Meta ประกาศอัพเดตฟีเจอร์ Facebook ที่อธิบายว่า "Why am I seeing this ad?" หรือ "ทำไมฉันจึงเห็นโฆษณานี้" ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่มีมาตั้งแต่ปี 2014 อยู่ที่ปุ่มด้านบนขวาของส่วนโฆษณาที่แสดง เพื่ออธิบายกับผู้ใช้งาน ว่าทำไม Facebook จึงแสดงโฆษณานี้ขึ้นมาจากปัจจัยต่าง ๆ อายุ เมือง ภาษา ความสนใจ
โดยเครื่องมือที่อัพเดตใหม่นี้ จะแสดงข้อมูลแบบสรุปด้วย Machine Learning ทั้งกิจกรรมใน Facebook และกิจกรรมที่เกิดนอก Facebook เช่นการเข้าชมเว็บไซต์ ว่าทำไมโฆษณานี้จึงถูกนำมาแสดง แยกรายละเอียดระดับฝั่งผู้ลงโฆษณา จนถึงกิจกรรมฝั่งผู้ใช้งานที่ตรงกับความต้องการผู้ลงโฆษณา (ดูตัวอย่างท้ายข่าว)
Facebook ประกาศปรับปรุงระบบฟีดแสดงผลในหน้าแรกอีกครั้ง โดยคราวนี้บอกว่ามีเป้าหมายให้เนื้อหาที่ถูกคัดเลือกมาแสดง มีการปรับแต่งสำหรับความต้องการจริง ๆ ของผู้ใช้งานแต่ละคนมากขึ้น
เครื่องมือใหม่ที่ Facebook เพิ่มมาคือตัวเลือกให้คะแนน Show More กับ Show Less โดยจากการแสดงคำถามให้ตอบแล้ว ผู้ใช้งานยังสามารถกดปุ่ม 3 จุด มุมบนขวาแต่ละโพสต์เพื่อตอบว่า Show More หรือ Show Less ได้ด้วย
Facebook บอกว่าเมื่อผู้ใช้งานเลือก Show More ระบบจะเพิ่มคะแนนโพสต์นี้และโพสต์ประเภทนี้ชั่วคราว ส่วน Show Less จะทำในทางตรงกันข้าม
นอกจากนี้ Facebook จะเพิ่มการตั้งค่า Feed Preferences ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าเราต้องการเห็นโพสต์จากเพื่อน, Groups หรือเพจต่าง ๆ ในปริมาณมาก-น้อยแค่ไหน
Facebook ประกาศเปลี่ยนแปลงระบบ Feed ครั้งใหญ่ แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ Home แสดงข้อมูลแบบเดิม เรียงตามอัลกอริทึมที่ผู้ใช้น่าจะสนใจ กับ Feeds การเรียงตามลำดับการโพสต์ล่าสุด โดยสามารถแยกหมวดการแสดงผลย่อยๆ คือ All, Favorites, Friends, Groups, Pages ได้ตามต้องการ
Mark Zuckerberg ประกาศว่านี่เป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่ผู้ใช้เรียกร้องมามากที่สุด จึงได้ปรับวิธีการแสดงผล Feeds แยกเป็น 2 แบบให้เลือกเปิดได้ตามใจชอบ
Facebook ประกาศเปลี่ยนชื่อฟีเจอร์ News Feed ที่ใช้กันมานาน ให้เหลือสั้นๆ แค่ Feed โดยไม่ได้อธิบายเหตุผลว่าทำไมต้องเปลี่ยน แถมการประกาศยังประกาศบน Twitter ไม่ได้ประกาศผ่านเพจของ Facebook เอง
เว็บไซต์ The Verge สอบถามไปยังโฆษกของ Meta ได้ความว่าเปลี่ยนเพราะสะท้อนเนื้อหาของ Feed ที่ไม่ได้มีแค่ News เพียงอย่างเดียว แต่ก็เป็นการเปลี่ยนชื่อเท่านั้น รูปแบบบริการยังเหมือนเดิม
