Apple Music เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถโอนย้ายเพลย์ลิสต์ของตน ไปที่บริการ YouTube Music ได้แล้ว โดยมีรายละเอียดขั้นตอนทั้งหมดในหน้าซัพพอร์ตของแอปเปิล
ในการโอนย้ายเพลย์ลิสต์นั้น ผู้ใช้ Apple Music ต้องไปที่หน้า Data and Privacy (ข้อมูลและความเป็นส่วนตัว) ของแอปเปิล เลือก Transfer a copy of your data (ถ่ายโอนสำเนาข้อมูลของคุณ) เพื่อโอนข้อมูลเพลย์ลิสต์ไป YouTube Music ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องล็อกอิน YouTube ด้วย โดยทั่วไปจะใช้เวลาไม่กี่นาที แต่อาจนานมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับจำนวนเพลย์ลิสต์ที่สร้างไว้
หลังมีการพบโค้ดใน APK เกี่ยวกับฟีเจอร์ ‘Ask for Music’ ในแอปพลิเคชัน YouTube Music ในตอนนี้ YouTube Music ออกมาประกาศทดลองใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวกับผู้ใช้พรีเมียมในสหรัฐเป็นที่เรียบร้อยโดยใช้ชื่อว่า ‘Ask for music any way you like’
ฟีเจอร์นี้จะเข้ามาค้นหาหรือแนะนำเพลงตามความต้องการของผู้ใช้งานจากการอธิบายด้วยเสียง โดยจะปรากฏเป็นหน้าต่างสีชมพูม่วงบนหน้า Home และเมื่อกดใช้งานจะมีหน้าต่างขึ้นมาตรงส่วนล่างของโทรศัพท์ให้ผู้ใช้อธิบายสิ่งที่ต้องการ
นอกจากนี้ YouTube Music ยังเปิดตัวฟีเจอร์ ‘Sound search’ ค้นหาเพลงจากการฮัมบน Android และ iOS ถึงจะมีผู้ใช้บางส่วนทยอยกันมีฟีเจอร์นี้ไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว
หลังกูเกิลพึ่งเพิ่มให้ฟีเจอร์ส่วนขยายของ Gemini สามารถค้นหาเพลงผ่าน YouTube Music ได้ โดยยังเปิดให้ใช้บริการฟรีอยู่ตอนนี้ (ยกเว้นฟีเจอร์สร้างปกเพลย์ลิสต์โดย AI) กูเกิลก็ดูเหมือนกำลังพัฒนาฟีเจอร์ที่อาจจะใช้ชื่อว่า ‘Ask for Music’ ฟีเจอร์ค้นหาเพลงด้วยเสียง คาดว่าเพื่อเข้ามาแทนที่ฟีเจอร์สั่งการด้วยเสียงอันปัจจุบันของ YouTube Music
หลักฐานคือ string ในไฟล์ conversational_text_input.xml ที่บนแอปพลิเคชัน YouTube Music เวอร์ชัน 7.06.53 ใน Android
กูเกิลประกาศปิดแอพ Google Podcasts สำหรับผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา มีผลวันที่ 2 เมษายน 2024 โดยให้ย้ายไปฟังในแอพ YouTube Music แทน
กูเกิลเคยประกาศไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วว่า Google Podcasts จะหยุดให้บริการในปี 2024 แต่ไม่ระบุเดือน ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่าในสหรัฐอเมริกา ปิด 2 เมษายน ส่วนผู้ใช้ในประเทศอื่นๆ ยังสามารถใช้งานต่อไปได้
ผู้ที่ใช้แอพ Google Podcasts สามารถสั่ง transfer รายการที่ติดตามฟังอยู่ไปยัง YouTube Music ได้จากในแอพโดยตรง หรือจะสั่ง export รายการออกมาเป็นไฟล์ OPML ไปให้กับแอดพ็อดแคสต์ตัวอื่นได้เช่นกัน
