ESA (องค์การอวกาศแห่งยุโรป) ได้ส่งยาน Solar Orbiter ขึ้นไปสำรวจถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตั้งแต่ปี 2020 และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา ยาน Solar Orbiter ได้เคลื่อนที่เข้าในระยะที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดโดยมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เพียง 1 ใน 3 ของระยะทางจากดวงอาทิตย์มายังโลก
ในช่วงเวลาดังกล่าว ยาน Solar Orbiter ได้ใช้กล้องบันทึกภาพแบบ Extreme Ultraviolet Imager (EUI) ถ่ายวิดีโอที่ทำให้เราได้เห็นโคโรนาของดวงอาทิตย์ที่ชัดเจนที่สุดครั้งหนึ่ง
รัฐแคลิฟอร์เนีย ของอเมริกาได้ออกกฎระเบียบบังคับ ให้บ้านพักอาศัยที่ก่อสร้างใหม่ จะต้องติดตั้งแผงโซลาร์พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าภายในบ้าน มีผลตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นข้อบังคับหนึ่งตามแผนที่รัฐต้องการลดการปล่อยคาร์บอนลงให้ได้ 40% ภายในปี 2030
นักวิเคราะห์มองว่าประกาศของแคลิฟอร์เนียนี้จะทำให้แผงโซลาร์ ไม่ได้มีสถานะเป็นตัวเลือกในบ้าน แต่กลายมาเป็นของจำเป็นเทียบเท่ากับระบบท่อแก๊สหรือฮีทเตอร์ ซึ่งดีต่ออุตสาหกรรมผู้ผลิตแผงโซลาร์โดยรวม อย่างไรก็ตามมีข้อกังวลว่าประกาศนี้จะทำให้ต้นทุนสร้างบ้านในแคลิฟอร์เนียสูงขึ้นไปอีก
อังกฤษเป็นอีกประเทศที่จริงจังกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และต้องขอบคุณวันที่อากาศร้อนที่สุดของปีและมีเมฆน้อยที่ทำให้อังกฤษสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ คือผลิตได้ 8.75 กิกะวัตต์ ที่เวลาบ่ายโมง
ข้อมูลจาก National Grid Plc และมหาวิทยาลัย Sheffield ระบุว่าอากาศร้อนทำให้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 24% และตัวเลขล่าสุดนี้สามารถทำลายสถิติเดิมเมื่อเดือนที่แล้วที่ 8.49 กิกะวัตต์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาถือเป็นวันที่ร้อนที่สุดของอังกฤษ โดยอุณหภูมิสูง 28 องศาเซลเซียส ข้อมูลจาก Solar Trade Association ระบุว่าอังกฤษติดตั้งแผงโซลาร์ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 12.1 กิกะวัตต์ จ่ายไฟให้ได้ 3.8 ล้านครัวเรือน
นับวันราคาพลังงานทดแทนยิ่งถูกลง หลายประเทศแห่ลงทุนทำฟาร์มพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ กังหันลม และกังหันลมนอกชายฝั่ง โดยเฉพาะจีนที่คาดกันว่าจะเป็นผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ 36% ของโลก และพลังงานลม 40% ของโลกภายในไม่กี่ปี
รายงานพลังงานจาก the United Nations and Bloomberg New Energy Finance (BNEF) ประจำปี 2017 เผยว่าในปี 2016 ต้นทุนการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกลดลง 17% ต้นทุนพลังงานลมบนบกลดลง 18% และต้นทุนพลังงานกังหันลมนอกชายฝั่งลดลง 28%
ราคาต้นทุนไม่ได้เพิ่งมาลดเมื่อปีที่แล้ว แต่ลดลงมาได้หลายปีแล้ว ส่งผลให้พลังงานทดแทนดังกล่าวเป็นพลังงานราคาถูกสุดในตอนนี้ และไม่เพียงประเทศเจริญแล้วที่ลงทุน แต่ประเทศกำลังพัฒนาก็จะหันมาลงทุนพลังงานทดแทนด้วย
Tesla และ SolarCity เดินหน้าเปลี่ยนโลกนี้เข้าสู่ยุคพลังงานที่ยั่งยืนตามแผนที่ Elon Musk ซีอีโอของ Tesla เคยประกาศไว้ ด้วยการเปิดตัวแบตเตอรี่สำหรับบ้าน Tesla Powerwall 2 และหลังคาบ้านที่ผสานโซลาร์เซลล์ไว้ด้วยกันในชื่อ Solar Roof ที่ Universal Studio ในนคร Los Angeles
