CERN เป็นหน่วยงานที่ใช้ซีพียูประสิทธิภาพสูงประมวลข้อมูลจำนวนมาก เมื่อเดือนที่แล้ว Liviu Vâlsan นักวิจัยใน CERN ก็นำเสนอรายงานการวัดประสิทธิภาพซีพียูสี่ตระกูล ได้แก่ IBM POWER 8 Turismo, Applied Micro X-Gene 1, Intel Atom Avoton C2750, และ Intel Xeon E3-1285L
ซีพียูทุกตัวเป็น 8 เธรดยกเว้น POWER 8 ที่มีถึง 32 เธรดใน 4 คอร์ เมื่อวัดประสิทธิภาพด้วยชุดทดสอบ HEP-SPEC06 พบว่าประสิทธิภาพแซงหน้าซีพียูทุกตัวเมื่อรันที่ 16 เธรดขึ้นไป แต่เมื่อรันด้วยชุดทดสอบ Geant 4 ที่เป็นซอฟต์แวร์จำลองการเดินทางของอนุภาค ประสิทธิภาพของ Xeon กลับดีกว่ามาก
ในแง่ของพลังงงาน POWER 8 แย่ที่สุดทั้งพลังงานเมื่อไม่ได้ใช้งาน และพลังงานเมื่อโหลดเต็ม ที่ดีที่สุดคือ Atom Avoton เมื่อคำนวณประสิทธิภาพจาก HEP-SPEC06 ต่อพลังงาน Atom Avoton ก็ยังเป็นที่หนึ่ง และตามมาด้วย Xeon E3
ใครที่ยังเชื่อว่า ARM ประหยัดพลังงาน (ในทุกกรณี) อาจจะต้องกลับมาดูข้อมูลอีกครั้ง
ที่มา - CNX Software, CERN
Comments
E3 ยังใช้ Hashwell นะยังไม่ใช่ตัวล่าสุดแต่การประมวลผลก็คงสู้ 32 เธรดไม่ได้ อะไรมันจะเยอะขนาดนั้น
แล้วตัวไหนคือ ARM ครับ ไม่เห็นบอก?
Applied Micro X-Gene 1
ปล. มีสี่ตัว น่าจะเดาออกไม่ยากมั้ง ค้น google ทีละตัวก็เจอ
+1 ผมเองอ่านแล้วก็เดาได้ว่าเป็นตัวนี้ครับ เพราะสามตัวที่เหลือมันไม่ใช่ ARM และถ้ายังไม่มั่นใจ ผมก็จะเสิร์ชกูเกิลเอา
ปล. อ่อ เพิ่งเห็นคำอธิบายในกราฟ อันนี้ชัดเลย
พลังการประมวลผลอันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับค่าไฟอันใหญ่ยิ่ง
แต่ปกติผมก็เข้าใจว่า ARM ดีกว่าแค่ตอนสถานะ Idle นะ ในสงคราม mobile เลยมีภาษีดีกว่า
ถ้า 100% นี่ Intel เด็ดกว่า
idle ของ X-Gene ก็ยังสูงกว่า Avoton ครับ
จริงๆต้องมองว่า X-Gene มันเป็นตัวสำหรับ Server ด้วยหล่ะครับ ซึ่งจะต่างจากสาย mobile ที่ config มาเพื่อ low power พอสมควร อย่างไรก็ตามตัว Atom เองก็มีหลายสายเช่นกัน
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
อู้วววว หลายเท่าเลย พลังของอินเทลมันน่ากลัวจริงๆ
ส่วนหลายสายนั่นผมลืมนึกไปเลยแฮะ
ตัว Moonshot ARM ยังเป็น 40nm อยู่ครับ ถ้าเป็น 22nm แบบ Avoton น่าจะ boost efficiency ได้ 25-50% ซึ่งก็ยังแย่อยู่ดี (Intel 32nm > 22nm efficiency เพิ่มประมาณ 15-25%)
ปล. ที่มาของ CERN น่าจะใช้อันนี้มากกว่านะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ถ้าสนใจดูอันนี้ประกอบด้วยก็ดีครับ
http://www.anandtech.com/show/8357/exploring-the-low-end-and-micro-server-platforms
ARM กับ POWER เป็น RISC ยังสู้ Intel ที่เป็น CISC ไม่ใด้จะบ้าตาย
แนะนำให้อ่านครับ
ตอนนี้มันไม่มีแล้วครับ RISC vs CISC มีแต่ Silvermount vs Haswell vs Cortex-A72 vs Cortex-A53 vs Cortex-A17 vs Krait vs Cyclone vs X-Gene vs Denver vs Power8 vs Puma vs Bulldozer
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เผื่อข้างบนจะ "ยาวไปไม่อ่าน" นะครับ
ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ไม่มีใคร "reduced" ชุดคำสั่งอีกต่อไปแล้ว ชุดคำสั่งเฉพาะทาง เช่นชุดคำสั่ง vector, SIMD ฯลฯ ไปจนถึงชุดคำสั่งเข้ารหัส ล้วนมีความซับซ้อนสูง เข้าใจแทบไม่ได้ ไม่ว่าจะ ARM, POWER หรือชุดคำสั่งใดๆ ชุดคำสั่งเหล่านี้หากไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้คอมไพล์เลอร์รุ่นใหม่ๆ รีดประสิทธิภาพได้อัตโนมัติ (เช่น GCC ที่ปรับการประมวลผล array เป็น SIMD ได้เอง) ก็มักจะออกแบบมาเพื่อให้ไลบรารีสามารถเรียกใช้ได้ง่าย เช่นคำสั่ง AES-NI ที่ใช้งานใน OpenSSL
ชุดคำสั่งที่เราเคยเรียกว่า complex อย่าง CISC ก็ไม่ได้ complex จริงอีกต่อไป x86 มีฮาร์ดแวร์แปลงคำสั่งเป็น micro code สามารถออปติไมซ์ลำดับคำสั่งย่อยที่แตกออกมาจากคำสั่งใหญ่ๆ ได้อย่างละเอียดนานหลายปีแล้ว (ตอนผมเรียนปริญญาโทเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เรื่องนี้อยู่ใน "หนังสือเรียน")
lewcpe.com, @wasonliw
Wikipedia