การแข่งขัน eSport ของนักเรียนนักศึกษาในระดับอุดมศึกษากำลังจะกลับมาอีกครั้ง กับการแข่งขัน U-League 2018 ซึ่งปีนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดงานแข่ง
พร้อมกันนี้ก็มีการประกาศชื่อเกมที่จะใช้สำหรับการแข่งขัน U-League 2018 ออกมาแล้ว นั่นคือ CS:GO และ Dota 2 ส่วนรายละเอียดวันและรูปแบบการแข่งขัน ตลอดจนยอดเงินรางวัลนั้นจะประกาศเพิ่มเติมภายหลัง
University of Helsinki มหาวิทยาลัยในประเทศฟินแลนด์ได้เปิดคอร์สสอน AI เบื้องต้นในชื่อว่า Elements of AI ฟรีสำหรับคนทั่วไป
คอร์สจาก University of Helsinki จะเน้นสอนในพื้นฐาน โดยเริ่มต้นจากเบสิกที่อธิบายว่า AI คืออะไรและสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไร รวมถึงอธิบายว่า AI ถูกใช้งานจริงอย่างไรแล้วบ้าง และส่วนถัดมาจะเริ่มอธิบายถึง machine learning และ neural network ซึ่งคอร์สนี้ใช้เวลาประมาณ 30 ชั่วโมงในการเรียน และหากเป็นคนฟินแลนด์เมื่อเรียนจบคอร์สก็จะได้เครดิตผ่าน Open University ส่วนคนทั่วไปก็สามารถใส่ใบรับรองการจบคอร์สไว้ใน LinkedIn ได้
Roxanne Varza ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยสตาร์ทอัพ Station F ที่ปารีสเผยว่า ทางมหาวิทยาลัยเตรียมเปิดสอนในเดือนเมษายนปี 2017 หลังจากก่อสร้างกันมาสองปี งบลงทุนสร้าง 265 ล้านดอลลาร์ สามารถบ่มเพาะสตาร์ทอัพได้ 1,000 แห่ง
ตัวมหาวิทยาลัยสร้างที่สถานีรถไฟเก่า มีพื้นที่ 34,000 ตารางเมตร มีสามชั้น จะประกอบด้วยสามส่วนคือ ส่วนห้องเรียน มีโต๊ะเรียน 3,000 โต๊ะ พื้นที่จัดอีเวนท์ และพื้นที่ประจัดประชุม นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารและบาร์เปิดตลอด 24 ชั่วโมงและยังจะสร้างตึกเพิ่มอีกสองตึกเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของนักศึกษาได้ประมาณ 600 คนด้วย
คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม สร้างห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โดยใช้คอมพิวเตอร์เกมมิ่ง Acer Predator G3 ถึง 80 เครื่อง เพื่อให้นักศึกษาฝึกฝนการใช้งาน ตอบรับนโยบาย Thailand 4.0 โดยครอบคลุม 4 สาขาวิชาคือ ดิจิทัลอาร์ต ออกแบบกราฟิก แอนิเมชั่น-วิชวลเอฟเฟกต์ และ ทำเกม ถือเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียที่มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เกมมิ่งจาก Acer
การแข่งขัน eSport แบบเป็นทางการในระดับอุดมศึกษาภายใต้ชื่อการแข่งขัน U-League ซึ่งได้มีการประกาศชื่อ 16 สถาบันที่ตอบรับเข้าร่วมการแข่งขันในปีนี้ ได้ประกาศกำหนดการจัดการแข่งขันในรอบต่างๆ พร้อมเปิดรับสมัครทีมนักศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเข้าร่วมคัดเลือกในการแข่งขันรอบ Open Qualifier ด้วย
การแข่งขัน U-League ในปีนี้ซึ่งจะแข่งกันด้วยเกม DotA 2 จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 รอบหลักๆ คือรอบคัดเลือกรอบแรก, รอบคัดเลือกรอบที่ 2, รอบ Main Event และรอบ Grand Final มีรายละเอียดดังนี้
จากความคิดริเริ่มของ KMITL E-Sports ซึ่งเป็นชมรม eSport ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่ต้องการจะจัดการแข่งขัน U-League โดยเชิญชวนตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งปีนี้จะแข่งเกม Dota 2 ตอนนี้ก็ได้ประกาศรายชื่อสถาบัน 16 แห่งที่ส่งตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันนี้แล้ว
รายชื่อ 16 สถาบันมีดังนี้
วงการ eSport ในบ้านเราน่าจะเริ่มคึกคักยิ่งขึ้น เมื่อกำลังจะมีการแข่งขัน U-League หรือการแข่งขันเกมคอมพิวเตอร์ของเหล่าตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษาในไทย ซึ่งในปีแรกที่จะจัด U-League ขึ้นนี้ ทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจะรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเกม Dota 2 โดยมีทีมจาก 16 สถาบันเข้าร่วมชิงชัยกัน
