbps เหนือกว่ารุ่นสายทองแดงที่ออกพร้อมกับ MacBook Pro ถึงสิบเท่า
มีรายงานว่าอินเทลกำลังเริ่มย้ายมาตรฐาน Thunderbolt มาอยู่บนโปรโตคอลของ PCI Express 3.0 แล้ว โดยจะสามารถเพิ่มความเร็วให้กับ Thunderbolt ได้มากกว่าเดิมที่ใช้ PCIe 2.0 อยู่อีกเท่าตัว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามอินเทลยังไม่สามารถบอกได้ว่าเราจะเริ่มเห็น Thunderbolt ใหม่นี้ได้เมื่อไหร่
PCIe 3.0 มีความเร็วในการรับส่ง raw data ได้มากกว่า PCIe 2.0 ถึง 60% เพิ่มจาก 5 gigatransfers per second (GT/s) มาเป็น 8 GT/s ในขณะที่ต้องการ overhead ในการรับส่งข้อมูลน้อยลงกว่าเดิมมาก
แม้ว่าสินค้าต่าง ๆ ของอินเทลจะเริ่มรองรับ PCIe 3.0 แล้วก็ตาม แต่การที่จะเปลี่ยนมาตรฐาน Thunderbolt มาเป็น PCIe 3.0 แล้วให้ผู้ผลิตรายอื่น ๆ เปลี่ยนมาใช้มาตรฐานใหม่ต้องใช้เวลามากพอสมควร
DigiTimes รายงานว่าอินเทลได้แจ้งให้กับคู่ค้าของตัวเองทุกรายทราบว่าเทคโนโลยี Thunderbolt จะเปิดตัวจริงในเดือนเมษายนปี 2012 และจะเริ่มมีเมนบอร์ดที่สนับสนุน Thunderbolt สำหรับโน้ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะออกมาเปิดตัวในเวลาเดียวกัน
USBIF ประกาศว่าชิปเซ็ท Ivy Bridge ตระกูล 7 Series และชิปเซ็ทอื่น ๆ จากอินเทลได้รับการรับรองมาตรฐาน USB 3.0 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยชิปเซ็ทเหล่านี้จากอินเทลจะสนับสนุน USB 3.0 เป็นคุณสมบัติมาตรฐานเป็นครั้งแรก จากที่ผ่านมาคอมพิวเตอร์ที่รองรับ USB 3.0 จะต้องใช้ชิปเพิ่มเติมจาก AMD, NEC หรือผู้ผลิตชิปรายอื่น
นักวิเคราะห์ตลาดเชื่อว่าเมื่อว่าการก้าวมาสนับสนุนอย่างเป็นทางการของอินเทล จะทำให้ USB 3.0 กลายเป็นมาตรฐานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้จากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยี USB 3.0 เป็นเทคโนโลยีที่มีราคาที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตพีซีที่ต้องการแข่งขันกันด้วยราคา
เว็บ VR-Zone ระบุว่าทางเว็บได้รับเอกสารแสดงข้อมูลว่าอินเทลกำลังพัฒนาพอร์ตพิเศษเพื่อทำ docking สำหรับ Ultrabook โดยเป็นพอร์ต Thunderbolt รวมกับพอร์ตเฉพาะอีกอันหนึ่งเพื่อส่งข้อมูลอื่นๆ และพลังงาน
Thunderbolt เป็นพอร์ตที่เหมาะกับการทำ docking มากกว่าพอร์ต USB 3.0 มากเพราะมันสามารถส่งข้อมูล PCI Express และ DisplayPort ออกมาโดยตรง ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ต้องการส่งข้อมูลกับซีพียูมากๆ เช่นการ์ดจอภายนอกได้ (เช่นที่เราเห็นใน Sony VAIO Z)
หากอินเทลผลักดันพอร์ต docking ที่เป็นมาตรฐานได้จริง ก็มีความเป็นไปได้ที่เราจะมี docking ราคาถูก ใช้ร่วมกับเครื่องหลายยี่ห้อได้ โดยไม่ต้องถูกล็อกกับ docking ของยี่ห้อเครื่องที่ซื้อมาอย่างเดียว
ยุทธศาสตร์ของอินเทลนั้นสนับสนุน Thunderbolt เหนือ USB 3.0 อย่างชัดเจน แต่ที่ผ่านๆ มายังมีเพียงแอปเปิลเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่เพียงรายเดียว (มีโซนี่อีกเล็กน้อย) ทำให้กำลังของค่าย Thunderbolt ยังดูไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับฝั่ง USB 3.0 ที่มีอุปกรณ์ออกมาเยอะแล้ว
แต่ที่งาน IDF 2011 ผู้บริหารของอินเทลก็ประกาศพันธมิตรสองรายใหม่ ได้แก่สองยักษ์จากไต้หวัน Acer และ ASUS ที่จะใช้ Thunderbolt ใน Ultrabook รุ่นที่จะออกปีหน้า (มาพร้อมกับ Ivy Bridge?)