อีกหนึ่งเอกสารภายในของ Facebook ที่ถูกเผยแพร่โดยอดีตพนักงาน Frances Haugen ต่อสื่อหลายหัวในช่วงนี้ เอกสารฉบับนี้เป็นงานวิจัยภายในของ Facebook เมื่อปี 2018 ที่ทดลองปิดระบบอัลกอริทึม News Feed ในการเลือกโพสต์มาแสดง คิดเป็นสัดส่วน 0.05% ของผู้ใช้ทั้งหมด เพื่อศึกษาดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ผลการทดลองพบว่าอัตรา engagement ลดลงอย่างมาก ผู้ใช้กดซ่อนโพสต์เพิ่มขึ้นถึง 50% และหันไปใช้งาน Facebook Groups แทน สิ่งที่เซอร์ไพร์สคือ Facebook กลับทำเงินจากค่าโฆษณาได้มากขึ้น เพราะคนเลื่อนหาโพสต์ที่น่าสนใจใน News Feed เยอะขึ้น เห็นโฆษณาจำนวนมากขึ้นซะอย่างนั้น
เมื่อผลการทดลองเป็นไปในทางลบ ทำให้ Facebook เลิกสนใจไอเดียนี้ และยังคงการใช้อัลกอริทึมเลือกโพสต์ "ที่น่าสนใจ" มาให้เราเห็นกันต่อไป
Nick Clegg รองผู้บริหาร Facebook ฝ่าย global affairs and communications และอดีตรองนายกอังกฤษพูดในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNN หลังถูกอดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์มาแฉ ว่า Facebook สนใจแต่ engagement เหนือผลกระทบอื่นๆ ต่อสังคม
ในตอนหนึ่ง Clegg ระบุถึงการเตรียมปรับปรุงบริการให้เป็นมิตรกับสุขภาพจิตของวัยรุ่นมากขึ้น โดยจะปรับคอนเทนต์ให้แสดงคอนเทนต์จากเพื่อนที่อยู่บนแพลตฟอร์มมากขึ้น ตามแนวทางใหม่คือ “เพื่อนมากขึ้น การเมืองน้อยลง” ("more friends, less politics.")
หากยังจำกันได้ ช่วงต้นปีที่ผ่านมา Facebook เผยแนวทางใหม่ ลดเนื้อหาการเมืองบนหน้าฟีด เป้าหมายคือลดความแตกแยกบนแพลตฟอร์ม และได้ทำการสำรวจผลตอบรับในสหรัฐฯว่าประสบการณ์การใช้งานเป็นอย่างไร
ล่าสุด Facebook เผยผลการสำรวจ ระบุเพียงว่าผู้คนมีผลตอบรับเชิงบวก ด้วยเหตุนี้ Facebook จึงจะขยายการสำรวจไปยัง คอสตาริกา สวีเดน สเปน และไอร์แลนด์ เพิ่มเติม
Facebook ประกาศทดสอบความเห็นผู้ใช้งานทั่วโลก เกี่ยวกับความรู้สึกเวลาเห็นโพสต์ใดๆ บนหน้าฟีด ซึ่ง Facebook จะนำผลสำรวจไปปรับอัลกอริทึมการแสดงเนื้อหาใหม่ โดย Facebook จะให้ตอบแบบสอบถามด้านล่างโพสต์ว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับโพสต์นี้ โพสต์นี้สร้างแรงบันดาลใจหรือไม่ ในระดับใด
Facebook อัพเดทฟีเจอร์บนหน้าฟีด เริ่มจากเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถระบุได้ว่า อยากให้ใครมาคอมเม้นท์ใต้โพสต์ของเรา มีสามตัวเลือกคือ ทุกคน, เฉพาะเพื่อน และเฉพาะคนหรือเพจที่เราแท็กชื่อในโพสต์