YouTube ประกาศหลักไมล์สำคัญของบริการ YouTube Music และ YouTube Premium โดยตอนนี้มีคนสมัครใช้งานมากกว่า 100 ล้านบัญชีแล้ว (รวมที่ทดลองใช้ด้วย)
YouTube Music เปิดตัวในปี 2015 เพื่อผลักดันความสำคัญของคอนเทนต์เพลงใน YouTube มากขึ้น ซึ่งให้บริการในรูปแบบของการสมัคร subscription สามารถฟังได้ต่อเนื่องจากไม่มีโฆษณาคั่น และรองรับการเล่นเพลงแบ็คกราวด์ รวมถึงดาวน์โหลดฟังออฟไลน์ มีให้บริการแล้วมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
ที่มา: YouTube
กูเกิลประกาศปิดแอพ Google Podcasts ในปี 2024 (ยังไม่ระบุเดือน) เพื่อย้ายฟังก์ชันการฟังพ็อดแคสต์มาอยู่ในแอพ YouTube Music แทน
การเปลี่ยนผ่านนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะกูเกิลแสดงสัญญาณนี้มาสักพักแล้ว ตั้งแต่การประกาศเพิ่ม Podcast เข้ามาใน YouTube Music ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2023 และ เพิ่มเข้ามาจริงในเดือนเมษายน 2023
YouTube เซ็นสัญญากับค่ายเพลง Universal Music Group เรื่องการนำ AI มาใช้กับวงการเพลง โดย YouTube Music ประกาศหลักการ 3 ข้อเกี่ยวกับการใช้ AI ดังนี้
YouTube Music เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ชื่อ Samples มันคือวิดีโอสั้นแนวตั้ง (อีกแล้ว) ลักษณะเดียวกับ YouTube Shorts แต่ตัดมาจากมิวสิกวิดีโอในคลัง เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้แอพค้นพบเพลงใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น หากชอบเพลงนั้นก็สามารถเล่นเพลง แชร์ หรือบันทึกไว้ในเพลย์ลิสต์ได้
เพื่อป้องกันคนไม่ใช้งาน หาไม่เจอ และเหตุผลอื่นๆ YouTube Music ถึงขั้นเพิ่มแท็บ Samples มาเป็นแท็บอันที่สองของแอพบนมือถือ เรียกได้ว่าหาเจอแน่นอน
YouTube บอกว่าฟีเจอร์นี้เป็นประโยชน์ให้ผู้ใช้ค้นพบเพลงใหม่ๆ มากขึ้น ฝั่งศิลปินเองก็สร้างฐานแฟนๆ เพิ่มเติม และนี่เป็นจุดเด่นของ YouTube ที่สามารถผนวกเนื้อหามิวสิควิดีโอ การแสดงสด และวิดีโอสั้น เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งแพลตฟอร์มอื่นทำไม่ได้
YouTube เปิดแพคเกจ YouTube Premium Lite ราคา 89 บาท/เดือน คล้ายตัวฟรี แค่ไม่มีโฆษณาในคลิป
สิ่งที่ YouTube Premium Lite จะได้
เหมาะกับคนที่อยากดู YouTube แบบไม่มีโฆษณากวนใจระหว่างดูอย่างเดียว แต่ไม่อยากจ่ายแพง สามารถเข้าไปสมัครได้ที่ Youtube Premium Lite
*สมัคร Youtube Premium Lite บนสมาร์ตโฟนระบบ iOS จะได้ราคา 119 บาท/เดือน
YouTube Music เริ่มปล่อยอัปเดตที่มีการรีดีไซน์แถบ Mini Player ด้านล่างของจอ พร้อมย้ายปุ่ม Cast มาไว้ด้านล่างจากเดิมที่อยู่ด้านบน ซึ่งก็มีผู้ใช้ Reddit พบด้วยว่า YouTube Music มีรีดีไซน์หน้า Player หลัก ที่เพิ่มปุ่ม Like, Dislike, Save, Share, Download รวมถึงปุ่ม Comment พร้อมแสดงจำนวน Comment เหมือนบน YouTube ด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ใจว่าอัปเดตของการรีดีไซน์หน้า Player หลักนี้เป็นการทยอยอัปเดต หรือแค่ทดสอบเท่านั้น เพราะหลายคนยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้บน YouTube Music
