Continuous Integration and Continuous Delivery
ค่าย JetBrains มีซอฟต์แวร์ CI/CD ชื่อ TeamCity ที่ให้บริการมายาวนาน 17 ปี (เก่าระดับว่า เพิ่งมีเวอร์ชันรันบนคลาวด์เมื่อปี 2021 นี้เอง) ปัญหาของ TeamCity คือเป็นซอฟต์แวร์ยุคเก่าที่มีความซับซ้อนสูง ดูแลลำบาก และไม่ใช่ทุกองค์กรมีแอดมินระบบที่ดูแล TeamCity ได้
ล่าสุด JetBrains เปิดตัว TeamCity Pipelines สำหรับใช้งานในองค์กรขนาดเล็ก ปรับแต่ง UI ให้ใช้งานง่ายขึ้น ตัดตัวเลือกที่ไม่สำคัญออกให้หมด ทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แอปเปิลประกาศว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2024 เป็นต้นไป นักพัฒนาที่เป็นสมาชิก Apple Developer Program จะได้สิทธิใช้งาน Xcode Cloud จำนวน 25 ชั่วโมงต่อเดือนรวมอยู่ในค่าสมาชิกเลย ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จากก่อนหน้านี้ประกาศเป็นช่วงทดลองใช้งานฟรี
Xcode Cloud เป็นบริการ CI/CD บนคลาวด์สำหรับนักพัฒนา ใช้คอมไพล์และทดสอบแอพพลิเคชันบนคลาวด์ ซึ่งเปิดตัวในปี 2021 และเริ่มให้ใช้งานตั้งแต่ปี 2022 ซึ่งในช่วงแรกก็เปิดให้ใช้งานฟรี 25 ชั่วโมงต่อเดือน และกำหนดสิ้นสุดโปรโมชันในปี 2023 ประกาศนี้จึงเป็นการให้ใช้ Xcode Cloud ฟรี 25 ชั่วโมงต่อไป ในส่วนประโยชน์ของสมาชิก
CircleCI บริษัทซอฟต์แวร์ด้าน continuous integration (CI) สรุปสถิติการใช้งานของลูกค้าจำนวน 2 ล้านคน ให้เห็นกันว่าภาพรวมของวงการ software delivery ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
สถิติหนึ่งที่น่าสนใจคือ ภาษาโปรแกรมยอดนิยมที่ถูกใช้งาน build ผ่านระบบ workflow ของ CircleCI ปรากฏว่าแชมป์เก่า JavaScript ถูกโค่นซะแล้ว กลายเป็น TypeScript ที่มาแรงจนแซงหน้าขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแทน (JavaScript ตกเป็นที่ 2, อันดับ 3 Ruby, อันดับ 4 Python, อันดับ 5 Go)
CircleCI บอกว่าความนิยมของ TypeScript ที่เป็นการแก้ปัญหาของ JavaScript โดยเพิ่มแนวคิดเรื่องชนิดของตัวแปร (type) เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะช่วยให้นักพัฒนาหาบั๊กได้ง่ายขึ้นตั้งแต่ตอนเขียน (ใช้ IDE ตรวจ) หรือตอนคอมไพล์ แทนที่จะเป็นตอนรัน
แอปเปิลแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมของบริการ Xcode Cloud บริการ CI/CD ที่ให้นักพัฒนาแอป สามารถคอมไพล์และทดสอบแอปได้บนคลาวด์ ไม่ต้องทดสอบด้วยทรัพยากรเครื่องของตนเอง ซึ่งเปิดตัวแบบเบต้าจำกัดกลุ่มในปีที่แล้ว และประกาศให้นักพัฒนาทุกคนใช้งานได้ในงาน WWDC ที่ผ่านมา
โดยตอนแรกแอปเปิลประกาศให้นักพัฒนาทุกคนใช้ Xcode Cloud ได้ฟรี 25 ชั่วโมงต่อเดือนถึงสิ้นปี 2023 ซึ่งเป็นแพ็คเกจเริ่มต้น แต่นักพัฒนาจำนวนหนึ่งอาจต้องการใช้งานมากกว่าในตอนนี้ แอปเปิลจึงเพิ่มทางเลือกให้นักพัฒนาจ่ายเงินเพื่อเพิ่มชั่วโมงใช้งาน โดยสมัครได้ผ่านแอป Apple Developer
