Software Freedom Conservancy (SFC) องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ผลักดันเรื่องโอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของ OpenWrt โครงการลินุกซ์สำหรับเราเตอร์ไร้สาย เปิดตัว OpenWrt One ฮาร์ดแวร์เราเตอร์ไร้สายตัวแรกของโลกที่ออกแบบมาเพื่อรัน OpenWrt โดยเฉพาะ
จุดเด่นสำคัญของ OpenWrt One ที่ต่างจากเราเตอร์อื่นๆ ในตลาด คือความเป็นอิสระในการใช้งาน ปรับแต่ง แก้ไข ไม่ถูกล็อคใดๆ และการออกแบบมาให้บำรุงรักษาได้ง่าย
สเปกของ OpenWrt One ใช้ชิป MediaTek Filogic 820 SoC, แรม 1GB DDR4 RAM, สตอเรจ 256 MiB NAND, รองรับการเชื่อมต่อ M2 SSD, รองรับมาตรฐาน Wi-Fi 6 dual-band, พอร์ตเชื่อมต่อ Ethernet 1x 2.5Gbit LAN, 1x 1Gbit LAN, USB-C Serial console, USB 2.0
เก็บตกสินค้าใหม่ของ Xiaomi ที่เปิดตัวเมื่อวานนี้ สินค้าที่น่าสนใจอีกตัวคือเราเตอร์ไร้สายรุ่นท็อป Xiaomi Router 10000 ที่มีจุดเด่นด้านการใช้ชิป Qualcomm A73 ควอดคอร์ช่วยประมวลผลสัญญาณ, พอร์ตรองรับ Ethernet 10 Gigabit (10G) สำหรับผู้ใช้ตามบ้านที่ต้องการความเร็วระดับนี้ เช่น ใช้ NAS ในบ้าน ส่วนพอร์ตแลนอื่นๆ รองรับ 2.5 Gigabit Ethernet อีก 4 พอร์ต
ฟีเจอร์อื่นได้แก่ USB 3.0, สตอเรจ 2GB, ตัวขยายสัญญาณแบบ 12-channel แยกตาม 12 เสา, NFC pairing, รองรับ Wi-Fi 3 ย่านคือ 2.4GHz, 5GHz, 5.8GHz
กูเกิลเปิดตัวฮาร์ดแวร์ตระกูล Nest ใหม่ 2 อย่าง ได้แก่
Nest Wifi Pro เราเตอร์ Wi-Fi รุ่นใหม่ที่รองรับมาตรฐาน Wi-Fi 6E สำหรับทำ mesh Wi-Fi ได้ดีขึ้น ใช้คลื่นย่าน 6GHz ที่ยังไม่คับคั่งเท่ากับย่าน 5GHz และรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์สมาร์ทโฮม Matter
Nest Wifi Pro มาพร้อมดีไซน์ใหม่หน้าตาเหมือนกระปุกเซรามิก ไร้เสาและไฟสัญญาณ ใช้สีแบบเอิร์ธโทน ให้ดูเหมือนเป็นของตกแต่งบ้านมากกว่าสินค้าไอที ตัวเครื่องใช้วัสดุรีไซเคิล 60% วัดจากน้ำหนักเครื่อง
TP-Link เปิดตัวเราท์เตอร์รุ่นใหม่ในงาน CES 2022 ทั้งหมด 3 รุ่น โดยรุ่นที่เด่นเป็นพิเศษคือ Archer AXE200 Omni เราท์เตอร์ที่มาพร้อมกับเสาอากาศแบบเคลื่อนไหวได้เอง (robotic antenna) ทำให้สามารถสั่งปรับทิศทางเสาเพื่อเร่งความแรงสัญญาณได้
เสาอากาศของ Archer AXE200 Omni สามารถปรับเพื่อเน้นความแรงได้ 6 โหมด ได้แก่ รอบตัว, บนล่าง, หน้า, หลัง, ซ้าย, และขวา หรือจะสั่งผ่านแอปที่อุปกรณ์ที่กำลังใช้งานให้เราท์เตอร์ปรับเสามาหาผู้ใช้ก็ได้เช่นกัน
