ธนาคาร UOB เริ่มเปิดบริการ TMRW บริการธนาคารออนไลน์ที่ไม่ต้องพบพนักงาน แต่ยังต้องเดินทางไปสาขาเพื่อยืนยันตัวตนตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยผู้ใช้ต้องยืนยันตัวตนกับตู้หน้าธนาคาร ที่มักติดตั้งไว้ข้างตู้ ATM เดิม แต่วันนี้ผมพบว่าเริ่มมีเครื่อง TMRW ในร้านกาแฟ au bon pain แล้ว
เครื่อง TMRW นี้มีขนาดเล็กประมาณแคชเชียร์คิดเงินของร้านค้าเท่านั้น มีเพียงจอสัมผัสพร้อมกล้อง, เครื่องอ่านสมาร์ตการ์ดและลายนิ้วมือ
การที่ UOB เลือกติดตั้งเครื่องนี้ไว้ในร้านกาแฟ หากประสบความสำเร็จ ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ที่จะติดตั้งที่อื่นๆ และการเดินทางไปยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีก็ไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปสาขาธนาคารอีกต่อไป
เช้าวันนี้ตั้งแต่ช่วงเวลา 7:30 นาที ลูกค้าธนาคารไทยพาณิย์ ไม่สามารถล๊อกอินเข้าใช้งาน SCB Easy แอปได้ โดยขึ้นข้อความ "ไม่สามารถเชื่อมต่อบริการได้ขณะนี้ กรุณาลองใหม่อีกครั้ง" ซึ่งพบปัญหาสำหรับผู้ใช้งานผ่าน Application บนโทรศัพท์มือถือทั้งระบบ iOS และ Android ส่วนช่องทางผ่านเว็บ www.scbeasy.com ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ
ที่ผ่านมาหลายแอปของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ยังคงพบปัญหาไม่สามารถใช้งานได้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะพบเป็นประจำทุกสิ้นเดือน โดย ณ วันสิ้นเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่าน ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการ Mobile Banking มากถึง 74% ต่อจำนวนประชากรผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทำให้เป็นแชมป์โลกผู้ใช้ Mobile Banking แซงหน้ากลุ่มผู้นำเดิมอย่างสวีเดน (71%) และ เกาหลีใต้ (66%)
Hong Kong Monetary Authority (HKMA) หรือธนาคารกลางฮ่องกงรายงานถึงปัญหาการโจมตีผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ด้วยการส่งเมลปลอม, หลอกให้ลงแอปปลอม, หรือล่อให้เข้าเว็บปลอม ว่ากำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมมีผู้เสียหายในปี 2018 ทั้งหมด 142 กรณี
แม้จำนวนจะยังไม่สูงนัก แต่อัตราการเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็วมาก โดยปี 2016 มีเพียง 35 กรณี และปี 2017 มี 44 กรณี หากแยกย่อยออกมาปัญหาเมลฟิชชิ่งเพิ่มขึ้นเร็วมาก จากเดิมมีไม่ถึง 10 กรณี ในปี 2018 มีรายงานถึง 62 กรณี
Mary Huen Wai-yi ประธานสมาคมธนาคารฮ่องกงยอมรับว่าการให้บริการดิจิทัลมากขึ้นก็ทำให้ความเสี่ยงการโจมตีเช่นนี้มากขึ้นไปด้วย โดยระบุว่าอาจจะต้องมีการควบคุมข้อมูลส่วนตัวให้มากขึ้นเช่นเดียวกับในยุโรป
หลายคนอาจได้ใช้กันมาหลายวันแล้ว แต่ธนาคารกรุงไทยเพิ่งแถลงข่าวเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับแอพ Krungthai Next ให้ทัดเทียมกับธนาคารอื่นๆ ดังนี้
