ในเว็บนี้คงพอได้ยินข่าวจากงานเปิดตัว Android จากลอนดอนว่าแนวโน้มจะนำมาลงเครื่อง x86 ได้ในอนาคต แต่วันนี้เองทีมแฮกเกอร์จาก VentureBeat ได้ประกาศว่าพวกเขาสามารถติดตั้ง Android ลงไปยังเครื่อง Eee PC 1000H สำเร็จแล้ว หลังการดัดแปลงโค้ดเป็นเวลาสี่ชั่วโมง
เรื่องที่น่าสนใจคือโค้ดของตัว Android ที่ปล่อยออกมานั้นเตรียมการสำหรับเครื่อง x86 ไว้ค่อนข้างมากแล้ว ตัวเคอร์เนลเองมีตัวแปล "policy" สำหรับเครื่อง MID ซึ่งก็คือเครื่อง x86 นั่นเอง ส่วนโค้ดส่วนอื่นๆ นั้นค่อนข้างเป็นกลางต่อสถาปัตยกรรม
ทีมงาน VentureBeat ลง Android โดยสามารถใช้อุปกรณ์ทั่วไปได้ค่อนข้างสมบูรณ์ทั้งจอภาพที่ยืดเต็มจอได้, แลนไร้สายที่ทำงานถูกต้อง, และการ์ดเสียงเองก็ทำงานได้สมบูรณ์
ความง่ายของการพอร์ตนี้ทำให้คิดได้ว่าภายในกูเกิลเองก็น่าจะมีการทดสอบตัว Android กับ x86 อยู่ภายใน และแผนการนำ Android ไปลงเครื่อง MID คงอยู่ไม่ไกลนัก
ปัญหาสำคัญคือแล้วจะวางขายจริงเมื่อใหร่ เรื่องนี้ทาง VentureBeat เดาไว้ว่าน่าจะประมาณปี 2010 เราคงได้เห็น Android เริ่มบุกโลก x86 ที่เป็นพื้นที่ดั้งเดิมของไมโครซอฟท์แล้วจริงๆ
ที่มา - VentureBeat
Comments
กะจะเอาทุกอย่างจริงๆ
และแล้ว google ก็ออก OS
หึๆๆ
NERD GOD
เอามาลง EEE900a
http://tomazzu.exteen.com
ใครบอกจะบอกถึงข้อดีของ Andorid ได้ไหมครับ
ถ้ามันมาอยู่บน netbook นี่มันจะมีข้อดีอะไรบ้างอ่ะครับ
ผมไม่แน่ใจว่าเป็นข้อดีรึเปล่านะครับ เอาเป็นว่าเป็นข้อ "ได้เปรียบ" แล้วกัน
แต่ที่ไม่ชอบที่สุดคือ ข้อมูลของคุณทุกอย่างจะไปผูกกับกูเกิล...
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
ผมหวังว่าถ้ามันลง Netbook ได้นี่น่าจะทำให้มันบูทได้เร็วขึ้นเหมือนระบบโทรศัพท์นะครับ
เท่าที่ผมจับๆ ดูเกรงว่า Interface ของ Android มันค่อนข้างต่างจากพวก Desktop Linux นะครับ สงสัยถ้าสอนพ่อผมจะมึนกว่าเดิมแน่ 555
___________pawinpawin
หวังว่าต่อไปคงเป็น Set top box แน่ๆ
x86 ครองโลกไปแล้วจริงๆ
CMDEVHUB
เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ
โอ้ว มันจะกลายเป็น OS ที่เป็น Open Source ดังเช่น Linux มีระบบ Touch Screen และความหรูหราดั่งเช่น MAC OSX และที่สำคัญ มันจะมาแทน MS Windows
ใครบอกจะบอกถึงข้อดีของ Andorid ได้ไหมครับ ถ้ามันมาอยู่บน netbook นี่มันจะมีข้อดีอะไรบ้างอ่ะครับ <== กลัวว่ามันจะทำให้ Netbook โทรศัพท์ได้นี่ล่ะครับ (เพราะโดยทั่วไป Netbook บางรุ่นก็ใส่ซิมได้อยู่แล้วด้วยสิ)
ผมก็ใช้ 1000H เมื่อไหร่จะมาให้ลองหนอ ผมก็คิดว่าถ้าเป็น os ที่กินทรัยากรน้อยนี่ผมก็สนใจนะ เพราะ ms เริ่มจะใช้ resource มากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่ os จะเก่งขึ้นและใช้ resource น้อยลง จะได้ทำให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สามารถแข่งกันเรื่องการประหยัดพลังงาน
มากขึ้น อยากเล่น netbook ได้ซัก 30 ชม.อะไรประมาณนี้นะครับ อิอิ
โห..ถ้าโน๊ตบุ๊คใช้โทรศัพท์ได้ก็ดีสิครับ...555
Linux ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ มีโค้ดคุณภาพกลับไปต้นน้ำอีกเพียบ~
ไหนจะ App ที่ Port ไปใช้ได้อีก
ผมว่า OS แต่ละอย่างก็เหมาะกับ Devices แต่ละอย่างครับ การที่ Andriod ลงใน x86 ได้ก็แสดงให้เห็นว่า OS นี้สามารถเข้ากันได้กับ Platform อื่นๆก็เท่านั้นครับ ผมคิดว่าไม่รุ่งกับพวก x86 ครับ
ดูกันต่อไป หึหึ สงครามนี้ยังอีกยาวไกล
:→♀MOSS♂←:A LITTLE PLANT ON THE ROCK.