ถ้ายังไม่ลืมกัน เมื่อปี 2015 กูเกิลเคยเปิดตัวไวร์เลสเราเตอร์แบรนด์ OnHub ร่วมกับ TP-Link และ ASUS แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้ทำสินค้ากลุ่ม OnHub ต่ออีกเลย เพราะเปลี่ยนมาทำเราเตอร์ตระกูล Google Wifi ในปี 2016 ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น Nest Wifi แทน
ตามสไตล์กูเกิลก็คงเดากันได้ไม่ยากว่า OnHub จะถูกฆ่าทิ้ง ล่าสุดกูเกิลประกาศแล้วว่าจะอัพเดต OnHub ให้จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2022 หรืออีก 1 ปีถัดจากนี้ เท่ากับว่า OnHub มีอายุซัพพอร์ตนาน 7 ปี (ซึ่งก็ถือว่ามากพอสมควร)
Xiaomi ทำคลิปโปรโมตเราเตอร์ Mi AX6000 ซึ่งเป็นเราเตอร์ Wi-Fi 6E มีความกว้างของช่องสัญญาณ (bandwidth) บนความถี่ 5GHz อยู่ที่ 160 MHz และมีคลื่น 6GHz เพิ่มเข้ามาความเร็วสูงสุด 3.6Gb/s และวางจำหน่ายในราคา 599 หยวน (ราว 2,800 บาท)
ในคลิปเป็นการทดสอบการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็ว 800 Mbps ผ่าน Wi-Fi 5 GHz บนเราเตอร์ Mi AX6000 ของ Xiaomi Mi 11กับ iPhone 12 Pro Max เพื่อแสดงให้เห็นว่าเมื่อใช้ Mi 11 คู่กับเราเตอร์รุ่นนี้ จะได้ความเร็วที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า
AIS Fibre ผู้ให้บริการเน็ตบ้านชั้นนำที่ได้รับรางวัล อินเทอร์เน็ตบ้านที่เร็วที่สุดในประเทศไทย (Thailand’s Fastest Fixed Network) จาก Ookla Speedtest ในปี 2019 เดินหน้าอัปเกรดคุณภาพของบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไปอีกขั้น โดยอัปเกรดเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดทั้งเราเตอร์ AIS Fibre Wi-Fi6 อัปเกรดความบันเทิง ผ่าน AIS PLAYBOX และอัปเกรดการทำงานด้วยเทคโนโลยี Mesh Wi-Fi และตามใจผู้ใช้งาน ด้วยฟังก์ชั่น Speed Toggle
เราเพิ่งเห็น 3BB ออกแพ็กเกจเน็ตบ้าน 1000/100 Mbps ในราคา 629 บาทต่อเดือน ฝั่งของคู่แข่ง AIS Fibre ก็ออกมาตอบโต้ด้วยการเปิดขายชุดอัพเกรดเราเตอร์เป็น Wi-Fi 6 (802.11ax) ที่ให้ความเร็วผ่าน Wi-Fi สูงสุด 850 Mbps พร้อมอัพเกรดความเร็วเน็ตให้เป็น 1000/500 Mbps นาน 1 ปี
ผู้ที่จะได้รับสิทธินี้จะต้องซื้อชุดอัพเกรดเราเตอร์ ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า AIS Fibre WiFi6 Upgrade Kit ในราคา 1,490 บาทก่อน โดยเป็นอุปกรณ์ access point ที่มาต่อกับเราเตอร์เดิม ช่วยกระจายสัญญาณเป็น 802.11ax