ที่มา - PC World
MacBook Air รุ่นกลางปี 2011 ที่ได้เปิดตัวไปได้ไม่นานนี้ได้ใช้ชิป Thunderbolt I/O ที่มีขนาดเล็กกว่าเนื่องจากข้อจำกัดทางด้านขนาด โดยชิป Thunderbolt ตัวนี้มีชื่อเรียกภายในว่า Eagle Ridge ที่รองรับจำนวนการเชื่อมต่อเพียงสองแชแนลในพอร์ทเดียว และสนับสนุนการต่อจอภายนอกได้เพียงจอเดียวเท่านั้น
ในขณะที่ชิป Thunderbolt ขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า Light Ridge ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ใน iMac, MacBook Pro และ Mac mini นั้นรองรับการเชื่อมต่อมากถึง 4 แชแนลในพอร์ทเดียว โดยแต่ละแชแนลสามารถรับส่งข้อมูลในลักษณะ bidirectional ได้ที่ความเร็ว 10Gbps ทำให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดโดยรวมอยู่ที่ 80Gbps พร้อมกันนี้ยังรองรับการใช้งานจอภาพ Thunderbolt ต่อภายนอกได้อีกสองจอ
ช่วงนี้แอปเปิลเปิดตัวสินค้าใหม่เยอะเหลือเกิน อย่าเพิ่งเบื่อกันไปก่อนนะครับ
หลังจากที่เพิ่งเปิดตัว MacBook Air ตัวใหม่ที่มาพร้อมกับพอร์ต Thunderbolt ไปสดๆ ร้อนๆ ตอนนี้แอปเปิลก็เปิดตัวจอภาพตัวใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวด้วยเช่นกัน
จอตัวนี้มีขนาด 27 นิ้วทำงานที่ความละเอียด 2,560 x 1,440 (16:9) และสร้างบนเทคโนโลยี IPS นอกจากนี้ยังติดตั้งกล้องระดับ HD มาให้เล่น FaceTime พร้อมกับลำโพงแบบ 2.1 มาในตัวด้วย
แอปเปิลวางแผนที่จะขายจอตัวนี้ภายใน 60 วันข้างหน้าในราคา 999 USD (ประมาณ 29,900 บาท) ผ่านทาง Apple Store หรือร้านค้าตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
บทความสั้นนะครับ จากข่าว "เหตุผลที่ทำไมสาย Thunderbolt ของแอปเปิลถึงแพง" ที่บอกว่าแพงเพราะว่าฝังชิป คำถามถัดมาก็คือ ทำไมถึงได้ฝังชิปลงไปในสายทำให้สายแพง ไม่ฝังไปในตัวเครื่องเสียให้จบ เรามาลองดูกันว่ามีความจำเป็นหรือประโยชน์อะไรที่ทำแบบนั้น
Thunderbolt หรือที่มีรหัสเรียกว่า Light Peak นั้นเป็นความร่วมมือของ Apple และ Intel โดยนอกเหนือจากจุดเด่นที่มักพูดถึงกันก็คือความเร็วในระดับ 10 Gbps นั้นมันยังรองรับสายได้ทั้งสายไฟฟ้าและสายใยแก้วนำแสง
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีที่มาครับ ขนาดสาย Thunderbolt ที่แอปเปิลได้วางจำหน่ายไปไม่นานนี้ (ติดตามข่าวการวางจำหน่ายได้ที่นี่) ก็ได้มีที่มาที่ไปของราคาที่ทุกคนมองว่าแพงเกินไป!
