Taiwan Semiconductor Manufacturing Company Limited
แม้จะฟ้องร้องกันนุงนังแต่แอปเปิลกับซัมซุงนั้นก็ยังมีฐานนะเป็นคู่ค้ารายใหญ่ต่อกันมายาวนาน โดยเฉพาะหัวใจหลักอย่างซีพียู Apple A4, และ A5 นั้นก็ล้วนผลิตจากโรงงานของซัมซุงทั้งสิ้น แต่พอคดีมาถึงจุดแตกหักเช่นนี้ Dan Heyler นักวิเคราะห์จากบริษัท Merrill Lynch ก็ออกมาคาดการณ์ว่าแอปเปิลน่าจะเปลี่ยนโรงงานผลิตชิปรุ่นต่อไปอย่าง Apple A6 เป็นโรงงานของ TSMC แทน
TSMC นั้นมีเทคโนโลยีการผลิตที่ 28 นาโนเมตรนับว่าก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การใช้ชิปที่กระบวนการผลิตที่เล็กลงนี้จะทำให้ชิปรุ่นต่อไปของแอปเปิลประหยัดพลังงานกว่าคู่แข่งไปอีกก้าว โดย TSMC นั้นมีข่าวว่าทำงานร่วมกับแอปเปิลมาระยะหนึ่งแล้วแม้จะยังไม่มีรายละเอียดออกมา
แม้ว่าสินค้าสาย CPU ของ AMD ดูเหมือนจะสิ้นลายลงไปมากในช่วงหลังๆ แต่ฟาก GPU นั้นยัง ATI Radeon ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ข่าวร้ายคือสินค้าขายดีของ AMD นั้นกำลังจะกลายเป็นสินค้าหายาก เมื่อทาง TSMC มีปัญหาในการผลิต ทำให้ไม่สามารถส่งมอบชิปได้ตามจำนวนที่คาดการณ์ไว้
ชิป Radeon ตระกูล 5800 นั้นเป็นชิปตระกูลแรกที่ใช้กระบวนการผลิตระดับ 40nm ของ TSMC ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่นับได้ว่าละเอียดที่สุดในปัจจุบัน (Intel นั้นยังคงใช้เทคโนโลยี 45nm สำหรับ CPU อยู่) ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออัตราการใช้งานได้ (yield rate) ของชิปในสายการผลิตนี้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก โดยอัตราชิปที่ใช้งานได้ในตอนนี้อยู่ที่ร้อยละ 40 ขณะที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 60
TSMC เป็นผู้ผลิตชิปให้กับทั้ง AMD และ NVIDIA
หลังจากผละจากสถาปัตยกรรม ARM มาหลายปีแล้ว ชิป Atom ของอินเทลนั้นได้รับการพัฒนาอย่างเร็วมากในช่วงหลังๆ มานี้ โดยมีเป้าหมายที่ค่อนข้างชัดว่าอินเทลหวังว่าบุกตลาดโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ขนาดเล็กทั้งหลาย
แต่ปัญหาคือชิปในตระกูล Atom นั้นต้องการชิปเซ็ตภายนอก ขณะที่ชิปในอุปกรณ์ขนาดเล็กนั้นมักเป็น SoC (System on Chip) ที่รวมเอาวงจรที่จำเป็นต่อการทำงานไว้เกือบทั้งหมดแล้ว เพื่อแก้ปัญหานี้อินเทลจึงร่วมกับทาง TSMC (Taiwan Semiconductor) เพื่อพัฒนาชิปตัวใหม่แบบ SoC ที่ใช้คอร์ภายในเป็น Atom
ซีพียูที่ผลิตขึ้นใหม่นี้จะใช้แกนเป็นตัว Atom ของอินเทลเหมือนเช่นใน Netbook ที่เราใช้งานกันรวมเข้ากับวงจรรอบๆ ของทาง TSMC
TSMC บริษัทรับผลิตชิปให้กับบริษัทออกแบบจำนวนมากที่ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองได้ประกาศเปิดสายการผลิตล่าสุดในเทคโนโลยี 28 นาโนเมตร และคาดว่าจะเริ่มส่งมอบชิปชุดแรกได้ในไตรมาสแรกปี 2010
สายการผลิตนี้เปิดตัวทั้งแบบ high-k metal gate (HKMG) และ siligon oxynitride (SiON) โดยเมื่อมีการออกแบบด้วยความละเอียดใหม่นี้แล้ว ชิปที่ได้จะมีความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว, ความเร็วเพิ่มขึ้นร้อยละ 50, และประหยัดพลังงานลงร้อยละ 30-50
เราคงไม่ได้เห็นชิปแปะตราของ TSMC เองเท่าใหร่นัก แต่ลูกค้าของ TSMC นั้นมีตั้งแต่ NVIDIA, ATI, และบริษัทออกแบบไอซีชื่อดังๆ อีกจำนวนมาก
ที่มา - Tech-On
ผู้ใช้ทั่วๆ ไปอาจจะไม่รู้กันว่าผู้ผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เราใช้กันอยู่ไม่ว่าจะเป็นนั้นมาจากผู้ผลิตรายเดียวกันที่ชื่อว่า TSMC โดยมีลูกค้าสำคัญๆ เช่น ATI, NVIDIA, Broadcom, หรือ VIA
การประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ TSMC นั้นค่อนข้างน่าประทับใจมาก ด้วยรายได้รวม 2.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณหนึ่งแสนล้านบาทไทย เป็นกำไรสุทธิไป 930 ล้านดอลลาร์
รายได้ร้อยละ 63 ของ TSMC ยังมาจากการผลิตชิปที่เทคโนโลยี 130 นาโนเมตรหรือต่ำกว่านั้น ร้อยละ 28 มาจากเทคโนโลยี 90 นาโนเมตร และร้อยละ 18 มาจากเทคโนโลยี 65 นาโนเมตร
ที่มา - ArsTechnica