Taiwan Semiconductor Manufacturing Company Limited
Fujitsu ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรของบริษัทลูก Fujitsu Semiconductor หลังประสบปัญหาทางการเงินมายาวนาน โดยแผนการของ Fujitsu มีดังนี้
ข่าวนี้คงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของบริษัทญี่ปุ่นที่เริ่มแข่งขันเรื่องการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ หากใช้ฐานการผลิตในประเทศ
รายงานจาก China Times ระบุว่าแอปเปิลเริ่มทดสอบผลิตชิป A6X ด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตรจากโรงงานของ TSMC แล้ว แม้ทุกวันนี้ชิปที่ใช้งานจริงจะผลิตด้วยเทคโนโลยี 32 นาโนเมตรของซัมซุงก็ตาม หลังจากเริ่มโครงการทดสอบนี้มาตั้งแต่กลางปี 2011 อย่างไรก็ดีทาง TSMC ไม่แสดงความเห็นใดๆ ต่อข่าวนี้
ไม่ถึงเดือนหลังอินเทลประกาศลงทุนในบริษัทผลิตเครื่องจักรผลิตชิปมูลค่ากว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ คู่แข่งอย่าง TSMC ก็ประกาศลงทุนถือหุ้น 5% และเงินช่วยเหลือการวิจัยเป็นเงิน 1,400 ล้านดอลลาร์
ASML ระบุว่าต้องการเงินลงทุนในรูปแบบนี้เพิ่มเติมอีก โดยต้องการทั้งหมดให้เป็นสัดส่วน 25% ของหุ้นทั้งหมด หากสัญญากับอินเทลผ่านไปได้ด้วยดีและอินเทลได้ถือหุ้น 15% ตอนนี้ก็ยังเหลือพื้นที่ให้บริษัทอื่นเข้าไปลงทุนแบบเดียวกันเป็นหุ้น 5%
TSMC เองก็คล้ายอินเทลที่หวังจะได้เทคโนโลยีผลิตด้วยแผ่นเวเฟอร์ 450 มิลลิเมตร และกระบวนการ EUV (extreme ultra-violet) เพื่อที่จะผลิตชิปที่กระบวนการที่ละเอียดขึ้นกว่าตอนนี้
ARM แถลงผลประกอบการไตรมาสสองของปีนี้ รายได้เพิ่มขึ้น 12% จากปีที่แล้วเป็น 213 ล้านดอลลาร์ เป็นกำไรก่อนภาษี 104.5 ล้านดอลลาร์หรือส่วนต่างกำไร 46.4% (รวย!) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วถึง 23%
ในไตรมาสที่สองนี้ ARM ได้ค่าไลเซนส์ชิปมาทั้งหมด 2,000 ล้านตัว (รวมทุกชิป และชิปอุตสาหกรรมจำนวนมากเป็นรุ่นเก่าผลิตมาหลายปี) ส่วน ARMv8 นั้นกำลังได้รับความสนใจโดย Freescale ประกาศเปิดตัวชิป ARMv8 สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายไปแล้ว และทางด้านชิปกราฟิก Mali นั้นก็มีการเซ็นสัญญาเพิ่มอีกสามราย โดยสองรายเป็นลูกค้าหน้าใหม่
ช่วงนี้เราเริ่มได้เห็นสมาร์ทโฟนที่ใช้ซีพียูควอดคอร์ออกมาเปิดตัว หรือบางเจ้าเริ่มวางขายแล้ว คราวนี้มาถึงคิวผู้ผลิตซีพียูบนมือถือที่จะออกมาโชว์ของแรงกันบ้าง
ของแรงที่ว่านี้เป็นซีพียู ARM Cortex-A9 แบบดูอัลคอร์รุ่นใหม่จาก TSMC ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่จากไต้หวันที่สามารถทำตัวเลขสัญญาณนาฬิกาได้ที่ 1.5GHz-2.0GHz ในการทำงานทั่วไป และสามารถเพิ่มความถี่ไปสูงถึง 3.1GHz สำหรับงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นผลพวงมาจากการผลิตในสถาปัตยกรรมขนาด 28 นาโนเมตรนั่นเอง
Cliff Hou รองประธานฝ่ายวิจัย และพัฒนาของ TSMC เคลมว่าซีพียูตัวใหม่นี้ในความถี่ 3.1GHz ทำงานได้เร็วขึ้นกว่ารุ่นเดิมที่ใช้สถาปัตยกรรมขนาด 40 นาโนเมตรเป็นสองเท่าในระบบปฏิบัติการเดียวกัน