Amazon ประกาศเข้าซื้อกิจการ Eero ผู้ผลิต Mesh Router สำหรับใช้ภายในบ้าน โดย Amazon บอกว่า Eero จะช่วยเสริมให้ลูกค้าของ Amazon สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ Smart Home ได้ดีมากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้อุปกรณ์ที่รองรับ Alexa ติดตั้งง่ายสำหรับลูกค้า ทั้งนี้ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่าตัวเลข
Nick Weaver ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Eero กล่าวว่า การเข้าร่วมกับ Amazon ทำให้บริษัทได้เข้าถึงเป้าหมายที่จะพัฒนาบ้านอัจฉริยะในอนาคตได้รวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งทำให้สินค้า Eero กระจายสู่ลูกค้าทั่วโลก
Nokia ร่วมกับ AIS Fibre เปิดตัว WiFi Beacon 3 โซลูชัน Mesh Wi-Fi ภายในบ้าน โดยรองรับพื้นที่ราว 186 ตร.ม. ต่อเร้าเตอร์หนึ่งตัว รองรับดูอัลแบนด์ 2.4GHz แบบ 3x3 และ 5GHz แบบ 4x4 MU-MIMO ร่วมกับการโมดูเลตสัญญาณแบบ 1024 QAM
Beacon 3 มีฟีเจอร์ในสับเปลี่ยนแชนแนล Wi-Fi ให้อัตโนมัติด้วยการตรวจจับคลื่นรบกวนและหลีกหนีช่องสัญญาณที่แออัด รวมถึง Load Balance จัดการแบนด์วิธให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ให้อัตโนมัติด้วย เชื่อมต่อผ่านแอป WiFi ของ Nokia สำหรับตั้งค่าและมอนิเตอร์เครือข่ายเน็ตเวิร์ค
Netgear เปิดตัวเราท์เตอร์ใหม่ Orbi Voice โดยเป็นเราท์เตอร์แบบ Mesh Wi-Fi ที่มาพร้อมไมโครโฟนและลำโพงในตัวเพื่อสั่งการผู้ช่วยส่วนตัว Alexa
สำหรับเราท์เตอร์ Orbi Voice นี้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Orbi เราท์เตอร์ Mesh Wi-Fi ของ Netgear คือสามารถเชื่อมต่อกับเราท์เตอร์ตัวอื่นเพื่อทำระบบ Wi-Fi ครอบคลุมพื้นที่ได้สูงสุดถึง 186 ตารางเมตร โดยสเปคส่วนของเราท์เตอร์ Orbi Voice คือตัวเครื่องมีพอร์ต Ethernet ทั้งหมดสองพอร์ต ส่วน Wi-Fi เป็นแบบ tri-band มีความเร็วสูงสุด 2.2Gbps
ซัมซุงเปิดตัว SmartThings Wifi เร้าเตอร์ไวร์เลสแบบ Mesh ที่รองรับแพลตฟอร์ม IoT ของซัมซุง โดยทางซัมซุงระบุว่าเป็นเทคโนโลยี Mesh Wi-Fi มีการ AI ในการ optimize เน็ตเวิร์คด้วยอาศัยความร่วมมือกับ Plume เจ้าของโซลูชัน Wi-Fi ภายในบ้านมาเป็นพาร์ทเนอร์
จุดเด่นของ AI จากแพลตฟอร์ม Plume คือระบบจะสามารถจัดการแบนด์วิธ, แก้ปัญหาสัญญาณรบกวน, เลือกช่องสัญญาณและความถี่ที่ดีที่สุดให้ผู้ใช้ ขณะที่ SmartThings Wifi จะช่วยให้การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT บนแพลตฟอร์ม SmartThings ภายในบ้านมีความ seamless มากขึ้น โดยเร้าเตอร์ 1 ตัวรองรับพื้นที่ราวๆ 457 ตร.ม.