แอปเปิลเปิดตัวเครื่องมือสำหรับพัฒนา Xcode 14 Beta ที่รอบนี้มาพร้อมกับ Xcode Cloud บริการด้าน CI/CD ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์
Xcode Cloud เป็นบริการด้าน continuous integration and delivery (CI/CD) บนคลาวด์ ย้ายกระบวนการคอมไพล์และทดสอบแอพไปไว้บนคลาวด์ จุดเด่นของมันคือเป็นบริการสำหรับนักพัฒนาสายแอปเปิลโดยเฉพาะ ทดสอบกับอุปกรณ์แอปเปิลได้ทุกรุ่น (ที่ยังซัพพอร์ตอยู่ตอนนั้น) รวมถึงเชื่อมต่อกับ Xcode และ App Store Connect โดยตรง
Xcode Cloud เป็นบริการที่ต้องเสียค่าสมาชิกรายเดือน แพ็กเกจเริ่มต้นคือ 25 ชั่วโมงต่อเดือน ราคา 14.99 ดอลลาร์ (ช่วงเปิดตัวให้นักพัฒนาทุกคนใช้ฟรีถึงสิ้นปี 2023) ตอนนี้เริ่มใช้ได้แล้วกับ Xcode 13.4.1 ขึ้นไป
ตลาดซอฟต์แวร์ CI/CD เป็นอีกตลาดที่ได้รับความนิยมสูงในช่วงหลัง มีผู้เล่นหลายรายเข้ามาในตลาดนี้ เช่น GitLab, CircleCI, Travis CI, Atlassian Bamboo รวมถึงซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่าง Jenkins และ Tekton
ทิศทางช่วงหลังของ CI/CD คือเราเริ่มเห็นบริการผ่านคลาวด์ (managed service) กันมากขึ้น เช่น GitLab ที่มีเวอร์ชันคลาวด์มานาน หรือสายคลาวด์มาทำเองอย่าง Google Cloud Build กับ GitHub Actions
JetBrains เจ้าของ IDE ชื่อดังตระกูล IntelliJ ก็มีซอฟต์แวร์ด้านนี้คือ TeamCity มานานแล้ว แต่ที่ผ่านมามีเฉพาะเวอร์ชัน on premise ตอนนี้ก็ต้านกระแสไม่อยู่ ต้องออก TeamCity Cloud มาบ้าง
JFrog ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์เพื่อซัพพอร์ตงาน CI/CD ได้เข้าตลาดหุ้น Nasdaq เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยใช้สัญลักษณ์ซื้อขาย FROG ราคาเปิดตลาดอยู่ที่ 71.27 ดอลลาร์ สูงกว่าราคาไอพีโอถึง 62% และปิดตลาดสุดสัปดาห์ในวันศุกร์ราคาอยู่ที่ 64.78 ดอลลาร์
JFrog เริ่มขายหุ้นไอพีโอโดยตอนแรกตั้งราคาไว้ที่ 33-37 ดอลลาร์ต่อหุ้น แต่ภายหลังปิดการขายราคาไอพีโอของบริษัทอยู่ที่ 44 ดอลลาร์ต่อหุ้น ทำให้บริษัทมีมูลค่าประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์หลังจำหน่ายหุ้นไอพีโอสำเร็จแล้ว
สำหรับบริษัท JFrog เป็นบริษัทที่เน้นพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนการทำงานประเภท CI/CD โดยผลิตภัณฑ์ชูโรงมี Artifactory พื้นที่เก็บแพคเกจ, Xray เครื่องมือ DevSecOps สำหรับสแกนช่องโหว่ในแพคเกจ และ Pipelines บริการ CI/CD บนคลาวด์
GitHub ประกาศฟีเจอร์ที่เคยเปิดตัวไปแล้ว 2 ตัวคือ Actions และ Packages เข้าสถานะ GA เปิดให้ทุกคนใช้งาน
GitHub ระบุว่ามีคนสร้าง workflow ของ Actions แล้วกว่า 1,200 ชนิด และสร้างแพ็กเกจผ่าน Packages ไปแล้วกว่า 30,000 รูปแบบ
