Taiwan Semiconductor Manufacturing Company Limited
TSMC เริ่มติดต่อรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เพื่อขอซื้อวัคซีนหลังจากเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมารัฐบาลไต้หวันเห็นชอบให้ทั้ง TSMC และ Foxconn เป็นตัวแทนรัฐบาลเจรจาซื้อวัคซีนจาก Pfizer รวม 10 ล้านโดส
ทั้งสองบริษัทพยายามจัดหาวัคซีนด้วยตัวเองเพื่อมาฉีดให้พนักงานและครอบครัวระยะหนึ่งแล้ว แต่ระบุว่าจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ และหลังจากเข้าพูดคุยกับประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน คณะรัฐมนตรีไต้หวันก็ประกาศอนุญาตให้ทั้งสองบริษัทเป็นตัวแทนรัฐบาลจัดหาวัคซีนเป็นทางการ
C.C. Wei ซีอีโอของ TSMC ให้ข้อมูลว่าเริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตชิปขนาด 5 นาโนเมตรในรัฐแอริโซนาแล้ว โรงงานจะเสร็จและพร้อมเดินเครื่องผลิตชิปในปี 2024
TSMC ประกาศตั้งโรงงานที่แอริโซนาตั้งแต่กลางปี 2020 สอดคล้องกับทิศทางของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อื่นๆ ที่ขยายการตั้งโรงงานในสหรัฐอเมริกา เช่น ซัมซุง และอินเทล และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลสหรัฐที่ต้องการนำโรงงานผลิตชิปกลับมาอยู่บนแผ่นดินอเมริกา
Wei ยังบอกว่าการผลิตชิป 3 นาโนเมตรที่โรงงาน Fab 18 ในไต้หวันยังเดินหน้าตามกำหนดเดิม คือช่วงครึ่งหลังของปี 2022
Nikkei Asia มีบทความประเมินสถานการณ์ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของซัมซุง ที่ตามหลังคู่แข่ง TSMC และช่องว่างเริ่มถ่างออกเรื่อยๆ
ปัญหาของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของซัมซุงเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน เช่น ภัยธรรมชาติ (โรงงานในเท็กซัสต้องปิดเพราะปัญหาไฟดับเป็นวงกว้าง), การเปิดโรงงานใหม่ในเกาหลีใต้ล่าช้า ทำให้ซัมซุงตามหลัง TSMC ในเรื่องการผลิต 5nm ไปหลายเดือน
บริษัทผลิตอุปกรณ์ไอทีต่างลดกำลังการผลิต ซึ่งเป็นผลกระทบจากปรากฏการณ์ชิปเซมิคอนดักเตอร์ขาดตลาด กระทบทั้งสายการผลิตตั้งแต่รถยนต์ ไปจนถึงเครื่องปิ้งขนมปัง ล่าสุด Chuck Robbin ซีอีโอ Cisco บอกว่า วิกฤตินี้จะอยู่กับเราไปอีก 6 เดือน แต่หลังจากนั้นจะดีขึ้นในช่วง 12-18 เดือน เพราะบริษัทเทคโนโลยีต่างเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและพัฒนา
TSMC เตรียมสู้ภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีในไต้หวัน หลังรัฐสั่งลดการใช้น้ำเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยการสร้างโรงบำบัดน้ำเสียที่เมืองไถหนาน เมืองที่มีโรงงานผลิตชิปสถาปัตยกรรม 5nm สำหรับ iPhone และ Macbook ของบริษัท เพื่อนำน้ำเสียจากกระบวนการอุตสาหกรรมกลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการผลิต
TSMC ระบุว่าโรงงานนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2021 และจะบำบัดน้ำกลับมาใช้ได้ถึง 67,000 ตัน ภายในปี 2024 หรือเกือบครึ่งของความต้องการใช้น้ำต่อวันในกระบวนการผลิตชิปของ TSMC ที่อยู่ที่ราวๆ 156,000 ตันเลยทีเดียว
