Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ได้เข้าร่วมเซสชัน AMA หรือ Ask-Me-Anything ของ Reddit เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (อย่าลืมว่าเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วย) โดยมีประเด็นน่าสนใจเมื่อมีคนถามว่า OpenAI มีความคิดจะกลับมาเผยแพร่รายละเอียดเทคโนโลยีของโมเดล AI ต่อสาธารณะอีกครั้งหรือไม่
Altman ตอบว่าส่วนตัวเขาเชื่อว่าบริษัทเลือกผิดข้างที่ทำเทคโนโลยีปิด และเริ่มทบทวนกลยุทธ์โมเดลโอเพนซอร์สเหมือนกัน ซึ่งพนักงาน OpenAI บางส่วนก็หารือเรื่องนี้กันอยู่ แต่หลายคนก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้เปิดเผยรายละเอียด อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ไม่ใช่หัวข้อเร่งด่วนที่ OpenAI จะตัดสินใจในเวลานี้
OpenAI ประกาศปล่อยโมเดล o3-mini ตามที่เคยสัญญาไว้
OpenAI เปิดตัวโมเดลตระกูล o3 มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2024 ถือเป็นเวอร์ชันพัฒนาขึ้นจากโมเดล o1 เดิม (ข้าม o2 ไปด้วยเหตุผลเรื่องเครื่องหมายการค้ากับโอเปอเรเตอร์ O2) มีประสิทธิภาพตอบคำถามด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ (STEM) ได้ดีกว่า ตอบเร็วกว่า o1-mini โดยยังคงต้นทุนในการรันระดับเดียวกับ o1-mini
The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องบอกว่า OpenAI กำลังเจรจาเพื่อรับเงินลงทุนรอบใหม่สูงถึง 40,000 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์ โดยมี SoftBank เป็นแกนนำในการลงทุนรอบนี้
ตัวเลขเบื้องต้นส่วนที่ SoftBank จะลงทุนอยู่ที่ราว 15,000-25,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแหล่งข่าวบอกว่าตัวเลขมูลค่ากิจการที่คุยกันครั้งแรกนั้นอยู่ที่ 340,000 ล้านดอลลาร์ แต่มีการปรับลดลงมา
มูลค่ากิจการปัจจุบันของ OpenAI อยู่ที่ 157,000 ล้านดอลลาร์ จากการรับเงินลงทุนเมื่อเดือนตุลาคม 6,600 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง SoftBank ก็ร่วมลงทุนด้วยเช่นกัน
ไมโครซอฟท์เปิดให้ผู้ใช้ Copilot ทุกคน เข้าถึงโมเดล OpenAI o1 ที่มีจุดเด่นเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผล (reasoning model) และมีความสามารถตอบคำถามด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เขียนโปรแกรม ดีขึ้นกว่าโมเดลรุ่นก่อนๆ มาก แลกกับการที่ต้องใช้เวลาประมวลผลนานขึ้นเป็นราวๆ 30 วินาที
ไมโครซอฟท์เรียกฟีเจอร์นี้ว่า Think Deeper เปิดให้ผู้ใช้ทุกคนใช้งานฟรี หากเข้าไปในเว็บหรือแอพ Copilot จะเห็นปุ่ม Think Deeper โผล่ขึ้นมาแล้ว เมื่อกดแล้ว Copilot จะใช้เวลานานขึ้นในการคิด และตอบคำถามให้ยาวและละเอียดมากขึ้น
Mark Chen (Chief Research Officer ของ OpenAI) แสดงความคิดเห็นผ่านทาง X (Twitter) ว่าขอแสดงความยินดีกับทีม DeepSeek ที่สามารถพัฒนาโมเดล LLM ให้มีความสามารถด้าน Reasoning เทียบเท่ากับ OpenAI o1 ได้
Chen กล่าวชื่นชมว่าทีมพัฒนา DeepSeek สามารถค้นพบแนวคิดหลักบางส่วนที่ทีม OpenAI ใช้ในการพัฒนา o1 ได้ด้วยตนเอง โดยระบุว่า "...they've independently found some of the core ideas that we did on our way to o1"