Facebook ยังเปิดให้ผู้ใช้งานควบคุมสิ่งที่มองเห็นบนหน้าฟีด สามารถเลือกได้ว่าให้หน้าฟีดแสดงโพสต์ของใครบ้าง โดยสามารถเลือกเพื่อนและเพจได้ 30 รายเข้ามาอยู่ในกลุ่ม Favorites โพสต์ของคนเหล่านั้นจะปรากฏในอันดับที่สูงขึ้นในฟีดข่าว ถือเป็นการคัดกรองเนื้อหาบนฟีดด้วยตัวเอง ตรงด้านบนของฟีดจะมองเห็นตัวเลือก Home, Favorites, Recents ผู้ใช้สามารถกด Recents เพื่อเปลี่ยนหน้าฟีดให้เป็นไปตามอัลกอริทึมของ Facebook ได้
จากประเด็นมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก บอก Facebook จะหยุดแนะนำเนื้อหากลุ่มและเพจการเมือง วันนี้ Facebook มีแถลงเพิ่ม โดยบอกว่าหนึ่งในเสียงสะท้อนของผู้ใช้งานคือ ไม่ต้องการให้เนื้อหาการเมืองเข้ามาควบคุมหรือ take over หน้าฟีด และจะเริ่มทดลองลดเนื้อหาการเมืองในกลุ่มผู้ใช้บางส่วนในแคนาดา, บราซิล, อินโดนีเซียในสัปดาห์นี้ และจะเริ่มทดลองใช้ในสหรัฐฯในสัปดาห์ไป
Facebook ประกาศปรับลดการแสดงผลเนื้อหาบน News Feed ที่เกี่ยวกับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพซึ่งเกินความจริง เช่น การรักษาโรคให้หายอย่างอัศจรรย์, การให้ข้อมูลสุขภาพที่บิดเบือนหรือเกินจริง เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่ YouTube ทำก่อนหน้านี้
โดย Facebook บอกว่าอัลกอริทึมปรับลดการแสดงผลดังกล่าวเริ่มใช้งานแล้วประมาณ 1 เดือน มีผลกระทบต่อคอนเทนต์ 2 ประเภทหลักคือ เนื้อหาที่ให้ข้อมูลการรักษาโรคที่เกินความจริง และโพสต์ขายสินค้าด้านสุขภาพที่เกินความจริง
Facebook บอกว่าเพจส่วนมากจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เว้นแต่มีการโพสต์เนื้อหาในกลุ่มที่ระบุข้างต้น
Netflix กำลัง Feed บนมือถือ โชว์รูปและคลิปคอนเทนต์ในแบบ Instagram คือสามารถเลื่อนดูแต่ละเนื้อหาได้แบบแนวตั้ง และสามารถปัดขวาเพื่อดูรูปอื่นในเรื่องนั้นเพิ่มเติมได้เหมือนเวลาเราลงรูปหลายรูปใน Instagram วิดีโอจะเล่นอัตโนมัติเหมือนเดิม แต่ตั้งค่าให้ไม่มีเสียงได้
แต่ Feed แบบเดิมจะยังคงอยู่ ส่วน Feed แบบใหม่นี้ ผู้ใช้ต้องกดปุ่ม Extra ที่อยู่ตรงกลางล่างหน้าจอมือถือ ถึงจะสามารถดู Feed แบบใหม่ได้ ตัววิดีโอใน Feed ใหม่จะเป็นแนวตั้ง และเป็นเทรลเล่อร์แบบย่อๆ ไม่ใช่เทรลเล่อร์แบบเต็ม ส่วนปุ่มดาวน์โหลด ปุ่มแชร์ ยังอยู่ครบ
ผู้ใช้สามารถดูรูปหน้าจอเพิ่มเติมที่แหล่งข่าวต้นทางได้
Facebook ประกาศปรับอัลกอริทึมการแสดงผลใน News Feed อีกครั้ง โดยอาศัยการจัดอันดับเนื้อหาที่ถูกแสดงจากแบบสำรวจผู้ใช้งาน ว่าใครที่เรากำหนดว่าเป็นเพื่อนสนิท จากนั้นจึงนำมาปรับการแสดงผลใหม่ดังนี้