GitHub Actions เปิดตัวปลายปีที่แล้วเป็นความสาารถจัดการ workflow ที่น่าจะนำไปสู่บริการ CI/CD ได้ แต่ก็ไม่สามารถใช้งานสมบูรณ์ได้ในตัวเอง ตอนนี้ทาง GitHub ออก Actions เวอร์ชั่นใหม่ที่สามารถรัน CI/CD ได้ในตัว
ตัว workflow รองรับไฟล์ docker-compose ในตัว ทำให้สามารถทดสอบแอปพลิเคชั่นที่ใช้หลายคอนเทนเนอร์ได้ทันที เมื่อ build และทดสอบผ่านแล้วก็สามารถอัพโหลดอิมเมจเข้า registry ได้เลย โดยผู้ที่ร่วมทดสอบ Actions ก็จะได้ทดสอบ GitHub Package Registry ไปด้วย
ค่าใช้งาน Actions คิดตามจริง (ลินุกซ์นาทีละ 0.008 ดอลลาร์) โดยจะฟรีในช่วงเบต้า และสำหรับ repository ที่เปิดต่อสาธารณะก็ใช้งานฟรี สำหรับลูกค้าที่นำ runner ไปติดตั้งเครื่องตัวเองจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
Spinnaker เป็นแพลตฟอร์ม CI/CD สำหรับการดีพลอยซอฟต์แวร์ที่กูเกิลร่วมกันพัฒนากับเน็ตฟลิกซ์ ตอนนี้ Google Cloud Platform ก็รองรับ Spinnaker เต็มตัว ทำให้กระบวนการติดตั้งง่าย
กระบวนการติดตั้ง Spinnaker for GCP จะติดตั้งลงบน Google Kubernetes Engine และใช้ Cloud Memorystore for Redis กับ Cloud Load Balancing โดยกูเกิลระบุว่ากระบวนการติดตั้งจะลดลงเหลือไม่กี่คลิก แต่ได้ฟีเจอร์ระดับโปรดักชั่น เช่น ควบคุมการเข้าถึงผ่าน Cloud IAP, สำรองข้อมูลอัตโนมัติเป็นค่าเริ่มต้น, คอนฟิก Stackdriver ไว้แล้ว
Spinnaker for GCP ไม่มีค่าใช้งานโดยตัวมันเอง แต่มีค่าใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการติดตั้ง เริ่มใช้งานได้แล้ววันนี้
Atlassian ประกาศออกส่วนขยาย Atlassian for VS Code สำหรับเชื่อมต่อ Visual Studio Code เข้ากับบริการของตัวเอง 2 ตัวคือ Bitbucket Cloud และ Jira Software Cloud อย่างแนบแน่น
Atlassian บอกว่าปัจจุบัน นักพัฒนาใช้โปรแกรม 3 ตัวร่วมกันคือ แชท, IDE และ code repository ทำให้ต้องสลับแอพไปมาตลอดเวลา บริษัทจึงออกส่วนขยายตัวนี้ เพื่อให้ทุกอย่างรวมอยู่ที่เดียวกัน เราสามารถส่งโค้ดขึ้น Bitbucket, ทดสอบแอพผ่าน CI/CD (Bitbucket Pipelines) และคุยกับเพื่อนร่วมงานเพื่อแก้บั๊กบน Jira ได้จากตัว IDE (ในที่นี้คือ VS Code) ได้เลย
GitHub ประกาศฟีเจอร์สำคัญชื่อ GitHub Actions มันคือระบบ workflow สำหรับนำโค้ดโปรแกรมบน GitHub ไปสู่การดีพลอยใช้งานจริง
GitHub Actions ถือเป็นการขยายบริการของ GitHub จากการรับฝากซอร์สโค้ดอย่างเดียว มาสู่บริการ Continuous integration and continuous delivery (CI/CD) ลักษณะเดียวกับคู่แข่งอย่าง GitLab แถมฟีเจอร์ Actions ยังสามารถนำไปใช้กับซอร์สโค้ดที่ไม่ได้เก็บอยู่บน GitHub ได้ด้วย
Sam Lambert หัวหน้าฝ่ายแพลตฟอร์มของ GitHub ให้สัมภาษณ์ว่า Actions ถือเป็นฟีเจอร์ใหญ่ที่สุดของ GitHub นับตั้งแต่ pull request เป็นต้นมา