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเปิดเผยว่า Microsoft และ OpenAI กำลังสอบสวนว่าข้อมูลที่สร้างจากเทคโนโลยีของ OpenAI ถูกนำไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง โดยกลุ่มพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของจีนซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับ DeepSeek
เรื่องเริ่มจากทีมงานวิจัยด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ได้ตรวจสอบ พบว่ามีการดึงข้อมูลจำนวนมากออกไปผ่าน API ของ OpenAI อย่างไม่ถูกต้อง ทางไมโครซอฟท์จึงแจ้งปัญหานี้ไปที่ OpenAI ให้ตรวจสอบเพิ่มเติมในกิจกรรมที่น่าสงสัยนี้ต่อไป
Microsoft, OpenAI และ DeepSeek ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อรายงานนี้
ที่มา: Bloomberg
OpenAI เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ChatGPT Gov ซึ่งนำ ChatGPT มาปรับแต่งสำหรับใช้งานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา พร้อมรองรับช่องทางในการใช้งานโมเดลใหม่ของ OpenAI ด้วย
หน่วยงานของรัฐบาลสามารถนำ ChatGPT Gov มารันได้ทั้งบนคลาวด์ของ Microsoft Azure หรือคลาวด์ที่ควบคุมเฉพาะ Azure Government ผ่านบริษัท OpenAI ของ Azure ทำให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการความปลอดภัยและปกป้องข้อมูลได้ตามเงื่อนไขของหน่วยงานนั้น ซึ่งรวมทั้งการจัดการข้อมูลที่ไม่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะด้วย
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับบริษัทปัญญาประดิษฐ์จากจีน DeepSeek แล้วเช่นกัน โดยเขาบอกว่า โมเดล R1 นั้น "น่าประทับใจ" (impressive) โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนในการพัฒนาที่ต่ำ
เขาเสริมว่า OpenAI ยังคงเดินหน้าพัฒนาโมเดล AI ที่ดีกว่านี้ขึ้นไปอีก การมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาก็เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น ขอให้ติดตามโมเดลใหม่ ๆ กันต่อไป
ประเด็นสำคัญที่ถกเถียงกันมากตอนนี้คือการพัฒนาโมเดล AI รุ่นใหม่ยังต้องใช้ทรัพยากรประมวลผลขั้นสูงอีกหรือไม่ Altman เสริมว่า OpenAI ยังคงเดินหน้าแผนวิจัยพัฒนาต่อไปตามเดิม ซึ่งการไปถึงจุดนั้นทรัพยากรประมวลผลจะมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนี้ในโลกคือความต้องการ AI ที่มากขึ้นมาก
OpenAI ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้อินเทอร์เฟซ ChatGPT Canvas ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานเขียนโค้ดหรือปรับปรุงการเขียนบทความ รายละเอียดดังนี้
OpenAI เปิดตัว Operator ผู้ช่วย AI Agent ที่สามารถทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้งานได้ตามที่กำหนดผ่านเว็บเบราว์เซอร์
Operator ทำงานผ่านเบราว์เซอร์ของผู้ใช้งานเอง มีความสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาที่แสดงบนเว็บไซต์ และดำเนินการโต้ตอบเช่น พิมพ์ คลิก เลื่อนหน้า ซึ่งเป็นวิธีการที่แตกต่างจากเครื่องมือประเภทบอต และยังสามารถกรอกแบบฟอร์ม ทำคำสั่งซื้อ และอื่น ๆ