เหตุผลที่สาย Thunderbolt ที่แอปเปิลได้วางจำหน่ายในราคาที่แพง เพราะในสาย Thunderbolt นั้น ทาง iFixit ได้ค้นพบว่ามีการฝังชิปรหัส GENNUM GN 2033 โดยชิปนี้มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบ Thunderbolt l/O ซึ่งมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากถึง 10GB/s โดยชิปนี้ขนาดเล็กมาก ซึ่งชิปมีราคาพอสมควร จึงทำให้เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมแอปเปิลถึงวางจำหน่ายสาย Thunderbolt ได้แพงเหลือเกิน
อาทิตย์ก่อนแอปเปิลเพิ่ม RAID Storage ที่อ่านเขียนข้อมูลผ่าน Thunderbolt ใส่ลงไปใน Online Store แต่ต่อมาก็ถูกถอดออกไป
วันนี้แอปเปิลได้เพิ่มผลิตภัณฑ์ตัวนี้เข้าไปใน Online Store อีกครั้ง โดย RAID ตัวนี้เป็นของ Promise Pegasus ซึ่งมี 4 รุ่นด้วยกันได้แก่
โดยรุ่น R4 จะมีแบนด์วิธ 500MB/วินาที และรุ่น R6 จะมีแบนด์วิธ 800MB/วินาที
อันนี้ภาพประกอบจาก Apple Online Store ครับ
โซนี่ได้เปิดตัวโน้ตบุ๊ก VAIO Z ออกมาแล้วกับสื่อทางฝั่งยุโรป เป็นโน้ตบุ๊กขนาดหน้าจอ 13.1 นิ้ว มีความหนา 16.65 มิลลิเมตร และหนักเพียง 1.18 กิโลกรัม (รวมน้ำหนักแบตเตอรี่แล้ว) ซึ่งสเปคคร่าวๆ มีดังต่อไปนี้
แต่สิ่งที่น่าสนใจ ไม่ได้มีเพียงเท่านี้
ข่าวนี้สั้นๆ ครับ
ขณะนี้ทาง Apple Online Store ได้วางจำหน่ายสาย Thunderbolt แล้ว ซึ่งในประเทศไทยก็มีวางจำหน่ายเช่นเดียวกัน ใครที่ต้องการสามารถสั่งซื้อได้ทันทีที่ store.apple.com/th โดยได้ตั้งราคาไว้ที่ 1650 บาท จัดส่งโดยใช้เวลาประมาณ 24 ชม. นะครับ
ที่มา Thaimacupdate
แม้ว่าอินเทลจะเป็นผู้พัฒนา Thunderbolt แต่แอปเปิลกลับเป็นผู้ที่ไล่จดเครื่องหมายทางการค้าของ Thunderbolt ในประเทศต่าง ๆ โดยเริ่มต้นที่ประเทศจาไมก้าและหลังจากนั้นประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป จีน และตอนนี้กำลังยื่นเรื่องขอในสหรัฐอเมริกา ทางเว็บ Engadget เห็นว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดาจึงได้ขุดรายละเอียดมาให้อ่านกัน
แหล่งข่าวของ Engadget รายงานว่าโซนี่ได้เลือกใช้ Thunderbolt I/O บนแล็ปท็อปตัวใหม่ The Ultimate Mobile PC ที่จะมาพร้อมกับ Dock ที่มีทั้ง USB 3.0, HDMI, Ethernet, การ์ดกราฟฟิค AMD Whistler และไดรว์ Blu-ray โดย Dock ตัวนี้จะต่อผ่านพอร์ท Thunderbolt
แต่ที่น่าสนใจก็คือพอร์ท Thunderbolt ของโซนี่นั้นกลับมีหน้าตาเหมือนกับ USB แทนที่จะเป็น Mini DisplayPort เหมือนกับที่แอปเปิลใช้อยู่ แม้ว่า USB-IF (กลุ่มนำมาตรฐาน USB ไปใช้) จะออกมาประกาศแล้วว่าพอร์ทของ USB ไม่ได้ถูกดีไซน์มาเพื่อนำมารวมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ
แม้ว่า HP จะยังไม่สน Thunderbolt แต่แอปเปิลยังคงเลือกที่จะเดินหน้าไปเรื่อย ๆ กับ Thunderbolt เพราะข่าวลือล่าสุดได้ออกมารายงานว่า MacBook Air ใหม่ที่คาดว่าจะเปิดตัวในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมที่จะถึงนี้จะมาพร้อมกับพอร์ท Thunderbolt I/O
จากในรายงาน คาดว่านอกจากการเพิ่ม Thunderbolt แล้ว อาจจะมีการอัพเสปคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่รูปร่างหน้าตาและดีไซน์ของตัวเครื่อง MacBook Air ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ที่มา - 9to5Mac
พอร์ต Thunderbolt ของอินเทลเสียแรงสนับสนุนจากผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง HP ไปเสียแล้ว