YouTube Music รีดีไซน์หน้าเว็บแบบเดสก์ท็อปครั้งใหญ่ โดยย้ายแถบ Home, Explore, และ Library จากเดิมที่อยู่ด้านบนสุดมาอยู่ในแท็บ Navigation Drawer (แถบ 3 ขีด) ซึ่งอยู่มุมบนซ้าย แบบเดียวกับ YouTube
ส่วนช่องค้นหาจะปรับมาอยู่ตรงกลางด้านบนเช่นกัน จากเดิมที่เป็นปุ่ม search ขณะที่เมนู Cast จะอยู่มุมขวาบน
นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เปิดตัว YouTube Music ที่มีการยกเครื่องออกแบบใหม่ซึ่งอิงตามแบบของ YouTube
อย่างไรก็ตาม หน้าเว็บปัจจุบันของ YouTube Music ในไทยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดใดเกิดขึ้นในตอนนี้
ที่มา: 9to5Google
YouTube Music เริ่มปล่อยฟีเจอร์ Podcast ตามที่เคยประกาศไว้ โดยยังปล่อยเฉพาะผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวก่อน
การใช้งานจะมีแท็บ Podcasts เข้ามาในหน้าหลักของแอพ ทั้งเวอร์ชันเว็บ, Android, iOS และสามารถฟังได้เหมือนฟังเพลงตามปกติ รองรับฟีเจอร์มาตรฐานอย่างการฟังออฟไลน์ ฟังแบบแบ็คกราวน์ระหว่างเปิดแอพอื่นไปด้วย การ cast ไปยังอุปกรณ์อื่น (โดยไม่จำเป็นต้องจ่าย YouTube Premium เหมือนฟังเพลง) และจุดเด่นเฉพาะของ YouTube เองคือการสลับไปมาระหว่างการฟังเสียงอย่างเดียว กับแบบมีวิดีโอประกอบด้วย (ถ้ารายการนั้นทำ)
Kai Chuk หัวหน้าฝ่ายพ็อดคาสต์ของ YouTube Music ให้สัมภาษณ์บนเวทีงานสัมมนา Hot Pod Summit ว่าแอพ YouTube Music จะเพิ่มการฟังพ็อดคาสต์ใน "เร็วๆ นี้" แต่ก็ไม่ระบุช่วงเวลาที่ชัดเจน
จากข้อมูลนี้ทำให้ YouTube Music จะกลายมาเป็นคู่แข่งโดยตรงของ Spotify ที่แอพเดียวรองรับทั้งการฟังเพลงและพ็อดคาสต์ จากเดิมที่กูเกิลใช้ยุทธศาสตร์แยกแอพ Google Podcast เป็นอีกตัวหนึ่ง และยังไม่ชัดเจนว่าอนาคตของ Google Podcast จะเป็นอย่างไรต่อ
จุดแข็งของ YouTube คือคนทำพ็อดคาสต์จำนวนมากอัพโหลดคลิปลง YouTube (แถมมีแบบวิดีโอด้วย) ทำให้คนที่อยากชมเวอร์ชันแบบมีภาพก็ดูได้บน YouTube แต่ถ้าฟังเสียงอย่างเดียวก็ใช้ YouTube Music ได้
กูเกิลประกาศฟีเจอร์เพิ่มเติมด้านการฟังเพลงบน Android ดังนี้
YouTube Music ปล่อยแคมเปญ Recap 2022 ให้ผู้ใช้สามารถดูสถิติการฟังเพลงของตนเองผ่าน YouTube Music ตลอดปีนี้ เช่น ศิลปินที่ฟังบ่อย เพลงและ MV ที่ฟังและดูบ่อยประจำปี
แคมเปญ Recap ของปีนี้มีสถิติเพิ่มเติมจากของปีที่แล้วด้วย ดังนี้
YouTube ประกาศจำนวนสมาชิกแบบพรีเมียม YouTube Music และ YouTube Premium (นับรวมกัน) ที่ 80 ล้านคน เพิ่มขึ้นมาถึง 30 ล้านคนจากตัวเลขที่ประกาศในเดือนกันยายน 2021 ที่ 50 ล้านคน