Operator ทำงานบนโมเดลใหม่ของ OpenAI ชื่อ CUA ย่อมาจาก Computer-Using Agent โดยนำความสามารถด้าน Visual ของ GPT-4o รวมกับวิธีคิดเป็นเหตุผลผ่านระบบเรียนรู้ reinforcement ทำให้โต้ตอบกับสิ่งที่ปรากฎบนหน้าจอได้แบบเดียวกับคนเห็น แล้วโต้ตอบดำเนินการกับสิ่งเหล่านั้นได้
หลัง Donald Trump ประกาศโครงการ Stargate ที่จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์ 5 แสนล้านดอลลาร์ ไมโครซอฟท์ก็ออกมาย้ำถึงข้อตกลงกับ OpenAI ที่ยังมีผลไปถึงปี 2030 ได้แก่
ประธานาธิบดี Donald Trump ประกาศโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน AI ของภาคเอกชน โดยการก่อสร้างจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาผ่านบริษัทร่วมทุนซึ่งเรียกชื่อว่า Stargate
บริษัทร่วมทุนนี้มีบริษัทใหญ่เข้าร่วม 3 รายคือ Oracle, SoftBank และ OpenAI ซึ่งซีอีโอของทั้งสามบริษัทคือ Larry Ellison, Masayoshi Son และ Sam Altman ก็เข้าร่วมการแถลงข่าวที่ทำเนียบขาวด้วย มูลค่าการลงทุนรวม 5 แสนล้านดอลลาร์ ในระยะเวลา 4 ปี โดยยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะมีบริษัทอื่นเข้าร่วมด้วยเช่นกัน
Trump บอกว่าการลงทุนนี้ถือเป็นเรื่องฉุกเฉินของอเมริกา โครงสร้างพื้นฐาน AI ต้องถูกสร้างขึ้นมา มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากจึงต้องมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ มารองรับ คาดว่าจะเพิ่มการจ้างงานได้กว่า 1 แสนตำแหน่ง
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI เปิดเผยว่าบริษัทได้เข้าสู่การพัฒนาเวอร์ชันสุดท้ายของโมเดลคิดเป็นเหตุเป็นผล o3-mini แล้ว ซึ่งจะปล่อยออกมาให้ใช้งานในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
OpenAI เปิดตัวโมเดลใหม่ o3 และ o3-mini เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว มีความสามารถทำข้อสอบ ARC-AGI ที่ต้องใช้ความเข้าใจกฎของแต่ละข้อได้คะแนนสูงกว่ามนุษย์ทั่วไป ซึ่งตอนนั้น OpenAI บอกว่าทั้งสองโมเดลยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัย คาดว่า o3-mini จะเผยแพร่ออกมาได้ก่อน
Altman บอกว่าทั้ง API และการทำงานบน ChatGPT จะรองรับพร้อมกันกับการเผยแพร่โมเดล o3-mini นี้ด้วย
OpenAI เพิ่มความสามารถใหม่ให้ ChatGPT เรียกว่า Tasks ที่ให้ผู้ใช้งานตั้งการแจ้งเตือน หรือสั่งให้ ChatGPT ทำสิ่งต่าง ๆ แบบกำหนดเวลาได้
ความแตกต่างของ Tasks กับผู้ช่วยตั้งค่าแจ้งเตือนที่มีอยู่แล้วอย่าง Google Assistant หรือ Siri คือการรองรับอินพุทภาษาที่มากกว่า โดย ChatGPT สามารถส่งการแจ้งเตือนได้ทั้งแบบครั้งเดียว หรือการแจ้งเตือนซ้ำเป็นประจำ ขึ้นอยู่กับการกำหนดไว้ นอกจากนี้แชทบอตยังสามารถแนะนำด้วยว่าต้องการตั้งค่าแจ้งเตือนในหัวข้อต่าง ๆ ที่กำลังสนทนาหรือไม่
คำสั่งแจ้งเตือนยังเพิ่มความซับซ้อนในงานได้เช่น ให้ทำรายงานสรุปข่าวสภาพอากาศทุกวันตอน 6 โมงเช้า, ส่งแผนออกกำลังกาย 15 นาที แต่ละวัน เป็นต้น การแจ้งเตือนนี้รองรับทั้งบนเว็บและแอปมือถือ
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่าบริษัทใหญ่ที่พัฒนาปัญญาประดิษฐ์หลายราย เริ่มใช้แหล่งข้อมูลเพื่อเทรน AI ซึ่งเป็นข้อมูลคุณภาพสูงที่ไม่มีปรากฏในสาธารณะ นั่นคือฟุตเทจวิดีโอของครีเอเตอร์ที่ไม่ได้นำมาใช้งาน