Qin Qisheng อดีตโปรแกรมเมอร์ซีเนียร์ของธนาคาร Huaxia ในจีนถูกศาลอุทธรณ์ยืนยันจำคุก 10 ปีครึ่ง หลังจากเขาถอนเงินจากบัญชีทดสอบ (dummy account) มูลค่ารวมกว่า 7 ล้านหยวนหรือกว่า 30 ล้านบาท โดยอ้างว่าทดสอบระบบ
Qin พบบั๊กในระบบคอร์แบงค์ของธนาคาร Huaxia โดยหากลูกค้าถอนเงินทาง ATM ช่วงราวๆ เที่ยงคืน รายการถอนเงินจะไม่ถูกบันทึกเข้าไปในระบบ เขาระบุว่าปัญหาที่พบมีความซับซ้อนสูงเพราะใช้ซอฟต์แวร์ที่ซื้อมาจากผู้ขายที่เป็นต่างชาติ ตัวลูกค้าที่พบปัญหาก็มักไม่ยอมรายงานปัญหา การทดสอบเพื่อหาต้นตอปัญหาตามระบบต้องอาศัยคนนอกธนาคารจำนวนมากและมีความซับซ้อนสูง
บริการออนไลน์ทั้งแอปและบริการผ่านเว็บของธนาคาร Wells Fargo ซึ่งเป็นธนาคารอันดับสี่ของสหรัฐฯ ดับยาวตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา จนถึงตอนนี้รวมเวลากว่า 7 ชั่วโมงแล้ว
ทาง Wells Fargo ระบุว่าศูนย์ข้อมูลอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงตามรอบ แต่ระบบดับเพลิงกลับตรวจพบควันไฟ ทำให้ระบบอัตโนมัติตัดไฟฟ้าจนระบบใช้การไม่ได้ นอกจากนี้ตำรวจดับเพลิงยังถูกเรียกไปยังศูนย์ข้อมูลแต่ไม่พบเพลิงไหม้แต่อย่างใด
โดยปกติแล้วระบบสำคัญระดับธนาคารควรมีระบบสำรองในระดับที่ย้ายศูนย์ข้อมูลได้ แต่เห็นได้ชัดว่าระบบนี้ไม่ทำงาน ทางเว็บ The Register ระบุว่าได้รับ "ข่าวลือ" ว่าระบบอาจจะดับข้ามวันเลยทีเดียว
ธนาคารกสิกรไทยประกาศแจ้งเตือนลูกค้าที่ใช้งาน K PLUS ให้อัพเดตเป็นเวอร์ชัน 5.0 ใหม่ที่เปลี่ยนหน้าตาใหม่หมด ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์นี้ หลังจากนั้นแอปเวอร์ชันเก่าจะไม่สามารถใช้งานได้
ทั้งนี้ K PLUS เวอร์ชันใหม่รองรับ iOS 9.3 และแอนดรอยด์ 5.0 ขึ้นไป สามารถอัพเดตได้โดยตรงทั้งบน App Store และ Play Store
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
ปีที่แล้วลูกค้ากว่า 5 ล้านคนของธนาคาร TSB ในอังกฤษต้องประสบปัญหาระบบออนไลน์ไม่เสถียรเป็นเวลานาน โดยกว่าจะหมดปัญหาก็กินเวลาเกือบครึ่งปีจนกระทั่งต้องเปลี่ยนตัวซีอีโอ ตอนนี้รายงานงบการเงินประจำปีของ TSB ก็ออกมาแล้ว และพบว่าธนาคารบันทึกค่าใช้จ่าย "หลังย้ายระบบ" ถึง 330.2 ล้านปอนด์ หรือ 13,500 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายแยกเป็น การชดเชยลูกค้า 125.2 ล้านปอนด์, ความสูญเสียจากการฉ้อโกง 49.1 ล้านปอนด์, สูญเสียรายได้ 33.5 ล้านปอนด์ และค่าจ้างพนักงานเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหา 122.4 ล้านปอนด์
ผลกระกอบการรวมของธนาคารปี 2018 ขาดทุน 105.4 ล้านปอนด์ เทียบกับปี 2017 ที่กำไร 162.7 ล้านปอนด์
นักวิจัยความปลอดภัยได้ค้นพบเซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลสำคัญของ State Bank of India หรือ SBI ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียเปิดไว้ใช้งานโดยไม่มีรหัสผ่านเข้าฐานข้อมูล