YouTube บอกว่าจะยังใช้โมเดลหารายได้ทั้ง 2 แบบคือโฆษณาและค่าสมาชิกผสมผสานกันไป โดยบอกว่าความสำเร็จของยอดสมาชิก 80 ล้านคน มาจากหลายปัจจัย ทั้งเรื่องฟีเจอร์ (สลับระหว่างเพลงกับวิดีโอได้), คอนเทนต์สายเพลงที่หลากหลาย (คอนเสิร์ต คลิปสั้น พ็อดแคสต์) และการพาร์ทเนอร์กับบริษัททั่วโลก (เช่น Samsung, Vodafone, SoftBank) นำเสนอแพ็กเกจสมาชิกที่ดึงดูดมากขึ้น
YouTube ประกาศว่า YouTube Music จะยกเลิกการแนะนำเพลงตามโลเคชั่นที่ผู้ใช้อยู่ เช่น จะเลิกแนะนำเพลย์ลิสต์ออกกกำลังกายเมื่อผู้ใช้อยู่ที่ยิม เนื่องจากผู้ใช้สามารถค้นหาและเลือกเพลงหรือเพลย์ลิสต์ที่ชอบได้หลายวิธีรวมถึงการค้นหาเพลงเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ได้จากแถบกิจกรรมในหน้าโฮมของแอปพิเคชันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพลงสำหรับการออกกำลังกาย การเดินทาง การนั่งสมาธิ ฯลฯ
นอกจากนี้ YouTube จะลบการตั้งค่าสถานที่และข้อมูลประวัติสถานที่ของผู้ใช้ใน YouTube Music ทิ้งและจะยกเลิกการอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงสถานที่ของผู้ใช้งานด้วย (ส่วนการตั้งค่าประวัติสถานที่ใน Google จะไม่เปลี่ยนแปลง) อย่างไรก็ตาม YouTube จะยังคงแนะนำเพลงโดยยึดตามสถานที่คร่าว ๆ ที่ผู้ใช้อยู่ เช่น แนะนำเพลงตามประเทศผู้ใช้อาศัยอยู่
YouTube Music ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่สำหรับผู้ใช้งานฟรี โดยเริ่มที่ผู้ใช้ในแคนาดาเป็นแห่งแรก นั่นคือการเล่นเพลงบนแบคกราวด์ตอนปิดหน้าจอแอป ซึ่งเดิมฟีเจอร์นี้จะใช้ได้เฉพาะผู้ใช้แบบเสียเงินเท่านั้น มีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2021 เป็นต้นไป
สำหรับผู้ใช้ YouTube Music ในประเทศอื่น YouTube บอกเพียงให้ติดตามต่อไป โดยจะเพิ่มประเทศที่รองรับฟีเจอร์นี้ในอนาคต
การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ YouTube Music เพราะทำให้แอปมีคุณสมบัติพื้นฐานในการฟังเพลงบนแบคกราวด์ เหมือนกับแอปฟังเพลงสตรีมมิ่งรายอื่น
ที่มา: YouTube
Google อัพเดตแอปให้รองรับฟีเจอร์ใหม่บน iOS 15 ที่เปิดให้อัพเดตกันในวันนี้
เริ่มจาก Focus mode ของใหม่บน iOS 15 ที่กรองการแจ้งเตือนที่ไม่จำเป็นออกไป โดยสามารถเพิ่มตัวเลือก Personal, Work และ Sleep กำหนดเป็นรายแอปได้ว่าให้แอปใดยังแสดงการแจ้งเตือนในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่ง Google อัพเดตแอปสำคัญจำพวก Gmail, Meet, Tasks, Maps, Home ให้ยังคงแสดงการแจ้งเตือนสำคัญได้ แม้ผู้ใช้งานเปิด Focus mode โดยแสดงหน้าต่างแจ้งเตือนตามรูปภาพด้านล่าง
