ไมโครซอฟท์ออก VS Code Server ซึ่งเป็นการแยกเอา backend ของ Visual Studio Code ไปรันบนเซิร์ฟเวอร์ใดๆ ก็ได้ แล้วใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ด้วย VS Code for the Web (vscode.dev) อีกทีหนึ่ง
การแยกระบบด้านหลังของ VS Code ออกจากตัว frontend ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะไมโครซอฟท์เคยทำมาก่อนแล้วในส่วนขยาย Remote Development ของ VS Code และ GitHub Codespaces แต่รอบนี้ตั้งใจแยก VS Code Server ออกมาให้เป็นเรื่องเป็นราว พร้อมออกเครื่องมือคอมมานด์ไลน์ให้ติดตั้ง คอนฟิก อัพเดต ตัว VS Code Server ได้ง่ายด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศแนวทางพัฒนาส่วนขยาย C# ของ Visual Studio Code ซึ่งบางส่วนจะใช้ไลเซนส์แบบปิด แตกต่างของตัวที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นโอเพนซอร์สทั้งหมด
ส่วนขยาย C# ของ VS Code ในปัจจุบันเริ่มมาจากโครงการ OmniSharp ที่พัฒนาโดยชุมชนโปรแกรมเมอร์ และเริ่มพัฒนาในยุคแรกๆ ของ VS Code ที่มาตรฐานด้าน API และโปรโตคอลยังไม่นิ่ง
ในระยะถัดมา VS Code เพิ่มฟีเจอร์ Language Server Protocol (LSP) สำหรับเชื่อมต่อกับภาษาโปรแกรมมิ่งอื่นๆ (ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานของวงการในเวลาต่อมา) แต่ตัวส่วนขยาย C# ของเดิมยังไม่ได้เชื่อมต่อผ่าน LSP
ไมโครซอฟท์ประกาศในงาน Build 2022 เมื่อคืนนี้ ว่าจะทยอยออกเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาบน Windows ให้รันบนสถาปัตยกรรม Arm แบบเนทีฟ ที่ระบุชื่อมีดังนี้
เมื่อต้นเดือนมีนาคมไมโครซอฟท์ออกอัพเดต Visual Studio Code เวอร์ชัน 1.66 มาพร้อมฟีเจอร์ที่น่าจะเป็นประโยชน์หลายอย่าง
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญอย่างแรกคือ Local history ช่วยเก็บประวัติการแก้ไขไฟล์แบบไม่พึ่งพา Source Control ภายนอก โดยทุกครั้งที่มีการบันทึกไฟล์ VS Code จะสร้างประวัติการแก้ไขไฟล์ ณ ขณะที่บันทึกเก็บไว้ให้ผู้ใช้สามารถเปรียบเทียบ, ย้อนดูและเรียกคืนการแก้ไขได้จาก Local History ซึ่งจะแสดงผลอยู่ภายใต้ Timeline view ร่วมกับประวัติการ commit ไฟล์ซึ่งถูกเก็บไว้ด้วยระบบ Source Control
เมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตเวอร์ชัน 1.64 ให้กับ Visual Studio Code โดยได้เพิ่มปรับปรุงในส่วนของ UI และฟีเจอร์อำนวยความสะดวกอีกหลายอย่าง
การเปลี่ยนแปลงในส่วนของ UI ที่เห็นได้ชัดในอัพเดตนี้ คือการเพิ่ม Side Panel เข้ามาเป็นพื้นที่แสดงผลด้านข้างชุดใหม่ซึ่งจะจัดวางอยู่ด้านตรงข้ามกับ Side Bar เดิมเสมอ
โดยผู้ใช้จะสามารถเลือก view จาก Side Bar และ Panel ด้านล่างเดิมไปแสดงผลได้ตามต้องการแค่คลิกเมาส์ค้างบน view ที่ต้องการแล้วลากไปยังขอบอีกข้างของ VS Code เท่านั้น
Red Hat เป็นผู้พัฒนาส่วนขยายภาษา Java ให้กับ Visual Studio Code มาตั้งแต่ปี 2016 (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Language Support for Java by Red Hat ที่ไม่มีใครเรียก ทุกคนเรียก vscode-java) ผ่านมาหลายปี ส่วนขยายนี้เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการ vscode.dev ที่เป็น Visual Studio Code เวอร์ชั่นย่อส่วนสำหรับใช้งานบนเบราว์เซอร์โดยไม่ต้องติดตั้งอะไรลงเครื่อง หากใช้กับเบราว์เซอร์ที่รองรับ File System Access API (กลุ่ม Chromium รุ่นใหม่ๆ รับทั้งหมด) ก็จะจะเปิดไฟล์ในเครื่องได้ทันที
