AWS เปิดตัว VPC Traffic Mirroring ฟีเจอร์ใหม่เพื่อการตรวจสอบทราฟฟิกเครือข่ายบน Virtual Private Cloud และเปิดให้ทดลองใช้งานแบบเบต้าแล้ว
VPC Traffic Mirroring สามารถสั่งแยกทราฟฟิกที่สนใจออกมาจากเวิร์คโหลดใด ๆ ใน VPC และ route ไปยังเครื่องมือที่ต้องการได้ เพื่อความรวดเร็วในการวิเคราะห์และจัดการปัญหา รวมถึงใช้เพื่อดูสภาพเครือข่ายและการควบคุมในระบบได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้มีข้อมูลในการตัดสินใจได้ดีขึ้น
MongoDB เปิดตัวบริการคลาวด์ Atlas Data Lake เป็นบริการล่าสุดในตระกูลบริคลาวด์ Atlas ของบริษัท จุดสำคัญคือการคิวรีข้อมูลตรงจาก AWS S3 ด้วย MongoDB Query Language เหมือนมีฐานข้อมูลอยู่
บริการนี้รองรับไฟล์ฟอร์แมต JSON, BSON, CSV, TSV, Avro, และ Parquet โดยผู้ใช้ต้องให้สิทธิอ่านไฟล์กับใน bucket หรือ directory ของ S3 กับทาง MongoDB
ระบบภายในของ Data Lake จะสร้างเซิร์ฟเวอร์สำหรับประมวลผล (compute node) ใน region เดียวกับที่ข้อมูลวางอยู่เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำสุด จากนั้นจะประมวลผลตามคำสั่งคิวรีที่ได้รับมาโดยอาจเปิดเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาหลายตัวเพื่อทำงานขนานกัน จากนั้นจะรวมเอาผลลัพธ์เข้าด้วยกัน
จากรายงานเมื่อต้นสัปดาห์ว่า แอปเปิลจ่ายค่าบริการคลาวด์ AWS เดือนละ 30 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่แล้ว ก็มีรายงานที่แย้งกันออกมาจาก The Information
ข้อมูลจาก The Information ระบุว่า ในปีที่แล้ว 2018 แอปเปิลจ่ายเงินให้ AWS ตลอดทั้งปี 370 ล้านดอลลาร์ หรือราว 30 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน แต่ตัวเลขในปี 2017 แอปเปิลจ่ายเงินถึง 775 ล้านดอลลาร์ เท่ากับปี 2018 นั้น แอปเปิลจ่ายเงินค่าคลาวด์ AWS ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ไม่ได้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างรายงานก่อนหน้านี้ ทั้งยืนยันว่าแอปเปิลมีทิศทางชัดเจนว่าต้องการให้ iCloud เปลี่ยนมาใช้ศูนย์ข้อมูลของแอปเปิลให้มากที่สุด
แม้ว่า Apple และ Amazon จะเป็นคู่แข่งกันในฝั่งธุรกิจฝั่งผู้บริโภค แต่ฝั่งด้านธุรกิจด้านองค์กรนั้น Apple ยังคงจ่ายเงินให้ Amazon เรื่อยมา โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านคลาวด์ AWS ซึ่ง CNBC รายงานว่า Apple จ่ายเงินค่า AWS ถึงราวเดือนละ 30 ล้านดอลลาร์ เพื่อส่งบริการออนไลน์ต่าง ๆ สู่ผู้ใช้ ซึ่งมากพอที่จะทำให้ Apple เป็นลูกค้ารายสำคัญของ AWS
แหล่งข่าวของ CNBC ระบุว่า ตัวเลข 30 ล้านดอลลาร์เป็นค่าเฉลี่ยต่อเดือนของไตรมาสแรกของปีนี้ โดย Apple จ่ายมากขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเมื่อปีที่แล้วทั้งปี Apple จ่ายให้ AWS เป็นเงินราว 350 ล้านดอลลาร์ แต่ถ้าปีนี้ทั้งปี Apple ใช้ AWS ด้วยอัตราเดียวกับไตรมาสแรก เท่ากับว่าทั้งปี Apple อาจต้องจ่ายให้ AWS ถึง 360 ล้านดอลลาร์
AWS มีแพลตฟอร์มหลักในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ขึ้นคลาวด์คือระบบปฎิบัติการ FreeRTOS วันนี้ก็ประกาศรองรับสถาปัตยกรรม RISC-V เพิ่มเติม
ตอนนี้เคอร์เนล FreeRTOS มีคอนฟิกตัวอย่างสำหรับรองรับอีมูเลเตอร์ RISC-V แล้วหลายตัว เช่น OpenISA VEGABoard, HiFive, Microchip M2GL025 Creative Board