สำหรับแบตเตอรี่ Tesla Powerwall 2 ได้รับการออกแบบใหม่หมด โดยเปลี่ยนจากทรงโค้งเว้ามาเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียบๆ และบางลง แต่มีความจุมากขึ้นกว่าสองเท่าจากรุ่นเดิม และมีหม้อแปลงไฟกระแสตรงเป็นกระแสสลับมาในตัวเลย (รุ่นเดิมต้องติดตั้งแยกเป็นอีกชิ้น) โดย Tesla บอกว่า Powerwall 2 สามารถให้พลังงานแก่บ้านขนาด 4 ห้องนอนแบบเปิดไฟครบหมด พร้อมตู้เย็นและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ได้ 1 วันเต็มๆ
หน่วยงานวิจัย SLAC ของ Stanford เผยแพร่งานวิจัยการสร้างอุปกรณ์ฆ่าเชื้อในน้ำ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีจุดเด่นจากการใช้เพียงพลังงานแสงอาทิตย์ และจากการทดสอบใช้อุปกรณ์ดังกล่าวก็สามารถฆ่าเชื้อในน้ำได้เสร็จสิ้นในเวลาเพียง 20 นาที
การฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่เรารู้กันดีและคุ้นเคยที่สุดวิธีหนึ่งก็คือการต้มน้ำให้เดือด แต่ในบางพื้นที่เชื้อเพลิงสำหรับการสร้างความร้อนนั้นอาจหาได้ยากเกินกว่าจะใช้เพื่อการต้มน้ำได้ทุกเมื่อเช้าเย็น ในกรณีนี้วิธีธรรมชาติอย่างการฆ่าเชื้อโดยรังสีเหนือม่วงที่มาโดยตรงกับแสงแดดนั้นก็ทำได้เช่นกัน แต่โดยปกติแล้วต้องใช้เวลา 6-48 ชั่วโมงกว่าจะฆ่าเชื้อได้หมด นั่นเป็นเพราะการใช้รังสีเหนือม่วงที่มากับแสงแดดนั้นเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพียง 4% เท่านั้น
นักวิจัยจาก Harvard ได้ผลิตใบไม้เทียม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์และทำการเปลี่ยนรูปพลังงานเพื่อจัดเก็บในรูปของพลังงานทางเคมีสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของมันนั้นทำได้ดีกว่าอุปกรณ์งานวิจัยอื่นที่เคยมีมา และดีเหนือกว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติด้วย
ใบไม้เทียมที่ว่านี้ไม่เพียงแค่มีกระบวนการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ในรูปของพลังงานพันธะเคมีเท่านั้น แต่มันยังมีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมาใช้งาน เช่นเดียวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยตัวอุปกรณ์ใบไม้เทียมนี้ประกอบไปด้วยโถที่บรรจุน้ำและแบคทีเรีย Ralstonia eutropha ในน้ำที่มีแบคทีเรียนั้นมีแผ่นขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มไว้อยู่เชื่อมต่อกับแผงรับแสง
Apple ได้สิทธิบัตรเกี่ยวกับการประดิษฐ์แป้นสัมผัสสำหรับรองรับการป้อนคำสั่งของผู้ใช้งาน โดยการออกแบบใช้แผงตัวนำไฟฟ้าฝังไว้ใต้แป้นสัมผัส ซึ่งแผงตัวนำชุดเดียวกันนี้จะทำหน้าที่ดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนำไปหมุนเวียนเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวอุปกรณ์ด้วย
ประโยชน์สำคัญประการแรกที่ได้รับจากเทคโนโลยีนี้ คือสามารถลดขนาดของอุปกรณ์ให้เล็กลงได้ เนื่องจากพื้นที่รับการสั่งงานด้วยการสัมผัสและพื้นที่รับพลังงานแสงถูกนำมาซ้อนทับเป็นบริเวณเดียวกัน
Logitech เปิดตัว "Wireless Solar Keyboard K750" คีย์บอร์ดไร้สายที่ไม่ต้องใช้ถ่าน เพราะมันใช้พลังงานแสงแทน