ความพิเศษของเวอร์ชั่นเว็บคือสามารถใช้ URL เพื่อระบุโครงการได้โดยตรงจาก GitHub และ Azure Repos เช่น https://vscode.dev/github.com/Microsoft/vscode
ก็จะเปิดโค้ดของ VS Code มาแสดง นอกจากนี้ยังมี URL สำหรับธีมต่างๆ ให้เลือกใช้งาน ส่วนฟีเจอร์ Live Share บน VS Code ก็สามารถนำโค้ดมาแชร์บนเว็บชั่นเว็บได้เลย ทำให้ปลายทางไม่ต้องติดตั้ง VS Code แล้ว
นอกจาก GitHub และ GitLab ที่คุ้นชื่อกัน ยังมีบริษัทที่ชื่อขึ้นต้นด้วย Git อีกรายคือ Gitpod เป็นสตาร์ตอัพหน้าใหม่จากเยอรมนีที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2020
สิ่งที่ Gitpod ทำคือการสร้าง developer environment บนคลาวด์ที่พร้อมให้นักพัฒนาเรียกใช้งานแบบรีโมทในทันที ไม่ต้องเสียเวลามาเซ็ตสภาพแวดล้อม ติดตั้งโมดูลซอฟต์แวร์ หรือรอสั่งคอมไพล์ ถือเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ GitHub Codespaces ที่เปิดตัวในปีที่แล้วเช่นกัน
ความนิยมของ Visual Studio Code ส่งผลให้มีคนสร้างชุดธีมเป็นจำนวนมาก ล่าสุดไมโครซอฟท์เปิดให้นำธีมเหล่านี้ไปใช้กับ Visual Studio 2022 รุ่นใหญ่ได้แล้ว
ไมโครซอฟท์ระบุว่ากำลังพัฒนาตัวช่วยแปลงธีม VS Code มาเป็นธีมของ VS 2022 และติดต่อผู้สร้างธีม VS Code หลายรายให้ลองทดสอบกันดูก่อน ผลคือธีมใหม่จำนวนหนึ่ง (กดดูรายชื่อทั้งหมดได้จากที่มา) ที่ใช้งานได้กับ VS 2022 Preview 4 ขึ้นไป
ผู้ที่สนใจพอร์ตธีมสามารถทดสอบตัวแปลงธีมได้แล้ว ไมโครซอฟท์บอกว่าตัวแปลงธีมยังเพิ่งเริ่มต้นพัฒนา และยังเน้นที่การทำธีมรองรับ C++ และ C# เป็นหลักก่อนขยายไปยังภาษาอื่นๆ ในระยะถัดไป
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio Code 1.60 ประจำรอบเดือนสิงหาคม 2021 มีของใหม่ที่น่าสนใจดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio Code 1.59 มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจ (ยังเป็นฟีเจอร์ระดับพรีวิว) คือ automatic language detection ตรวจหาว่าโค้ดที่พิมพ์ลงไปเป็นโค้ดภาษาอะไร โดยใช้ machine learning เพื่อเซ็ตโหมดการทำงานให้ตรงกับภาษาโปรแกรมที่ใช้งาน
ปกติแล้ว IDE หรือ code editor ใช้วิธีดูนามสกุลไฟล์เพื่อดูว่าเป็นภาษาโปรแกรมใด แต่ในกรณีที่เป็นไฟล์ untitled (เช่น การนำโค้ดจากที่อื่นมาแปะในไฟล์ว่าง) จะมีความยากในการตรวจสอบกว่าเดิม
ปลายเดือนที่แล้ว ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio Code เวอร์ชัน 1.58 ตามรอบการออกทุกสิ้นเดือน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเปิด Terminal ในพื้นที่ Editor (ตัวแก้โค้ด) ได้แล้ว จากเดิมที่ต้องเปิด Terminal ที่ครึ่งล่างของหน้าจอเท่านั้น ผลของฟีเจอร์นี้ทำให้เราสามารถแสดงผล grid layout ที่ประกอบด้วย Editor และ Terminal แบบไหนก็ได้อย่างอิสระ
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตเวอร์ชัน 1.57 ให้ Visual Studio Code โดยได้เพิ่มฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยและสิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่าง