สถาปัตยกรรม RISC-V ได้รับความสนใจมากขึ้นเพราะเป็นสถาปัตยกรรมโอเพนซอร์สเต็มรูปแบบ ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าไลเซนส์รายชิปเหมือนสถาปัตยกรรมอื่นๆ เปิดทางให้ผู้ผลิตสามารถผลิตชิปราคาถูกและมีการปรับแต่งได้อิสระ ที่ผ่านมาบริษัทขนาดใหญ่เช่น Western Digital ก็ประกาศเตรียมย้ายไปใช้สถาปัตยกรรม RISC-V ทั้งหมดพร้อมกับออกแบบชิปเองแล้วแจกเป็นโอเพนซอร์ส
AWS เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของ Elastic File System หรือ EFS คือ EFS Infrequent Access ซึ่งเป็น storage class ใหม่ในราคาถูกลงราว 85% สำหรับการเก็บไฟล์ที่ไม่ได้ใช้งานบ่อย ๆ มาเก็บไว้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
สำหรับไฟล์ที่จะเก็บเข้ามาใน EFS Infrequent Access นี้จะเน้นไฟล์กลุ่มที่ขนาด 128 KiB หรือใหญ่กว่าที่ไม่ได้เข้าใช้งานหรือแก้ไข (ไม่นับการแก้ไข metadata) อย่างน้อย 30 วัน ซึ่งผู้ใช้สามารถเปิด lifecycle management เพื่อให้ระบบทำงานอัตโนมัติ
เนื่องจากไฟล์ EFS Infrequent Access นั้นมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า ก็จะมีข้อแลกเปลี่ยนคือไฟล์ที่อยู่ในคลาสนี้จะมี latency ในการอ่านไฟล์ที่สูงอยู่ในระดับสองหลักมิลลิวินาที ในขณะที่คลาสปกติจะอยู่ที่หนึ่งหลักมิลลิวินาที
Google ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ Google Compute Engine คือระบบ scheduled snapshot หรือระบบสั่งการ snapshot ตัว persistent disk ของ GCE แบบตั้งเวลาล่วงหน้าให้ทำงานได้อัตโนมัติ เพื่อลดความผิดพลาดและประหยัดเวลาในการแบคอัพระบบ
ระบบ snapshot แบบตั้งเวลาของ GCE สามารถตั้งได้ตั้งแต่ระดับชั่วโมง, วัน และสัปดาห์ เช่น สร้าง snapshot ทุก 6 ชั่วโมง, สร้าง snapshot ทุกวันจันทร์, พุธ และศุกร์ รวมถึงสามารถตั้ง retention policy เพื่อให้ระบบลบ snapshot อัตโนมัติตามที่ตั้งไว้ได้ด้วย ซึ่งระบบ snapshot นี้สามารถใช้งานกับ single disk หรือ multiple disk ใน region เดียวกันได้
GoPro ปรับเงื่อนไขแพ็กเกจ GoPro Plus รองรับการจัดเก็บวิดีโอบนคลาวด์ได้ไม่จำกัดและไม่บีบอัดไฟล์ จากเดิมที่เงื่อนไขไม่จำกัดนี้รองรับเฉพาะภาพถ่ายเท่านั้น มีค่าบริการอยู่ที่ 5 ดอลลาร์ต่อเดือน และยังได้ส่วนลด 50% เมื่อซื้ออุปกรณ์เสริมจาก GoPro เพิ่มขึ้นจากส่วนลดเดิมที่ 20%
เงื่อนไขของการจัดเก็บไฟล์วิดีโอและไฟล์ภาพบน GoPro Plus แบบไม่จำกัดและไม่บีบอัดไฟล์นี้ นับเฉพาะที่ถ่ายจาก GoPro อย่างเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตามเงื่อนไขนี้ก็ยังคงนับรวมวิดิโอจาก GoPro ที่ถูกแก้ไขร่วมกับฟุตเทจที่ถ่ายจากสมาร์ทโฟนผ่านแอป Quik ซึ่งเป็นแอปตัดต่อวิดิโอบนสมาร์ทโฟนของ GoPro เองด้วย
AWS เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่บน Network Load Balancer คือ TLS Termination เพื่อให้ load balancer ทำการ terminate การเชื่อมต่อแบบ TLS แทนการให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น backend ทำงานนี้
การใช้ TLS Termination ที่ตัว Network Load Balancer โดยตรง มีข้อดีคือจะทำให้ผู้ใช้จัดการใบรับรองได้ง่ายขึ้น คือแทนที่จะกระจายใบรับรองไปตามเครื่องเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว ก็เปลี่ยนเป็นการวางใบรับรองไว้ที่ load balancer ที่เดียว ซึ่งถ้าใช้ร่วมกับ AWS Certificate Manager ด้วยแล้ว ระบบก็จะจัดการใบรับรองให้อัตโนมัติ