เซิร์ฟเวอร์ของ SBI นี้อยู่ที่ศูนย์ข้อมูลในเมืองมุมไบ เก็บข้อมูล 2 เดือนย้อนหลังจาก SBI Quick ระบบข้อความตัวอักษรและโทรศัพท์ที่ใช้สำหรับการขอข้อมูลพื้นฐานของบัญชีธนาคารโดยลูกค้า ซึ่งตัวเซิร์ฟเวอร์ของ SBI นี้ไม่ได้ถูกล็อกรหัสผ่านไว้ ดังนั้นใครรู้แค่เพียงช่องทางเข้าก็สามารถเข้าเซิร์ฟเวอร์ไปเรียกดูข้อมูลนับล้านของลูกค้าได้ทันที
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เชื่อว่าระบบธนาคารไทยในปีนี้จะมีความพร้อม ไม่ล่มเหมือนปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มความสามารถระบบอีก 2 เท่าตัว และมีช่องทางสำรองที่ทำให้การทำธุรกรรมไม่สะดุด
ปีที่ผ่านมาพร้อมเพย์ล่มหนักๆ 2 ครั้ง ได้แก่ เช้าวันที่ 31 ธันวาคม 2017 ที่ล่มยาวทั้งวัน (แถมระบบไม่แจ้งเตือน อมเงินผู้ใช้ที่โอนออกอยู่ครึ่งวัน) กับช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
สำหรับผู้ใช้คงต้องรอดูว่าช่วงปลายปีซึ่งน่าจะมียอดธุรกรรมค่อนข้างมาก ระบบการเงินจะทำงานได้สมบูรณ์หรือไม่ หรือหากมีปัญหาขึ้นมาจริงๆ จะสามารถปรับปรุงกระบวนการแจ้งเตือนประชาชนให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิมได้หรือยัง
กระแสความตื่นตัวของ Bitcoin และเงินคริปโตตั้งแต่ช่วงปลายปี 2017 มาจนถึงต้นปี 2018 และมีสถาบันการเงินหลายแห่งทั่วโลกที่ "ทดลอง" นำเงินคริปโตไปใช้งานในแง่มุมต่างๆ
แต่เมื่อปี 2018 ใกล้สิ้นสุดลง กระแสเงินคริปโตซบเซาลงไปมาก การทดลองเหล่าก็ไม่บังเกิดผลสักเท่าไร และมีธนาคารหลายแห่งเริ่มชะลอหรือยกเลิกโครงการด้านคริปโตแล้ว
ตัวอย่างที่โดดเด่นคือ Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ของโลก และเป็นรายแรกๆ ที่หันมาจับด้านการลงทุนในเงินคริปโต ก็พับแผนบริการด้านเทรดเงินคริปโตลงไป และการนำ Bitcoin มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ Non-Deliverable Forward (NDF) ก็มีลูกค้าเพียง 20 รายเท่านั้น
กรุงศรี คอนซูมเมอร์เผยฟีเจอร์ใหม่ของแอพพลิเคชั่นจัดการบัตรเครดิต UCHOOSE ที่จะเกิดขึ้นในปี 2019 คือเพิ่ม marketplace ในแอพ, จ่ายค่างวดในแอพโดยตรง, เพิ่มปลั๊กอินพาร์ทเนอร์เข้ามาในแอพ เป็นต้น
Philip Lowe ผู้ว่าแบงค์ชาติออสเตรเลีย (Governor of Reserve Bank of Australia) กล่าวเปิดงาน Australian Payment Summit โดยพูดถึงความก้าวหน้าของการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ในออสเตรเลีย ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อัตราการถอนเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มลดลงเหลือเพียง 25 ครั้งต่อปี จากเดิมสูงถึง 40 ครั้งต่อปี ขณะที่การใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกือบ 500 ครั้งต่อปี
เขายังพูดถึงปัจจัยสำคัญ 3 ประการต่อการใช้งานเงินอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
RACV (Royal Automobile Club of Victoria) บริษัทประกันในออสเตรเลีย ส่งไฟล์ตัดเงินแบบ direct debit จากบัญชีลูกค้าผิดพลาด ทำให้มีรายการซ้ำกันในลูกค้ารายเดิมนับร้อยครั้ง และธนาคารฝั่งผู้ค้า (merchant acquirer) คือ National Australia Bank (NAB) ก็ประมวลผลไฟล์ตามนั้น ส่งผลให้ลูกค้าจำนวนมากถูกดึงเงินออกจากบัญชีจนหมด