มีการค้นพบใหม่ล่าสุดจาก Jane Manchun Wong นักวิจัยสายแกะหลังบ้านแอปขาประจำ โดยพบว่า Facebook ได้ทดสอบ News Feed แบบใหม่ ที่ใช้รูปแบบการแตะหมุนเนื้อหาตามแนวตั้งไปเรื่อย ๆ แบบเวลาเราดู Stories เพียงแต่ครั้งนี้เปลี่ยนไปโดยรวมเนื้อหาโพสต์ที่ปกติอยู่ใน News Feed เดิม เข้ามารวมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสเตตัส, โพสต์รูป ไปจนถึงโฆษณา
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะช่วยให้ Facebook รวม Feed สองแบบในปัจจุบันคือ News Feed ที่ต้องเลื่อนปัดหน้าจอบนลงล่างแบบเดิม เข้ากับ Stories Feed แบบใหม่ ให้แสดงรวมเป็นพื้นที่เดียวกันได้ ซึ่งมีข้อดีคือ Feed แบบ Stories นี้โอกาสมองข้ามเนื้อหานั้นต่ำกว่า News Feed แบบเดิม
Facebook มีฟีเจอร์ให้ผู้ใช้สามารถดูได้ว่า ทำไมฉันจึงเห็นโฆษณาชิ้นนี้มาตั้งแต่ปี 2014 ล่าสุด Facebook ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมโพสต์ธรรมดาๆ ด้วย
เมื่อผู้ใช้กดเข้าไปจะเห็นเมนูต่างๆ เรียงลงมาพร้อมระบุเหตุผลว่าไมจึงเห็นโพสต์นี้ (Why Am I Seeing This?) เช่น เป็นโพสต์จากคนที่ผู้ใช้กำลังติดตามอยู่ เป็นคนที่ผู้ใช้เคยคอมเมนท์หรือมี engagement ด้วย และมีข้อมูลบอกด้วยว่าผู้ใช้มี engagement กับเพจดังกล่าวบ่อยแค่ไหน เลื่อนลงมาข้างล่างยังมีเมนูทางลัด ให้ตั้งค่าให้เข้ากับตัวเองได้ เช่น เลิกติดตามบุคคล เพจดังกล่าว หรือจะเลือกให้เป็น see first ก็ได้
ในฟีเจอร์นี้ ผู้ใช้จะเห็นภาพการทำงานของอัลกอริทึม Facebook เพิ่มเติม และ Facebook ยังระบุด้วยว่าผู้ใช้เรียกร้องเรื่องความโปร่งใสในการทำงานของอัลกอริทึม News Feed ว่า Facebook ยังมีให้ไม่มากพอ
Facebook เริ่มขึ้นข้อความเตือนว่าจะปิดฟีเจอร์ Friend List Feeds ที่แสดงรายการฟีดเฉพาะของเพื่อนแต่ละกลุ่มแล้ว
หลายคนอาจไม่ทราบว่า Facebook มีฟีเจอร์ Lists สำหรับจัดกลุ่มเพื่อน และสามารถดูเฉพาะโพสต์ของเพื่อนใน List นั้นได้ ภายหลังในปี 2011 ก็พัฒนามาเป็น Smart Lists ที่จัดกลุ่มเพื่อนให้อัตโนมัติ
Facebook ให้เหตุผลของการปิดฟีเจอร์นี้ว่า เป็นเพราะมีคนใช้น้อย และต้องการโฟกัสไปที่การพัฒนา News Feed หลักมากกว่า
การปิดฟีเจอร์นี้จะปิดแค่ส่วนของ Feeds เท่านั้น ส่วน Friend Lists ยังคงอยู่เหมือนเดิม เพื่อให้เราสามารถแชร์โพสต์ให้เห็นเฉพาะเพื่อนในลิสต์ได้
เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่ Instagram เปลี่ยนมาใช้อัลกอรึทึมเพื่อจัดลำดับฟีดโดยไม่เรียงตามลำดับเวลา ทำให้ผู้ใช้บางรายเกิดความสับสนต่อเนื้อหาที่ปรากฏบนฟีด
ล่าสุด Instagram ออกมาอธิบายว่ามีกระบวนเรียงลำดับฟีด โดยอาศัยปัจจัยหลักสามอย่าง ได้แก่
