เป้าหมายของ Facebook คือทำให้ผู้ใช้สามารถแชร์เนื้อหาจากแอพให้ง่ายที่สุด จึงพยายามปรับปรุงเครื่องมือของตัวเองที่จะช่วยให้ผู้ใช้เกิดประสบการณ์ที่ดีในการแชร์ มีดังต่อไปนี้
ในงานเดียวกันและยังโฟกัสในเรื่องของ Messenger Facebook ก็ได้เปิดตัวฟีเจอร์ที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจสามารถใช้งาน Messenger ได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างในกรณีที่ธุรกิจนั้นมีเว็บไซต์ สามารถติดตั้งปุ่ม Send to Messenger เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกดไปสอบถามเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติมใน Messenger ได้ (โดยติดต่อกับเพจเจ้าของธุรกิจ) จากนั้นเมื่อมีการสั่งซื้อ ผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดการสั่งซื้อใน Messenger ได้ และเพจสามารถตอบกลับเรื่องสถานะการขนส่งได้ง่ายและเป็นระบบมากขึ้นเช่นกัน
น่าเสียดายที่ฟีเจอร์ส่วนนี้ไม่ได้เปิด API ให้ใช้ทันที (ต้องกรอกข้อมูลสมัครก่อน ที่นี่)
ในงาน f8 ที่เป็นงานปล่อยของของ Facebook ปีนี้ เปิดตัวด้วยของชิ้นแรกคือ Messenger Platform เป็นฟีเจอร์ที่นักพัฒนาสามารถนำไปพัฒนาให้แอพตัวเองสามารถส่งข้อมูลในแอพมายัง Messenger ได้ นั่นแปลว่า เพื่อนจะสามารถได้รับสื่อประเภทภาพเคลื่อนไหว, เพลง, วิดีโอ ผ่าน Messenger ได้ทันที และหากเพื่อนเกิดความสนใจในแอพ ก็สามารถกดติดตั้งแอพจากหน้า Messenger ได้เลย
ฟีเจอร์นี้เปิดให้นักพัฒนาใช้ได้แล้ว โดยสามารถเข้าไปศึกษาได้ ที่นี่
เพื่อเอาใจคนติด Facebook ผู้ชอบย้อนอดีต Facebook จึงทำฟีเจอร์ facebook.com/onthisday เพื่อให้สามารถดูได้ว่า วันนี้ในปีก่อนๆ เราได้โพสต์เรื่องราวอะไรใน Facebook ไปบ้าง โดยสามารถเลือกเปิดแจ้งเตือนให้เราเข้าไปดูความทรงจำได้ตลอดเวลา เราสามารถแก้ไขหรือลบโพสต์ หรือจะแชร์โมเมนต์เก่าๆ นั้นให้เพื่อนดูอีกรอบก็ได้
ฟีเจอร์นี้ยังไม่เปิดใช้กันถ้วนทั่ว แต่คาดว่าน่าจะเปิดเร็วๆ นี้
ที่มา - Facebook Newsroom
ในทุกๆ วัน ผู้คนรอบโลกใช้ Facebook เชื่อมต่อระหว่างครอบครัวและเพื่อน แบ่งปันข่าวสารหรือเรื่องของตัวเอง ดังนั้นจะมีบทสนทนามากมายที่เกิดขึ้น และก็มีบางเรื่องที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสังคม จึงทำให้ Facebook ปรับปรุง Community Standards เพื่อทำให้ผู้คนเข้าใจได้ว่าเนื้อหาใดที่อนุญาตให้แชร์ได้ใน Facebook โดยมีเนื้อหา 4 หมวดหลักคือ
สถานะรู้สึก "อ้วน" ที่ Facebook ตั้งขึ้น เจตนาเดิมคือต้องการให้ผู้ใช้ที่ใช้สถานะแสดงความรู้สึกนี้ใช้ประกอบในเหตุการณ์ขำๆ เช่น กินมากไป รู้สึกอ้วน หรืออะไรต่อมิอะไรที่ตัวคนพูดเองก็อาจจะไม่ได้มีรูปร่างอ้วนใดๆ แต่คนที่อ้วนจริงๆ กลับได้รับผลกระทบทางความรู้สึกเมื่อได้เป็นสถานะเหล่านี้แทน (ต้องอย่าลืมว่ามีคนอ้วนอีกหลายๆ คนที่ไม่ได้มีรูปร่างอ้วนเพราะการกิน แต่มีรูปร่างอ้วนจากอาการป่วยหรือสาเหตุอื่นๆ)
ในบางครั้งการโฆษณาด้วยภาพและคำบรรยายอาจไม่เพียงพอ Instagram จึงเพิ่มหน่วยโฆษณาแบบ carousel ที่ผู้ใช้สามารถปัดภาพเพื่อดูรูปต่อๆ ไปได้ (หากงงโปรดดูคลิปท้ายเบรก)
