Taiwan Semiconductor Manufacturing Company Limited
C.C. Wei ประธาน TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวในงานประชุมสามัญประจำปี ว่าความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในไต้หวัน ทำให้บริษัทมีการหารือกับลูกค้าอยู่ตลอด โดยเฉพาะเรื่องการย้ายฐานการผลิตชิปออกจากไต้หวัน แต่เขายืนยันว่า TSMC ไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์สู้รบหรือสถานการณ์ที่ยากลำบากขึ้น
เขายังบอกอีกว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะย้ายโรงงานผลิตชิปออกจากไต้หวัน ปัจจุบันกำลังการผลิตของ TSMC 80-90% อยู่ที่นี่ ทั้งนี้ Wei ไม่ได้บอกว่าลูกค้าที่มาหารือประเด็นดังกล่าวคือบริษัทใด
TSMC จัดงาน North America Technology Symposium เปิดเทคโนโลยีการที่กำลังจะเข้ามาในช่วงสองปีข้างหน้า โดยไล่ตั้งแต่เทคโนโลยีที่มีอยู่และปรับปรุงขึ้น ไปจนถึงเทคโนโลยีใหม่
SK Hynix ผู้ผลิตแรมรายใหญ่ประกาศร่วมมือกับ TSMC พัฒนากระบวนการผลิตแรม HBM4 รุ่นต่อไป โดยคาดว่าจะผลิตจำนวนมากได้ในปี 2026 จากเดิมที่ SK Hynix ใช้เทคโนโลยีของตัวเองผลิตแรม HBM มาเสมอ
ความร่วมมือครั้งนี้เป็นความร่วมมือบางส่่วน โดยแรม HBM นั้นประกอบไปด้วยชิปหลายตัว ตัว DRAM จริงๆ ซ้อนกันอยู่หลายๆ แผ่นเพื่อให้ได้แบนวิดท์สูง แล้วเชื่อมกับแผ่น base die ที่อยู่ล่างสุดเพื่อควบคุมการทำงานแรมและเชื่อมต่อกับชิปภายนอกเช่นชิปกราฟิก การประกาศครั้งนี้ SK Hynix จะใช้เทคโนโลยี base die ของ TSMC เพื่อให้สามารถแพ็กแรมได้เพิ่มขึ้น
แรม HBM กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของวงการ AI ในปีที่ผ่านมา และเป็นคอขวดหนึ่งในการส่งมอบเซิร์ฟเวอร์ฝึก AI ประสิทธิภาพสูง
TSMC รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2024 ยอดขายรวม 592,644 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 16.5% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 225,485 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 8.9%
Wendell Huang ซีเอฟโอ TSMC ให้ข้อมูลเพิ่มเติมช่วงแถลงผลประกอบการว่าในไตรมาสปัจจุบัน 2/2024 บริษัทยังมองความต้องการที่แข็งแกร่งในสินค้าเทคโนโลยี 3 นาโมเมตร และ 5 นาโนเมตร ซึ่งสามารถชดเชยรายได้ที่ลดลงจากสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟนตามปัจจัยฤดูกาล
ส่วนซีอีโอ C.C. Wei กล่าวว่าผู้พัฒนา AI ชั้นนำแทบทั้งหมดตอนนี้ต่างทำงานร่วมกับ TSMC เพื่อพัฒนาชิปประมวลผลที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เขายังมองว่ารายได้จากชิปเซิร์ฟเวอร์ AI ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากปี 2023
TSMC รายงานตัวเลขผลการดำเนินงานเบื้องต้นของเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2024 รายได้เฉพาะเดือนมีนาคม 1.95 แสนล้านดอลลาร์ไต้หวัน เทียบกับมีนาคม 2023 เพิ่มขึ้น 34.3% เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่พฤศจิกายน 2022 และเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2024 เพิ่มขึ้น 7.5%
รายได้รวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2024 อยู่ที่ 5.93 แสนล้านดอลลาร์ไต้หวัน เพิ่มขึ้น 16.5%
ก่อนหน้านี้ TSMC ให้ความเห็นว่าปี 2024 บริษัทจะมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ตามความต้องการสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนสินค้าสำหรับงาน AI ในกลุ่ม HPC
ที่มา: CNBC
