สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน หรือ MPAA รายงานตัวเลขของตลาดอุตสาหกรรมความบันเทิงในปี 2018 แตะตัวเลขสูงสุดคือ 96.8 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 9% จากปี 2017 โดยสตรีมมิ่งมีบทบาทสำคัญที่ช่วยดันตัวเลขให้เติบโตมากขึ้น โดยมีผู้ใช้บริการสตรีมมิ่งทั่วโลก 613 ล้านราย เพิ่มขึ้น 27% จากปี 2017
และยังถือเป็นคร้งแรกที่คนใช้บริการสตรีมมิ่งเยอะกว่าคนใช้เคเบิลทีวี โดยสตรีมมิ่งมีคนใช้งาน 613 ล้านราย แต่เคเบิลทีวียอดผู้ใช้งานลดลง 2% เหลือ 556 ล้านราย อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ทำเงินได้มากยังคงเป็นเคเบิลทีวีที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 6.2 พันล้านดอลลาร์ เป็น 118 พันล้านดอลลาร์ ทีวีดาวเทียมตามมาเป็นอันดับสอง และสตรีมมิ่งลำดับที่สาม
สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน หรือ MPAA ได้ออกรายงานอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของปี 2017 โดยมีตอนหนึ่งระบุว่า ภาพรวมรายได้จากการจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์ของอเมริกาและแคนาดาทรงตัว แต่พอแยกเป็นภาพยนตร์แบบดั้งเดิม กับภาพยนตร์ 3 มิติ พบว่าส่วนแบ่งภาพยนตร์ 3 มิตินั้น ต่ำที่สุดในรอบ 8 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งเป็นปีที่ Avatar ออกฉาย และเป็นภาพยนตร์ที่ปลุกกระแสการชมภาพยนตร์ 3 มิติได้อย่างดี
คอนเทนต์ 3 มิติ ยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทายในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ทั้งจากราคาที่ผู้ชมต้องจ่ายเพิ่มเติม, การต้องใส่แว่นขณะรับชม และข้อจำกัดอีกหลายอย่าง เมื่อปีที่แล้ว LG ก็เป็นผู้ผลิตโทรทัศน์ 3 มิติรายสุดท้ายที่ประกาศหยุดผลิตสินค้า
มีชายอเมริกันไม่ระบุชื่อคนหนึ่งสวมแว่น Google Glass ไปดูหนังเรื่อง Jack Ryan: Shadow Recruit กับภรรยาในรัฐโอไฮโอ
พนักงานของโรงหนังสงสัยว่าเขาอาจบันทึกวิดีโอ (ถ่ายหนังซูม) แบบละเมิดลิขสิทธิ์ ทางโรงหนังจึงแจ้งทีมงานของสมาคมภาพยนตร์อเมริกา (MPAA) ที่อยู่ในพื้นที่พอดี และตัวแทนของ MPAA ก็แจ้งกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐ (Homeland Security) ที่รับผิดชอบเรื่องนี้
จากนั้นชายคนนี้ถูกเชิญออกจากโรงกลางคันเพื่อสอบสวน โดยมีตำรวจ 5-10 นายเข้าร่วม ชายคนนี้แจ้งว่าโดนค้นโทรศัพท์ และถูกพาไปยังห้องสำนักงานเพื่อ "ให้สัมภาษณ์" (สอบสวนอย่างไม่เป็นทางการโดย FBI) ซึ่งเขาปฏิเสธว่าไม่ได้เปิดใช้ Google Glass ขณะอยู่ในโรง แค่สวมไว้เฉยๆ และปิดโทรศัพท์ทุกเครื่องก่อนเข้าโรง
เว็บไซต์ฝากไฟล์ชื่อดัง Hotfile ยอมตกลงยุติคดีนอกศาลกับสมาคมภาพยนต์อเมริกา (MPAA) ที่ฟ้อง Hotfile ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ตั้งแต่ปี 2011
ตามกำหนดการเดิม คดีนี้จะเริ่มไต่สวนกันในวันจันทร์หน้า 9 ธ.ค. แต่ในที่สุดก็ยอมชดเชยค่าเสียหาย 80 ล้านดอลลาร์ พร้อมสัญญาว่าจะใส่เทคโนโลยีตรวจจับไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์เข้ามาในระบบอย่างจริงจัง (เริ่มใส่มาตั้งแต่ปี 2011 หลังถูกฟ้อง)
ในคำฟ้องของ MPAA นั้นระบุว่าทดลองดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ จาก Hotfile และพบว่า 10% ของไฟล์เหล่านั้นเป็นหนังผิดลิขสิทธิ์ของสตูดิโอที่เป็นสมาชิก MPAA
ที่มา - Ars Technica