หน่วยโฆษณาแบบใหม่นี้ยังเปิดให้ใช้ในวงจำกัด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นโฆษณาประเภทนี้ในฟีดเร็วๆ นี้
ที่มา - Instagram
โครงการ Sticky Fingers เชิญชวนให้ผู้ที่รักการวาดรูปมาออกแบบตัวการ์ตูนใหม่เพื่อขายในร้านขายสติกเกอร์ของ Viber โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ตัดสินรางวัลจากคณะกรรมการ โดยผู้ชนะจะได้มีโอกาสร่วมงานกับไวเบอร์ดีไซน์สตูดิโอเพื่อพัฒนาสติกเกอร์ให้พร้อมวางขาย และจะได้ส่วนแบ่งยอดขายสติกเกอร์ด้วย นอกจากนี้ยังมีเงินทุนให้กับผู้เข้ารอบ 10 รางวัลเพื่อนำไปสร้างสรรค์งานตัวเองต่อไป
สนใจก็เข้าร่วมกิจกรรมได้ที่นี่
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
ฟีเจอร์นี้จะทำงานเมื่อมีผู้รายงานบัญชีใดบัญชีหนึ่งบน Facebook ว่าบัญชีนั้นมีความเสี่ยงที่จะคิดฆ่าตัวตาย เมื่อ Facebook ทำการตรวจสอบ ก็จะส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังบัญชีนั้น และสามารถเลือกที่จะขอคำแนะนำจากสายตรงช่วยเหลือผู้ที่คิดจะฆ่าตัวตายได้
ฟีเจอร์นี้กำลังจะเปิดใช้ในอเมริกาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ แต่ไม่มีวี่แววว่าจะเปิดให้ใช้ฟีเจอร์นี้ทั่วโลกหรือไม่
ที่มา - The Next Web
Javier Castaño ช่างขัดรองเท้าชาวสเปนอายุ 50 ปี กลับเป็นเจ้าของชื่อบัญชีทวิตเตอร์ยิ่งใหญ่อย่าง @canada, @japan, @rome, @madrid และ @NY ความดีงามคือชายคนนี้ถึงแม้จะตกงานจนกลายไปเป็นคนขัดรองเท้า แต่ก็ไม่ได้คิดจะหาเงินด้วยการเอาแอคเคาต์ชื่อสวยเหล่านี้ไปขายแต่อย่างใด แต่กลับติดต่อหน่วยงานประเทศต่างๆ และส่งรหัสผ่านบัญชีให้เมื่อมั่นใจว่าได้ติดต่อกับคนของทางการประเทศนั้นจริงๆ จนในปลายปีที่แล้ว Javier Castaño ก็ได้คืนบัญชี @canada ให้กับทางการแล้วเรียบร้อย
Javier Castaño ได้ทวีตไว้ว่า หวังว่าประเทศญี่ปุ่น ที่ในตอนนี้ใช้ชื่อทวิตเตอร์ว่า @JapanGov จะติดต่อมาเพื่อรับบัญชี @Japan ไปสักวัน ช่างน่าตื้นตันใจอะไรเยี่ยงนี้
ผู้ชายและผู้หญิงในบางครั้งอาจมีปัญหาในการสื่อสารไม่เข้าใจกัน โดยเฉพาะเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านที่กว่าจะอธิบายอะไรต่อมิอะไรได้เข้าใจตรงกันก็ใช้เวลานานอยู่ IKEA จึงทำแอพอีโมติคอน ที่จะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยให้เกิดความรักความเข้าใจและความสันติในบ้านของคุณ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ชายจะขอบคุณผู้หญิงที่ช่วยทำความสะอาดบ้านให้ ถ้าเขาใช้แอพ IKEA เขาสามารถส่งอีโมจิจบได้ใน 2 ตัว แทนที่จะต้องพิมพ์ความรู้สึกยาวยืด
หนึ่งภาพแทนพันคำได้ฉันใด แอพ IKEA ก็อาจทำได้ฉันนั้น การทำงานของแอพ IKEA อีโมติคอน จะเหมือนคีย์บอร์ดหนึ่งในโทรศัพท์ทุกประการ ใครสนใจดาวน์โหลดก็กดดาวน์โหลดได้ ที่นี่ (มีทั้ง iOS และ Android)