Simon Kenin จาก Trustwave รายงานถึงการขุดเงินคริปโตเป็นวงกว้างในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทำให้คาดได้ว่าอาจจะมีเว็บขนาดใหญ่ถูกแอบฝังสคริปต์ แต่กลับพบว่าสคริปต์มาจากเราท์เตอร์ MikroTik ที่ไม่ได้แพตช์
ช่องโหว่ของ RouterOS ของ MikroTik ค้นพบตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา หลังมีรายงานช่องโหว่เพียงวันเดียว และทางบริษัทก็ออกแพตช์ไปเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามเราท์เตอร์จำนวนมากยังคงไม่ได้อัพเดต
เมื่อแฮกเกอร์ยึดเราท์เตอร์ได้แล้ว จะคอนฟิก webproxy ให้ดักหน้าเพจที่ error ทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้งานเว็บต่อไปได้ แต่เมื่อเข้าหน้าที่เป็น error เมื่อใดสคริปต์ขุดเหมืองก็จะเริ่มทำงาน ผู้ใช้บางรายระบุว่าบางกรณีก็ปล่อยสคริปต์ขุดเหมืองทุกหน้า ไม่เฉพาะหน้า error อย่างเดียว
Apple ประกาศหยุดผลิตสินค้าตระกูล AirPort ซึ่งเป็นอุปกรณ์เราท์เตอร์ของบริษัทอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็น AirPort Express, AirPort Extreme และ Time Capsule ตามข่าวลือ ที่ออกมาตั้งแต่ปลายปี 2016 ว่า Apple ยุบทีมพัฒนาเราท์เตอร์แล้ว
AirPort นั้นอัพเดตรุ่นใหม่ล่าสุดเมื่อปี 2013 โดยรองรับ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11ac ซึ่งตั้งแต่นั้นมา Apple ก็แทบไม่ได้อัพเดตใหญ่อะไรให้ AirPort อีกเลย ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นต่างออกผลิตภัณฑ์ Wi-Fi เป็นจำนวนมาก
มีผู้ใช้อุปกรณ์ตระกูล Google Cast เช่น Chromecast, Google Home จำนวนหนึ่ง รายงานว่าพบปัญหาทำให้ Wi-Fi ใช้งานไม่ได้เป็นระยะ
ปัญหานี้เกิดจากอุปกรณ์กลุ่มนี้ส่งแพ็กเกต multicast ออกมาเป็นระยะ เพื่อให้การเชื่อมต่อยังคงเปิดอย่างต่อเนื่อง (keep alive) โดยปกติแพ็กเกตจะถูกส่งทุก 20 วินาที แต่ข้อผิดพลาดในเฟิร์มแวร์ทำให้แพ็กเกตถูกส่งออกมามากผิดปกติ (เช่น 100,000 แพ็กเก็ตในช่วงเวลาสั้นๆ) จนทำให้เราเตอร์ Wi-Fi มีปัญหาและใช้งานไม่ได้ชั่วคราว
กูเกิลบอกว่ารับทราบปัญหาแล้ว และกำลังเร่งแก้ไข ส่วนผู้ผลิตเราเตอร์หลายค่ายอย่าง TP-Link, Linksys, Netgear ก็ออกอัพเดตเฟิร์มแวร์เพื่อป้องกันไปก่อนแล้ว
สัปดาห์ที่แล้วในงาน CES 2018 อินเทลประกาศผลิตชิปเซ็ตที่รองรับ Wi-Fi มาตรฐานใหม่ IEEE 802.11ax โดยชิปเซ็ตตัวนี้จะใช้กับเราเตอร์รุ่นใหม่ๆ สำหรับตลาดคอนซูเมอร์
มาตรฐาน 802.11ax พัฒนาต่อจาก 802.11ac โดยมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดเพิ่มจากเดิม 40% (2402 Mbps vs 1733 Mbps โดยใช้ช่วงสัญญาณกว้าง 160MHz เท่ากัน) และมีอัตราการส่งข้อมูลเฉลี่ยต่อผู้ใช้ในพื้นที่สัญญาณคับคั่ง เพิ่มขึ้นจากเดิม 4 เท่า
ปัจจุบัน 802.11ax ยังมีสถานะเป็นร่างเวอร์ชัน 2 ของ IEEE โดยอินเทลจะอิงจากสเปกในร่างเวอร์ชันนี้เพื่อผลิตเป็นฮาร์ดแวร์ และตามอัพเกรดเฟิร์มแวร์ให้เมื่อสเปกออกเป็นมาตรฐานจริง (อินเทลยังบอกว่าชิปเซ็ต WAV500 ที่เป็นมาตรฐาน 802.11ac ในปัจจุบัน สามารถอัพเกรดเป็น 802.11ax ได้ด้วย)