isoHunt เว็บค้นหาไฟล์ torrent ที่เปิดกิจการมานานถึงสิบปีถึงจุดจบเมื่อ Gary Fung เจ้าของบริษัท ตกลงกับทาง MPAA ที่ฟ้องร้องก่อนจะขึ้นศาลในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยข้อตกลงคือการปิดเว็บอย่างถาวรและจ่ายค่าเสียหาย 110 ล้านดอลลาร์
ในความเป็นจริง ค่าเสียหายที่ MPAA ได้รับน่าจะไม่ถึงที่ตกลงกัน เพราะ isoHunt จะล้มละลายไปเสียก่อน แต่ทาง MPAA ก็ยังแสดงความยินดีที่ตกลงค่าเสียหายได้สูง เพราะจะทำให้บริษัทอื่นๆ ที่คิดจะให้บริการแบบเดียวกับ isoHunt กลัวไปเอง (ถ้าได้กำไรไม่ถึงร้อยล้านก็ไม่คุ้มแน่นอน)
หลังจากเว็บฝากไฟล์ชื่อดังอย่าง Megaupload ถูกปิดไป วงการเว็บไซต์ฝากไฟล์ก็เข้าสู่ช่วงวิกฤติ (ส่วนมากแค่ไหนต้องลองดูจากแท็ก Megaupload) และล่าสุดสมาชิกในสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (MPAA) ได้ออกมาพูดถึงประเด็นนี้ในงาน
RIAA (สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา) และ MPAA (สมาคมผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ของสหรัฐฯ) ได้ประกาศความร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ในสหรัฐ ซึ่งได้แก่ AT&T, Verizon, Comcast, Time Warner และ Cablevision เพื่อสร้างระบบแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อผู้ใช้กำลังดาวน์โหลดเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ
เมื่อระบบพบการละเมิดลิขสิทธิจากผู้ใช้ ระบบจะส่งอีเมลแจ้งเตือนไปถึงผู้ใช้โดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นผู้ให้บริการสามารถที่จะเลือกปรับลดความเร็วอินเทอร์เน็ต หรือ redirect หน้าเว็บไปยังเว็บอื่นจนกว่าผู้ใช้จะติดต่อกลับไปหาผู้ให้บริการ แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในยุโรปหลาย ๆ ประเทศก็คือผู้ให้บริการในสหรัฐจะไม่ตัดอินเทอร์เน็ตผู้ใช้
คดีล่าสุดของทาง MPAA (สมาคมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอเมริกา) ได้ออกมากล่าวถึงคดีของนาย Jammie Thomas ที่ได้เปิดแชร์ไฟล์เพลงจำนวน 24 เพลงจนทางเจ้าหน้าที่ของทาง MPAA ได้มาดาวน์โหลดไปและใช้การดาวน์โหลดเป็นหลักฐานในการส่งฟ้อง
ปัญหาประการหนึ่งของคดีนี้คือทาง MPAA ไม่สามารถหาหลักฐานใดๆ มายืนยันได้ว่านาย Jamie ได้ส่งไฟล์ดังกล่าวใหักับคนอื่นๆ นอกจากเจ้าหน้าที่ของ MPAA เองหรือไม่ ในคำฟ้องของทาง MPAA เองจึงพยายามยืนยันว่าการเปิดให้ไฟล์เข้าถึงได้จากสาธารณะก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักฐานการกระทำความผิดในการละเมิดลิขสิทธิ์
หลังจากที่ฮอลลีวูดได้โทษการกระจายหนังละเมิดลิขสิทธิกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาตลอด Motion Picture Association of America ได้ออกมายอมรับผิดว่าตัวเลขที่ได้มาตอนแรกนั้นผิด
เมื่อปี 2005 MPAA นั้นได้เปิดเผยว่ากว่า 44 เปอร์เซ็นต์ของการสูญเสียรายได้ภายในประเทศจากการละเมิดลิขสิทธินั้น เกิดจากการดาวน์โหลดหนังโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่ได้ทำการดาวน์โหลดผ่านเน็ตเวิร์คของมหาวิทยาลัยที่มีความเร็วสูงอยู่แล้ว
ล่าสุด MPAA เปิดเผยว่าที่แท้จริงแล้ว นักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีส่วนในการทำให้สูญเสียรายได้แค่ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยตัวเลขเก่าเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ในการเก็บและประมวลผลข้อมูล