รัฐบาลสหรัฐประกาศข้อตกลงเบื้องต้น ให้เงินอุดหนุนสูงสุด 6,600 ล้านดอลลาร์ภายใต้กฎหมายสนับสนุนการตั้งโรงงานผลิตชิปในประเทศ CHIPS Act กับ TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน เพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในสหรัฐอเมริกา และมีเงินกู้เพิ่มเติมอีก 5,000 ล้านดอลลาร์
ภายใต้ข้อตกลงนี้ TSMC จะสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา วงเงินลงทุน 65,000 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานทั้งการก่อสร้างและในโรงงานรวม 25,000 อัตรา และสร้างทางอ้อมจากซัพพลายเออร์อีกจำนวนมาก
ในข้อตกลงนี้ยังมีการลงทุนเป็นเงินอีก 50,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมและพัฒนาแรงงานในพื้นที่ ทำให้แรงงานไม่ต้องย้ายพื้นที่ไปทำงานด้านนวัตกรรมที่ค่าแรงสูงในเมืองอื่น
ในช่วงเช้าวันนี้ (3 เมษายน 2024) เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ศูนย์กลางใกล้กับเมืองฮัวเหลียน ที่ไต้หวัน เกิดความเสียหายกับอาคารหลายแห่ง
TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีโรงงานผลิตในไต้หวัน รายงานว่าบริษัทได้อพยพคนงานในไซต์ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่เมืองซินจู๋ ที่อยู่ทางตอนเหนือ ทั้งหมดปลอดภัย ซึ่ง TSMC ได้สั่งระงับการก่อสร้างตลอดทั้งวันเพื่อตรวจสอบความเสียหาย และผลกระทบ
ส่วนโรงงานผลิตชิปทั้งหมดมีการอพยพพนักงานออกมาเช่นกันตามแผนความปลอดภัย ทำให้ต้องระงับสายการผลิตชั่วคราว แต่อาคารเครื่องจักของโรงงานไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุที่เกิดขึ้น จึงสามารถดำเนินงานต่อได้ตามปกติ
ที่งาน GTC 2024 TSMC และ Synopsys ประกาศเตรียมใช้ไลบรารี NVIDIA cuLitho ในสายการผลิตชิปจริง หลังจาก NVIDIA เปิดตัวเทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยคาดว่าจะทำให้ระยะเวลาออกแบบชิปลดลง และประหยัดพลังงานระหว่างการออกแบบไปมาก
cuLitho ช่วยในการออกแบบพิมพ์เขียวสำหรับการออกแบบชิปที่เทคโนโลยีขนาดเล็กมากๆ เนื่องจากมีความผิดพลาดจากการเลี้ยวเบนของแสง ทำให้ต้องคำนวณปรับแก้ เรียกกระบวนการนี้ว่า optical proximity correction (OPC) หรือ inverse lithography technology (ILT) กระบวนการนี้กินพลังประมวลผลสูงมาก ปัจจุบันซอฟต์แวร์รันบนซีพียู 40,000 ตัว การใช้ cuLitho ทำให้สามารถรัน OPC ด้วยชิป H100 เพียง 350 ตัวเท่านั้น และการทำงานยังเร็วขึ้นเท่าตัว
TSMC บริษัทรับผลิตชิปจากไต้หวัน ได้ทำพิธีเปิดโรงงานแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ (24 กุมภาพันธ์) โดยโรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัด Kumamoto ในชื่อ JASM (Japan Advanced Semiconductor Manufacturing) เป็นบริษัทร่วมทุนที่ TSMC ถือหุ้นใหญ่ ร่วมด้วยบริษัทญี่ปุ่นคือ Sony Semiconductor และ Denso
โรงงานแห่งนี้ประกาศโครงการตั้งแต่ปี 2021 เริ่มก่อสร้างในปี 2022 โดยได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากรัฐบาลญี่ปุ่น รองรับการผลิตชิปเทคโนโลยี 12/16/22/28 นาโนเมตร จะเป็นโรงงานผลิตชิปที่เทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดในญี่ปุ่น คาดว่าจะสร้างงานได้ 1,700 ตำแหน่ง เมื่อเริ่มการผลิตเต็มกำลังในสิ้นปีนี้
TSMC ประกาศตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งที่สองในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่จังหวัด Kumamoto เช่นเดียวกับโรงงานแห่งแรก มีกำหนดเริ่มก่อสร้างช่วงปลายปี 2024 และมีเป้าหมายเดินสายการผลิตในปี 2027 ส่วนโรงงานแห่งแรกจะเริ่มเดินสายการผลิตภายในปี 2024 นี้