มีการรายงานว่าผู้ผลิตชิป TSMC ในไต้หวัน ได้หยุดการผลิตชิป Snapdragon S4 ของ Qualcomm ไปเมื่อเดือนก่อน ผู้รายงานอ้างว่าอาจมีปัญหาในเรื่องคุณภาพการผลิตจนถึงจุดที่ TSMC ต้องปรับปรุงเครื่องจักรที่ใช้ผลิต และอาจส่งผลให้การส่งมอบชิปให้ Qualcomm ล่าช้าไปราวสองถึงสามสัปดาห์
มีมือถือใหม่หลากรุ่น อาทิ Padfone จากเอซุส, One S และ One X จากเอชทีซี ที่ใช้ชิป Snapdragon S4 หากข่าวลือนี้เป็นจริงคงทำให้ผู้ผลิตมือถือหลายบริษัทอาจต้องเลื่อนการวางจำหน่ายอุปกรณ์เหล่านั้นออกไป
เว็บ ExtremeTech อ้างแหล่งข่าวภายในของเอเอ็มดีว่าบริษัทกำลังยกเลิกชิปสองรุ่นคือ Trinity ที่จะมาแทน Llano และ Krishna ที่จะมาแทน Zacate เพื่อย้ายโรงงานผลิตไปยัง TSMC แทน ทำให้ชิปทั้งสองรุ่นน่าจะเปิดตัวล่าช้าออกไป
เหตุผลของการย้ายสาเหตุหลักคือกำลังผลิตที่จำกัดมากของ GlobalFoundries ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเอเอ็มดีเองไม่สามารถผลิตชิปได้เพียงพอต่อความต้องการของเอเอ็มดีได้ ทำให้ชิป APU ในปีนี้ซึ่งสร้างกระแสมาได้ดีกลับต้องเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ขณะที่เอเอ็มดีเองก็มีความเชื่อมโยงกับ GlobalFoundries น้อยลงเรื่อยๆ โดยถือหุ้นอยู่เพียงร้อยละ 9.6 และ CEO ที่เป็นลูกหม้อเก่าของเอเอ็มดีนั้นก็เพิ่งจะถูกเปลี่ยนตัวออกไป
หนังสือพิมพ์ China Econimic News รายงานอ้างแหล่งข่าวภายในว่า TSMC กำลังเริ่มสายการผลิตชิป Apple A6 รุ่นทดสอบด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตรและ 3D stacking โดยระบุว่าที่จริงแล้ว TSMC มีเทคโนโลยีที่เหมาะจะผลิตชิปสำหรับแอปเปิลแต่ที่ผ่านมาแอปเปิลเลือกใช้ซัมซุงเพราะฝั่ง TSMC นั้นกำลังผลิตเต็มตลอดเวลาเพราะมีคำสั่งผลิตจาก NVIDIA และ Qualcomm อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่วิกฤติเศรษฐกิจในตอนนี้ทำให้ยอดสั่งซื้อไปยัง TSMC ลดลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีช่องว่างให้กับแอปเปิล
สำนักข่าว Reuters รายงานว่าบริษัท TSMC จากไต้หวันได้ถูกรับเลือกเป็นผู้ทดลองผลิตชิป A6 ของแอปเปิลแล้ว โดยแหล่งข่าวบอกว่าแอปเปิลกำลังจะทยอยย้ายฐานผลิตชิป จากเดิมที่ผลิตโดยซัมซุง มาเป็นผู้ผลิตรายอื่นแทน
ส่วนสาเหตุที่ TSMC ยังเป็นเพียงแค่ผู้ "ทดลองผลิต" เนื่องจาก yield rate ที่ยังค่อนข้างต่ำอยู่ในขณะนี้ เมื่อ TSMC สามารถที่จะเดินสายผลิตเต็มที่ได้ตามที่แอปเปิลต้องการแล้ว บริษัทจึงจะได้รับคำสั่งจากแอปเปิลให้เป็นผู้ผลิตอย่างเต็มตัวในภายหลัง
แม้จะฟ้องร้องกันนุงนังแต่แอปเปิลกับซัมซุงนั้นก็ยังมีฐานนะเป็นคู่ค้ารายใหญ่ต่อกันมายาวนาน โดยเฉพาะหัวใจหลักอย่างซีพียู Apple A4, และ A5 นั้นก็ล้วนผลิตจากโรงงานของซัมซุงทั้งสิ้น แต่พอคดีมาถึงจุดแตกหักเช่นนี้ Dan Heyler นักวิเคราะห์จากบริษัท Merrill Lynch ก็ออกมาคาดการณ์ว่าแอปเปิลน่าจะเปลี่ยนโรงงานผลิตชิปรุ่นต่อไปอย่าง Apple A6 เป็นโรงงานของ TSMC แทน
TSMC นั้นมีเทคโนโลยีการผลิตที่ 28 นาโนเมตรนับว่าก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การใช้ชิปที่กระบวนการผลิตที่เล็กลงนี้จะทำให้ชิปรุ่นต่อไปของแอปเปิลประหยัดพลังงานกว่าคู่แข่งไปอีกก้าว โดย TSMC นั้นมีข่าวว่าทำงานร่วมกับแอปเปิลมาระยะหนึ่งแล้วแม้จะยังไม่มีรายละเอียดออกมา