รายงานระบุบริษัทที่พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เช่น OpenAI, Google, Moonvalley ได้เจรจากับคอนเทนต์ครีเอเตอร์หลายร้อยราย เพื่อขอใช้ฟุตเทจวิดีโอที่ไม่ได้เผยแพร่สำหรับการเทรนโมเดล AI ในราคา 1-4 ดอลลาร์ต่อฟุตเทจยาว 1 นาที ราคาถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับคุณภาพความละเอียด และการผลิต เช่น วิดีโอจากโดรนหรืออนิเมชัน 3D จะมีราคาสูงกว่า
เรื่องมีอยู่ว่า Triplegangers เว็บขายชุดข้อมูล 3D สแกนร่างกายของมนุษย์จริงล่มไม่สามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยพบรีเควสจำนวนมหาศาลหลายหมื่นรีเควสจาก GPTBot หรือบอตดูดเนื้อหาของ OpenAI
Oleksandr Tomchuk ซีอีโอ Triplegangers บอกว่าเว็บขายข้อมูล 3D สแกนร่างกายของมนุษย์จริง ซึ่งเคลมว่ามีชุดข้อมูลใหญ่ที่สุด มีรายการข้อมูลให้เลือกมากกว่า 65,000 รายการ มีหน้าสินค้าแยกกัน แต่ละหน้ามีรูปภาพอย่างน้อย 3 รูป เมื่อบอตของ OpenAI เข้ามาดูดข้อมูลมหาศาลในคราวนี้จึงเกิดทราฟิกสูงจนไม่สามารถให้บริการได้ เขาพบว่ามีหมายเลขไอพีที่ยิงเข้ามาถึงกว่า 600 ไอพีจนเหมือนการทำ DDoS
ตำรวจลาสเวกัสแถลงข่าวผลการสอบสวน เหตุการณ์ที่คนร้ายวางระเบิดรถกระบะไฟฟ้า Tesla Cybertruck หน้าโรงแรม Trump Hotel ซึ่งคนร้ายที่เป็นคนขับรถเสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บอีกหลายคน โดยบอกว่าคนร้ายใช้ ChatGPT ช่วยวางแผนก่อเหตุครั้งนี้
Sam Altman โพสต์ข้อความ (หรืออาจเรียกว่าบ่น) ใน X บอกว่าเรื่องที่บ้ามากอย่างหนึ่งคือ OpenAI ให้บริการ Subscription เทียร์บนสุด Pro แบบขาดทุนอยู่ตอนนี้ เพราะว่าคนใช้งานกันมากกว่าที่ประเมินไว้
ปัจจุบันการใช้งาน ChatGPT แบบเสียเงิน มีแพ็คเกจที่ราคาแพงที่สุดคือ ChatGPT Pro ซึ่งคิดราคาเดือนละ 200 ดอลลาร์ แพ็คเกจนี้เพิ่งออกมาให้เลือกใช้งานเมื่อเดือนที่แล้ว สามารถใช้งานโมเดล o1 และ o1-mini แบบไม่จำกัด ส่วน o1 pro mode มีการจำกัดจำนวน
ร้อนแรงกันตั้งแต่ปีใหม่เมื่อ Geoffrey Hinton หนึ่งในสองนักวิทยาศาสตร์ฉายา AI Godfather ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปีที่แล้ว จากงานวิจัยด้าน Machine Learning ออกมาประกาศสนับสนุน Elon Musk ที่ฟ้องร้อง OpenAI ประเด็นการขอปรับโครงสร้างบริษัท มาเป็นบริษัทแสวงหากำไร (For-Profit) จากที่ตอนนี้เป็นแบบไม่แสวงหากำไร (Non-Profit) แล้วมีบริษัทลูกที่หากำไรแบบจำกัดเพดาน
Hinton ออกแถลงการณ์ผ่าน Encode ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เฝ้าระวัง AI ว่า OpenAI ถูกก่อตั้งขึ้นโดยมุ่งเน้นความปลอดภัยของปัญญาประดิษฐ์ มีธรรมนูญที่ระบุไว้ชัดเจน บริษัทยังได้สิทธิทางภาษีมากมายจากการมีสถานะเป็นบริษัท Non-Profit หากยอมให้มีการฉีกข้อกำหนดนี้ได้ย่อมส่งผลลบต่อภาพรวมในวงการปัญญาประดิษฐ์
OpenAI ประกาศเตรียมเปลี่ยนโครงสร้างฝั่งธุรกิจ หรือ OpenAI LP ที่เคยจำกัดการให้ผลตอบแทนผู้ลงทุนไม่เกิน 100 เท่าตัว มาเป็นบริษัทมุ่งประโยชน์สาธารณะ (Delaware Public Benefit Corporation - PBC) ที่แม้จะระบุว่าต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะพร้อมๆ กับกำไร แต่ก็ปลดเงื่อนไขจำกัดกำไรออกไป