วิกฤติชิปขาดตลาดกระทบหลายอุตสาหกรรม ที่ผู้อ่าน Blognone เห็นได้ชัดน่าจะเป็นชิปกราฟิกที่หาซื้อแทบไม่ได้ในช่วงหลัง ในงานแถลงข่าวกับนักวิเคราะห์ C.C. Wei ซีอีโอของ TSMC ก็คาดว่าความต้องการสินค้าจะสูงต่อไป และเขาหวังว่า TSMC จะเพิ่มกำลังผลิตให้ทันความต้องการได้ในปี 2023
Wei ระบุว่าตอนนี้โรงงานของ TSMC เดินหน้าผลิตเกิน 100% ไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ก่อนหน้านี้ TSMC เคยประกาศลงทุนแสนล้านดอลลาร์เพื่อตั้งโรงงานเพิ่ม แม้จะยังไม่ระบุว่าจะตั้งโรงงานที่ใดบ้าง แต่ในการแถลงครั้งนี้ Wei ก็ระบุว่ากำลังผลิตหลักและส่วนวิจัยและพัฒนาจะยังคงอยู่ในไต้หวัน ส่วนโรงงานในสหรัฐฯ นั้นจะเริ่มก่อสร้างปีหน้า
TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลกจากไต้หวัน ออกข่าวว่าจะลงทุนจำนวนมากถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ (3 ล้านล้านบาท) เพื่อสร้างโรงงานผลิตชิปในอีก 3 ปีข้างหน้า ตอบสนองปัญหาชิปขาดตลาดที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนหน้านี้ TSMC เคยลงทุนโรงงานมูลค่า 12 พันล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกาไปแล้ว และระบุว่าจะลงทุนเป็นเงิน 25-28 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 นี้ แต่ดูยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องโรงงานผลิตชิปในระยะยาวได้ จึงต้องเพิ่มเม็ดเงินลงทุนเข้าไปอีก อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ TSMC ยังไม่ประกาศแผนว่าจะตั้งโรงงานใหม่ที่ไหนบ้าง
ฝั่งของอินเทลเองเพิ่งออกมาประกาศลงทุน 20 พันล้านดอลลาร์ตั้งโรงงานใหม่ในสหรัฐอเมริกา
ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว ปัญหาที่ทุกคนสงสัยคงเป็นว่าทำไมอินเทลติดหล่ม 14 นาโนเมตรอยู่หลายปี มาถึงวันนี้ (ต้นปี 2021) ยังก้าวไม่ถึง 10 นาโนเมตรได้สมบูรณ์ 100% เลยด้วยซ้ำ แถมแผนการผลิตชิป 7 นาโนเมตรก็ล่าช้ากว่ากำหนด
ในทางกลับกัน คู่แข่งสายโรงงานผลิตชิปทั้ง TSMC และซัมซุง สามารถผลิตชิประดับ 7 นาโนเมตรได้ก่อนแล้วหลายปี (Radeon VII ที่ผลิตโดย TSMC 7nm ออกต้นปี 2019) ตอนนี้ยังเริ่มผลิตชิปที่ 5 นาโนเมตรได้แล้ว
อะไรคือความแตกต่างระหว่างอินเทลกับคู่แข่ง คำตอบของคำถามนี้ต้องย้อนไปดูพัฒนาการของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์กันก่อน
ตอนนี้ไต้หวันกำลังประสบปัญหาระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงต่ำเข้าขั้นวิกฤติ ทำให้รัฐบาลเริ่มสั่งลดปริมาณการใช้น้ำในหลายเมือง ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตชิปของทั้ง TSMC และ UMC ที่กำลังประสบปัญหาผลิตชิปให้อุตสาหกรรมไอทีและรถยนต์ไม่ทัน
TSMC เคยเปิดเผยว่าใช้น้ำวันละ 156,000 ตันต่อวันในกระบวนการผลิตชิป โดยถึงแม้ TSMC จะมีการนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำอยู่แล้วในกระบวนการ อย่างในปี 2019 บริษัทเผยว่าได้รียูสน้ำในกระบวนการผลิตราว 86.7% ของน้ำที่ใช้ทั้งหมด แต่บริษัทก็เกรงว่าหากสถานการณ์ฝนยังไม่ดีขึ้นภายในเดือนพฤษภาคม ปัญหาใหญ่จะตามมาแน่นอน
Nikkei รายงานอ้างอิงแหล่งข่าวใกล้ชิดกับโปรเจ็คว่าแอปเปิลกำลังพัฒนาหน้าจอ micro OLED แบบใหม่ร่วมกับ TSMC ที่น่าสนใจคือวัสดุตั้งต้นของจอจะไม่ใช่กระจกเหมือนจอที่ผ่านมา แต่เป็นแผ่นเวเฟอร์ที่ใช้สำหรับผลิตชิป