Lyor Cohen หัวหน้าฝ่ายธุรกิจดนตรีของ YouTube ประกาศว่าจำนวนผู้สมัครใช้งานแบบเสียเงิน YouTube Music และ YouTube Premium มีจำนวนรวมกันทั่วโลกมากกว่า 50 ล้านราย โดยไม่ได้แยกออกมาว่าแต่ละกลุ่มมีจำนวนเท่าใด
ในประเทศไทย อัตราค่าบริการ YouTube Music อยู่ที่ 129 บาทต่อเดือน ส่วน YouTube Premium อยู่ที่ 159 บาทต่อเดือน ซึ่งรวม YouTube Music มาด้วย สมาชิกกลุ่มนี้จะใช้งานได้แบบไม่มีโฆษณา ใช้งานออฟไลน์ และฟังเพลงในเบื้องหลังขณะปิดหน้าจอได้
เว็บไซต์ Protocol เขียนบทความเรื่องแผนการและความเป็นไปได้ของ YouTube ที่จะเป็นผู้ชนะในสงครามสตรีมมิ่งเพลง แม้จะเข้าวงการสตรีมมิ่งเพลงช้ากว่ารายใหญ่อย่าง Spotify และ Apple Music รวมถึงความพยายามของ YouTube ในการสร้าง YouTube Music ให้เป็น ecosystem สำหรับศิลปินและครีเอเตอร์ ที่ Spotify และ Apple Music ยังเสียเปรียบและตาม YouTube ไม่ทัน
หนึ่งในฟีเจอร์ที่อาจสร้างความหงุดหงิดแก่ผู้ใช้งาน YouTube Music คือ แสดงวิดีโอ หรือ MV ที่เคยกดไลค์ไว้เข้ามาในแอปฟังเพลงด้วย ทั้งเพลย์ลิสต์แนะนำ ประวัติการฟังเพลง ซึ่งในบางครั้งเป็นเพลงที่ซ้ำซ้อนกัน
ล่าสุดมีผู้ใช้งานโพสต์ใน Reddit ว่า YouTube Music มีช่องตั้งค่า ให้กรองวิดีโอที่เคยกดไลค์บน YouTube ออกไปได้ แยกกันชัดเจนระหว่างสองแพลตฟอร์ม โดยเข้าไปที่เมนูตั้งค่า มองหาแถบที่เขียนว่า Show your liked music from YouTube จากนั้นจึงปลดออกให้ไม่ต้องแสดงวิดีโอที่เคยกดไลค์
ในรายงานผลประกอบการ Alphabet บริษัทแม่ Google ประจำไตรมาส 3 ปี 2020 มีเผยด้วยว่า YouTube TV บริการดูทีวีสดผ่านเน็ต มีผู้ใช้งานแบบเสียเงิน 3 ล้านรายแล้ว และ YouTube Music และ YouTube Premium มีผู้ใช้งาน 30 ล้านราย
YouTube อัพเดตฟีเจอร์ YouTube Music บนทีวี เข้าดูและฟังเพลงในเพลย์ลิสต์ที่สร้างขึ้นเองได้ รวมถึงเพลงที่กด thumbs-up ไว้ได้ด้วย นอกจากนี้ยังมาพร้อมหน้าตาการใช้งานและป้ายไอคอนใหญ่ขึ้นเพื่อให้เหมาะกับการฟังเพลงบนจอใหญ่
เพิ่มฟีเจอร์ YouTube Music สำหรับ Android TV OSรวมถึง Chromecast บน Google TV เข้าฟังเพลงที่เราอัพโหลดเองบน YouTube Music ได้ และเข้าถึงเพลย์ลิสต์ที่ YouTube แนะนำมาให้ฟังได้ ทั้งเพลงเก่าและเพลงใหม่
กูเกิลเริ่มปิดร้านขายเพลงบน Google Play Music ตามที่เคยประกาศไว้ เพื่อย้ายบริการฟังเพลงทั้งหมดสู่ YouTube Music
ผู้ใช้สามารถย้ายเพลงในไลบรารีขึ้น YouTube Music ได้ผ่านลิงก์ music.youtube.com/transfer และดาวน์โหลดไฟล์เพลงของตัวเองที่เคยอัพโหลดไว้ผ่านบริการ Google Takeout
สิ่งที่ปิดในวันนี้คือสโตร์ขายเพลงเท่านั้น แอพ Google Play Music ยังใช้งานได้จนถึงสิ้นปี 2020 หลังจากนั้นข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบออกจากเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล และกูเกิลจะเหลือบริการฟังเพลงเพียงตัวเดียวคือ YouTube Music