ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปคนที่เข้าใช้งาน YouTube จะได้เห็นระบบโฆษณารูปแบบใหม่ที่กูเกิลได้ตัดสินใจนำมาใช้กับเว็บ YouTube
โดยระบบใหม่นี้นั้นจะนำโฆษณาไปติดบนวีดีโอคลิปเลย ทำให้กูเกิลสามารถหาเงินได้กับโฆษณาไม่ว่าผู้ใช้จะมีการสั่งบล็อกโฆษณาด้วยเว็บบราวเซอร์หรือเมื่อผู้ใช้ได้ใส่วีดีโอแบบ Embed เข้าไปบนเว็บอื่นก็ตาม
โดยโฆษณานั้นจะเลื่อนเข้ามาด้านล่างของวีดีโอบนแถบกึ่งโปร่งแสง (Semi-transparent banner) ประมาณ 15 วินาที เมื่อผู้ใช้ทำการคลิ๊กโฆษณานั้นวีดีโอจะหยุดอัตโนมัติแล้วเปิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมา
หลังจากไมโครซอฟท์ออกบริการ adCenter ซึ่งเทียบได้กับ AdWord มาได้สักพัก ก็ได้เวลาของบริการที่เอามาชนกับ AdSense ไมโครซอฟท์เรียกมันว่า "Content Ads" (กดเข้าไปดูภาพประกอบ)
ในระยะแรกนั้น Content Ads จะแสดงเฉพาะบน MSN และเว็บไซต์พันธมิตรเท่านั้น และยังเปิดให้กับลูกค้าเฉพาะในสหรัฐ ส่วนรูปแบบการแสดงผลตามคีย์เวิร์ด และการคิดราคาโดยประมูลคีย์เวิร์ดก็ใกล้เคียงกับ AdSense แต่ไมโครซอฟท์ยังไม่พูดอะไรเกี่ยวกับการอนุญาตให้ติด Content Ads บนเว็บไซต์ของเราเอง แล้วแบ่งรายได้แบบที่ AdSense ทำนะครับ คาดว่าถ้าสำเร็จในขั้นแรกแล้วคงตามมา
แคมเปญ Why Firefox is Blocked รณรงค์เว็บไซต์ให้ต่อต้าน Firefox (โดยการเช็ค user-agent) โดยมีเหตุผลว่า Firefox มี Adblock Plus ซึ่งทำให้รายได้เข้าเว็บจากโฆษณาสูญหายไป แถม Adblock Plus ยังไม่สามารถให้เจ้าของเว็บไซต์เลือกบล็อคโปรแกรมบล็อคโฆษณาได้ (เค้าเขียนอย่างนี้จริงๆ "the real problem is Ad Block Plus's unwillingness to allow individual site owners the freedom to block people using their plug-in. ") ทางออกจึงมีอย่างเดียวคือบล็อค Firefox เสียเลย
Alex Kinnier ผู้จัดการฝ่าย Group Product ของทางกูเกิลได้เขียนบล็อกขนาดยาวขี้แจงถึงแรงจูงใจในการเข้าซื้อ DoubleClick บริษัทให้บริการข้อมูลโฆษณารายใหญ่ หลังจากที่มีการโจมตีกูเกิลว่ากำลังพยายามครอบครองข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าอย่างหนัก
กูเกิลให้เหตุผลว่ากูเกิลเพียงพยายามเจาะตลาด display ad ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และในตอนนี้ถูกครองตลาดอยู่โดย Yahoo!, AOL และ MSN โดยตลาด display ad นี้จะต่างจาก text ad แบบที่กูเกิลใช้งานอยู่ตรงที่โฆษณาแบบนี้ต้องการการวัดผลว่าการโฆษณาลงในเว็บใด ได้ผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ขณะที่ text ad นั้นวัดเอาจากความเกี่ยวข้องของเนื้อหาเอาได้
ยักษ์ใหญ่วงการสื่อออนไลน์ Yahoo Inc. จะเปิดตัวเครื่องมือการตลาดสำหรับลูกค้าเพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถจัดการกับหน้าโฆษณาบนหน้าเว็บที่ตัวเองกำลังเสิร์ชได้ด้วยนโยบายกระตุ้นส่วนแบ่งทางการตลาดใน display advertising