ซัมซุงเริ่มวางขาย Samsung Connect Home เราเตอร์ไร้สายสำหรับบ้านสมาร์ทโฮม ในราคาตัวละ 169.99 ดอลลาร์ หรือแพ็กสามราคา 379.99 ดอลลาร์
แนวคิดของ Samsung Connect Home เหมือนกับ Google Wifi เราเตอร์ของกูเกิลที่ขายแบบแพ็คสามเหมือนกัน นั่นคือเป็นเราเตอร์อัจฉริยะที่วางไว้ตามจุดต่างๆ ของบ้าน แล้วมันจะจัดการเรื่องการกระจายสัญญาณให้อัตโนมัติ (แต่ของกูเกิลราคาถูกกว่า)
จุดเด่นของ Samsung Connect Home นอกจากฟีเจอร์ด้าน Wi-Fi ก็คือฟีเจอร์เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฮม เนื่องจากซัมซุงมีผลิตภัณฑ์ SmartThings Hub อยู่แล้ว มันจึงทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
Linksys ประเทศไทยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Max Stream MU-MIMO สามตัวเพื่อตอบโจทย์ การมีอุปกรณ์สื่อสารภายในบ้านเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน คือ EA9500 กิกะบิตเราท์เตอร์แบบไตรแบนด์ รองรับ MU-MIMO ได้สูงสุด 8 สตรีม, RE7000 ตัวขยายสัญญาณ Wi-Fi (Range Extender) ที่รองรับการเป็น Access Point ในตัวและ WUSB6100M ไวร์เลสอแด็ปเตอร์ที่รองรับมาตรฐาน AC และ MU-MIMO
Kaspersky รายงานพบมัลแวร์ตัวใหม่บน Android ที่ออกแบบมาเพื่อเจาะ Wi-Fi router อีกทอดหนึ่ง มัลแวร์ตัวนี้ถูกตั้งชื่อว่า Switcher
รูปแบบการโจมตีของ Switcher จะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นแรกคือปลอมตัวเป็นแอพปลอมเพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้ติดตั้งลงในอุปกรณ์ (ปัจจุบันพบว่าปลอมเป็นแอพ 2 ตัวคือแอพ Baidu ปลอม และ WiFi Master แอพสำหรับแลกเปลี่ยนรหัสผ่าน Wi-Fi ของจีน) เมื่อผ่านขั้นแรกมาได้แล้ว มัลแวร์จะส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดยส่งข้อมูลของเครือข่าย Wi-Fi กลับไปด้วย
CERT หน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ ออกมาเตือนภัยช่องโหว่เราเตอร์ Netgear หลายรุ่น ซึ่งมีบั๊กสำคัญที่เปิดให้ผู้โจมตีสามารถยิงคำสั่งเข้ามาจากภายนอก และขอให้ผู้ใช้เราเตอร์รุ่นนี้หยุดใช้งานทันทีจนกว่าจะมีแพตช์
การทำงานของช่องโหว่นี้คือ แฮ็กเกอร์จะหลอกล่อให้คนที่อยู่ภายในเครือข่าย คลิกลิงก์บนเว็บที่ฝังคำสั่งสำหรับเราเตอร์เอาไว้ และเราเตอร์มีข้อผิดพลาดในการกรองคำสั่งเหล่านี้ ส่งผลให้คำสั่งไปรันใน shell ที่สิทธิ root ส่งผลให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้ามาควบคุมเราเตอร์ได้แทบทั้งหมด 100%
CERT แนะนำให้เจ้าของเราเตอร์หยุดใช้งานทันทีจนกว่า Netgear จะออกแพตช์ให้ หรือไม่อย่างนั้นก็สามารถปิดการทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ภายในเราเตอร์ไปก่อนได้ (ต้องทำใหม่ทุกครั้งที่เราเตอร์รีบูต เพราะเว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำงานอัตโนมัติ)
ช่วงนี้มัลแวร์ Mirai ที่เกิดจากการใช้กล้องวงจรปิดและอุปกรณ์ IoT มีช่องโหว่จำนวนมาก กลับมาเป็นข่าวอีกครั้งเพราะมีรายงานการใช้มัลแวร์ Mirai เจาะระบบเราเตอร์จำนวนมาก (เคสล่าสุดก่อนหน้านี้คือยิงถล่ม Dyn DNS)