Xavier Lauwaert ผู้บริหารฝ่ายการตลาดเดสก์ท็อปของ HP ระบุว่าบริษัทได้พิจารณา Thunderbolt แต่ยังไม่เห็นคุณประโยชน์ของการใส่ Thunderbolt เข้ามาในพีซีของตัวเองแต่อย่างใด ในทางกลับกัน HP ก็เปิดตัวพีซีใหม่อีกสามรุ่น ซึ่งบางรุ่นสามารถเลือกใส่พอร์ต USB 3.0 มาได้ในตัว
Lauwaert ยังบอกว่าทิศทางของโลกพีซีมุ่งไปที่ USB 3.0 และ HP ยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะมีพอร์ตเชื่อมต่อแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
ที่มา - PC World
ในงานประชุมของนักพัฒนาที่เมืองปักกิ่ง ณ ประเทศจีน นาย Kirk Skaugen รองประธานของ Intel Architecture Group ได้ประกาศว่า Intel จะสนับสนุน USB 3.0 แบบ native และ Thunderbolt ในปี 2012 ซึ่งจะมาพร้อมกับ CPU รุ่นใหม่ Ivy Bridge ของ Intel
ที่มา - Engadget
ผมเดาว่าไม่ใช่ผมคนเดียวแน่ๆ ที่สงสัยว่าเราจะครอบครองเทคโนโลยี Thunderbolt หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Light Peak ไว้ในมือไปทำไม แม้เราจะมีไว้ใช้ แต่เครื่องอื่นๆ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ส่วนใหญ่ก็ยังไม่รับรองเทคโนโลยีนี้อยู่ดี ไหนจะปัญหาคอขวดของชิพอีก ความเร็ว 10 Gbps ที่ว่านั้นดูจะไกลเกินฝัน
คู่กัดตลอดกาลอย่าง AMD ออกมาเบรก Thunderbolt ของอินเทลแล้ว โดยโฆษกของ AMD ระบุว่าปัจจุบันมีมาตรฐานการส่งข้อมูลหลายตัวที่ส่งข้อมูลได้เกิน 10 Gbps ของ Thunderbolt อยู่แล้ว การออก "มาตรฐานปิด" ออกมาอีกตัวก็มีโอกาสไม่มากนักที่คนจะใช้กันแพร่หลาย
AMD ยังไม่เห็นโอกาสในระยะสั้นว่า Thunderbolt จะเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะไม่ได้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าเทคโนโลยี I/O ในปัจจุบัน และด้อยกว่าในบางแง่ด้วยซ้ำ เมื่อบวกกับอุปกรณ์ยังน้อย, การเป็นมาตรฐานปิดของอินเทลคนเดียว, คอขวดที่ PCI Express 3.0 ทำให้ใช้อัตราการส่งข้อมูลได้ไม่เต็มที่ ก็ยิ่งทำให้ Thunderbolt มีโอกาสน้อยเข้าไปใหญ่
หลังจากที่มีข่าวลือออกมามากมาย แอปเปิลก็ได้วางขาย MacBook Pro ตัวใหม่หลังจากงานเปิดตัว Light Peak ของอินเทลจริง โดยได้นำเทคโนโลยี Light Peak ใส่ลงไปบนคอมพิวเตอร์พกพาตระกูล MacBook Pro ของตัวเอง ภายใต้ชื่อ Thunderbolt โดยตัวพอร์ตนั้นได้ถูกนำมาใช้ร่วมกับพอร์ต Mini DisplayPort โดยแอปเปิลอ้างว่าพอร์ตดังกล่าวมความเร็วสูงสุดที่ 10 Gbps และสามารถนำไปต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ถึง 6 ชิ้นผ่าน Hub
หลังจากที่ทาง Apple และ Intel ได้เปิดตัวพอร์ต Thunderbolt ลงใน MacBook Pro รุ่นใหม่ หลายคนอาจจะมีคำถามว่าใส่พอร์ตมาแล้วจะเอาพอร์ตมาใช้กับอะไร ทาง Promise ผู้ผลิตอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจึงได้เปิดตัว DAS (Direct Attached Storage) รุ่น Pegasus ที่เชื่อมต่อผ่านพอร์ต Thunderbolt สำหรับเครื่องแมคโดยเฉพาะเป็นเจ้าแรก
โดยจุดเด่นคราว ๆ มีดังนี้
เว็บ Mac4Ever ได้เข้าไปพบกับภาพหลุดของกล่องและตัวเครื่อง MacBook Pro 13" ใหม่ พบว่าแอปเปิลได้เพิ่มพอร์ต I/O ใหม่ภายใต้ชื่อ Thunderbolt ซึ่งน่าจะเป็น Light Peak ตามที่ได้รายงานไว้ก่อนหน้านี้
หากมาดูกันที่ด้านข้างของเครื่อง จะพบว่าพอร์ต Thunderbolt นั้นเข้ามาแทนที่ Mini DisplayPort นอกจากนี้ยังมีการเพิ่ม SDXC Card Reader และการเปลี่ยนชื่อกล้อง Built-in iSight Camera มาเป็น FaceTime HD Camera แทนอีกด้วย ในส่วนของ Trackpad ดูเหมือนว่ายังไม่มีการเปลี่ยนขนาดให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมแต่อย่างใด
UPDATE: เว็บ MacRumors ออกมาคอนเฟิร์มว่าสเปคนี้เป็นสเปคจริงของ MacBook Pro 13" รุ่นต่ำสุดครับ