ผมขอเสริมหน่อยนึงด้วยมุมมองจาก source code ครับ (ขออนุญาตไม่ reply แยก)
อย่างที่บทความต้นเรื่องบอกไว้ เป้าหมายของ Android คือกลุ่มเครื่องตระกูล embedded ซึ่งตามสถาปัตยกรรมแล้ว กลุ่ม PC ปัจจุบันที่มากกว่า netbook คงไม่เข้าพวก แต่แน่นอนว่าเป็น MID, ultra portable และ tablet (ซึ่งใช้ความสามารถของจอสัมผัสได้เต็มที่)
เรื่องการผูกกับ Google นั้นจริง ๆ ไม่ได้ผูกนะครับ ตัว Android เปล่า ๆ ไม่ได้มีแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานร่วมกับ Google ถึงขนาดผูกติด แต่ในกรณีของ G1 นั่นคือมีการแยก branch แล้วเสริมตัวอื่น ๆ เข้าไปเพิ่ม เช่น GMail client และอื่น ๆ
เรื่องการจะเอาแอพพลิเคชั่นไปใช้ที่อื่นค่อนข้างหมดสิทธิ์ เพราะแอพพลิเคชั่นของ Android รันบน DalvikVM และใช้ UI ที่มีเฉพาะอยู่ใน Android อีกอย่าง Google น่าจะเน้นการลงโปรแกรมจาก Android Market ซึ่งมี deployment model เฉพาะอย่าง รวมถึง security model ที่น่าสนใจด้วย เช่นแอพพลิเคชั่น 1 ตัวมี user เฉพาะ และทำงานใน sandbox เป็นต้น
ผมไม่คิดว่ามันจะมาแทน Mac OSX, Windows หรือแม้แต่ Desktop Linux distro เช่น Ubuntu เพราะโครงสร้างปัจจุบันของ Android ออกแบบไว้ใช้เฉพาะอย่างพอสมควร ยกตัวอย่างก็เช่นระบบฟอนต์ที่จำกัดอยู่ที่ฟอนต์สองตัวคือ DroidSans กับ DroidSerif เป็นต้น แต่ก็เป็นไปได้ในกรณีที่ตัวแอพพลิเคชั่นพกฟอนต์มาเอง
ระบบการแสดงผลออกแบบมาเป็น vector และมีชั้นของ abstract ที่สลับใช้ software หรือ hardware ในการ render ได้ ผมคิดว่า set-top-box น่าจะเป็นอีกเป้าหมายนึงครับ ดีไม่ดีอาจจะเลยไปถึง game console
ประเด็นสุดท้ายที่ผมคิดว่าค่อนข้างสำคัญคือ license เพราะแอพพลิเคชั่นของ Android นั้นทำงานบน DalvikVM ทำให้ระดับชั้นแอพพลิเคชั่นแยก license ได้ และไม่ GPL (รวมทั้ง libc ที่ Google เขียนขึ้นเอง - แต่ในขณะเดียวกันระดับ kernel ก็เป็น GPL และเปิด source ปกติ) ทำให้ vendor สามารถเอา Android ไปใช้ได้ในรูปแบบที่ค่อนข้างต่างกับ Linux ปกติ และผมมองว่านี่คือจุดแข็งครับ
แอนดรอยด์มีโมโนมั้ยครับ >__>
สุดยอมจริงๆครับ ผมยอมรับจริงๆกับพวกแฮกเกอร์ ใช้เวลาแค่สี่ชั่วโมงเอง นับถือๆ ถ้าเป็นผมคงจะสี่วัน 555++
Phuket Hotels | Phuket Tour