Logitech บอกว่ามันถูกออกแบบมาอย่างดีสำหรับสภาพแสงจำกัด แม้จะเป็นแถบขั้วโลกก็ยังใช้งานได้ การชาร์จไฟจะทำโดยอัตโนมัติเมื่อมีแสงสว่าง (ใช้แสงหลอดไฟก็ได้) และการชาร์จไฟหนึ่งครั้งสามารถทำงานได้ในที่มืดสนิทถึง 3 เดือน
ตัวต่อสัญญาณไร้สายใช้ Logitech Unifying Receiver ตามมาตรฐานของอุปกรณ์ Logitech และใช้คลื่นวิทยุ 2.4GHz แทน Bluetooth ซึ่งช่วยให้รับสัญญาณได้ไกลขึ้น ราคาตัวละ 80 ดอลลาร์ (2,400 บาท)
ที่มา - Logitech
มลรัฐออริกอนประกาศสร้างระบบแสงสว่างสำหรับทางหลวงระหว่างเมือง (Interstate highway) ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนพลังงานไฟฟ้า
ออริกอนจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์พื้นที่ 8,000 ตารางฟุตจะผลิตพลังงาน 112,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งคิดเป็น 28% ของพลังงาน 400,000 กิโลวัตต์ที่ใช้ส่องสว่างให้กับทางหลวงหมายเลข 5 และ 205
โครงการนี้เป็นโครงการทดลองมูลค่า 1.3 ล้านดอลลาร์ โดยร่วมมือระหว่าง Portland General Electric, US Bank และสำนักงานขนส่งของมลรัฐออริกอน กำหนดเสร็จและใช้งานเดือนธันวาคมนี้
ที่มา - Sustainable Business
ช่วงหลังๆ นี้ข่าวเกี่ยวกับซันโยในฐานะผู้ผลิตโซลาร์เซลล์มีเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดก็มีการเปิดโรงงานผลิตโซลาร์เซลล์ใหม่ที่ในชื่อ "Shiga Plant" ที่น่าจะเพิ่มกำลังผลิตของบริษัทจากปีที่ผ่านมา 260 เมกกะวัตต์เป็น 340 เมกกะวัตต์ในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นจนไปถึง 4 กิกะวัตต์ในปี 2020
ทางซันโยเชื่อว่าตลาดโซลาร์เซลล์ทั่วโลกในปี 2020 น่าจะมีกำลังผลิตรวมอยู่ที่ 40 ถึง 45 กิกะวัตต์ และในตอนนั้นทางซันโยคาดว่าจะครองส่วนแบ่งตลาดได้ประมาณร้อยละ 10
โรงงานใหม่นี้จะแบ่งกำลังผลิตเพื่อผลิตโซลาร์เซลล์สองแบบคือแบบคริสตัล และแบบฟิล์มบางอย่างละครึ่ง
หลายๆ คนอาจจะเชื่อว่าทางออกเดียวสำหรับปัญหาพลังงานทุกวันนี้คือโซลาร์เซลล์ที่น่าจะให้พลังงานที่สะอาดที่สุดแล้ว แต่ปัญหาหลักของโซลาร์เซลล์นอกจากค่าผลิตที่แพงมาก (และใช้พลังงานมาก) แล้วยังมีประเด็นของประสิทธิภาพการแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ประสิทธิภาพต่ำมากจนต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่
แต่ทางซันโยก็ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าร้อยละ 22 ได้เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยประสิทธิภาพร้อยละ 22.3 โซลาร์เซลล์ของทางซันโยมีขนาด 100.5 ตารางเซนติเมตร ให้พลังงานรวม 2.242 วัตต์
เซลล์ต้นแบบนี้ยังคงอยู่ในระดับงานวิจัย แต่ทางซันโยคาดว่าบริษัทจะมีเซลล์ที่ประสิทธิภาพสูงกว่าร้อยละ 22 ขายในเชิงอุตสาหกรรมได้ภายในปี 2010
หนึ่งในประเทศที่แสวงหาความมั่นคงทางพลังงานมากที่สุดในโลกคงไม่มีใครเกินหน้าญี่ปุ่นไปได้ เพราะด้วยจำนวนประชากรที่สูงและภาคเศรษฐกิจที่ต้องการพลังงานสูงมาก ล่าสุดเมืองซาไกก็ออกมาประกาศความร่วมมือกับทางบริษัทชาร์ป และบริษัท Kansai Electric Power ที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ที่มีกำลังผลิตถึง 10 เมกกะวัตต์แล้ว (สูงสุด 18 เมกกะวัตต์และต่ำสุด 9 เมกกะวัตต์)
การก่อสร้างจะเริ่มขึ้นในปี 2009 และคาดว่าจะเริ่มผลิตไฟฟ้าได้ในปี 2011 โดยที่ตั้งนั้นเป็นพื้นที่ถมทะเลบริเวณชายฝั่งเมืองซาไกนั่นเอง มูลค่าการก่อสร้างครั้งนี้ประมาณ 5 พันล้านเยน