ทุกวันนี้ในการดูแลบัญชีทวิตเตอร์นั้นหากมีทีมงานช่วยกันดูแลทุกคนจะต้องรู้ชื่อและรหัสผ่านของบัญชี แต่หลังจากนี้อาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไปเมื่อทวิตเตอร์เปิดฟีเจอร์ Teams ซึ่งสามารถเพิ่มบัญชีของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ให้เป็นผู้ดูแลบัญชีได้ ยกตัวอย่างเช่นบัญชี blognone สามารถเพิ่มทีมด้วยบัญชีนาย A หรือนาย B ได้ โดยนาย A และ B ไม่จำเป็นต้องรู้รหัสผ่านของบัญชี blognone แต่อย่างใด นอกจากนี้การตั้งทีมยังสามารถเลือกระดับขั้นของคนในทีมว่าจะเป็นแอดมินหรือคอนทริบิวเตอร์ก็ได้
ฟีเจอร์นี้ใช้ได้เฉพาะ TweetDeck เท่านั้น ดูวิธีการทำงานได้ท้ายเบรก
ที่มา - Twitter
ความสามารถใหม่เวอร์ชัน 7.0
สนใจก็อัพเดตได้ที่ iOS และ Android
ที่มา - The Next Web
เพื่อเสริมทัพด้านการทำการตลาดให้ดียิ่งขึ้นใน Twitter และ Vine จึงทำให้ Twitter ตัดสินใจซื้อกิจการ Niche ที่เป็นสตาร์ตอัพที่คอยเชื่อมต่อแบรนด์กับเซเล็บในอินเทอร์เน็ตเพื่อทำแคมเปญการตลาดร่วมกัน โดยมูลค่าการซื้อไม่ได้เปิดเผยแต่อย่างใด
ลักษณะของการทำการตลาดร่วมกันระหว่างแบรนด์และเซเล็บอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างไรดูได้จากท้ายข่าว
ที่มา - The Next Web
เราเห็นพินประเภทรูปภาพและคลิปวิดีโอใน Pinterest กันมามากแล้ว วันนี้มีพินประเภทใหม่คือพินประเภทแอพ (app pin) โดยเราจะเห็นพินแอพเมื่อเราเล่น Pinterest ผ่านแอพมือถือเท่านั้น ความพิเศษของพินประเภทแอพคือ ถ้าเราถูกใจแอพไหนเราก็กดติดตั้งแอพนั้นจาก Pinterest ได้เลย สนใจก็ไปลองเล่นกันดูได้ (เฉพาะ iOS)
แอพ LINE บน Android เวอร์ชันล่าสุด ปรับการแสดงผลรูปโปรไฟล์จากสี่เหลี่ยมมุมมนเป็นรูปวงกลม และมีการเพิ่มฟิลเตอร์รูป 2 ฟิลเตอร์สำหรับรูปอาหารและรูปความสวยความงาม ก็ไปอัพเดตกันได้
ที่มา - LINE
จากที่เคยตั้งกองทุน 1 หมื่นล้านเยนสนับสนุนด้านเกมไปแล้ว ก็ได้ฤกษ์ตั้งกองทุนสำหรับสตาร์ตอัพประเภทไลฟ์สไตล์เช่นกัน ใช้เงินลงทุน 500 ล้านเยน (ราวๆ 42 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยกองทุนเริ่มดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และคาดว่าจะดำเนินการไปอีก 10 ปี
ยุทธศาสตร์ของ LINE ในการหารายได้จากออฟไลน์โดยไม่พึ่งพิงรายได้จากออนไลน์แต่อย่างเดียวก็เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องมาดูกันว่าหลังจากนี้ LINE จะลงทุนในธุรกิจสายไหนต่อไป
ที่มา - Tech in Asia
เพื่อไม่ให้ทุกคนพลาดกับวิดีโอใน Instagram (ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอจากเพื่อนหรือแบรนด์) Instagram ก็เลยมีการปรับให้วิดีโอเล่นแบบวนลูป (เหมือน Vine แล้ว)
คาดว่า Instagram ปรับวิดีโอเป็นแบบเล่นวนลูป เพื่อเอาใจบริษัทโฆษณามากขึ้น เพราะมั่นใจได้ว่าผู้ใช้เห็นวิดีโอโฆษณาแน่นอน ใครสนใจกดเล่นก็กดดูได้จากท้ายเบรก
ที่มา - Re/code
หลังจากมีกลยุทธ์ที่จะขยายขอบเขตของผู้ใช้จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ด้วยบริการต่างๆ เช่นบริการแท็กซี ก็มาถึงจุดที่ LINE จะขยายขอบเขตของบริการมาด้านร้านสะดวกซื้อเช่นกัน โดยเริ่มจากประเทศไทยเป็นที่แรก ด้วยการผลักดันการซื้อขาย โปรโมชั่น ผ่านช่องทางปัจจุบันที่ LINE มี เช่น LINE HOT BRAND และอื่นๆ ส่วนในระยะยาวอาจจะขยายขอบเขตการซื้อขายด้วยการร่วมมือกับร้านสะดวกซื้ออื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