บริษัทของ TSMC ในญี่ปุ่นมีชื่อว่า Japan Advanced Semiconductor Manufacturing (JASM) มี TSMC เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 86.5% และมี Sony, Denso, Toyota ร่วมถือหุ้นด้วยในสัดส่วน 6%, 5.5%, 2% ตามลำดับ
เมื่อโรงงานทั้งสองแห่งเดินสายการผลิตแล้ว จะมีกำลังการผลิตรวมกันที่ 100,000 แผ่นเวเฟอร์ต่อเดือน มีการจ้างงานพนักงานไฮเทคในญี่ปุ่น 3,400 ตำแหน่ง
ที่มา - TSMC
เว็บไซต์ DigiTimes ที่รายงานข้อมูลด้านซัพพลายเชนเปิดเผยว่า แอปเปิลจะเป็นบริษัทแรกที่ได้รับส่งมอบชิปเทคโนโลยี 2 นาโนเมตร จาก TSMC ซึ่งเป็นลูกค้ารายแรกที่ทำคำสั่งซื้อชิปเทคโนโลยีใหม่นี้
TSMC คาดว่าจะเริ่มสายการผลิตชิป 2 นาโนเมตรได้ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2025 ก่อนหน้านี้แอปเปิลก็เป็นลูกค้ารายแรกที่ได้ชิปเทคโนโลยีล่าสุด 3 นาโนเมตร ของ TSMC ซึ่งมีใช้งานแล้วใน iPhone 15 Pro (A17 Pro) และชิปตระกูล M3 ใน Mac
TSMC ประกาศว่าโรงงานผลิตชิปแห่งที่สองในรัฐแอริโซนา จะเลื่อนกำหนดเปิดออกไปตามแผนเดิมที่กำหนดเปิดในปี 2026 ออกไปเป็นปี 2027 หรือ 2028 ซึ่งเหมือนกับโรงงานแห่งแรกที่แผนเดิมกำหนดเปิด 2024 ก็ประกาศเลื่อนออกไปเป็น 2025
นอกจากนี้ TSMC ยังบอกว่าโรงงานแห่งที่สองนั้น จากแผนเดิมที่ใช้เป็นโรงงานผลิตชิปขั้นสูง 3 นาโนเมตร อาจปรับมาผลิตชิปขนาดใหญ่ขึ้นแทนด้วย
Mark Liu ประธาน TSMC บอกว่าการตัดสินใจทิศทางของโรงงานแห่งที่สองนั้นจะขึ้นกับสถานการณ์ความต้องการสินค้าในตลาด และวงเงินที่รัฐบาลสหรัฐให้การช่วยเหลือและสนับสนุน
TSMC รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2023 มียอดขายรวม 625,529 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันในปี 2022 มีกำไรสุทธิลดลง 19.3% อยู่ที่ 238,712 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน อย่างไรก็ตามทั้งรายได้และกำไรนั้นเติบโต 13-14% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2023
TSMC บอกว่าการเติบโตของรายได้เมื่อเทียบไตรมาส 3/2023 ปัจจัยหลักมาจากเวเฟอร์เทคโนโลยี 3 นาโนเมตร ซึ่งคิดเป็นรายได้ 15% ของรายได้เวเฟอร์ทั้งหมด ส่วน 5 นาโนเมตรและ 7 นาโนเมตร คิดเป็น 35% และ 17% ตามลำดับ ทำให้ภาพรวมรายได้จากกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง (7 นาโนเมตรหรือน้อยกว่า) คิดเป็น 67%
TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก ประกาศว่า Dr. Mark Liu ประธานบริษัท ประกาศเกษียณจากตำแหน่ง และไม่ประสงค์สมัครเพื่อรับตำแหน่งในบอร์ดบริษัทในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งถัดไป ในเดือนมิถุนายนปีหน้า 2024 ซึ่งคณะกรรมการบอร์ดส่วนธรรมาภิบาลและความยั่งยืน เสนอให้ Dr. C.C. Wei รองประธานบริษัทและซีอีโอ มารับตำแหน่งประธานคนใหม่ ซึ่งต้องได้การรับรองจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วย
Dr. Mark Liu ร่วมงานกับ TSMC มาตั้งแต่ปี 1993 และรับตำแหน่งประธานต่อจาก Dr. Morris Chang ที่เกษียณจากตำแหน่งในปี 2018 โดยเขาบอกว่าจะนำประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ตลอด 30 ปี เพื่อประโยชน์ด้านอื่น รวมทั้งใช้เวลามากขึ้นกับครอบครัว
ผู้บริหาร TSMC ได้ร่วมงานสัมมนา IEEE International Electron Devices Meeting โดยมีประเด็นสำคัญคือเป็นครั้งแรกที่ TSMC พูดถึงการพัฒนาชิป 1.4 นาโนเมตร
ในสไลด์ที่นำเสนอ TSMC พูดถึงโรดแมปการพัฒนาชิป ซึ่งชิปที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาคือโค้ดเดม N2 (2 นาโนเมตร) ที่คาดว่าจะเริ่มผลิตในปี 2025 และ A14 ที่เป็นชิป 1.4 นาโนเมตร โดยยังไม่ระบุปีที่เริ่มผลิตได้ แต่คาดว่าอย่างน้อยเป็นปี 2027-2028
มีรายงานว่า TSMC กำลังพิจารณาสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ในประเทศญี่ปุ่นสำหรับการผลิตชิป 3 นาโนเมตร เพื่อกระจายการผลิตชิปในโซนเอเชียตะวันออก โดยโรงงานนี้มีโค้ดเนมในการก่อสร้างว่า TSMC Fab-23 Phase 3 อยู่ในจังหวัด Kumamoto
ก่อนหน้านี้ TSMC มีแผนสร้างโรงงานผลิตชิปในญี่ปุ่นที่ Kumamoto สองโรงงาน โดยโรงงานแรกเป็นชิป 12 นาโนเมตร เริ่มสายการผลิตปี 2024 อีกโรงงานที่สองสำหรับชิป 5 นาโนเมตร เริ่มสายการผลิตปี 2025 ส่วนโรงงานที่ 3 ตามรายงานนั้นยังไม่มีกำหนดเวลา
TSMC รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2023 ยอดขายรวม 546,733 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ลดลง 10.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน กำไรสุทธิอยู่ที่ 211,000 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ลดลง 24.9% อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ 2/2023 รายได้และกำไรสุทธิปรับเพิ่มขึ้นมา 13.7% และ 16.1% ตามลำดับ
TSMC ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า รายได้จากเวเฟอร์เทคโนโลยี 3 นาโนเมตร คิดเป็น 6% ของรายได้เวเฟอร์ทั้งหมด ขณะที่ 5 นาโนเมตรคิดเป็น 37% และ 7 นาโนเมตรคิดเป็น 16% ทำให้ภาพรวมรายได้จากกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง (7 นาโนเมตรหรือน้อยกว่า) คิดเป็น 59%
สำนักข่าวรอยเตอรส์อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวสองราย ระบุว่า TSMC ขอให้ ASML ชะลอการส่งมอบเครื่องจักรผลิตชิปลง เพราะโรงงานที่กำลังก่อสร้างในรัฐแอริโซนาล่าช้า และความต้องการชิปรวมอาจจะไม่มากเท่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้
Peter Wennink ซีอีโอ ASML เคยเปิดเผยว่ามีผู้ผลิตชิปบางรายขอชะลอการส่งมอบเครื่องจักรจริงแต่ไม่ได้บอกว่าเป็นบริษัทใด อย่างไรก็ดีเขาระบุว่าเป็นการชะลอเพื่อจัดการระยะสั้นเท่านั้น และตอนนี้ ASML เดินสายการผลิตเต็มกำลังอยู่
อินเทลประกาศบรรลุข้อตกลงที่จะขายหุ้น IMS Nanofabrication (IMS) คิดเป็น 10% ให้กับ TSMC เป็นเงิน 430 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ TSMC ให้มูลค่า IMS ที่ 4.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมูลค่านี้เท่ากับราคาที่อินเทลขายหุ้น IMS 20% ให้กองทุน Bain Capital ก่อนหน้านี้
อินเทลบอกว่าหลังดีลขายหุ้นนี้ บริษัทยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดใน IMS ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินงานแยกออกจากอินเทล มี Dr. Elmar Platzgummer เป็นซีอีโอ
IMS เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี Multi-Beam Mask Writer ซึ่งใช้ในการพัฒนา EUV ที่เป็นพื้นฐานเทคโนโลยีของการผลิตชิปขั้นสูง โดยอินเทลซื้อกิจการ IMS มาในปี 2015
MediaTek ประกาศความสำเร็จว่าสามารถผลิตชิป Dimensity ด้วยกระบวนการผลิต 3nm ของ TSMC สำเร็จแล้ว โดยจะเริ่มผลิตเป็นจำนวนมากในปีหน้า
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของชิป Dimensity ตัวใหม่นี้ (คงต้องรอเปิดตัวทางการอีกที) บอกแค่ว่าชิปจะเริ่มถูกนำไปใช้งานจริงในช่วงครึ่งหลังของปี 2024
กระบวนการผลิต 3nm ของ TSMC ช่วยให้วงจรทรานซิสเตอร์หนาแน่นขึ้น 60% เทียบกับแบบ 5nm ช่วยให้ใช้พลังงานน้อยลง 32% ในระดับการทำงานเท่าเดิม
TSMC เริ่มเดินสายการผลิตชิป 3nm เมื่อปลายปี 2022 และคาดว่าลูกค้ากลุ่มแรกๆ คือแอปเปิลที่จะใช้กับชิป A17 Bionic (iPhone 15) และ M3