AWS เข้าซื้อบริษัทสตาร์ทอัพจากแวนคูเวอร์ TSO Logic โดยเป็นบริษัทที่เน้นทำเครื่องมือให้คำแนะนำการใช้งานทรัพยากรบนคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องมือของ TSO Logic จะนำข้อมูลเกี่ยวกับเวิร์คโหลดและแอพมาพิจารณาหารูปแบบที่ดีที่สุดในการรันระบบ โดยคำนวณจากปัจจัยหลายอย่างเพื่อหาจุดสมดุล และให้คำแนะนำการใช้งานข้ามกันระหว่าง public cloud และ private cloud ด้วย เพื่อทำให้เวิร์คโหลดบนคลาวด์มีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด ซึ่งเป็นบริการที่เติบโตได้ดีเนื่องจากองค์กรเริ่มสนใจการใช้งานระบบคลาวด์มากขึ้น แต่ระบบคลาวด์ยังมีข้อจำกัดที่ความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้งาน จึงทำให้โซลูชั่นเหล่านี้ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
IDC รายงานภาพรวมของตลาดสินค้าโครงสร้างพื้นฐานไอที (IT Infrastructure) สำหรับคลาวด์ ได้แก่ เซิร์ฟเวอร์, สตอเรจระดับองค์กร และสวิตช์อีเธอร์เน็ต ของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 พบว่ามีการเติบโต 47.2% จากช่วงเดียวกันในปี 2017 มีรายได้รวมมากกว่า 16,800 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวรวมทั้งการขายอุปกรณ์สำหรับคลาวด์แบบ Public และ Private หากคิดตัวเลขรวมไปถึงระดับผู้ให้บริการคลาวด์ รายได้รวมจะอยู่ที่ 65,200 ล้านดอลลาร์
คลาวด์แบบ Public เป็นรายได้ส่วนใหญ่ของตลาดอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็น 68.8%
Amazon เปิดตัวเครื่องมือใหม่บน AWS ในชื่อว่า AWS Well-Architected Tool เป็นเครื่องมือแบบบริการตนเองให้ลูกค้า AWS เข้าใจ best practice ในการใช้งานคลาวด์ และช่วยในการออกแบบระบบโดยไม่ต้องใช้ AWS Solutions Architect
Amazon ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2015 ที่เ AWS Well-Architected Framework และ Are You Well-Architected? ก็ได้รับความสนใจจากผู้ใช้มากมาย และ AWS ก็มี Solutions Architects ที่ทำงานร่วมกับผู้ใช้เพื่อออกแบบระบบคลาวด์ ซึ่งมีผู้ใช้ที่สนใจส่งแบบมาให้รีวิวนับพันรายการต่อปี และความต้องการนี้ดูจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนจำนวนเพิ่มสูงกว่าความสามารถของคนใน AWS แล้ว จึงเปิดตัวเครื่องมือนี้ขึ้นมาเป็น self-service ให้ผู้ใช้บริการตัวเอง
Amazon เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ AWS Cloud Map เพื่อเป็นเครื่องมือศูนย์รวมสำหรับการดีพลอยแอพพลิเคชั่น โดยจะสามารถตรวจสอบส่วนต่าง ๆ ของแอพ, ตำแหน่งที่อยู่, attribute และสถานะของตัวแอพได้ เพื่อให้เหมาะกับยุคปัจจุบันที่ผู้ใช้มักจะดีพลอยแอพแบบ microservice และมีการปรับเปลี่ยน resource ของระบบบนคลาวด์อยู่เสมอ
AWS Cloud Map สามารถเรียกใช้งานได้ผ่าน AWS SDK, API หรือแม้กระทั่ง DNS เพื่อค้นพบตำแหน่งที่อยู่ของเซอร์วิสต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นแอพ และจัดเป็นรูปแบบที่สามารถจัดการได้ง่าย ๆ และยังมีการอัพเดตข้อมูล resource ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
Google ประกาศความก้าวหน้าของ GCP region ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเปิดตัว region ใหม่ที่ฮ่องกงวันนี้ และเตรียมสร้างอีกแห่งในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีแผนให้บริการภายในปี 2020