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน มีคนสร้าง Mirai เวอร์ชันใหม่ มุ่งเป้าโจมตีเราเตอร์ DSL สองยี่ห้อคือ Arcadyan Technology และ Zyxel ซึ่งเป็นเราเตอร์ที่บริษัท Deutsche Telekom ของเยอรมนีจัดหาให้ลูกค้าอินเทอร์เน็ต DSL จำนวน 900,000 ราย
สำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานว่า ตอนนี้ภายในบริษัท Apple ได้ทำการยุบทีมพัฒนา AirPort ซึ่งเป็นเราท์เตอร์ Wi-Fi ของทางบริษัทแล้ว และย้ายพนักงานไปทำงานกับผลิตภัณฑ์อื่นแทน
ผลิตภัณฑ์ AirPort นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มียอดขายสูงมากนักเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์สายอื่น ๆ ของ Apple ซึ่งผลิตภัณฑ์ตระกูล AirPort ก็น่าจะตกอยู่ในสภาพเหมือนกับจอ Thunderbolt Display ที่ปัจจุบันเลิกขายไปแล้วและใช้วิธีการจับมือกับบริษัทอื่นที่เชี่ยวชาญให้ทำผลิตภัณฑ์แทน
สำหรับทีมงานของผลิตภัณฑ์ AirPort นั้น Apple จะต้องนำไปใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการอื่น ๆ ของทางบริษัท โดยปัจจุบัน AirPort รุ่นล่าสุดก็มีอายุ 3 ปีแล้ว และดูทีท่าว่า Apple จะยังไม่ออกรุ่นใหม่เร็ว ๆ นี้
ฮาร์ดแวร์ใหม่ของกูเกิลยังมีเราเตอร์ Wi-Fi ในชื่อว่า Google Wifi จุดเด่นของมันคือการทำงานร่วมกันระหว่าง access point หลายตัวเพื่อให้คุณภาพสัญญาณดีที่สุด รวมถึงฟีเจอร์ Network Assist ช่วยให้คุณภาพสัญญาณดีที่สุดอัตโนมัติ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเลย ซอฟต์แวร์จะปรับแต่งระบบเบื้องหลังให้ทั้งหมด
Google Wifi ยังมีแอพสำหรับควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน (ทั้ง Android และ iOS) แสดงข้อมูลอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อ ปริมาณทราฟฟิกที่ใช้ และยังสามารถสั่งหยุดทราฟฟิกของอุปกรณ์บางตัวได้โดยตรง
Google Wifi เริ่มวางขายเดือนพฤศจิกายนนี้ ซื้อตัวเดียวราคา 129 ดอลลาร์ แต่ใครที่บ้านหลังใหญ่หน่อย ต้องใช้หลายตัว กูเกิลมีขายแบบแพ็ค 3 ตัวในราคา 299 ดอลลาร์
ที่มา - Google Blog
กูเกิลจะมีงานแถลงข่าววันที่ 4 ตุลาคมนี้ ผลิตภัณฑ์หลักที่หลายคนรอคอยคือสมาร์ทโฟน Google Pixel แต่ในงานก็น่าจะมีผลิตภัณฑ์อื่นเปิดตัวพร้อมกันด้วย ซึ่งเว็บไซต์ Android Police รวบรวมข้อมูลมาดังนี้
หมายเหตุ: ข่าวนี้เกี่ยวเนื่องมาจากข่าว FCC เตรียมออกกฎใหม่ ล็อกคลื่น Wi-Fi ในเราท์เตอร์ อาจกระทบการลงเฟิร์มแวร์โอเพนซอร์ส และ FCC ปรับแนวทางการล็อกคลื่นความถี่ให้ลงเฟิร์มแวร์โอเพนซอร์สได้ แต่ห้ามปรับความแรงและช่องสัญญาณ
จากกฎใหม่เรื่องความแรงของสัญญาณ FCC พบว่าเราเตอร์ยี่ห้อ TP-Link ละเมิดกฎข้อนี้ โดยตัวเฟิร์มแวร์ของ TP-Link รุ่นที่ขายในสหรัฐมีความแรงสัญญาณตามที่กำหนด แต่ TP-Link กลับเปิดให้ผู้ใช้เปลี่ยนค่า country code ได้เอง ส่งผลให้อาจเกิดปัญหาความแรงของสัญญาณเกินกว่าที่ FCC กำหนดได้