ก่อนหน้านี้ Google เปิดตัว Google Play Instant ทดลองเล่นเกมก่อนดาวน์โหลด ล่าสุด Facebook เอาด้วย โดย Facebook กำลังทดลองระบบเล่นเกมก่อนโหลด โดยทดลองกับโฆษณาเกมผ่านหน้า News Feed
ในช่วงแรก ทดลองระบบในกลุ่มผู้พัฒนาเกม จากนั้นก็จะขยายไปยัง Audience Network หรือเครือข่ายโฆษณาแบบแอพพลิเคชั่นของ Facebook จากนั้นก็จะขยายไปยังผู้ลงโฆษณาทุกรายภายในปีนี้
ปีที่แล้ว Facebook ทดสอบฟีเจอร์ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวได้จากหน้า News Feed โดยไม่ต้องออกจากหน้า Facebook เป็นฟีเจอร์ที่คาดกันว่าจะเป็นไม้ตายสู้ข่าวปลอมที่เป็นปัญหาคาราคาซังอยู่ในขณะนี้ ล่าสุด Facebook เปิดให้ใช้ฟีเจอร์นี้ในสหรัฐฯแล้ว
ฟีเจอร์ใหม่นี้ผู้ใช้จะเห็นปุ่มตัว i หรือ information หรือ about this article ปรากฏใต้ลิงก์ข่าว เมื่อกดเข้าไปผู้ใช้จะพบรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ผู้เผยแพร่เนื้อหา ทั้งจากเว็บไซต์เองและวิกิพีเดียด้วยว่าเป็นสำนักข่าวใด ก่อตั้งเมื่อไร รวมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ จากเว็บไซต์อื่นว่าเขารายงานข่าวไปในทิศทางใดบ้าง เลื่อนลงมาด้านล้างจะเห็นอีกว่าข่าวนี้ได้รับการแชร์ในพื้นที่ใดบนโลก มีเพื่อนคนไหนแชร์บ้าง
หลังจากที่ Facebook ประกาศปรับ News Feed โดยเพิ่มน้ำหนักการแสดงเนื้อหาข่าวสารของชุมชนท้องถิ่นในแต่ละเมืองให้มากขึ้น เริ่มที่ในอเมริกาก่อน วันนี้ Facebook ประกาศเพิ่มการแสดงผลข่าวท้องถิ่น มีผลกับผู้ใช้งานทั่วโลก ในทุกภาษาแล้ว
Facebook บอกว่า ผู้ใช้งานจะเห็นข่าวจากสื่อท้องถิ่นในพื้นที่ซึ่งตนเองอยู่มากขึ้น รวมทั้งข้อมูลของเมืองอื่นที่น่าจะสนใจ
ในมุมของผู้ผลิตสื่อ Facebook บอกว่า หากสื่อมีเนื้อหาครอบคลุมหลายเมือง Facebook ก็จะให้น้ำหนักกับเมืองที่เนื้อหานั้นครอบคลุมอยู่ มากกว่าเมืองที่อยู่นอกเหนือพื้นที่
Facebook ออกประกาศการเปลี่ยนแปลงสำคัญใน News Feed สองอย่าง เรื่องแรกคือผลการทดสอบระบบ News Feed ใหม่ ที่แยกแถบออกต่างหากขึ้นมา เพื่อแยกโพสต์เพจกับโพสต์เพื่อนออกจากกัน ซึ่งทดลองใน 6 ประเทศ โดยล่าสุด Facebook ประกาศยุติการทดสอบนี้แล้ว
Facebook บอกว่าคำตอบที่ได้จากการทดสอบนี้คือ ผู้ใช้งานไม่ต้องการให้มีการแยก Feed, ความพึงพอใจในการใช้งานลดลง และไม่ได้ช่วยให้การเห็นโพสต์เพื่อนและครอบครัวดีมากขึ้น ซึ่ง Facebook บอกว่าการปรับที่ News Feed รวม ให้เห็นโพสต์เพจน้อยลง โพสต์เพื่อนมากขึ้น เป็นทางออกที่ดีกว่า