สำหรับศูนย์ข้อมูลที่ฮ่องกงหรือ asia-east2 เป็นศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 18 ของ GCP ซึ่งมีทั้งหมด 3 availability zone เพื่อให้บริการธุรกิจในพื้นที่ ซึ่งการโฮสต์แอพพลิเคชั่นไว้บนศูนย์ข้อมูลนี้จะเข้าถึงผู้ใช้ในฮ่องกงได้โดยใช้เวลาเพียง 14 มิลลิวินาทีเท่านั้น ส่วนผู้ใช้ในเวียดนามและฟิลิปปินส์ก็จะได้รับผลพลอยได้คือ latency จะลดลงราว 25-30%
Amazon เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ AWS Global Accelerator บริการเครือข่ายที่อำนวยความสะดวกในการจัดการ route traffic ไปหลาย ๆ region เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการให้บริการกับลูกค้า
AWS Global Accelerator นั้นจะทำการเลือก route traffic ให้โดยขึ้นกับตำแหน่งของผู้ใช้, สถานะของแอพ และน้ำหนักที่ผู้ใช้สามารถคอนฟิกได้ รองรับทั้ง UDP และ TCP โดยเมื่อสร้าง Accelerator แล้ว ผู้ใช้จะได้รับไอพีแอดเดรสแบบ Anycast สองหมายเลขมาด้วย โดยไอพีแอดเดรสนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแม้ว่าจะมีการอัพเดตไคลเอนท์เมื่อแอพต้องการสเกล
Amazon เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ AWS Transit Gateway เพื่อช่วยเป็นเกตเวย์ที่เชื่อมต่อ VPC, ศูนย์ข้อมูล, สำนักงานหรือเกตเวย์ที่อยู่ห่างออกไปได้อย่างง่าย ๆ และช่วยทำให้โครงสร้างเครือข่ายบน AWS ยุ่งยากน้อยลง
Transit Gateway ชูจุดเด่นที่ใช้งานง่าย และสเกลได้สะดวก สามารถเพิ่ม VPC ได้สูงสุดถึง 5,000 VPC ต่อเกตเวย์หนึ่งตัว และส่วนที่มาเชื่อมต่อแต่ละส่วนนั้น ตัวเกตเวย์สามารถจัดการทราฟฟิกได้สูงสุดถึง 50 Gb/s และสามารถเชื่อมต่อ VPN เข้ากับ Transit Gateway ได้ด้วย ส่วนการเชื่อมต่อกับ Direct Connect นั้นมีแผนจะเปิดให้ใช้งานในต้นปีหน้า ซึ่งตัว Transit Gateway รองรับการเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้ใช้รวม edge connectivity ที่มีอยู่เข้าด้วยกัน และ route เป็น ingress/egress เพียงจุดเดียวได้
Nutanix ออกรายงาน Enterprise Cloud Index สำรวจการใช้งานคลาวด์ในโลกองค์กร พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด (91%) คิดว่าการใช้งานคลาวด์แบบไฮบริด ผสมกันระหว่าง on-premise และคลาวด์สาธารณะนั้นเป็นรูปแบบที่เหมาะสม แต่การใช้งานจริงในตอนนี้กลับมีเพียง 19% เท่านั้น
ปัจจุบัน องค์กรขนาดใหญ่เห็นความสำคัญคลาวด์แล้วเพราะช่วยเพิ่มความคล่องตัว ทั้งในแง่การใช้ซอฟต์แวร์บริหารข้อมูล ลดภาระค่าใช้จ่ายการลงทุนพื้นที่จัดเก็บ และการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์แบบ on premise
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีคลาวด์ของผู้ให้บริการแต่ละเจ้ามีความแตกต่างกัน อาจไม่เหมาะกับธุรกิจของบริษัทเราทั้งหมด การใช้มัลติคลาวด์ (multi-cloud) หรือการใช้คลาวด์ของผู้ให้บริการหลายรายร่วมกันจึงเป็นคำตอบที่เหมาะสม
ที่งาน Oracle OpenWorld 2018 ปีนี้ Larry Ellison ประธานและ CTO ของออราเคิลขึ้นสาธิตความสามารถของ Oracle Autonomous Database หลังจากเปิดตัวไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยระบุฟีเจอร์สำคัญคือทำงานเป็นแบบ serverless เต็มรูปแบบ ไม่คิดค่าเซิร์ฟเวอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน และไม่มีการดาวน์ระบบแม้จะกำลังอัพเดตแพตช์