การจัดการแข่งขัน U-League นี้เป็นการริเริ่มความคิดโดยชมรม "KMITL E-Sports" ที่อยากให้มีกิจกรรมการแข่งขัน eSport อย่างเป็นทางการในระดับนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในแง่หนึ่งก็เพื่อกระตุ้นวงการ eSport เพื่อให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากเปิดรับสมัครทีมเข้าร่วมแข่งขันผ่านทางหน้าเพจของชมรมตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม มาจนถึงเส้นตายสิ้นเดือน 31 พฤษภาคม ตอนนี้ก็ได้ทีมตอบรับเข้าแข่งขันครบ 16 ทีมแล้ว
สำหรับรายชื่อทีมทั้งหมดพร้อมทั้งกติกาการแข่งขันนั้นทางชมรม "KMITL E-Sports" จะประกาศต่อไปภายหลัง
ที่มา - เพจ KMITL E-Sports
การเติบโตของ FinTech ในประเทศสิงคโปร์ ทำให้มีความต้องการนักศึกษาที่มีปริญญาตรีในด้านคอมพิวเตอร์และในด้านธุรกิจพร้อมๆ กัน จึงทำให้ความต้องการนักศึกษาจบใหม่นั้นมีมาก เลยทำให้เงินเดือนขึ้นตาม
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่สถาบันการศึกษาจะมีมาตรการสำหรับตรวจสุขภาพประจำปีของนักศึกษาภายใน แต่สำหรับระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยโอรัล โรเบิร์ตส ในรัฐโอคลาโฮมาอาจจะดูล้ำไปอีกระดับด้วยการให้นักศึกษาใหม่ต้องใช้ Fitbit เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดังกล่าวแล้ว
ระเบียบใหม่นี้ถูกรายงานโดยสำนักข่าว Washington Post โดยระบุว่ามหาวิทยาลัยโอรัล โรเบิร์ตส จะให้นักศึกษาใหม่กว่าพันคนสวมสายรัดข้อมือ Fitbit Charge HR เพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพ และส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย (ไม่มีข้อมูลส่วนตัว) ซึ่งตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นักศึกษาใหม่จะต้องเดินอย่างน้อย 10,000 ก้าวต่อวัน ออกกำลังกายหนักอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยสถิติเหล่านี้จะมีผลกับเกรดของวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
ถึงแม้ในบ้านเราใครหลายคนอาจจะมองว่าเด็กติดเกมไม่มีอนาคต แต่ในประเทศอย่างเกาหลีใต้นั้น การเชี่ยวชาญด้านการเล่นเกมคอมพิวเตอร์อาจเปิดโอกาสสู่การเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
เว็บข่าว PGR21 รายงานว่า Chung-Ang University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 1 ใน 10 สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของเกาหลีใต้ เตรียมจะเปิดรับสมัครนักเล่นเกมคอมพิวเตอร์เข้าศึกษาในสาขา eSports ของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยจะเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป
ทั้งนี้คอเกมที่จะเข้ารับการศึกษาในสาขาดังกล่าว จะต้องผ่านการคัดเลือกและพิจารณาคุณสมบัติด้านอื่นๆ ประกอบด้วยเช่นกัน
มีรายงานจากเว็บไซต์เด็กดีว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงของการยื่นเลือกอันดับคณะในมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าศึกษาต่อของส่วนกลางหรือที่เรียกกันว่าแอดมิชชั่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เกิดเหตุการณ์สวมรอยแก้ไขอันดับคณะที่เลือกแทนคนอื่น โดยเป็นการแก้ไขเปลี่ยนคณะที่เลือกให้เป็นคณะที่มีสถิติคะแนนสอบเข้าในอดีตสูง เพื่อหวังว่าบุคคลนั้นจะไม่ผ่านการคัดเลือก (เข้าใจว่าคนแถวนี้ คงพอเข้าใจเรื่องนี้นะ)
ในเมื่อสินค้าในตลาดหลาย ๆ อย่างรวมไปถึงแอพบนโทรศัพท์มือถือเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ลองใช้ก่อนซื้อ ทำไมสิ่งที่สำคัญและราคาสูงอย่างการศึกษาจะทำแบบนี้ไม่ได้? มหาวิทยาลัย Arizona State และสถาบันอื่น ๆ ในสหรัฐอีกกว่า 39 กำลังรวมตัวกันเปิด Academic Partnership Program คอร์สสอนออนไลน์สำหรับนักเรียนปีแรกฟรี โดยคอร์สเหล่านี้จะนับเป็นหน่วยกิจที่สามารถใช้ได้จริงในมหาวิทยาลัยอยู่ใน Partnership นี้
หลังจากนั้น ถ้านักเรียนสนใจที่จะเรียนต่อจริงที่มหาวิทยาลัยที่ต้องการ นักเรียนสามารถสมัครเรียนต่อได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เพื่อเรียนในคอร์สนั้น ๆ อย่างเต็มที่