ที่มา - TechCrunch
Facebook ก้าวเข้าสู่การรบสู้กับ Yelp และ Foursquare ด้วยการปล่อยฟีเจอร์ Place Tips โดยเมื่อผู้ใช้กดดูทิปแนะนำสถานที่ก็จะพบกับข้อมูลที่แสดงในรูปของการ์ดแนะนำข้อมูลต่างๆ และสามารถเห็นโพสต์หรือรูปของเพื่อนที่แชร์ในสถานที่ต่างๆ ด้วย
ความน่าสนใจของทิปต่างๆ มีทั้งการดึงโพสต์จากเพจ เมนูยอดนิยม และอีเวนต์ที่กำลังจะมาถึง แต่ถ้าหากรำคาญก็สามารถปิดฟีเจอร์นี้ได้ที่หน้าตั้งค่า
ที่มา - The Next Web, Facebook Newsroom
Facebook Awards (หรือชื่อเดิม Facebook Studio Awards) เป็นกิจกรรมมอบรางวัลให้ผลงานที่สร้างสรรค์ใน Facebook โดยปีนี้มีความพิเศษคือผลงานจาก Instagram สามารถเข้าร่วมได้ด้วย ผลงานที่จะได้รับรางวัล นอกจากจะเป็นที่นิยมในผู้ใช้ ก็ต้องมีบทบาทในการขับเคลื่อนธุรกิจเช่นกัน สำหรับแบรนด์หรือเอเจนซีที่ส่งงานเข้าประกวด จะมีโอกาสได้รับการยอมรับในฐานะผู้กำหนดมาตรฐานด้านการตลาดที่ดีบน Facebook และ Instagram
Facebook จะเปิดรับการเสนอผลงานจนถึงวันที่ 1 เมษายน และจะประกาศรายชื่อผู้ชนะในช่วงฤดูร้อน รายละเอียดอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมได้จากที่มา
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์, Facebook Awards
มีนโยบายในการปรับ News Feed ให้เป็นมิตรกับผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง และนโยบายล่าสุดก็คือการออกมาแจ้งว่าหลังจากนี้จะปรับให้โพสต์ประเภทนี้น้อยลงนั่นเอง โดยผู้ใช้สามารถช่วย Facebook ได้ด้วยการรายงานโพสต์ประเภทดังกล่าวด้วยตัวเลือกที่ระบุว่า "It's a false news story"
ที่มา - Facebook Newsroom
หลังจากที่มีข่าวว่า Facebook จะทำเครือข่ายสังคมรูปแบบคนทำงาน วันนี้ก็ได้ปล่อยแอพที่ชื่อ Facebook at Work ออกมาแล้ว (ดาวน์โหลดได้เฉพาะอเมริกา และมีแต่เวอร์ชั่น iOS)
ระบบวิดีโอของ Twitter ที่อัพโหลดผ่าน Twitter โดยตรง จะสามารถแก้ไขและโพสต์วิดีโอได้ (โดยปกติตอนนี้ถ้าผู้ใช้จะแชร์วิดีโอตัวเองใน Twitter จะชอบไปใช้ Vine) แต่ระบบที่สามารถอัพโหลดผ่าน Twitter ได้นั้นจะได้วิดีโอความยาว 20 วินาทีต่อคลิป
ก็น่าจะเป็นอะไรที่ทำให้การเล่น Twitter สนุกมากขึ้น ระหว่างนี้ก็ดูรายละเอียดอื่นๆ จากหน้า FAQ ไปก่อน
ที่มา - Re/code
ระบบ Publishing platform เป็นระบบที่โพสต์บทความที่เขียนเอง (เหมือนบล็อก) แต่ใช้ได้เฉพาะกลุ่มผู้มีชื่อเสียง 25,000 ราย ซึ่งทดลองใช้มาระยะหนึ่งจนตอนนี้ก็มีหนึ่งล้านโพสต์แล้ว LinkedIn จึงฉลองด้วยการขยายขอบเขตของการให้บริการ โดยผู้ใช้ที่ใช้ภาษาอังกฤษจำนวน 250 ล้านคน ก็จะได้ใช้ฟีเจอร์นี้เหมือนกัน และมีแผนที่จะขยายให้ผู้ใช้ทั่วโลกได้ใช้งานฟีเจอร์นี้ในเดือนต่อๆ ไป
เป้าหมายของการเปิดให้สมาชิกโพสต์บทความได้นั้นก็เพื่อเพิ่มยอดการเข้า LinkedIn ให้มากขึ้นนั่นเอง
ที่มา - TechCrunch