Tags:
Node Thumbnail

RIAA (สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา) และ MPAA (สมาคมผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ของสหรัฐฯ) ได้ประกาศความร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ในสหรัฐ​ ซึ่งได้แก่ AT&T, Verizon, Comcast, Time Warner และ Cablevision เพื่อสร้างระบบแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อผู้ใช้กำลังดาวน์โหลดเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ

เมื่อระบบพบการละเมิดลิขสิทธิจากผู้ใช้ ระบบจะส่งอีเมลแจ้งเตือนไปถึงผู้ใช้โดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นผู้ให้บริการสามารถที่จะเลือกปรับลดความเร็วอินเทอร์เน็ต หรือ redirect หน้าเว็บไปยังเว็บอื่นจนกว่าผู้ใช้จะติดต่อกลับไปหาผู้ให้บริการ แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในยุโรปหลาย ๆ ประเทศก็คือผู้ให้บริการในสหรัฐจะไม่ตัดอินเทอร์เน็ตผู้ใช้

สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในสหรัฐยังเชื่อว่า หากผู้ใช้ทราบว่าแอคเคาท์ของเขาถูกนำไปใช้ในการละเมิดลิขสิทธิ ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้เหล่านี้จะเลิกละเมิดหรือหาทางแก้ไขทันที ในขณะที่กลุ่มนักวิชาการด้านสิทธิเสรีภาพและเทคโนโลยีได้ออกมากล่าวว่าสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดคือการที่กลุ่มผู้ให้บริการเลือกที่จะดำเนินการก่อนโดยไม่ได้มีคำสั่งจากศาล

ที่มา - Reuters

Get latest news from Blognone

Comments

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 9 July 2011 - 00:04 #308810
zerocool's picture

+1


That is the way things are.

By: tonkung
Windows Phone
on 9 July 2011 - 00:12 #308820

ถ้ามาใช้กับประเทศไทยล่ัะก็สนุกน่าดู

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 9 July 2011 - 00:28 #308829 Reply to:308820
put4558350's picture

เริมที่พันธิปจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่ลูกค้า isp ร่วมใจกัลดสปีดเน็ตลง

นายกที่ให้กดหมายผ่านก็จะไม่ใด้เก้าอี้ในสมัยหน้า คนที่จะมายกเลิกก็จะใด้เก้าอี้ไปแทน


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: mrseven
AndroidUbuntu
on 9 July 2011 - 00:31 #308830 Reply to:308820

Call Center แต่ละค่ายก็คงรับบทหนักขึ้น เพราะลูกค้าโทรเข้าไปไม่ขาดสาย

By: illusion
ContributorAndroid
on 9 July 2011 - 00:51 #308832
illusion's picture

ว่าแต่ ค่ายเพลง/ภาพยนตร์ กับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มีผลประโยชน์ซึ่งกันและกันด้วยหรือครับ?

กำลังสงสัยอยู่นิดตรงประเด็นที่ว่า ถ้ามันมีผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน อย่าง Apple iTunes ที่ได้ค่าหัวคิวไปตรงๆ กับค่ายเพลงที่ต้องการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ต่างร่วมมือกันป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ทำให้ iOS เลยเป็นอย่างที่เห็นกับการทำระบบให้ไม่เอื้อต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ อันนี้เป็นตัวอย่างนะครับ

แต่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่น่ามีผลประโยชน์ใดๆ กับค่ายเพลง/ภาพยนตร์ การที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ แม้อาจจะมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในเรื่องการใช้ bandwidth บ้าง แต่ไม่น่าเสียผลประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญถึงขนาดออกมาร่วมมือกันกับค่ายเพลง/ภาพยนตร์ในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ แถมอาจมีผลเสียต่อการทำตลาดด้วยซ้ำที่ลูกค้าอาจจะหนีไป ISP รายอื่นๆ ที่ไม่มีการปรับลดความเร็วอินเทอร์เน็ตลงแทน (อาจเป็นจุดขายของ ISP รายอื่นๆ ได้ด้วยซ้ำ ...คือเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องยอมรับว่าในอเมริกามันก็มีอยู่พอประมาณเหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะเมืองไทย)

เลยสงสัยว่าค่ายเพลงมีการ "จ่าย" ให้ ISP ด้วยหรือเปล่า ซึ่งถ้าจริงก็ต้องมาคุยกันต่อว่าลูกค้าจ่ายให้ ISP ในราคาเต็มเหมือนกัน จุดความเหมาะสมอยู่ที่ตรงไหนอย่างไร