เมื่อวานนี้ (28 มิถุนายน 2552) ชุมนุมนิสิตวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.เกษตร จัดงาน ComKUCamp ซึ่งก็เป็น Barcamp ฉบับมหาวิทยาลัยครับ
จุดเริ่มต้นของงานนี้เกิดจากความคิดที่ว่า Barcamp เป็นลักษณะงานที่ดีมากสำหรับการศึกษา แต่คนที่สนใจ Barcamp ในภาควิชาฯ มีน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนทั้งหมด สาเหตุหลักๆ ก็คือรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง, ไปแล้วไม่รู้จะพูดอะไร, พูดไม่ได้, ฟังไม่รู้เรื่อง, ... ก็เลยจัด Barcamp ในภาควิชาฯ ซะเลย. การจัด Barcamp ภายในภาควิชา ซึ่งก็คนฟังก็เป็นเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ และอาจารย์ เจอหน้ากันประจำอยู่แล้ว น่าจะลดช่องว่างระหว่างคนพูดและคนฟัง และมีคนพูดมากขึ้นได้
จากรายงานที่น่าสนใจโดย Deseret News ศาสตราจารย์ David Wiley แห่งมหาวิทยาลัยบริคแคมยัง (Brigham Young University, BYU) กล่าวว่าเมื่อนักเรียนเริ่มเรียนด้วยการฟังเลกเชอร์จากไอพ็อด ,เลกเชอร์โน้ตและสไลด์ก็มีให้ออนไลน์อยู่แล้ว และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใช้เนื้อหากับรายละเอียดของคอร์สคล้าย ๆ กัน ว่าง่าย ๆ เนื้อหาและสิ่งที่ต้องการจะเรียนรู้อยู่บนอินเทอร์เน็ตหมดแล้ว สามารถบอกได้เลยว่า การไปเข้าห้องเรียนและเลกเชอร์ที่มหาวิทยาลัยนั้นจะต้องกลายเป็นสิ่งล้าสมัยก่อนปี 2020 แน่นอน
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้แถลงข่าวความร่วมมือกับทางทรูเพื่อเตรียมนำ iPhone 3G มาใช้งานในการเรียนการสอนระดับปริญญาโทภายใต้โครงการ m-Learning
ยังไม่มีความชัดเจนว่าโครงการ m-Learning นั้นจะให้บริการอะไรบ้าง โดยเบื้องต้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ระบุถึงเหตุผลที่เลือก iPhone 3G ว่าเป็นเพราะจอขนาดใหญ่ และระบบสัมผัสเสมือนจริง (เข้าใจว่าหมายถึงจอสัมผัส)
ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยแรกๆ ที่เปิดให้บริการการเรียนผ่าน iPhone คือมหาวิทยาลัย Abilene Christian
ปล. ผมว่าน่าสนใจมากคือเว็บของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเอง หากดูผ่าน iPhone (ดูได้ใน read more ครับ)
ว่ากันว่าช่วงเศรฐกิจตกต่ำจะเป็นยุคทองของการศึกษา ภายใต้ข่าวปรับลดคนงานและข่าวร้ายต่างๆ แต่มหาลัยกลับมีคนสมัครเรียนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาก็ต้องมีค่าใช้จ่ายตามมา มหาลัยที่มีชื่อเสียงหรือหลักสูตรดีๆ บางทีก็มีค่าเทอมที่แพงตามความนิยม (แต่บางทีก็ไม่)
สำหรับการศึกษาต่อต่างประเทศของคนไทย ประเทศยอดนิยมก็คงหนีไม่พ้นอเมริกา, อังกฤษ และออสเตรเลีย ทั้งนี้ทาง Forbes ได้จัดอันดับมหาลัยที่มีค่าเรียน (Tuition & Fees) แพงที่สุดในโลกมา 10 อันดับ ดังนี้
มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) โชว์ผลงานการสร้างเครือข่ายกริดภายใต้ชื่อ TCG@NUS หรือชื่อเต็มว่า Tera-scale Campus Grid สำหรับใช้ภายในมหาวิทยาลัย NUS โดยวัตถุประสงค์ของเครือข่าย TCG@NUS คือ การรวมพลังคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ใน NUS มาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จากการสำรวจล่าสุดของ Alloy Media and Market พบว่าเด็กใหม่ที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาในปีนี้มีอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ มากกว่ารุ่นที่เรียนจบมหาวิทยาลัยในปีนี้มาก
จากการสำรวจ อุปกรณ์ไฮเทคต่อไปนี้ถือว่าเป็นสิ่ง "ธรรมดามาก" เช่น โทรศัพท์มือถือ, กล้องถ่ายรูปดิจิตอล, แล็ปท็อปและไอพอต (หรือเครื่องเล่น MP3 อื่น ๆ)
สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมที่เห็นได้ชัดคือกว่า 93% มีโทรศัพท์มือถือใช้ในขณะที่รุ่นที่สี่ปีที่แล้วมีเพียง 78% นอกจากนี้แล้วนักเรียนส่วนใหญ่ประมาณ 64% มีกล้องถ่ายรูปเป็นของตัวเอง มากกว่าสี่ปีที่แล้วเป็นเท่าตัว