ก่อนหน้านี้สองบริษัทเคยร่วมกันสร้างโรงงานไฟฟ้าในแบบเดียวกันนี้สำหรับโรงงานของชาร์ปแต่มีขนาดเล็กกว่าคือ 5 เมกกะวัตต์
เทคโนโลยีแสงอาทิตย์ในตอนนี้น่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจสูงสุด เพราะสะอาดและน่าจะวางใจได้ว่าไม่หมดในเร็วๆ นี้ แต่ปัญหาของเทคโนโลยีเหล่านี้คือต้นทุนค่าเทคโนโลยีและการผลิตที่แพงมาก ล่าสุดนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจาก MIT ก็สาธิตจานรวมแสงประสิทธิภาพสูงที่อาจจะเป็นเทคโนโลยีรวมแสงให้คุ้มค่าในแง่ของต้นทุนมากที่สุดในตอนนี้
ทีมงานอาศัยการรวมแสงจากจานสะท้อนเข้าหาหม้อต้มน้ำสีดำขนาดเล็ก รูปร่างของจานนั้นคล้ายกับจานดาวเทียม
เทคโนโลยีแบบเดียวกันนี้เคยมีมาก่อนหน้า และผู้ถือสิทธิบัตรในเทคโนโลยีนั้นคือ Doug Wood โดย Wood นั้นก็ได้เซ็นสัญญาอนุญาตให้ทีมงานใช้เทคโนโลยีของเขาไปแล้ว
อินเทลประกาศก่อตั้งบริษัทลูกในชื่อ SpectraWatt มีจุดประสงค์หลักในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ป้อนโรงงานผลิตโมดูลโซลาร์เซลล์ โดยอินเทลลงทุนประเดิมก้อนแรกเป็นมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์พร้อมๆ กับกองทุนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง
SpectraWatt จะเปิดโรงงานแรกในรัฐโอเรกอน การก่อตั้งบริษัทน่าจะเรียบร้อยในไตรมาสที่สามของปีนี้ และจะเริ่มส่งมอบสินค้ากันภายในกลางปีหน้า โดยบริษัทอ้างว่าบริษัทมีลูกค้ารอสินค้าอยู่แล้ว และเริ่มเตรียมวัตถุดิบไว้แล้ว
การพัฒนาเทคนิคในการผลิตโซลาร์เซลล์เพื่อให้ต้นทุนต่ำพอที่จะติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่ยังคงอยู่ในความสนใจของคนจำนวนมาก และด้วยเทคโนโลยี Power Plastic ที่บริษัท Konarka เพิ่งประกาศความสำเร็จ ด้วยการใช้เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตแทนกระบวนการผลิตชิปซิลิกอนแบบเดิมๆ ทำให้มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะลดต้นทุนในการผลิตโซลาร์เซลล์ในปริมาณมาก
แม้กระบวนการผลิตจะเริ่มผลิตโซลาร์เซลล์ได้แล้ว แต่ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ที่ได้จากกระบวนการนี้ยังมีประสิทธิภาพเพียงร้อยละ 5 เทียบกันร้อยละ 15 ถึง 20 ของโซลาร์เซลล์โดยทั่วไป ในเรื่องนี้ทางด้าน Konarka ระบุว่าเราอาจจะต้องรอไปอีกประมาณสองปีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของ Power Plastic ก่อนจะได้เห็นมันวางตลาดจริงๆ
พลังงานแสงอาทิตย์ทุกวันนี้แม้จะน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ แต่ข้อเสียของพลังงานในรูปแบบนี้หลักๆ คือความมั่นคงที่ค่อนข้างต่ำ และการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ทำได้เพียงช่วงกลางวันทำให้การพึ่งพิงพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเดียวเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่บริษัท Hamilton Sunstrand กำลังสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
พลังงานทดแทนมีข้อด้อยหลักๆ ในตอนนี้คือเรื่องของการใช้พื้นที่ในการผลิตที่ค่อนข้างด้อยประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับพลังงานจากฟอสซิลแบบเดิมๆ ที่เราใช้งานกัน และยิ่งเมื่อเทียบกับพลังงานนิวเคลียร์ด้วยแล้ว พลังงานทดแทนต้องการพื้นที่ในการผลิตต่อวัตต์ของพลังงานที่ได้มาสูงมาก