Google Cloud Launcher สถานที่ซื้อขายแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์ของ Google จากผู้พัฒนาภายนอก ได้ถูกรีแบรนด์ใหม่แล้วโดยเปลี่ยนเป็นชื่อ Google Cloud Platform Marketplace หรือ GCP Marketplace พร้อมกับเพิ่มแอพพลิเคชั่นแบบคอนเทนเนอร์ ทั้งโอเพ่นซอร์สและเชิงพาณิชย์เข้ามาด้วย
สำหรับแอพแบบคอนเทนเนอร์บน GCP Marketplace ผู้ใช้สามารถ click-to-deploy เพื่อทำการดีพลอยแอพไปยัง Google Kubernetes Engine หรือบริการ Kubernetes อื่น ๆ ได้เลย และคอนโซลของ Kubernetes Engine นั้นก็มีหน้าต่าง GCP Marketplace เพื่อเลือกแอพมาดีพลอยได้ในตัวด้วย
Microsoft เคยเปิดตัว Azure Data Box ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังระบบคลาวด์ Azure มาแล้ว และจากการฟังเสียงตอบรับก็พบว่าลูกค้าต้องการเครื่องมือที่เล็กและมีความจุน้อยกว่าเพื่อใช้ย้ายข้อมูลปริมาณไม่มากนัก จึงทำให้ Microsoft เปิดตัว Data Box Disk ที่เล็กและมีความจุน้อยลง
Microsoft Azure ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่สองอย่างในด้านระบบเครือข่ายสำหรับองค์กร โดยเน้นการทำงานภายในองค์กรที่มีสำนักงานสาขาที่ต้องรักษาความปลอดภัยการเชื่อมต่อรวมถึงการโจมตีจากภายนอกด้วย รวมถึงยังต้องรักษาความง่ายในการดีพลอย, ใช้งาน และจัดการสเกลได้ตามลักษณะงาน คือ Azure Virtual WAN และ Azure Firewall ซึ่งตอนนี้ฟีเจอร์ทั้งสองยังอยู่ในช่วงพรีวิว
AIS เปิดตัวเครือข่าย NB-IoT ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศเป็นรายแรกของไทย พร้อมให้บริการเชิงพาณิชย์กับทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยที่ต้องการพัฒนาสินค้าหรือบริการ ก็สามารถเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ AIS เพื่อเปิดโอกาสใหม่ได้
IBM ประกาศร่วมมือกับ Cloudflare เพื่อทำเครื่องมือสำหรับคลาวด์ เพื่อนำบริการของ Cloudflare มาให้บริการกับลูกค้าของ IBM โดยตรง ซึ่งบริการ Cloud Internet Services ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือนี้จะเป็นการให้บริการโดย Cloudflare
Cloud Internet Service จะมีความสามารถตั้งแต่รักษาความปลอดภัย เช่นการป้องกันปัญหาอย่าง DDoS, บอท, การขโมยข้อมูล ไปจนถึงช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการได้ด้วย โดยผู้ใช้ IBM Cloud สามารถเรียกใช้โซลูชั่นต่าง ๆ ผ่านแดชบอร์ดได้ในไม่กี่คลิก ส่วนบริการบางอย่างของ Cloudflare ที่มีเฉพาะ Enterprise Plan สามารถซื้อได้ผ่านทีมขายของ IBM โดยโซลูชั่นของ Cloudflare สามารถดีพลอยได้บนระบบคลาวด์ของ IBM ทุกประเภท ทั้ง on-premise, public cloud หรือ hybrid cloud
Microsoft เปิดตัวบริการเพิ่มเติมบน Azure Government บริการคลาวด์ที่เน้นจับกลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการใช้บริการคลาวด์โดยเฉพาะในงาน Microsoft Government Tech Summit ที่จัดขึ้นใน Washington D.C.
สำหรับบริการแรกที่จะเพิ่มเข้ามาใน Azure Government คือ Azure Stack บริการชุดซอฟต์แวร์ให้บริการ IaaS และ PaaS แบบเดียวกับ Azure ในศูนย์ข้อมูลขององค์กรเอง โดยบริการนี้ออกแบบให้หน่วยงานที่ต้องการใช้งานเซิร์ฟเวอร์แบบ on-premise อย่างเช่นในหน่วยงานด้านการทหาร และสามารถแชร์ข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มได้ดี