ฟีเจอร์สำคัญอย่างแรกของอัพเดตนี้ คือ Workspace Trust ซึ่งจะช่วยจำกัดสิทธิการรันโค้ดที่ผู้ใช้ยังไม่เชื่อถือ เพื่อความปลอดภัยในกรณีอย่างเช่นการดึงโค้ดโปรเจ็กต์ open-source จาก repository สาธารณะที่ไม่คุ้นเคยมาทดลองใช้งาน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการฝังโค้ดประสงค์ร้ายแอบแฝงไว้
GitHub ออกธีมสำหรับ VS Code เวอร์ชั่น 4.0 เพื่อให้โปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาโค้ดด้วยธีมสีเดียวกับในเว็บ GitHub ที่ใช้ระบบสี Primer
ธีมมี 5 ธีมย่อย ได้แก่ GitHub Light, GitHub Dark, GitHub Light Default, GitHub Dark Default, และ GitHub Dark Dimmed โดยสามตัวหลังเพิ่มเข้ามาในเวอร์ชั่นนี้ เป็นธีมสีเดียวกับบนเว็บ แต่ยังเก็บธีมเวอร์ชั่นเก่าสองตัวแรก (ที่เคยตรงกับเว็บ GitHub ก่อนหน้านี้) ให้เลือกใช้งานได้ต่อไป
ดาวนโหลดได้แล้วจากใน Visual Studio Marketplace
Visual Studio Code ออกเวอร์ชัน 1.54 รอบอัพเดตเดือนกุมภาพันธ์ 2021 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
ไมโครซอฟท์ออก Visual Studio Code 1.53 เวอร์ชันอัพเดตรอบเดือนมกราคม 2021 มีฟีเจอร์น่าสนใจหลายตัว ตัวแรกคือ wrap tabs หรือการเรียงแท็บให้ "ล้น" ลงมาอยู่บรรทัดใหม่เมื่อย่อขนาดหน้าต่าง เป็นอีกทางเลือกแทนการ scroll bar ที่บางคนอาจไม่ชอบเพราะคลิกยาก
VS Code เวอร์ชันนี้ยังเพิ่มตัวเลือก tab decorations ให้สามารถตั้งค่าสีของแท็บ หรือแปะป้ายข้อความท้ายแท็บ (เช่น
เพิ่มตัว M หากแก้เนื้อหาในแท็บนั้นแล้วยังไม่เซฟกลับลง git)
Erich Gamma หนึ่งในผู้นำทีมพัฒนา Visual Studio Code เล่าความหลัง 10 ปีว่าความสำเร็จของ VS Code ที่เราเห็นในปัจจุบัน เกิดจากความล้มเหลวของโครงการก่อนหน้านี้คือ Visual Studio Online ที่เป็น code editor บนเบราว์เซอร์
สินค้ากลุ่ม Chromebook อาจเป็นคู่แข่งโดยตรงกับโน้ตบุ๊กวินโดวส์ราคาถูก แต่ความเป็นคู่แข่งกันไม่จำเป็นต้องเกลียดกันเสมอไป
ไมโครซอฟท์เขียนโพสต์สอนการใช้งาน Chromebook ในฐานะเครื่องมือเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะเด็กๆ นักเรียนนักศึกษา ที่อาจมี Chromebook ใช้งานอยู่แล้วก็ไม่ต้องซื้อใหม่ ส่วนเครื่องมือที่สอนย่อมเป็น Visual Studio Code เวอร์ชันลินุกซ์ ที่สามารถใช้งานบน Chrome OS ได้อยู่แล้ว
ไมโครซอฟท์บอกว่า VS Code ออกแบบมาให้กินทรัพยากรน้อย ดังนั้นต่อให้เป็น Chromebook รุ่นราคาถูก สเปกต่ำ แรมเพียง 1GB ก็รันได้ (ตัวอย่างที่สอนใช้ Chromebook รุ่นแรม 4GB) แถมยังรองรับการใช้งานบน Chromebook ที่เป็น ARMv7 หรือ ARM64 ก็ได้เช่นกัน
ไมโครซอฟท์ปล่อยส่วนขยาย Jupyter ระบบพัฒนาแบบ notebook ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูล โดยรองรับทั้งภาษา R, Julia, Scala, และ Python เอง
สำหรับผู้ที่ติดตั้งส่วนขยาย Python อยู่แล้วไมโครซอฟท์ฝังฟีเจอร์นี้ไว้ในตัว และเพิ่งเปิดใช้งานพร้อมส่วนขยายแยกสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ภาษาอื่นๆ
ซอร์สโค้ดของส่วนขยายนี้เป็นโอเพนซอร์สสัญญาอนุญาตแบบ MIT
ที่มา - Microsoft
Adobe XD เครื่องมือออกแบบ UI เพิ่มส่วนขยายสำหรับ Visual Studio Code ให้นักพัฒนาเข้าถึงระบบออกแบบได้โดยไม่ต้องออกจากโปรแกรม