กำหนดเปิดโปรแกรมตัวใหม่ของ Yahoo จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่จะถึงนี้โดยให้ชื่อเจ้าโปรแกรมนี้ว่า SmartAds และด้วยโปรแกรมดังกล่าว ผู้โฆษณาสามารถที่จะรวบรวมโฆษณาได้ตรงเป้าตามที่ผู้ใช้บริการระบุไว้ในข้อมูลประวัติของตัวเอง โดยเจ้า SmartAds เชื่อมโยงข้อมูลทางด้านสถานที่ จับตาการค้นหาล่าสุดของผู้ใช้บริการและในบางกรณีอาจมีโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับอายุและรายได้ของผู้ใช้บริการอีกด้วย
หลังอกหักจาก DoubleClick ถึงแม้จะเสนอเงินให้เยอะกว่า (กูเกิลจ่าย 3.1 พันล้านเหรียญ - ข่าวเก่า) ไม่ถึงเดือนดี ไมโครซอฟท์ก็ประกาศซื้อกิจการบริษัทโฆษณาออนไลน์อีกแห่งชื่อ aQuantive ด้วยราคา 6 พันล้านเหรียญ หรือคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 2 แสนล้านบาท!! นับเป็นการซื้อกิจการที่มีมูลค่าสูงที่สุดที่ไมโครซอฟท์เคยทำมา
กระแสการซื้อบริษัทโฆษณาออนไลน์ช่วงนี้อาจมีผลต่อราคา เพราะนอกจาก DoubleClick แล้ว กลุ่มบริษัท WPP ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทโฆษณาดังๆ อย่าง Ogilvy หรือ JWT ก็เพิ่งซื้อบริษัทโฆษณาชื่อ 24/7 Real Media ไปเช่นกัน
Google ร่วมกับ บริษัท EchoStar Communication ซึ่งเป็นเอเจนซี่โฆษณาทางโทรทัศน์ ทำการขายโฆษณาให้กับธุรกิจต่างๆที่ต้องการจะเสนอโฆษณากับผู้รับชมโทรทัศน์ผ่านทางจานดาวเทียม 13.1 ล้านคนทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา
การโฆษณาจะเลือกแพร่ภาพโดยเลือกจากกลุ่มประชากรเป้าหมาย ศาสนา เวลา ช่องสถานี และโปรแกรมรายการ และยังมีการใช้ Adword บนทีวีด้วย โดยข้อมูลเหล่านี้จะต้องมี set-top boxes ตัวหนึ่ง
ผู้โฆษณาจะใช้ auction interface แบบ Adword ในการประมูลโฆษณา โดยที่ทำการอัพโหลดโฆษณาของตัวเองขึ้นไป พร้อมทั้งเลือกช่องสถานีและเวลาที่ต้องการ รวมไปถึงพื้นที่ของประเทศที่ต้องการจะโฆษณา หรือในอีกทางหนึ่ง ก็เลือกเป็นลักษณะประชากร เช่น ชาย อายุระหว่าง 18-34 ได้
เกิดเรื่องเซอร์ไพรส์สุดๆในงานประกาศรางวัลโฆษณายอดเยี่ยม สิงโตทองคำ คานส์ 2006 (Cannes Lion) ในหมวดสื่อไซเบอร์ เมื่อแคมเปญ Stillfree จากบริษัท Marc Echo Enterprise ขึ้นรับรางวัลชนะเลิศ ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้ค่าคิดงาน หรือต้นทุนในการโปรโมทหรือลงโฆษณาเลยซักแดงเดียวจาก คลิปฉาว ที่ส่งต่อกันไปทั่วอินเทอร์เน็ต แซงหน้าบริษัทโฆษณาอื่นๆที่คิดงานกันแทบเป็นแทบตาย ..
ประเด็นหนึ่งที่เราเคยได้ยินกันมาในช่วงที่ GMail ออกมาใหม่ๆ คือประเด็นความเป็นส่วนตัวเนื่องจากกูเกิลมีการใช้ข้อมูลในเนื้อเมลเพื่อแสดงโฆษณา ตอนนี้ไมโครซอฟท์กำลังพยายามเจาะตลาดโฆษณาซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งนี้ ด้วยการนำข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งผู้ใช้ Hotmail ได้กรอกไว้เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อเลือกโฆษณาให้ตรงเป้าหมาย และการใช้วิธีการนี้มีผลต่อบริการจำนวนมากของไมโครซอฟท์
ตัวอย่างการใช้ข้อมูลเหล่านี้ เช่นเมื่อผู้ใช้ค้นหาผ่านทาง Microsoft Live Search ด้วยคำว่า "รถ" เว็บของไมโครซอฟท์จะตรวจสอบว่าผู้ค้นหาเป็นผู้ใช้ Hotmail หรือไม่ หากใช่ก็จะตรวจสอบถึงเพศ อายุ และข้อมูลอื่นๆ เพื่อแสดงโฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด