เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ประกาศร่วมกับ Tencent ใช้แพลตฟอร์มเป็นสื่อในการส่งสารให้เข้าถึงคนหมู่มากโดยเฉพาะคนจีน รวมถึงจะส่งสารเรื่องความร่วมมือระดับนานาชาติในการจัดการวิกฤตโรคระบาดด้วย โดย UN ประกาศความร่วมมือนี้ผ่านทาง video conference ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 75 ปี
แต่ความร่วมมือดังกล่าวสร้างความกังวลในประเด็นความเป็นส่วนตัว ทั้งความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้งานแพลตฟอร์ม Tencent ที่ไม่ได้เข้ารหัส และนโยบายการเซนเซอร์คำอ่อนไหวตามแนวทางรัฐบาลจีน รวมถึงนโยบายจีนในการสอดส่องประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ซึ่งล่าสุด UN เปลี่ยนท่าที และมีความเป็นไปได้ที่จะหยุดความร่วมมือกับ Tencent
องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization - WIPO) สังกัด UN เปิดเผยว่าปีที่แล้วจีนยื่นขอจดสิทธิบัตรมากที่สุดแซงสหรัฐที่เป็นเบอร์ 1 มาตลอดนับตั้งแต่มีความร่วมมือด้านสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (เริ่มจาก Patent Cooperation Treaty) ในปี 1978
WIPO เผยว่าปีที่แล้วจีนยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาไปทั้งหมด 58,990 รายการ เพิ่มขึ้น 200 เท่าเมื่อเทียบกับราว 20 ปีที่แล้ว ขณะที่สหรัฐยื่นจดไป 57,840 รายการ โดย WIPO เผยด้วยว่า Huawei เป็นองค์กรที่ยื่นจดสิทธิบัตรอันดับ 1 มา 3 ปีติดต่อกัน ส่วนประเทศอันดับ 3 คือญี่ปุ่น ตามมาด้วยเยอรมนีและเกาหลีใต้
จำนวนสิทธิบัตรเป็นตัวบ่งชี้สถานะและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ รวมถึงองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ
มีเอกสารภายในขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) หลุดออกมาทางเว็บไซต์ข่าวด้านสิทธิมนุษยชน The New Humanitarian ว่าระบบเครือข่ายของ UN ในเจนีวาและเวียนนา โดนแฮ็กในช่วงเดือนกรกฎาคม 2019 และมีข้อมูลถูกขโมยออกมาจำนวนหนึ่ง แต่ UN ปิดข่าวเรื่องนี้ไว้ แม้แต่พนักงานของ UN เองก็ไม่ทราบเรื่องนี้
หลังจาก The New Humanitarian รายงานข่าวนี้ โฆษกของ UN ก็ยอมรับว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่บอกว่ายังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ชัด ทำให้ UN ตัดสินใจไม่เปิดเผยเรื่องนี้ต่อสาธารณะ
โซนี (SIE) ประกาศเข้าร่วมโครงการ Playing for the Planet ของ United Nations ที่รณรงค์ให้วงการเกมตั้งแต่กระบวนการพัฒนาไปจนถึงกระบวนการผลิต ที่ต้องใช้กระบวนการที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้พลังงานหมุนเวียน รวมถึงลดขยะอิเล็คทรอนิคส์ ด้วยการทำให้วัสดุทั้งหมดไม่ว่าจะคอนโซลหรือแผ่นเกมสามารถรีไซเคิลได้ 100%
ความพยายามเบื้องต้นของโซนีคือ ลดการใช้งานพลังของคอนโซลรุ่นหน้าขณะอยู่ในโหมดสแตนด์บาย โดยข้อมูลจาก National Resource Defense Council ที่เคยออกรายงานว่าด้วยการใช้พลังงานของคอนโซลชี้ว่า PlayStation 4 ใช้พลังงานราว 8.5W-10W ในโหมดสแตนด์บาย ให้อยู่ที่ราว 0.5W
นักวิจัยจาก Global Pulse โครงการวิจัยด้าน Big Data, AI ของ UN ได้เผยแพร่เปเปอร์งานวิจัยที่ว่าด้วยการฝึก AI ให้สามารถเขียนสุนทรพจน์สำหรับในการประชุมสามัญของ UN ได้ภายใน 13 ชั่วโมงและงบประมาณเพียง 7.8 เหรียญ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการใช้งานแพลตฟอร์มคลาวด์
เครื่องมือที่ Global Pulse ใช้เป็นเครื่องมือโอเพนซอสทั้งหมด ส่วนข้อมูลที่ป้อนเอาจากสุนทรพจน์ทั้งหมดที่ถูกพูดในการประชุมสามัญของ UN ตั้งแต่ปี 1970 ถึง 2015 ก่อนจะแบ่งออกมาเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ คือหัวข้อทั่วไป (อาทิ โลกร้อน), สุนทรพจน์เปิดประชุมของเลขาธิการ UN และประเด็นที่อ่อนไหว อาทิ ชมกลุ่มน้อย โดยใช้โมเดล Deep Learning
Google ร่วมมือกับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติหรือ UN Environmental ภายใต้โครงการวัดผลกระทบของกิจกรรมมนุษย์ต่อระบบนิเวศทั่วโลก โดยจะนำ Big Data มาใช้งานร่วมกับวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการนี้จะให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์กับองค์กรและประเทศให้เข้าถึงข้อมูลสำคัญเหล่านี้ได้ฟรี เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการกำหนดนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหา และเปิดโอกาสให้ประเทศเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
The Guardian เผย Elon Musk และ Mustafa Suleyman ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จาก Google และผู้คนจากองค์กรด้านเทคโนโลยีรวม 116 รายร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกร้องต่อองค์การสหประชาชาติ (UN) ให้ยุติการใช้อาวุธสังหารอัตโนมัติ (killer robots หรือ lethal autonomous weapons) เมื่อไม่นานมานี้ UN เพิ่งจะมีการโหวตให้เริ่มหารือกันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ซึ่งรวมทั้งโดรน รถถัง ปืนกลอัตโนมัติ
บริษัทที่ปรึกษาด้านไอที Accenture ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ นำเทคโนโลยี blockchain มาสร้างโซลูชันการยืนยันตัวบุคคล เพื่อสนับสนุนภารกิจของ UN ที่พยายามแก้ปัญหาประชากรโลก 1.1 พันล้านคนที่ยังไม่มีวิธีการยืนยันตัวตนใดๆ
Accenture เปิดตัวโซลูชันนี้ในงานประชุม ID2020 ที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติที่นิวยอร์ก โซลูชันต้นแบบของ Accenture ใช้เทคโนโลยี Enterprise Ethereum Alliance ที่ไมโครซอฟท์ร่วมก่อตั้ง และรันอยู่บน Azure
Google และ UNHCR ร่วมมือกันทำเว็บไซต์เผยแพร่เรื่องราววิกฤตผู้อพยพซีเรียแบบ 360 องศา ในชื่อว่า Searching for Syria เป้าหมายคือสร้างความรับรู้ต่อผลกระทบจากสงครามที่มีต่อมนุษย์ โดยใช้ข้อมูลของ UNHCR หรือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กับภาพถ่ายดาวเทียมมาประกอบเข้าด้วยกัน ในเว็บไซต์มีทั้งรูปภาพ วิดีโอ และเนื้อหาบทความเกี่ยวกับวิกฤตในซีเรีย
Google เผยว่า มีคนค้นหาเรื่องราวซีเรียบน Google มากมาย เทรนด์ค้นหา What is happening in Syria? เป็นเทรนด์ค้นหาอันดับต้นๆ ของประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษในปีที่แล้ว Google จึงร่วมมือกับ UNHCR จัดทำเว็บไซต์ข้อมูลเฉพาะเจาะจงเรื่องซีเรียขึ้น โดยหวังว่าเนื้อหาในเว็บไซต์จะช่วยตอบคำถามการค้นหาอย่างละเอียดและลึกซึ้งมากขึ้น
Yukiya Amano ผู้อำนวยการของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency - IAEA) เปิดเผยว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โรงงานนิวเคลียร์ตกเป็นเป้าโจมตีทางไซเบอร์ และเป็นเป้าของกลุ่มกองกำลังติดอาวุธมากยิ่งขึ้น
ผอ. IAEA ระบุว่าถึงแม้ภัยคุกคามที่เกินขึ้นจะเป็นไปในลักษณะที่ทำให้วุ่นวายมากกว่าก่อให้เกิดความเสียหาย (disruptive, not destructive) เนื่องจากไม่ได้มีโรงงานนิวเคลียร์โรงไหนที่ต้องหยุดการทำงาน แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้ได้แล้ว พร้อมเผยด้วยว่าทาง IAEA ช่วยฝึกพนักงานและแบ่งปันข้อมูล เพื่อตระหนักและเพิ่มความระมัดระวังในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์นี้ด้วย