Facebook ปรับอัลกอริทึม คนจะเห็นโพสต์เพื่อนมากกว่าโพสต์เพจ ข่าวสาร นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าเดี๋ยวนี้เราเห็นเรื่องราวของเพื่อนๆ เยอะขึ้น แต่ผู้ใช้ Facebook หลายคนอาจสงสัย(ไปจนถึงหงุดหงิด) ว่าทำไมโพสต์เดิมๆ ของเพื่อนยังอยู่บน News Feed ซ้ำไปซ้ำมาหลายวัน ล่าสุดมีคนทดลองแล้วพบว่า engagement นี่เอง เป็นกุญแจสำคัญให้โพสต์เดิมๆ ยังอยู่กับเรา ไม่ยอมไปไหน
อาจมีผู้ใช้ Facebook หลายรายสังเกตเห็นมาก่อนหน้านี้ว่า Facebook มีฟีเจอร์ใหม่ โพสต์สเตตัสเป็น to do list หรือเป้าหมายที่จะทำในเรื่องต่างๆ ได้ เช่น ปีใหม่จะเป็นคนใหม่และจะทำในสิ่งต่อไปนี้ หรือ สถานที่ที่ต้องไปให้ได้ในปีนี้ เป็นต้น โดยผู้ใช้สามารถโพสต์ลิสต์ พร้อมด้วยพื้นหลังสีสดใสและตกแต่งด้วยอีโมจิ
ฟีเจอร์ Lists เปิดให้ใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุมทั่วโลก แต่ล่าสุดเข้าใจว่าใช้กันได้อย่างแพร่หลายแล้ว โดยเริ่มวันนี้ (14 ก.พ.) วันแรก
Folha de S. Paulo หนังสือพิมพ์รายใหญ่ในบราซิลหยุดเผยแพร่ข่าวลง Facebook หลัง Facebook ประกาศให้ความสำคัญกับโพสต์จากบุคคลมากขึ้น โดยทางหนังสือพิมพ์ระบุผ่านแถลงการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงของ Facebook จะเป็นการส่งเสริมการแพร่กระจายของข่าวปลอมมากขึ้น และลดความสำคัญของข่าวจากแหล่งข่าวจริงลงไป และข้อมูลปลอมที่ยังคงอยู่จะถูกพบเห็นชัดกว่าเดิม
หนังสือพิมพ์ Folha de S. Paulo ยังระบุด้วยว่าสัดส่วนของผู้อ่านที่เข้าถึงเนื้อหาผ่านทาง Facebook ลดลงเหลือ 24% ในเดือนธันวาคม จากที่ต้นปี 2017 มี 39%
Folha de S. Paulo เป็นหนังสือพิมพ์รายใหญ่ของประเทศบราซิล ก่อตั้งขึ้นในปี 1921 มีผู้ติดตามผ่าน Facebook 5.95 ล้านคน และประเทศบราซิลก็เป็นประเทศที่มีผู้ใช้ Facebook มากถึง 100 ล้านคน ติดอันดับ 5 ประเทศที่ผู้ใช้ Facebook มีการแอคทีฟมากที่สุด
Facebook ประกาศปรับปรุงวิธีวัดค่า Organic Reach ของเพจ มีผลตั้งแต่วันจันทร์นี้ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้ตัวเลขที่ออกมาสะท้อนความจริง มีความแม่นยำและใช้อ้างอิงได้ดีมากขึ้น โดยเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการปรับลดหรือเพิ่มการแสดง Reach ใดๆ
การวัด Organic Reach นั้น เดิมนับเมื่อโพสต์ที่ถูกโหลดเข้ามาบน News Feed ของผู้ใช้งาน ขณะที่ Paid Reach ที่ต้องเสียเงินจะนับเมื่อโพสต์ถูกมองเห็นในหน้าของผู้ใช้งาน ซึ่ง Facebook บอกว่าวิธีการวัดที่ไม่เหมือนกันนี้ ทำให้การตีความตัวเลขคลาดเคลื่อนได้ จึงปรับให้ Organic Reach ถูกนับเมื่อโพสต์ถูกมองเห็นเช่นเดียวกับ Paid Reach