แม้ว่าสินค้าสาย CPU ของ AMD ดูเหมือนจะสิ้นลายลงไปมากในช่วงหลังๆ แต่ฟาก GPU นั้นยัง ATI Radeon ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ข่าวร้ายคือสินค้าขายดีของ AMD นั้นกำลังจะกลายเป็นสินค้าหายาก เมื่อทาง TSMC มีปัญหาในการผลิต ทำให้ไม่สามารถส่งมอบชิปได้ตามจำนวนที่คาดการณ์ไว้
ชิป Radeon ตระกูล 5800 นั้นเป็นชิปตระกูลแรกที่ใช้กระบวนการผลิตระดับ 40nm ของ TSMC ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่นับได้ว่าละเอียดที่สุดในปัจจุบัน (Intel นั้นยังคงใช้เทคโนโลยี 45nm สำหรับ CPU อยู่) ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออัตราการใช้งานได้ (yield rate) ของชิปในสายการผลิตนี้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก โดยอัตราชิปที่ใช้งานได้ในตอนนี้อยู่ที่ร้อยละ 40 ขณะที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 60
TSMC เป็นผู้ผลิตชิปให้กับทั้ง AMD และ NVIDIA
หลังจากผละจากสถาปัตยกรรม ARM มาหลายปีแล้ว ชิป Atom ของอินเทลนั้นได้รับการพัฒนาอย่างเร็วมากในช่วงหลังๆ มานี้ โดยมีเป้าหมายที่ค่อนข้างชัดว่าอินเทลหวังว่าบุกตลาดโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ขนาดเล็กทั้งหลาย
แต่ปัญหาคือชิปในตระกูล Atom นั้นต้องการชิปเซ็ตภายนอก ขณะที่ชิปในอุปกรณ์ขนาดเล็กนั้นมักเป็น SoC (System on Chip) ที่รวมเอาวงจรที่จำเป็นต่อการทำงานไว้เกือบทั้งหมดแล้ว เพื่อแก้ปัญหานี้อินเทลจึงร่วมกับทาง TSMC (Taiwan Semiconductor) เพื่อพัฒนาชิปตัวใหม่แบบ SoC ที่ใช้คอร์ภายในเป็น Atom
ซีพียูที่ผลิตขึ้นใหม่นี้จะใช้แกนเป็นตัว Atom ของอินเทลเหมือนเช่นใน Netbook ที่เราใช้งานกันรวมเข้ากับวงจรรอบๆ ของทาง TSMC
TSMC บริษัทรับผลิตชิปให้กับบริษัทออกแบบจำนวนมากที่ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองได้ประกาศเปิดสายการผลิตล่าสุดในเทคโนโลยี 28 นาโนเมตร และคาดว่าจะเริ่มส่งมอบชิปชุดแรกได้ในไตรมาสแรกปี 2010
สายการผลิตนี้เปิดตัวทั้งแบบ high-k metal gate (HKMG) และ siligon oxynitride (SiON) โดยเมื่อมีการออกแบบด้วยความละเอียดใหม่นี้แล้ว ชิปที่ได้จะมีความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว, ความเร็วเพิ่มขึ้นร้อยละ 50, และประหยัดพลังงานลงร้อยละ 30-50
เราคงไม่ได้เห็นชิปแปะตราของ TSMC เองเท่าใหร่นัก แต่ลูกค้าของ TSMC นั้นมีตั้งแต่ NVIDIA, ATI, และบริษัทออกแบบไอซีชื่อดังๆ อีกจำนวนมาก
ที่มา - Tech-On
ผู้ใช้ทั่วๆ ไปอาจจะไม่รู้กันว่าผู้ผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เราใช้กันอยู่ไม่ว่าจะเป็นนั้นมาจากผู้ผลิตรายเดียวกันที่ชื่อว่า TSMC โดยมีลูกค้าสำคัญๆ เช่น ATI, NVIDIA, Broadcom, หรือ VIA
การประกาศผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ TSMC นั้นค่อนข้างน่าประทับใจมาก ด้วยรายได้รวม 2.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณหนึ่งแสนล้านบาทไทย เป็นกำไรสุทธิไป 930 ล้านดอลลาร์
รายได้ร้อยละ 63 ของ TSMC ยังมาจากการผลิตชิปที่เทคโนโลยี 130 นาโนเมตรหรือต่ำกว่านั้น ร้อยละ 28 มาจากเทคโนโลยี 90 นาโนเมตร และร้อยละ 18 มาจากเทคโนโลยี 65 นาโนเมตร
ที่มา - ArsTechnica