จากข่าว Yahoo ส่งข้อมูลอีเมลผู้ใช้ตามคำขอของหน่วยงาน NSA สหรัฐฯ ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของ UN แสดงความกังวลว่าการกระทำของ Yahoo ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพการแสดงออกของผู้ใช้งานอีเมล
David Kaye ผู้เสนอรายงานพิเศษด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของสหประชาชาติ ระบุในเอกสารแถลงการณ์ว่า จากการที่ Yahoo ตอบรับคำขอเฝ้าระวังของรัฐบาลโดยไม่ผ่านกฎหมายนี้ เห็นได้ชัดว่าการที่รัฐบาลกับบริษัทเทคโนโลยีร่วมมือกันนั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน
ที่มา - United Nations Human Rights Office of the High Commissioner
หนังสือพิมพ์ The Hill ของสหรัฐอเมริกา รายงานว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) ลงมติประณามการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ (consensus) ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
มติดังกล่าวถือเป็นมติต่อเนื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบนอินเทอร์เน็ตที่ทางคณะมนตรีฯ ได้ออกมติมาแล้วเป็นฉบับที่สองตั้งแต่ปี 2012 โดยมตินี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการประณามการปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต รวมถึงยังประณามการคุกคามผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ใช้เสรีภาพและสิทธิมนุษยชนบนอินเทอร์เน็ตด้วย และเรียกร้องให้ชาติสมาชิกต่างๆ ให้ความสำคัญกับประเด็นความปลอดภัยและสิทธิส่วนบุคคล รวมถึงลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วย
เนื่องในวันสตรีสากล (International Women's Day) วันที่ 8 มีนาคมนี้ โซเชียลยักษ์ใหญ่อย่างยูทูบเปิดตัวคลิปใหม่ทาง YouTube Space ชื่อว่า 100 Years of Incredible Women รวมเหล่าผู้หญิงที่เป็นดารายูทูบ 7 คน มาสวมบทบาทเป็นหญิงเก่งในประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปถึงร้อยปี อย่าง แคทเทอรีน เฮบเบิร์น หรือ มาริลีน มอนโร
ดาราออนไลน์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้แก่ Ingrid Nilsen, Jackie Aina, Yuya, Taty Ferreira, Hayla Ghazal, Louise Pentland, Chika Yoshida
แคมเปญนี้ ยูทูบร่วมมือกับ UN โดย UN แต่งตั้งเหล่าผู้หญิงที่มีผู้ติดตามมากเป็นอันดับต้นๆ บนยูทูบเป็น "Change Ambassadors"
พร้อมกับการเปิดตัว SDK รุ่น 3.0 ของ DJI ที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถใช้งานโดรนทำอะไรได้หลากหลายยิ่งขึ้น ก็มาพร้อมกับการแข่งขันชิงเงินรางวัลกว่า 100,000 เหรียญที่ร่วมมือกับ Ford และองค์การสหประชาชาติ (UN) จัดขึ้นมา
ด้วยความที่ร่วมมือกับสององค์กรที่มีเป้าหมายชัดเจนทั้งคู่ ธีมของการแข่งขันครั้งนี้จึงออกมาเป็นการพัฒนาระบบกู้ภัยด้วยโดรนที่ปล่อยตัวจากรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ โดยการพัฒนาระบบนี้จะช่วยให้การสำรวจกู้ภัยโดยโดรนสามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยขึ้น ด้วยการตัดส่วนที่นักกู้ภัยต้องปล่อยโดรนจากพื้น ซึ่งยากที่จะทำในสถานการณ์ภัยพิบัติอย่างน้ำท่วม และแผ่นดินไหว
ช่วงนี้ สหประชาชาติมีการประชุมใหญ่ประจำปี จึงมีผู้นำของประเทศต่างๆ ทั่วโลกไปเยือนสหรัฐอเมริกาพร้อมๆ กัน แต่นอกจากผู้นำประเทศแล้ว ยังมีผู้นำจากโลกธุรกิจไปร่วมเวทีสหประชาชาติด้วย
หนึ่งในผู้นำเหล่านั้นคือ Mark Zuckerberg แห่ง Facebook โดยเขาพูดประเด็นเรื่องการผลักดันให้คนทั้งโลกเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (ตามที่เขาริเริ่มโครงการ Internet.org มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว) ในการประชุมครั้งนี้ Zuckerberg ประกาศความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาชน ONE เพื่อผลักดันให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เป็นหนึ่งในเป้าหมาย Global Goals ของสหประชาชาติ (หน้าแคมเปญรณรงค์)