นักพัฒนาสามารถสร้างเข้าถึงซอร์สของการออกแบบได้โดยตรง พร้อมระบุแพลตฟอร์มที่ต้องการใช้ผ่านทางโทเค็นการออกแบบ โดยสามารถกดติดตั้งได้ ที่นี่
Adobe ยังระบุด้วยว่า ฟีเจอร์ Coediting หรือการแก้งานร่วมกันเรียลไทม์พื้นสถานะเบต้าแล้ว, เตรียมเพิ่มปลั๊กอินใหม่ๆ เช่น Wrike, Miro, UserZoom Go, Marpipe, Maze, Zoom, Microsoft Teams และ Confluence
เมื่อต้นเดือนตุลาคมไมโครซอฟท์ได้ประกาศออกส่วนขยาย Microsoft Edge Tools สำหรับ Visual Studio Code เครื่องมือซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการตรวจสอบและดีบักเว็บ ด้วยการดึง DevTools พร้อมหน้าเว็บจากเบราว์เซอร์ Microsoft Edge (Chromium) มาแสดงผลให้นักพัฒนาเรียกใช้งานได้จากภายใน VS Code ได้โดยตรง
ส่วนขยาย Microsoft Edge Tools เป็นรุ่นใช้งานจริง (general availability) ของ Elements for Microsoft Edge ซึ่งเปิดให้ทดสอบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และยังได้ผนวกเอาความสามารถของ Network for Microsoft Edge มาไว้ภายใต้ส่วนขยายเดียวกัน
VS Code ออกอัพเดตรายเดือนตามรอบปกติ แต่รอบบนี้มีจุดเด่นคือการรองรับ ลินุกซ์ที่รันบนชิปสถาปัตยกรรม ARMv7 และ ARM64 ทำให้สามารถใช้งาน VS Code ได้บน Raspberry Pi แม้ไม่ได้ระบุว่ารุ่นใดบ้าง แต่น่าจะครอบคลุมแทบทุกรุ่นเพราะบอร์ด Raspberry Pi เก่าๆ ก็เป็น ARMv7 แล้ว นอกจากนี้ยังรองรับ Chromebook ที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM ไปพร้อมกัน
นอกจากจะใช้รัน VS Code แบบเต็มบน Raspberry Pi แล้ว การรองรับครั้งนี้ยังรองรับการรันแบบ Remote Development ทำให้เครื่องเดสก์ทอปสามารถรีโมตเข้าไปแก้ไขโค้ดบน Raspberry Pi ได้
ไมโครซอฟท์มีส่วนขยาย C/C++ ให้กับ Visual Studio Code มานานแล้ว (และเป็นส่วนขยายยอดนิยมอันดับ 2 ของ VS Code รองจาก Python) ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกเวอร์ชัน 1.0 ของส่วนขยายตัวนี้สักที
ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือ รองรับการใช้งานบนลินุกซ์สถาปัตยกรรม ARM/ARM64 ทำให้สามารถใช้ VS Code เขียนแอพ C++ บนอุปกรณ์อย่าง Raspberry Pi ได้แล้ว, เพิ่มตัวปรับแต่งคอนฟิก C++ IntelliSense และตั้งค่าฟอร์แมตของโค้ด C++ แบบเดียวกับ Visual Studio ตัวเต็มได้
เมื่อกลางเดือนสิงหาคมไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตเวอร์ชัน 1.48 ให้กับ Visual Studio Code โดยได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่และปรับปรุงการใช้งานหลายอย่าง
ของใหม่ที่สำคัญอย่างแรก คือการเพิ่มฟีเจอร์ซิงก์การตั้งค่าข้ามเครื่อง (Settings Sync) เข้ามาใน VS Code รุ่นเสถียรหลังจากที่เปิดให้ทดลองใช้เฉพาะ VS Code รุ่นสำหรับผู้ใช้กลุ่ม Insiders มาได้ระยะหนึ่ง
เมื่อเดือนพฤษภาคม VS Code ออกเวอร์ชัน Windows 10 ARM เพื่อใช้บนอุปกรณ์แบบ Surface Pro X โดยยังเปิดทดสอบเฉพาะกลุ่ม Insiders ก่อน
ล่าสุดใน VS Code เวอร์ชัน 1.47 รอบอัพเดตเดือนมิถุนายน 2020 รองรับ Windows ARM อย่างเป็นทางการ เข้าสถานะเสถียรเรียบร้อยแล้ว สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ https://aka.ms/win32-arm64-user