ใครที่ใช้ Spotify น่าจะคุ้นเคยกับ Genius ที่ป้อนเนื้อเพลงและรายละเอียดไปจนถึงเบื้องหลังของเพลงนั้นๆ โดยล่าสุด Genius กำลังมีปัญหากับ Google ที่โจมตีว่า Google คัดลอกเนื้อเพลงจาก Genius ไปแสดงในผลเสิร์ช
Wall Street Journal รายงานว่า Genius ได้ยื่นเรื่องนี้ไปยัง Google ตั้งแต่ปี 2017 แล้วพร้อมระบุว่าการนำเนื้อเพลงไปแสดงผลนั้นละเมิดข้อตกลงในการใช้งานของ Genius รวมถึงละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดด้วย
หลักฐานที่ Genius นำมายืนยันคือแพทเทิร์นการทำ apostrophe (เครื่องหมาย ') ที่มี 2 แบบคือแบบตรงและแบบเอียง ที่เรียงสลับกันไปตลอดเนื้อเพลง เมื่อนำเครื่องหมาย apostrophe มาเรียงกันตามลำดับและถอดออกมาเป็นรหัสมอร์ส (แบบตรงถอดเป็นจุด แบบเอียงถอดเป็นขีด) จะได้คำว่า Red-Handed (คาหนังคาเขา) ซึ่ง Genius บอกว่าพบว่า Google แสดงผลเนื้อเพลงที่มีแพทเทิร์นนี้กว่า 100 เพลง
ด้าน Google ชี้แจงว่าเนื้อเพลงที่แสดงในผลเสิร์ชได้รับอนุญาตจากพาร์ทเนอร์แล้วและ Google ไม่ได้เป็นคนคัดลอกมา พร้อมยืนยันว่าให้ความสำคัญกับสิทธิของเจ้าของเนื้อหา อย่างไรก็ตาม Google จะสืบสวนเรื่องนี้เพิ่มเติม และหากพบว่ามีพาร์ทเนอร์ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติที่ดีจะยกเลิกข้อตกลงทันที
ที่มา - WSJ
Comments
aphostrophe -> apostrophe
หลังนี่สิ่งๆที่ google แสดงขึ้นมาก็ทำให้ผมไม่ต้องกดเข้าเว็บหลักบ่อยเหมือนกันนะ
เช่นตรวจผลสลากฯ
??
มีอยู่สองแบบที่กูเกิ้ลแสดงผล แบบที่เป็นปัญหากับแบบที่มาพร้อมให้กดแปล แต่ก็แปลกอีกอย่างตรงที่ ถ้าเป็นแบบแปลได้ ผลจะไม่เหมือนกันกับลิ้งค์จากเว็ปแปลผ่านกูเกิ้ลทรานสเลท
อ่านข่าวแล้วรู้สึกถึงความ Brilliant ที่ซ่อนอยู่
มีอีกหลายเทคนิคเลยที่เคยเห็น เช่น space แรกของแต่ละย่อหน้าเว้นช่องไฟไม่เท่ากัน สำหรับหนังสือ PDF เพื่อ track ย้อนกลับไปว่าช่องไฟแบบนี้มาจาก user คนไหน gen ขึ้นมา
มีกระทั่งโค้ดตัวอย่างที่ใช้คำสมมติเป็นคำที่ track กลับไม่ได้ และอีกหลายวิธี
ยืนกรานปฏิเสธ และพร้อมสืบสวน แหมมมมถุยน้ำลายรัวๆเลย วิธีการตอบคำถามย้อนแย้งแบบนี้ยังใช้ได้ดีกับพวกขี้ลอกแหล่ะน้าาา
คาหนังคาเขาแบบนี้จะโต้แย้งอย่างไรดีล่ะ
That is the way things are.
ต้องโทษ LyricFind หรือเปล่า Google เริ่มนำเนื้อเพลงจาก LyricFind มาแสดงบนหน้าค้นหาและ Google Play Music