ประกาศของ OpenAI บอกตรงๆ ว่าโครงสร้างปัจจุบันกรรมการบริษัท (ซึ่งถูกควบคุมโดยฝั่งมูลนิธิ) ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ของผู้ที่ลงทุนฝั่งธุรกิจ โครงสร้างใหม่จะปล่อยให้ PBC ตัดสินใจฝั่งธุรกิจได้มากขึ้น ขณะที่ฝั่งมูลนิธิจะไปดูโครงการอื่นๆ เช่น สุขภาพ, การศึกษา, และวิทยาศาสตร์
ทาง OpenAI ประกาศเหตุผลของการปรับโครงสร้างครั้งนี้ว่าการสร้าง AGI ต้องอาศัยทรัพยากรมากกว่าที่เคยคิดไว้
ข้อมูลนี้มาจาก The Information อ้างเอกสารที่ได้รับ พูดถึงข้อตกลงของไมโครซอฟท์กับ OpenAI ในการนิยามว่าอะไรคือปัญญาประดิษฐ์ความสามารถรอบด้าน (AGI - Artificial General Intelligence) ซึ่งหากจำกันได้ เคยมีรายงานก่อนหน้านี้ ว่าหาก OpenAI สามารถพัฒนา AGI ขึ้นมาได้เมื่อใด ไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นผู้ลงทุนและพาร์ตเนอร์หลัก จะถูกตัดการเข้าถึงเทคโนโลยีของ OpenAI ทันที ด้วยเหตุผลความปลอดภัยป้องกันไม่ให้ใครนำ AGI ไปใช้ต่อในทางไม่เหมาะสม
มีรายงานปัญหา ChatGPT และบริการ AI ตัวอื่นของ OpenAI ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อคืนนี้ โดยข้อมูลจาก Downdector ระบุว่าเริ่มมีปัญหาตั้งแต่เวลาประมาณ 1:00น. ส่วนสถานะปัจจุบันพบปัญหาน้อยลง
OpenAI ยืนยันปัญหานี้ตั้งแต่ 2:00น. โดยให้รายละเอียดว่าพบความผิดพลาดเพิ่มสูงขึ้นทั้ง ChatGPT, Sora และ API สถานะล่าสุดเมื่อเวลา 7:00น. Sora และ API กลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว ส่วน ChatGPT กำลังทยอยกลับมาใช้งานได้
ChatGPT มีปัญหากระทบการใช้งานเป็นวงกว้างครั้งที่สองในเดือนนี้ โดยก่อนหน้านี้เกิดขึ้นวันที่ 12 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ iOS 18.2 ออกอัปเดต และรองรับการเชื่อมต่อ ChatGPT ผ่าน Apple Intelligence
ประเด็นไมโครซอฟท์พยายามลดการพึ่งพาการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ด้วยเทคโนโลยีของ OpenAI (ที่บริษัทไปลงทุน) นั้นมีออกมาระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดสำนักข่าว Reuters บอกว่าไมโครซอฟท์เริ่มเปิดแนวทางให้ Microsoft 365 Copilot ใช้งานโมเดล AI ที่เป็นโมเดลของไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นเอง ไปจนถึงการใช้โมเดล AI จากบริษัทภายนอกอื่นเข้ามาเสริมแล้ว
The Wall Street Journal มีรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ถึงปัญหาและอุปสรรค์ของการพัฒนา GPT-5 โมเดลแชทบอตปัญญาประดิษฐ์เวอร์ชันใหม่ของ OpenAI หรือที่มีโค้ดเนมภายในว่า Orion ซึ่งพัฒนามานาน 18 เดือนแล้ว
OpenAI ได้เทรนข้อมูลครั้งใหญ่สำหรับ Orion แล้วสองครั้ง โดยมีเป้าหมายให้ Orion เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ฉลาดรอบรู้มากขึ้น แต่ปัญหาที่พบว่าคือความสามารถของ Orion ยังไม่ก้าวกระโดดไปจาก GPT-4 อย่างที่คาดหวัง และอีกปัญหาสำคัญคือการเทรนแต่ละครั้ง กินเวลา 6 เดือน ใช้ทรัพยากรเพื่อประมวลผลอย่างเดียวราว 500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นต้นทุนทั้งเงินและเวลาที่สูงกว่าทุกครั้ง