วิธีนี้ Nikkei บอกว่าจะทำให้หน้าจอบางกว่า เล็กกว่าและใช้พลังงานน้อยกว่า ซึ่งเหมาะกับการนำมาใช้กับแว่น AR โดยตอนนี้ โปรเจ็คนี้อยู่ในขั้นตอนทดลองผลิต (trial production) และหน้าจอที่ทดสอบตอนนี้มีขนาดเล็กกว่า 1 นิ้ว แต่ก็น่าจะใช้เวลาอีกเป็นปี ๆ กว่าจะผลิตจำนวนมากได้
ที่มา - Nikkei Asian Review
Bloomberg รายงานว่า Intel กำลังพูดคุยกับ TSMC และ Samsung ถึงกระบวนการจ้างผลิตชิป เพื่อแก้ปัญหากระบวนการผลิตชิปของตัวเองที่เริ่มตามหลังคู่แข่งไปไกลขึ้นเรื่อย ๆ
ก่อนหน้านี้ Bob Swan ซีอีโอของ Intel เคยบอกว่าจะเปิดเผยเรื่องนี้พร้อมแผนการจ้างผลิตชิปในการประกาศผลประกอบการ วันที่ 21 มกราคมนี้
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวของ Bloomberg ระบุว่าจนถึงตอนนี้ Intel ก็ยังคงไม่ได้ข้อสรุปกับ TSMC เพราะยังรอดูการปรับปรุงกระบวนการผลิตของตัวเองจนนาทีสุดท้าย ขณะที่หากจะจ้าง TSMC ผลิตจริง ก็น่าจะใช้กระบวนการผลิตของ TSMC ที่ผลิตให้ลูกค้ารายอื่นอยู่แล้ว และคาดว่าชิป Intel จาก TSMC จะออกสู่ตลาดอย่างเร็วที่สุด 2023
อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนถือว่าตามหลังตะวันตกหรือแม้แต่ไต้หวันอยู่หลายปี และพอเกิดสงครามการค้ารอบนี้ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้จีนต้องแก้ปัญหานี้ ซึ่ง TSMC เป็นเป้าหมายหลักที่จีนจะดึงวิศวกรเก่ง ๆ มาทำงานด้วย
ล่าสุด Nikkei Asian Review รายงานว่า Quanxin Integrated Circuit Manufacturing (QXIC) และ Wuhan Hongxin Semiconductor Manufacturing Co. (HSMC) ไปจนถึงบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของจีนอีกหลายบริษัทต่างดึงวิศวกรจาก TSMC รวมกันกว่า 100 คน ซึ่งเกินครึ่งของจำนวนนี้ทำงานกับ QXIC และ HSMC ที่สำคัญคือ 2 บริษัทนี้ได้ผู้บริหารที่เคยทำงานกับ TSMC มาบริหารด้วย
ขณะที่ TSMC กำลังอยู่ระหว่างการขยายการผลิตชิปขนาด 5 นาโนเมตร ล่าสุดมีข่าวลือว่า TSMC ที่กำลังเดินหน้ากระบวนการผลิต 3 นาโนเมตร มีแผนจะเริ่มทดสอบและผลิตจริงแบบมีความเสี่ยง (risk production) ในปีหน้าแล้ว และเริ่มผลิตแบบแมสในปี 2022 ซึ่งก็เป็นไปตามแผนที่ออกมาก่อนหน้านี้
TSMC ระบุว่ากระบวนการผลิตแบบ 3 นาโนเมตรจะมีความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์มากกว่า 5 นาโนเมตรที่ 15%, ประสิทธิภาพดีขึ้น 10-15% และใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 20-25%
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะยาว กำลังมีแผนจะดึงผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกอย่าง TSMC หรืออาจจะเป็นบริษัทอื่น มาร่วมลงทุนและตั้งโรงงานในญี่ปุ่น เพื่อหวังว่าจะได้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาชิปด้วย เพราะถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญแต่ญี่ปุ่นยังถือว่าตามหลังอยู่มาก
ในแผนนี้รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนจะให้เงินอุดหนุนหลายพันล้านเหรียญ ตลอดระยะเวลาหลายปี ให้กับผู้ผลิตชิปที่ตัดสินใจมาร่วมโปรเจ็ค ขณะที่ TSMC ปฏิเสธว่าตอนนี้ยังไม่มีแผนใดๆ ทั้งนั้น แต่ก็ไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ในอนาคต