ไม่ได้สนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์นะครับ แต่เป็นประเด็นที่ชวนให้คิดครับ

By: bongikairu
ContributoriPhone
on 9 July 2011 - 00:57 #308834 Reply to:308832

ส่วนตัวเข้าใจว่า Bandwidth จำนวนมากถูกใช้ไปกับการดาวน์โหลดของละเมิดลิขสิทธิ์หน่ะครับ แต่คงต้องหาตัวเลขมาดูอีกที

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 9 July 2011 - 01:38 #308843 Reply to:308832
put4558350's picture

ใน USA เจ้าของสายโทรศัพท์สามารถกันไม่ให้รายเล็กเข้าไปทำตลาดใด้ (เช่นไม่ให้แชร์สายโทรศัพท์ หรือ ไม่ให้ไช้เสา) รวมถึงค่ายใหญ่ตกลงแยกพื้นที่กัน เลยเป็นการผูกขาดไปในตัว เมื่อไม่มีการแข่งขันลูกค้าเลยต้องง้อ ISP ชึ่งเป็นปัญหาของ USA ... ชึ่งไม่มีในที่อื่น

ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า ISP จะตัดเน็ตลูกค้าตามใจค่ายเพลงด้วยช้ำ แต่ก็โดนต่อต้านมากจนต้องยกเลิกไป

ครั้งนี้เลยแอบทำเงียบๆ ปัญหาคือการปรับลดความเร็วอินเทอร์เน็ต หรือ redirect หน้าเว็บไปยังเว็บอื่นน่าจะโดนต่อต้าน (เช่นเดิม) นอกจากนั้น การที่รู้ว่าโหลดอะไร แปลว่ามีการแอบดูการไช้งาน ชึ่งละเมิดความเป็นส่วนตัว และยังเป็นการลงโทศผู้ไช้บริการโดยไม่ผ่านศาล


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: wiwit on 9 July 2011 - 01:46 #308845 Reply to:308843

โอ้ว ขอบคุณครับ ได้ความรู้เยอะเลย สงสัยงานนี้ต้องดูกันยาวๆ

By: toandthen
WriterMEconomics
on 9 July 2011 - 02:36 #308857 Reply to:308832
toandthen's picture

มันไม่เกี่ยวกับ Bandwidth เลยสิครับ (อาจจะมองมุมมอง Technical มากไป)

ความจริงคือ ISP มักจะโดนค่ายเพลงฟ้อง ที่ปล่อยให้ลูกค้าตัวเองทำผิดกฎหมาย


@TonsTweetings

By: pines
Blackberry
on 9 July 2011 - 08:35 #308879 Reply to:308857

+1 ถ้าเป็นบ้านเราก็ย้ายไปลงทุน ISP แทน อิอ

By: LEVY
AndroidSymbianWindowsIn Love
on 9 July 2011 - 04:02 #308865
LEVY's picture

เท่าที่อ่านตรวจสอบแค่ตอนโหลดใช่ไหม มากกว่านั้นคงไม่ดีเนอะ ถ้างั้น ถ้า zip ใว้เปลี่ยนชื่อ จะรู้ได้ไงว่าผิดลิขสิทธิหรือเปล่า

By: Independencer
iPhoneSymbianIn Love
on 10 July 2011 - 19:15 #309420
Independencer's picture

ดีแล้ว!! เคารพ"ผู้สร้าง"ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยสร้างผลงานขึ้นมาบ้าง

แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะขึ้นราคาผลงานตนเองตามใจชอบ

แล้วยิ่งกว่านั้น ถึงยังไงก็ผิดต่อสิทธิเสรีภาพอยู่ดี ..จริงๆแล้ว คนเราจะทำอะไรกับเน็ตของผม มันก็เรื่องของเรานี่
ถ้าำงี้ คนใช้ก็มีสิทธิไม่จ่ายเงินคุณ เพราะคุณก็ทำผิดสัญญา

มาดูว่าใช้งานอะไรไป โหลดอะไรไปบ้าง มันไม่ต่างอะไรกับไปแอบถ่ายคลิปในส้วมหรอกนะ

By: Thaina
Windows
on 10 July 2011 - 19:38 #309422 Reply to:309420

ใช่ครับ

ISP มีอิสระที่จะออกข้อกำหนดเพิ่มเติม และถ้าผู้ใช้ไม่พอใจ ก็ไปหาเจ้าอื่นแทน

ถ้าไม่มีซักเจ้า ก็ต้องยอมทน

เพียงแต่รัฐบาลต้องไม่บังคับกับ ISP โดยไม่มีกฏหมายรองรับ แต่อาจมีนโยบายสนับสนุนได้