เป้าหมายของ Zuckerberg ได้รับการสนับสนุจากคนดังอย่าง Richard Branson, Shakira, Bono รวมถึงองค์กรอย่าง Bill & Melinda Gates Foundation และ TED ด้วย
ที่มา - Mark Zuckerberg
ข่าวเก่าหน่อยนะครับ พอดีเพิ่งไปเห็นมาแล้วพบว่าน่าสนใจสำหรับผู้สนใจทางด้าน Internet Policy และ Cyber Law และเข้ากับกระแสกฎหมายความมั่นคงทางดิจิทัลของบ้านเราเลยเอามาเขียนลง
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ที่การประชุมครั้งที่สามของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองรายงานที่มีชื่อว่า "การเคารพและการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล" ซึ่งการรับรองดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาต่อเนื่องมาจากการรับรองสิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคดิจิทัล ที่ผลักดันโดยประเทศเยอรมนีและบราซิลเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการออกมาเปิดโปงการสอดแนมประชาชนของ Edward Snowden
การประชุม Internet Governance Forum ครั้งที่ 9 ประจำปี 2014 ณ กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ได้เสร็จสิ้นลงแล้วในวันนี้ โดยตลอดการประชุมทั้ง 4 วันนี้ ประกอบด้วยตัวแทนจากทั้งภาควิชาการ อุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ หน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐาน และผู้มีส่วนร่วม เข้าร่วมงานด้วยตัวเองและเข้าร่วมแบบทางไกล (remote participants) มากกว่า 3,500 คน
หัวข้อสำคัญที่ได้รับการเน้นเป็นพิเศษในการประชุมครั้งนี้ คือเรื่องของ Net neutrality ที่การถกเถียงระหว่างการรักษาความเป็นกลางของเครือข่ายที่เป็นหลักการสำคัญที่ต้องรักษาเอาไว้กับบริการฟรี (zero-ratings) ในฐานะช่องทางการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้ที่มีรายได้น้อย โดยการถกเถียงนี้คาดว่าจะสานต่อไปในปีหน้า ณ การประชุม IGF 2015 ที่บราซิล
หลายคนอาจจะรู้จักองค์กรอย่าง ITU (International Telecommunication Union) ในฐานะสำนักพิเศษ (specialized agency) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านโทรคมนาคม แต่ในโครงสร้างขององค์การสหประชาชาติเอง ก็มีการประชุมแยกย่อยจำนวนมาก หนึ่งในนั้นก็คือ IGF หรือ Internet Governance Forum
IGF เป็นการประชุมที่มีหัวเรื่องในประเด็นของอินเทอร์เน็ต โดยเน้นหนักไปที่นโยบายและการจัดการอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักเป็นเวทีที่ตัวแทนขององค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานรัฐ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ อย่างเช่น ภาคประชาสังคม สื่อสารมวลชน ฯลฯ เข้ามามีส่วนร่วม โดยมีประชุมทุกปี และปีนี้ถือเป็นปีที่ 9 แล้วสำหรับการประชุมนี้ ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ในวันที่ 1-6 กันยายน ที่จะถึงนี้
หนังสือพิมพ์ Der Spiegel ของเยอรมนี "อ้าง" ว่าเห็นเอกสารของ NSA ที่นาย Edward Snowden นำออกมา (แต่ยังไม่เปิดเผยเอกสารนี้ต่อสาธารณะ) ที่ระบุว่า NSA เคยเจาะระบบการสื่อสารของสหประชาชาติด้วยเช่นกัน
ตามข่าวบอกว่า NSA เคยแกะข้อมูลจากระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ใช้ภายในสหประชาชาติ โดยข้อมูลเหล่านี้ถูกเข้ารหัสไว้ การแกะข้อมูลเกิดขึ้นช่วงฤดูร้อนของปี 2012 และจำนวนของข้อมูลที่ถูกแกะคือ 458 ชิ้น