ที่มา - SCMP
Taiwan Semiconductor Manufacturing หรือ TSMC ยืนยันการหยุดรับออเดอร์ผลิตชิปจาก Huawei ตามคำสั่งแบนการส่งออกเทคโนโลยีชิปของรัฐบาลสหรัฐ
TSMC บอกว่าหยุดรับออเดอร์จาก Huawei มาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่สหรัฐออกกฎสั่งแบน และจะส่งสินค้าล็อตสุดท้ายตามออเดอร์ก่อนหน้านี้ ภายในวันที่ 14 กันยายน
การเสียลูกค้ารายใหญ่อย่าง Huawei อาจกระทบต่อรายได้ของ TSMC แต่ธุรกิจของบริษัทในปีนี้ก็ไปได้ดี ประเมินรายได้ช่วงไตรมาส 3 เติบโตถึง 20% จากปัจจัยสินค้าด้าน 5G บูม
ที่มา - Nikkei Asian Review
หลังสหรัฐต่อคำสั่งประธานาธิบดีแบน Huawei ต่ออีกปีและบีบให้บริษัทนอกสหรัฐที่จะขายชิปให้ Huawei ต้องขออนุญาตก่อน ซึ่งบริษัทใหญ่ของไต้หวันอย่าง TSMC ก็โดนบีบกลาย ๆ ไปด้วย
ล่าสุด Kung Ming-hsin ประธานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของไต้หวันเปิดเผยว่า สหรัฐไม่ได้กดดันไต้หวันให้ตัดความสัมพันธ์กับจีนทั้งหมด เป้ามีแค่ Huawei เจ้าเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ เขาบอกว่า TSMC แม้จะได้รับผลกระทบจากออเดอร์ Huawei ที่หายไป แต่ตอนนี้ก็ได้ออเดอร์จากลูกค้ารายอื่นเข้ามาแทนที่ได้ทั้งหมดแล้ว
TSMC มีข่าวว่าเริ่มสร้างและลงทุนในโรงงานผลิตชิปขนาด 3 นาโนเมตรมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ล่าสุดแม้จะมีปัญหา COVID-19 แต่แผนการสร้างโรงงานยังคงเดินหน้าตามแผนเดิม
กำหนดการเบื้องต้นของ TSMC คือโรงงานจะเริ่มทดสอบการผลิตในราวปี 2021 ก่อนจะเริ่มผลิตจำนวนมากได้ราวครึ่งหลังของปี 2022 โดยปัจจุบัน TSMC อยู่ในช่วงการผลิตที่ขนาด 7 นาโนเมตรและกำลังอยู่ในช่วงขยายกระบวนการผลิตขนาด 5 นาโนเมตรให้มากขึ้น
ที่มา - DigiTimes
ต่อเนื่องจากข่าวลือว่า TSMC ยอมทำตามคำสั่งสหรัฐ หยุดรับออเดอร์จาก Huawei โดยทางฝั่ง Huawei เตรียมสตอคล่วงหน้าไว้แล้วกว่า 1 ปีนั้น
ล่าสุดมีรายงานว่า Huawei ได้เร่งสั่งซื้อชิป 5 นาโนเมตรและ 7 นาโนเมตรจาก TSMC ล็อตใหญ่ (น่าจะเร่งสั่งก่อนคำสั่งรัฐบาลสหรัฐมีผลบังคับใช้) เป็นมูลค่ากว่า 700 ล้านเหรียญ
ปัจจุบันชิป Kirin ของ Huawei ผลิตที่ขนาด 7 นาโนเมตร ขณะที่ชิป 5 นาโนเมตรคาดว่าจะเป็นรุ่น Kirin 1000 ที่มีกำหนดออกในช่วงปลายปีนี้
ที่มา - Huawei Central
หลังจากสหรัฐฯ ขยายกฎให้บริษัทนอกสหรัฐฯ ต้องขออนุญาตสหรัฐฯ หากจะขายสินค้าเทคโนโลยีให้ Huawei วันนี้ทางสำนักข่าว Nikkei ก็อ้างแหล่งข่าวไม่ระบุตัวตน ระบุว่าทาง TSMC ได้หยุดรับคำสั่งซื้อจาก Huawei แล้ว
ทาง Huawei ไม่แสดงความเห็นต่อข่าวนี้ ขณะที่ทาง TSMC ระบุว่าบริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลการสั่งซื้อลูกค้า และข้อมูลที่เป็นข่าวก็เป็นเพียงข่าวลือ
Nikkei อ้างแหล่งข่าวอีกแหล่งระบุว่า Huawei เองก็เตรียมพร้อมกับเหตุการณ์เช่นนี้ไว้แล้ว โดยเตรียมสต็อกชิปไว้ใช้ได้นานกว่าหนึ่งปี
TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่จากไต้หวันประกาศเตรียมสร้างโรงงานผลิตชิปขนาด 5 นาโนเมตรในแอริโซนา มีกำลังผลิตเวเฟอร์ราว 20,000 แผ่นต่อเดือน สร้างงานราว 1,600 ตำแหน่ง โดยจะเริ่มสร้างโรงงานในปีหน้าและมีกำหนดแล้วเสร็จราวปี 2024