ลูกค้าบางรายถูกตัดเงินสูงถึง 50,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือ 1.2 ล้านบาท ลูกค้ารายหนึ่งระบุว่าถูกตัดเงินถึง 239 ครั้ง รวมหลายหมื่นดอลลาร์
NAB รันระบบตัดเงินจนครบทั้งไฟล์ที่ RACV ให้มา แต่ก็เห็นความผิดปกติหลังจากนั้นและพยายามดึงเงินคืนลูกค้าพร้อมกับแจ้ง RACV ลูกค้า NAB นั้นจะได้เงินอย่างรวดเร็วแต่ลูกค้าธนาคารอื่นอาจจะต้องรอถึง 5 วัน
ธนาคาร TSB ในอังกฤษย้ายระบบไอทีใหม่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา และทำให้ระบบล่มต่อเนื่องยาวนานหลายวัน และระบบไม่เสถียรนานนับเดือน ตอนนี้ทางธนาคารก็แต่งตั้งซีอีโอใหม่แล้ว Debbie Crosbie ที่ตอนนี้เป็นซีโอโอของกลุ่ม CYBG เจ้าของธนาคารสองแห่งในอังกฤษ โดยจะเริ่มงานในปี 2019
Christine Lagarde ผู้อำนวยการ IMF ขึ้นปาถกฐาที่งาน Singapore Fintech Festival ระบุถึงเหตุผลที่ธนาคารกลาง (แบงค์ชาติ) อาจจะควรสร้างเงินดิจิทัลขึ้นมาให้ประชาชนใช้งาน แทนที่จะปล่อยให้กระบวนการเปลี่ยนเงินดิจิทัลไปอยู่ในมือเอกชน
การบรรยายนี้อ้างถึงรายงาน Casting Light on Central Bank Digital Currencies ของ IMF ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ระบุถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางจะออกเงินดิจิทัล (central bank digital currency - CBDC) เพิ่มเติมจากการออกเงินสดเช่น ธนบัตรและเหรียญที่ออกอยู่แล้วทุกวันนี้
Line Financial ประกาศเข้าถือหุ้นธนาคารใหม่ในไต้หวันที่กำลังก่อตั้ง เป็นสัดส่วนถึง 49.9% ขณะที่อีก 40.1% จะถือหุ้นโดย 4 ธนาคารดั้งเดิม ธนาคารใหม่นี้จะให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเดียวเท่านั้น
ธนาคาร Taipei Fubon ถือหุ้นเป็นอันดับสอง 25.1% ขณะที่อีกสามธนาคาร ได้แก่ CTBC, Standard Chartered, และ Union Bank จะถือหุ้นอีกรายละ 5%
ก่อนหน้านี้ธนาคาร Taipei Fubon เข้าถือหุ้นใน Line Pay ไต้หวัน 19.99% มูลค่า 3.15 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน
กรรมการกำกับดูแลธุรกิจการเงิน (Financial Supervisory Commission - FSC) คาดว่าไต้หวันจะออกใบอนุญาตธนาคารออนไลน์อย่างเดียวได้ 2 ใบอนุญาตภายในปีนี้
PayMe บริการ e-Wallet ของธนาคาร HSBC ในฮ่องกงถูกโจมตีจากอาชญากรด้วยการหลอกเหยื่อเอารหัสอีเมล เพื่อรีเซ็ตรหัสผ่านตัวแอป และสั่งโอนเงินออกไปจากเหยื่อประมาณ 20 ราย รวมมูลค่าความเสียหาย 100,000 ดอลลาร์ฮ่องกง
เหยื่อเหล่านี้ถูกอีเมล phishing หลอกถามรหัสผ่าน แต่ตัวแอปเองกลับไม่ได้ป้องกันเงินด้วยการล็อกอินสองขั้นตอน แต่ต้องการเพียงรหัสผ่านที่รีเซ็ตด้วยอีเมลได้
ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์หลายรายในฮ่องกง เช่น ประธานสมาคมอินเทอร์เน็ตฮ่องกง, ประธานสหพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศฮ่องกง ออกมาแสดงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่าการป้องกันลูกค้าเป็นหน้าที่ของธนาคาร ในกรณีธนาคารควรใช้การล็อกอินสองขั้นตอนเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัย
ทาง HSBC ยืนยันว่าแอปไม่ได้มีช่องโหว่และปลอดภัยดี
update ผมทดสอบช่วงเที่ยงตรงเริ่มกลับมาใช้งานได้แล้ว
วันนี้ระบบธนาคารกรุงไทย ล่มทั่วประเทศ โดยผู้ใช้รายงานว่าแม้แต่บริการหน้าสาขาก็ไม่สามารถใช้งานได้เช่นกัน บนหน้า KTB Care ของธนาคารกรุงไทยยังไม่ได้แจ้งอะไรผู้ใช้ แต่มีผู้ใช้จำนวนหนึ่งเข้าไปแจ้งปัญหาเช่นกัน
ธนาคารกรุงไทยเพิ่งอัพเดตแอปเป็น Krungthai NEXT เมื่อกลางเดือนที่ผ่านทา และช่วงแรกๆ ของการอัพเกรดก็มีปัญหาใช้งานไม่ได้เช่นกัน เดือนนี้คงเป็นเดือนที่ผู้ใช้มีปัญหากับธนาคารกรุงไทยมากสักหน่อย
UPDATE หลังเหตุการณ์นี้ หน้าจอธนาคารแจ้งปิดปรับปรุงจนถึงเวลา 10.30น. และตอนนี้กลับมาใช้งานได้แล้ว
ตั้งแต่ช่วง สิบโมงที่ผ่านมาแอป SCB Easy มีปัญหาไม่สามารถล็อกอินได้ แม้ฝั่งเว็บจะยังสามารถใช้งานได้อยู่ ปัญหานี้ดูจะจำกัดเฉพาะแอปอุปกรณ์เคลื่อนที่เท่านั้น
ผมทดสอบโอนเงินเข้าบัญชี SCB พบว่า SCB Connect ผ่าน LINE ยังทำงานได้ดี แต่ตัวแจ้งเตือนจาก SCB Easy นั้นมาช้าไปประมาณ 5 นาที
ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศแผนการออกฟีเจอร์ใหม่ให้แอพ SCB Easy ในอีก 6 เดือนข้างหน้าหลายอย่าง ที่เด่นๆ มีดังนี้
ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดแถลงข่าวครบรอบ 1 ปีที่แอพ SCB Easy ปรับโฉมครั้งใหญ่เป็นเวอร์ชัน 3.0 มีสถิติที่น่าสนใจดังนี้
หลังจากที่ธนาคารกรุงไทยเปิดให้ดาวน์โหลดแอพเวอร์ชันใหม่ตั้งแต่อาทิตย์ก่อน และได้รับเสียงวิจารณ์อย่างท่วมท้นล้นหลาม โดยเฉพาะในเวอร์ชันแอนดรอยด์ วันนี้กรุงไทยได้เปิดตัวแอพ Krungthai NEXT อย่างเป็นทางการ ที่อาคารสำนักงานใหญ่ ถนนสุขุมวิท
ผู้บริหารของธนาคารกรุงไทยกล่าวว่า Krungthai NEXT จะตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐ ส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมไร้เงินสด นอกจากนี้ ยังตอบสนองกับกระแส Mobile Banking ที่มีผู้ใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ
เดือนนี้ถือเป็นเดือนแห่งการยกเครื่องแอพมือถือของธนาคารหลายราย ถัดจาก K PLUS เวอร์ชันใหม่ของธนาคารกสิกรไทย ก็มีแอพของธนาคารกรุงไทยตามมา
วันนี้ฝั่งของธนาคารกรุงไทยอัพเดตแอพ KTB Netbank เป็นแอพชื่อใหม่ Krungthai NEXT (ชื่อภาษาไทยในแอพคือ กรุงไทย เน็กซ์) เปลี่ยนไอคอนมาเป็นรูปนกวายุภักษ์ สัญลักษณ์ของธนาคารแทนตัว N ของ Netbank เดิม พร้อมเปลี่ยนโฉมหน้าตาใหม่ทั้งหมดให้ดูทันสมัยและใช้ง่ายขึ้น
ฟีเจอร์ของ Krungthai NEXT มีตั้งแต่ความสามารถพื้นฐานของแอพธนาคารทั่วไป เช่น โอนเงิน เติมเงิน จ่ายบิล สแกน QR เพื่อรับเงิน ไปจนถึงการพ่วงกับบริการในเครือธนาคารกรุงไทย เช่น บัตรเครดิต KTC และบัตร Travel Card