เมื่อไม่นานมานี้ Anaconda, Inc. ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม data science ชื่อดังได้ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อนำ Anaconda Python ไปใช้งานภายในผลิตภัณฑ์และบริการของไมโครซอฟท์เริ่มต้นจาก Azure Machine Learning, Machine Learning Server, Visual Studio และ SQL Server (อ่านรายละเอียดทั้งหมดที่นี่)
ผลจากข้อตกลงดังกล่าวทำให้ทางฝั่ง Anaconda ได้รับสิทธิแจกจ่ายเครื่องมือพัฒนาของไมโครซอฟท์อย่าง Visual Studio Code เช่นกัน โดยตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาทางบริษัทได้ผนวก VS Code เข้ามาในตัวติดตั้งของ Anaconda distribution เครื่องมือจัดการแพคเกจ Python ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ Anaconda ใช้งาน VS Code ได้สะดวกขึ้น
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ตัวแก้ไขโค้ดฉบับโอเพนซอร์สครั้งใหญ่ขยับเลขรุ่นเป็น 1.20
ของใหม่ที่น่าสนใจที่เพิ่มเข้าในอัพเดตนี้อย่างแรกคือ การปรับปรุงแถบ Explorer ให้สามารถเลือกไฟล์ได้ทีละหลายไฟล์ ด้วยการใช้คีย์ Ctrl/Cmd หรือ Shift + การคลิกเมาส์ ช่วยให้สามารถลบ/ลากเพื่อย้ายโฟลเดอร์ทีละหลายไฟล์ หรือจะลากเพื่อนำไฟล์ทั้งชุดไปเปิดบนแถบ editor ใหม่ก็ทำได้
และหากเลือกไฟล์ขึ้นมาเพียงสองไฟล์ก็จะสามารถใช้คำสั่ง Compare Selected บนเมนูคลิกขวาเพื่อช่วยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสองไฟล์ที่เลือกได้อย่างรวดเร็ว
Visual Studio Code ออกเวอร์ชันใหม่ 1.18 มาพร้อมฟีเจอร์มากมาย เช่น
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับ Visual Studio Code ตัวแก้ไขโค้ดฉบับโอเพนซอร์สขยับเลขรุ่นเป็น 1.17
ฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจของอัพเดตนี้อย่างแรกคือการรองรับ Touch Bar บน Macbook Pro รุ่นใหม่ โดยจะสามารถใช้ปุ่มเดินหน้า / ถอยหลังช่วยสลับไปมาระหว่าง editor ที่ถูกเปิดใช้งานอยู่ ไปจนถึงใช้สั่งเริ่มและควบคุมการดีบักโค้ดได้
นอกจากนี้ VS Code ยังเปิดให้ส่วนเสริมหรือ extension จากนักพัฒนาภายนอกสามารถเพิ่มเมนูและรับคำสั่งจาก Touch Bar ได้เช่นกัน
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับ Visual Studio Code ตัวแก้ไขโค้ดฉบับโอเพนซอร์สขยับเลขรุ่นเป็น 1.16
สิ่งน่าสนใจที่ถูกเพิ่มเข้ามาในอัพเดตนี้อย่างแรกคือการเพิ่มตัวช่วย refactoring ฟังก์ชั่นบนภาษา JavaScript และ TypeScript ทำให้นักพัฒนาสามารถแยกโค้ดส่วนที่คิดว่าเริ่มซับซ้อนออกมาเป็นฟังก์ชั่นหรือเมธอดใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ลากเมาส์เพื่อเลือกโค้ดส่วนที่ต้องการแล้วกดไอคอนหลอดไฟด้านหน้าโค้ดหรือกดคีย์ลัด Ctrl + .
นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการเขียน HTML เพิ่มเติม โดยได้ปรับปรุงตัวช่วยเลือกสี (Color picker) ให้ใช้งานภายในแท็ก style ในเอกสาร HTML ได้แล้ว (อัพเดตก่อนใช้ได้กับไฟล์ CSS, SASS และ Less เท่านั้น)
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ตัวแก้ไขซอร์สโค้ดฉบับโอเพนซอร์สขยับเลขรุ่นเป็น 1.15
การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในอัพเดตนี้อย่างแรกคือ การปรับปรุงการรองรับไฟล์ขนาดใหญ่ ด้วยการปิดฟีเจอร์ของ VS Code บางอย่าง (เช่น line guide, code wrapping / folding) เมื่อเปิดไฟล์ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 MB หรือ 300,000 บรรทัดขึ้นไป ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยลดการใช้งานหน่วยความจำของเครื่องลงได้ (ในบางกรณีถึง 50%) อีกทั้งยังได้ถอดข้อจำกัดในการเปิดไฟล์ขนาดใหญ่ออกจากรุ่น 64 บิต และขยายขนาดไฟล์ที่สามารถเปิดได้จากเดิม 50 MB เป็น 300 MB บนรุ่น 32 บิต
ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดตเวอร์ชันใหม่ของส่วนเสริม Visual Studio Team Services ให้กับตัวแก้ไขซอร์สโค้ดโอเพนซอร์ส Visual Studio Code โดยได้เพิ่มการรองรับ Team Foundation Version Control (TFVC) ระบบจัดการซอร์สแบบรวมศูนย์ที่ไมโครซอฟท์พัฒนาเอง
ทำให้ในตอนนี้ VS Code สามารถใช้ TFVC เป็นตัวเลือกในการจัดการซอร์สโค้ดเพิ่มเติมนอกเหนือจาก Git ที่ VS Code รองรับตั้งแต่แรก โดยนักพัฒนาจะสามารถใช้ส่วนเสริมดังกล่าวเชื่อมต่อได้ทั้งกับ Team Foundation Server สำหรับกรณีติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ไว้ใช้ภายในองค์กร (ต้องเป็นเวอร์ชัน 2015 Update 2 หรือใหม่กว่า) และ Team Services ที่ให้บริการโดยไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ตัวแก้ไขซอร์สโค้ดฉบับโอเพนซอร์สขยับเลขรุ่นเป็น 1.9
การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจของอัพเดตครั้งนี้ อยู่ที่การปรับปรุงหน้าต้อนรับหรือ Welcome page ซึ่งได้เพิ่มลิงก์แนะนำฟีเจอร์และการใช้งาน รายการโฟลเดอร์ที่ใช้ล่าสุด คู่มือสรุปคีย์ลัด พร้อมดึงการตั้งค่ามาแสดงรวมไว้ในหน้าเดียวกัน ช่วยให้สามารถเรียนรู้และเข้าถึงส่วนต่างๆ ของ Visual Studio Code ได้สะดวกขึ้น
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้ Visual Studio Code ตัวแก้ไขซอร์สโค้ดฉบับโอเพนซอร์สขยับเลขรุ่นเป็น 1.7
การเปลี่ยนที่เห็นได้ชัดในอัพเดตครั้งนี้ อย่างแรกคือการเพิ่มเลย์เอาต์แนวนอนให้กับ workbench ซึ่งจะช่วยให้การเปิดโค้ดเทียบกันทีละหลายไฟล์ทำได้สะดวกขึ้น โดยอย่างยิ่งในกรณีที่โค้ดยาวเกินเมื่อแบ่งหน้าจอในแนวตั้ง
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตให้กับตัวแก้ไขซอร์สโค้ดโอเพนซอร์ส Visual Studio Code ขยับเลขเวอร์ชันเป็นรุ่น 1.3
โดยได้เพิ่มฟีเจอร์ใหญ่อย่างการเพิ่มแท็บสำหรับหน้าต่าง editor ช่วยจัดระเบียบ workbench ให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น และเพิ่มหน้าจัดการ extension ช่วยให้สามารถค้นหาและติดตั้งและอัพเดตส่วนเสริมที่ต้องการได้จาก VS Code เลย (แต่ก่อนต้องค้นหาผ่าน Visual Studio Marketplace แล้วก็อปปี้คำสั่งติดตั้งมาใช้บน VS Code อีกที)
สำหรับการปรับปรุงทั้งหมดที่ไมโครซอฟท์ยกให้เป็นไฮไลท์ของการอัพเดตครั้งนี้มีดังนี้
Visual Studio Code เปิดตัวเมื่อปลายเดือนเมษายนเป็น editor อย่างเดียวไม่มีตัวคอมไพล์เลอร์ แต่ข้อดีคือมันเป็น editor ที่ดีเทียบชั้นกับ Atom ของ GitHub ตอนแรกอาจจะสงสัยว่าไมโครซอฟท์ทำมาเล่นๆ หรือไม่ แต่หลายเดือนที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ก็ออกรุ่นใหม่ต่อเนื่องจนดีขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้รุ่นล่าสุดคือ 0.10.1 กลายเป็นรุ่นเบต้า
ไมโครซอฟท์ปล่อย Visual Studio 2015 ตามกำหนดการที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ โดยปล่อยทั้ง Visual Studio 2015 และ .NET 4.6 ออกมาพร้อมกัน
สำหรับนักพัฒนาทั่วไป จุดสำคัญของเวอร์ชั่นใหม่คือไมโครซอฟท์มี Visual Studio 2015 Community Edition ที่ความสามารถค่อนข้างครบถ้วนกว่า Express Edition มาก ฟีเจอร์สำคัญๆ หลายตัวก็มีเท่ากับรุ่นเสียเงิน (ดูตารางเปรียบเทียบ) นอกจากนี้ยังมี Visual Studio Online สำหรับการทำงานเป็นทีมให้ใช้งานได้ฟรี และ Visual Studio Code ที่เป็นตัว editor เปล่าๆ
และแล้วก็ถึงวันที่เราได้เห็น Visual Studio บนแมคและลินุกซ์ ถึงแม้จะยังไม่ใช่ Visual Studio ตัวเต็มก็ตาม
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Visual Studio Code ตัวแก้ไขและปรับแต่งโค้ด (code optimized editor) ที่ตัดความสามารถของ Visual Studio รุ่นปกติ (พวก GUI designer) ออกไป เหลือแต่ตัว editor อย่างเดียว ที่น่าสนใจคือทำงานได้ข้ามแพลตฟอร์ม ทั้งบนวินโดวส์ แมค และลินุกซ์
Visual Studio Code ถือเป็น IDE ที่ทำงานเฉพาะส่วนของโค้ด แต่ก็มีฟีเจอร์ครบครันสำหรับการแก้ไขโค้ด เช่น Intellisense และการเชื่อมต่อกับ Git ตัวมันรองรับภาษาโปรแกรมกว่า 30 ภาษา รายชื่อทั้งหมด