โครงการนี้แน่นอนว่าเป็นความร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐ ที่ต้องการจะผลักดันการสร้างงานรวมถึงต้องการรักษาสายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ขนาดเล็กเอาไว้ หลังมีปัญหาทางการค้าและการทูตกับจีน ขณะที่ฝั่ง TSMC ก็จะได้ประโยชน์จากใบอนุญาตให้สามารถทำธุรกิจกับ Huawei ได้ โดยโรงงานที่แอริโซนาจะเป็นโรงงานที่ 2 ของ TSMC ในสหรัฐต่อจากโรงงานในเมือง Camassia มลรัฐวอชิงตัน
TSMC ผู้ผลิตชิปสัญชาติไต้หวันเปิดเผยในรายงานงบการเงินให้กับผู้ถือหุ้นว่าเริ่มกระบวนการวิจัยและพัฒนาในกระบวนการผลิตขนาด 2 นาโนเมตรแล้ว รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในกระบวนการผลิตที่จะเล็กกว่า 2 นาโมเมตรด้วย
ปัจจุบัน TSMC อยู่ในช่วงการผลิตที่ขนาด 7 นาโนเมตรและกำลังอยู่ในช่วงขยายกระบวนการผลิตขนาด 5 นาโนเมตรให้มากขึ้น และเริ่มสร้างโรงงานสำหรับกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 3 นาโนเมตรไปแล้ว ขณะที่ 7 นาโนเมตรของ Intel ยังต้องรอถึงปี 2021
ที่มา - DIgiTimes via Tom's Hardware
เรารู้จักซัมซุงในฐานะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอันดับหนึ่งของโลก แต่อีกสมรภูมิใหญ่ที่ซัมซุงกำลังสู้ศึกอยู่คือธุรกิจรับจ้างผลิตชิป ซึ่ง Samsung Foundry มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับสองที่ราว 18% ยังตามหลังผู้นำตลาด TSMC ที่มีส่วนแบ่งมากกว่าครึ่ง
เหตุนี้ทำให้ซัมซุงต้องลงทุนอัพเกรดโรงงานครั้งใหญ่เพื่อให้ต่อสู้กับ TSMC ได้ การอัพเกรดกระบวนการผลิตเป็น extreme ultraviolet lithography (EUV) ต้องใช้เงินลงทุนมากถึง 1.16 แสนล้านดอลลาร์ (3.5 ล้านล้านบาท) ในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า แต่ก็ต้องทำเพื่อให้บริษัทสามารถแข่งขันต่อไปได้
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ให้สัมภาษณ์สื่อในงาน GTC 2019 ที่เมืองซูโจว ประเทศจีน ยืนยันข่าวว่าจีพียูรุ่นหน้าโค้ดเนม Ampere จะใช้กระบวนการผลิต 7 นาโนเมตรของโรงงาน TSMC เป็นหลัก แต่ก็ยังใช้บริการจากซัมซุงด้วยเช่นกัน
NVIDIA ใช้บริการทั้ง TSMC และซัมซุงในการผลิตจีพียูยุค Pascal (14 นาโนเมตร) พอมาถึงยุค Turing (12 นาโนเมตร) เป็น TSMC ทั้งหมด ส่วนยุคของ Ampere ซัมซุงจะได้กลับมารับจ้างผลิตให้อีกครั้ง แต่ TSMC ยังเป็นผู้ผลิตรายหลักที่ทำงานให้เยอะกว่า
TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) บริษัทที่รับผลิตชิปสัญชาติไต้หวันที่มีลูกค้าใหญ่ๆ อย่างแอปเปิลและ NVIDIA ออกมายืนยันว่าไม่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งของปธน.สหรัฐ และ ณ ตอนนี้ยังสามารถผลิตชิปให้ Huawei ได้ต่อไปเช่นเดิม
อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักๆ ของ Huawei ไม่น่าใช่การหาผู้ผลิตชิป แต่เป็นเรื่องของการพัฒนาสถาปัตยกรรมชิปที่น่าจะเป็นงานช้าง เนื่องจาก Huawei พัฒนาชิปไม่ว่าจะชิปมือถือหรือเซิร์ฟเวอร์จากสถาปัตยกรรมของ ARM เป็นหลัก ทว่าก็ถูก ARM ระงับการทำธุรกิจไปแล้ว