Google และ GitHub ประกาศความร่วมมือกันครั้งใหม่ โดย Google ได้นำ Cloud Build เครื่องมือ CI/CD ใน Google Cloud Platform อินทิเกรตเข้ากับ developer workflow ของ GitHub โดยตรง สามารถทำ CI จาก repository ใน GitHub ได้เลย ไม่ต้องสลับเครื่องมือไปมาบ่อย ๆ
ฟีเจอร์แรกคือการแนะนำเครื่องมือ หาก GitHub พบ Dockerfile ที่ยังไม่มี CI/CD ที่สอดคล้องกัน ก็จะแสดงคำแนะนำให้นักพัฒนาเลือกใช้เครื่องมือ CI จาก GitHub Marketplace ได้เลย (ซึ่ง Cloud Build ก็มีใน Marketplace ด้วย)
กูเกิลใช้เวทีงาน Google Cloud Next '18 เปิดตัวบริการใหม่ Cloud Build สำหรับการทำ Continuous Integration/Continuous Delivery (CI/CD)
Cloud Build เป็นบริการในตระกูล Google Cloud Platform ที่ช่วยให้เราคอมไพล์ซอฟต์แวร์และดีพลอยอย่างอัตโนมัติ เชื่อมโยงจากซอร์สโค้ดของเราบน GitHub, Bitbucket หรือ Cloud Source Repositories ของกูเกิลเอง จัดการผ่านเครื่องมืออย่าง Maven/Gradle หรือจะรันในคอนเทนเนอร์ Docker ก็ได้
Cloud Build ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลหากเกิดปัญหาต่างๆ ระหว่าง build งาน มีระบบ analytics ช่วยให้เราวิเคราะห์สาเหตุได้เร็วขึ้น
OpenStack โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แบบโอเพ่นซอร์สได้แยกโครงการพัฒนาแพลตฟอร์ม CI/CD (continuous integration and continuous delivery) ที่ชื่อว่า Zuul ออกมาเป็นโครงการอิสระอย่างเป็นทางการพร้อมกับการออกเวอร์ชัน 3
Zuul นั้นเป็นโครงการพัฒนาที่เน้นทำระบบการรวม, build และทดสอบการเปลี่ยนแปลงของโปรเจค โดยโครงการ Zuul นี้อยู่ภายใต้ OpenStack ซึ่งแม้ว่าจะแยกโครงการออกมาแล้วแต่ตัวโครงการจะยังอยู่ภายใต้การดูแลของ OpenStack Foundation เหมือนกับ Kata Containers ซึ่งเป็นโครงการที่เคยอยู่ภายใต้ OpenStack และแยกออกมาก่อนหน้านี้
GitLab ซอฟต์แวร์จัดการโครงการชื่อดัง ประกาศออกเวอร์ชันใหม่ 10.6 ที่สามารถทำงานร่วมกับซอร์สโค้ดที่เก็บบน GitHub ได้แล้ว
GitLab เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นจาก Git โดยมีหน้าที่สองส่วนคือเก็บซอร์สโค้ด (repository) และการจัดการโครงการ (CI/CD ย่อมาจาก continuous integration and continuous delivery)
ที่ผ่านมา GitLab ต้องการให้ลูกค้าเก็บซอร์สโค้ดไว้บนโฮสต์ของตัวเอง แต่ในความเป็นจริง ผู้ใช้อาจเก็บซอร์สโค้ดไว้กับผู้ให้บริการรายอื่นๆ อยู่แล้ว และไม่อยากเปลี่ยนมาเก็บบน GitLab ทำให้สุดท้าย GitLab ต้องยอมเปิดกว้าง ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่นมากขึ้น
แนวทางของ GitLab จะเริ่มจากโฮสติ้งยอดนิยมอย่าง GitHub ก่อน แต่เปิดกว้างให้เชื่อมกับรายอื่นๆ (เช่น BitBucket) ผ่าน API ได้เช่นกัน