นักวิจัยประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนลิกนิน อันเป็นสารเคมีองค์ประกอบที่มักกลายเป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการอุตสาหกรรมให้กลายเป็นสารเคมีทำละลายน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน
ลิกนินที่ว่านี้คือพอลิเมอร์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ส่วนลำต้นของพืช ถือเป็นพอลิเมอร์ที่พบได้มากที่สุดตามธรรมชาติเป็นอันดับ 2 รองจากเซลลูโลส ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมันมักเป็นของเหลือทิ้งที่ถูกมองข้ามการใช้ประโยชน์จากกระบวนการทางอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ถูกใช้เผาเป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น ทั้งกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษที่มีการต้มเนื้อไม้เพื่อเอาเส้นใยไปใช้เป็นเยื่อกระดาษ รวมทั้งอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ประเภทอื่นๆ และการทำเชื้อเพลิงไบโอแมส
Microsoft เตรียมเปิดใช้งานศูนย์ข้อมูลใหม่ ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากกากขยะล้วนๆ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยด้านพลังงานของ Microsoft
ศูนย์ข้อมูลดังกล่าวตั้งอยู่ที่เมือง Cheyenne ในรัฐ Wyoming ซึ่ง Microsoft ใช้เวลาก่อสร้างมา 2 - 3 ปีมาแล้ว ทั้งนี้เมื่อแรกเริ่มงานสร้าง Microsoft ได้ประกาศชัดว่าพวกเขาต้องการให้ศูนย์ข้อมูลแห่งนี้อาศัยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซชีวภาพซึ่งสร้างจากกากขยะของชุมชนล้วนๆ
นักวิจัยในประเทศจีนได้ประกาศถึงความสำเร็จในการแปรรูปฟางข้าว ให้เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนราคาถูกสำหรับพลังงานชีวภาพ โดยทางทีมวิจัยอ้างว่า ด้วยวิธีใหม่นี้จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานชีวภาพจากฟางข้าวได้ถึง 65%
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ตัดสินใจไม่ใช้ฟางข้าวเป็นแหล่งพลังงาน เนื่องจากว่าฟางข้าวนั้นมีโครงสร้างของเซลลูโลสที่ซับซ้อน และแข็งแกร่ง จึงทำให้แบคทีเรียไม่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสเหล่านั้นได้โดยง่าย
หนึ่งในวิธีใหม่ของนักวิจัยกลุ่มนี้คือ การนำฟางข้าวไปผ่านกระบวนการทางเคมีกับโซดาไฟ (Sodium Hydroxide) ก่อนที่จะนำไปหมักกับแบคทีเรีย โดยกระบวนการดังกล่าวนี้จะเพิ่มปริมาณของเซลลูโลสในฟางข้าวที่สามารถถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียได้
จากความพยายามที่จะสร้างแหล่งพลังงานหมุนเวียน (renewable energy) เพื่อที่จะมาทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ได้มีผลทำให้อาหารมีราคาสูงขึ้นทั่วโลก (เช่นข้าว และ น้ำตาล) นักพัฒนาจึงได้เริ่มค้นคว้าถึงความเป็นไปได้ที่จะลดผลกระทบของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพต่อราคาของอาหาร โดยหลีกเลี่ยงการใช้พืชที่มนุษย์สามารถนำมาบริโภคได้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีเอกสารทั้งหมด 3 ฉบับ ที่ได้มีการวิเคราะห์ และชี้แจงถึงอุปสรรค และความเป็นไปได้ของวิธีการต่างๆ ที่สามารถสรุปได้ดังนี้
จากการศึกษาประจำปีของประเทศบราซิล พบว่า สัดส่วนการใช้พลังงานที่มาจากอ้อย ซึ่งถูกแปรรูปไปใช้ในรูปแบบของเอธานอล และพลังงานจากกากอ้อย เพิ่มสูงขึ้นเป็น 16% จากปีที่แล้ว 14.5% แซงหน้า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากน้ำ ขึ้นเป็นที่ 2 ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
โดยอันดับ 1 ยังคงเป็นน้ำมันด้วยสัดส่วน 36%
แนวโน้มสัดส่วนของการใช้พลังงานชีวภาพในประเทศบราซิลจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับจากนี้ไป แม้ว่าจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมก็ตาม
นอกจากนี้บราซิลยังสามารถผลิตน้ำมันได้เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ และมีเหลือพอที่จะส่งออกได้อีกด้วย
ที่มา Physorg
ปัจจุบันการหาพลังงานทดแทนมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากปริมาณเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีราคาสูงขึ้นและมลพิษที่เกิดขึ้นทำให้หลายหน่วยงานวิจัยทำการวิจัยในพลังงานทดแทน หนึ่งในพลังงานที่ได้รับความสนใจคือพลังงานจากไฮโดรเจนที่นำมาทำเซลลฺ์เชื้อเพลิง เนื่องจากเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะหลังจากเผาไหม้แล้วจะได้แค่ไอน้ำออกมา
ในสภาวะที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงอย่างในปัจจุบัน ทำให้การใช้พลังงานทางเลือกเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งแหล่งพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ก็คงหนีไม่พ้นพลังงานชีวภาพ
อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับการนำพลังงานชีวภาพ มาใช้กันแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เหตุผลหลักๆ ของฝ่ายที่คัดค้าน ก็คือ เรื่องการใช้พลังงานทั้งหมด ในวงจรของการปลูกและผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และปัญหาเรื่อง ปริมาณอาหารที่จะเพียงพอหรือไม่ หากเรานำมาใช้ผลิตเป็นพลังงาน