TSMC ประกาศตั้งบริษัทลูกในยุโรปชื่อ European Semiconductor Manufacturing Company (ESMC) ร่วมกับบริษัทเซมิคอนดักเตอร์จากยุโรปอีก 3 รายคือ Bosch, Infineon, NXP (TSMC ถือหุ้น 70% ส่วนอีก 3 รายถือรายละ 10%) โรงงานจะตั้งอยู่ที่เมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมนี
โรงงานแห่งนี้จะผลิตชิปจากแผ่นเวเฟอร์ขนาด 300mm โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตระดับ 28/22nm และ 16/12nm เน้นฐานลูกค้ากลุ่มยานยนต์และภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างจะเริ่มช่วงครึ่งหลังของปี 2024 และเดินสายการผลิตได้จริงช่วงปลายปี 2027
TSMC ประกาศเลื่อนแผนการเปิดโรงงานผลิตชิปในรัฐแอริโซนา จากเดิมปลายปี 2024 กลายเป็นปี 2025 ด้วยปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะด้านการผลิตชิป ซึ่ง TSMC พยายามแก้ปัญหานี้โดยส่งพนักงานที่มีประสบการณ์จากไต้หวันมาอยู่ที่โรงงานในสหรัฐ
นโยบายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา พยายามผลักดันให้เกิดการผลิตชิปบนแผ่นดินอเมริกา เพื่อลดความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์จากจีน โดยออกกฎหมาย CHIPS Act ให้งบประมาณก้อนใหญ่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ จูงใจให้บริษัทชิปมาสร้างโรงงานในสหรัฐอเมริกา
Apple และ Samsung นั้นต่างเป็นทั้งคู่ค้า และคู่แข่ง กันมาอย่างยาวนาน ซึ่งก็มีหลายครั้งที่ Apple พยายามลดการพึ่งพา Samsung และในข่าวนี้ก็เป็นอีกคราที่ Apple แสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะไม่พึ่งพา Samsung แล้ว
โดยรายงานนี้มาจาก Nikkei Asia ที่ได้เล่าว่า Apple ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา และผลิตจอภาพรุ่นต่อไปของตัวเองอย่างมาก เพื่อลดการพึ่งพาคู่แข่งอย่าง Samsung และเพิ่มอำนาจตัวเองในการจัดหาชิ้นส่วนประกอบหลัก ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับการผลิต iPhone ในรูปแบบปกติ
Berkshire Hathaway บริษัทการลงทุนของมหาเศรษฐีชื่อดัง Warren Buffett รายงานการถือครองหุ้นในไตรมาสที่ 1 ปี 2023 พบว่าได้ขายหุ้น TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน ออกไปทั้งหมด หลังจากบริษัทรายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่าได้ขายหุ้นออกไปจำนวนหนึ่ง
บริษัทของ Buffett เริ่มรายงานการซื้อหุ้น TSMC ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เมื่อปีที่แล้ว โดยในเวลานั้นซื้อหุ้น TSMC ไปประมาณ 4,100 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Buffett พูดถึงหุ้น TSMC ในการประชุมผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway ประจำปี บอกว่า TSMC นั้นเป็นบริษัทที่โดดเด่นมาก แต่ตอนนี้เขารู้สึกสบายใจที่จะลงทุนในบริษัทญี่ปุ่นมากกว่าไต้หวัน เนื่องจากประเด็นทางการค้าระหว่างอเมริกากับจีน
มีรายงานจาก DigiTimes อ้างถึงตัวเลขคำสั่งผลิตของ TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน โดยลูกค้ารายใหญ่หลายราย ได้ทบทวนคำสั่งซื้อใหม่และลดปริมาณลง ส่งผลกระทบต่อตัวเลขผลประกอบการในไตรมาส 4 ปี 2022 ที่ผ่านมา และจะเห็นผลที่ชัดมากขึ้นในไตรมาสปัจจุบัน ไตรมาส 1 ปี 2023
ข้อมูลบอกว่าอัตราการผลิตของ TSMC ในสายการผลิตระดับ 7 และ 6 นาโนเมตร ลดลงประมาณ 50% ส่วนสายการผลิตระดับ 5 และ 4 นาโนเมตร ก็ไม่ได้เดินเต็มกำลังการผลิต หรือแม้แต่สายการผลิตเทคโนโลยีเก่าระดับ 28 นาโมเมตร ซึ่งเดินเต็มกำลังการผลิตมาตลอดตั้งแต่ปี 2021 ตอนนี้ก็ไม่ได้เต็มกำลังผลิต