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า NSA ดักฟังข้อมูลของสถานทูตของสหภาพยุโรปในสหรัฐมาแล้ว สำนักงานของสหภาพยุโรปและสหประชาชาติตั้งอยู่ในเมืองนิวยอร์กทั้งคู่
เว็บไซต์หลักขององค์การสหประชาชาติตกเป็นเป้าหมายการโจมตีอีกครั้งโดยแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อแฝงว่า Casi ผลจากการโจมตีในครั้งนี้ทำให้ข้อมูลที่เป็นบัญชีผู้ใช้จำนวนมากถูกขโมยออกไป แต่ไม่ได้มีการเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ
โดยการโจมตีในครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงข้อมูลของบัญชีผู้ใช้ที่ถูกขโมยเพียงอย่างเดียว แฮกเกอร์ได้ทำการประกาศถึงอีกหลายช่องโหว่บนเว็บไซต์ ซึ่งล้วนเป็นช่องโหว่ทาง SQL Injection ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งในตอนนี้ยังไม่มีคำตอบใดๆ จากทางองค์การสหประชาชาติ
ผู้อ่านสามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมรวมทั้งไฟล์แนบได้จากแหล่งที่มาครับ
ที่มา - Voice of Gray Hat
รายงานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตฉบับล่าสุดที่ออกโดยหน่วยงานของสหประชาชาติ เตือนการปิดกั้นเน็ตของรัฐบาลทั่วโลกว่ากระทบต่อพัฒนาการของประชาธิปไตย
เมื่อเร็วๆนี้ องค์การสหประชาชาติ (UN) รายงานว่า ในขณะที่บางประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายและด้วยความเร็วสูง ทว่ายังมีอีกหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศยากจน ยังไม่มีโอกาสแม้แต่การเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “ช่องว่างดิจิตอล” (digital divide)
จากรายงานที่เปิดเผยในคราวจัดงาน ITU Telecom Asia 2008 ที่กรุงเทพฯ ไม่นานมานี้ ได้ระบุว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่เป็นตลาดบรอดแบนด์ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 39% ของตลาดโลก ในขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศยากจนยังมีปัญหาในเรื่องข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและความเร็วใช้งานค่อนข้างต่ำ
กระแสการใช้พลังงานชีวภาพกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในบ้านเราและประเทศในกลุ่มเอเซียแปซิฟิกและยุโรป กำลังสร้างความวิตกต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะไม่คุ้มค่า จนทางองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ต้องออกมาเตือนว่าแม้การใช้พลังงานชีวภาพจะให้ผลดีในแง่ของความมั่นคงทางพลังงาน แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมากเกินกว่าที่เราคาดกัน
การแถลงการครั้งนี้มาจากนาย Regan Suzuki ในงามประชุมวิชาการที่ได้รับการสนับสนุนจากทางสหประชาชาติและรัฐบาลไทย ระบุว่าผลกระทบหลักๆ ของการใช้พลังงานชีวภาพคือ การขาดแคลนอาหาร, การขาดแคลนน้ำที่จะถูกผันไปใช้ในการเกษตร, และพื้นที่ป่าที่จะถูกทำลายเพื่อนำมาเป็นพื้นที่เพาะปลูก
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บขององค์การสหประชาชาติได้ถูกมือดีแฮคเข้าไปเปลี่ยนหน้าเว็บเพจที่เป็นหน้าของนายบัน คี มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยแฮคเกอร์ได้เปลี่ยนข้อความหน้าเว็บเป็นการกล่าวหาสหรัฐและอิสราเอลต่อการเข่นฆ่าเด็ก
โดยมีข้อความดังนี้
Hacked By kerem125 M0sted and Gsy That is CyberProtest Hey Ysrail and Usa, Dont kill children and other people Peace for ever No war
ผู้ดูแลเว็บสหประชาชาติได้เอาข้อความของแฮคเกอร์นี้ได้ออกและระงับการอัพเดทเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และยังมีอีกหลายเว็บซึ่งเป็นขององค์การสหประชาชาติถูกโจมตีเช่น the Economic and Social Council and the Paris ของ U.N. Environment Program ก็ถูกโจมตีอีกเช่นกัน