AWS ประกาศโอเพ่นซอร์ส SaaS Boost เครื่องมือสำหรับช่วยนักพัฒนาไมเกรตจากซอฟต์แวร์ on-premise เป็น Software-as-a-Service หรือ SaaS ที่เปิดตัวในงาน re:Invent เมื่อปีที่แล้ว
สำหรับ AWS SaaS Boost เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยบริษัทปรับเปลี่ยนจากซอฟต์แวร์ on-premise ไปเป็น SaaS บนคลาวด์ เพื่อลดเวลาในการดีพลอยและทดสอบระบบที่ไมเกรตขึ้น SaaS โดยอินทิเกรตกับ CloudFormation, IAM, Route 53, ELB, Lambda และ ECS เพื่อคอนฟิกให้ตาม best practice รวมถึงจัดการด้านความปลอดภัยและ isolation ให้ด้วย
Adobe จัดงาน Adobe Summit เน้นผลิตภัณฑ์กลุ่ม Experience Cloud หรือกลุ่มการตลาดและองค์กร เปิดตัว Adobe Experience Manager Assets Essentials แพลตฟอร์มจัดการทรัพย์สินดิจิทัลในองค์กรจำพวกเอกสาร รูปภาพ วิดีโอในรูปแบบ cloud-based
บน Assets Essentials นอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มจัดเก็บค้นหางานแล้ว ยังทำหน้าที่เป็น workspace ให้จัดการมอบหมายงาน เช่นค้นหารูปแล้วส่งต่อให้ทีมงานนำรูปภาพไปใส่โลโก้เพิ่มได้
หลังจากศูนย์ข้อมูล OVHcloud เกิดเหตุไฟไหม้ในศูนย์ข้อมูล SBG2 จนกระทั่งเซิร์ฟเวอร์ดับไปทั้งโซน ทางบริษัทก็รายงานเพิ่มเติมว่ามีควันไฟออกมาจากห้องเก็บแบตเตอรี่ที่ไม่ได้ใช้งานในศูนย์ข้อมูล SBG1 ทางบริษัทจึงตัดสินใจไม่ใช้งาน SBG1 อีกต่อไป แต่ย้ายเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดไปยัง SBG4 และศูนย์ข้อมูล RBX แทน
ตอนนี้เซิร์ฟเวอร์แบบ VPS ในศูนย์ข้อมูล SBG3 กลับขึ้นมาทำงานแล้ว 60% ส่วนสตอเรจกลับขึ้นมาเต็มรูปแบบ เหลือเซิร์ฟเวอร์แบบ bare metal ที่ยังไม่กลับขึ้นมาทำงาน ขณะที่ SBG4 ยังเดินไฟฟ้าไม่เรียบร้อยทำให้ยังกลับมาทำงานไม่ได้
ที่มา - The Register
ไฟไหม้ศูนย์ข้อมูล OVH นับเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญของโลกไอทีที่เราไม่เห็นคลาวด์เกิดเหตุข้อมูลเสียหายครั้งใหญ่ๆ เช่นนี้บ่อยนัก ล่าสุด Octave Klaba ผู้ร่วมก่อตั้ง OVH ก็อัดวิดีโอชี้แจงถึงมาตรการเยียวยาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ พร้อมกับเล่าถึงกระบวนการสอบสวนสาเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้
Klaba ระบุว่าในศูนย์ข้อมูลมีกล้องวงจรปิดทั้งหมด 300 ตัวและกำลังดึงภาพออกจากกล้อง หากได้ภาพครบถ้วนก็น่าจะรู้สาเหตุเพลิงไหม้ได้ แต่ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่คือ UPS ตัวที่ 7 และ 8 นั้นติดไฟขณะเกิดเหตุด้วย และเช้าก่อนเกิดเหตุมีการซ่อมบำรุง UPS ตัวที่ 7
หลังเกิดเหตุไฟไหม้คลาวด์ OVH ทางเกม Rust ออกมารายงานผลกระทบว่าเซิร์ฟเวอร์เกมที่ให้บริการผู้เล่นในยุโรปได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเซิร์ฟเวอร์ดาวน์ไป 25 ตัว และมีข้อมูลผู้เล่นหายไปบางส่วน
ตอนนี้เซิร์ฟเวอร์จำนวนมากกลับมาออนไลน์แล้ว แต่ความคืบหน้าในเกมบางส่วนจะหายไปเนื่องจากเหตุไฟไหม้
OVHcloud ผู้ให้บริการตลาวด์ที่เน้นตลาดยุโรปรายงานว่าเกิดเหตุไฟไหม้ที่ศูนย์ข้อมูล Strasbourg โดยต้นเพลิงเริ่มจาก SBG2 และลามออกไป ไฟไหม้นานกว่า 3 ชั่วโมงส่งผลให้ SBG2 ไหม้ไปทั้งหมด และ SBG1 เสียหายไป 4 ห้องจาก 12 ห้อง
ไฟลามไปยังส่วนอื่น ศูนย์ข้อมูล SBG1 ถูกทำลายบางส่วน ทีมงานตัดสินใจตัดไฟและเน็ตเวิร์คทั้งศูนย์ พร้อมแจ้งลูกค้าให้เริ่มใช้แผน Disaster Recovery ทันที ขณะนี้ทีมงานกำลังวางระบบไฟฟ้าให้กับศูนย์ข้อมูลที่ยังไม่เสียหาย, ยืนยันว่าอุปกรณ์เน็ตเวิร์คยังทำงานได้, และกู้เน็ตเวิร์คให้กลับมา
ทาง OVH มีศูนย์ข้อมูลทั้งหมด 15 ศูนย์ในยุโรป และยังมีศูนย์ข้อมูลในแคนาดา
DigitalOcean ผู้ให้บริการคลาวด์ระดับรอง ยื่นเอกสารชี้ชวนการลงทุน (Form S-1) ให้กับก.ล.ต.สหรัฐฯ เพื่อเตรียมเปิดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เครื่องหมาย DOCN พร้อมกับระดมทุนเพิ่มเติมสูงสุด 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เอกสารแสดงให้เห็นว่า DigitalOcean ในปี 2020 นั้นมีรายได้เติบโตจากปี 2019 ประมาณ 25% นับว่าแพ้การเติบโตของตลาดคลาวด์รวมที่เติบโตประมาณ 35% ต่อปี ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ DigitalOcean ยังคงสูงมากจนกระทั่งบริษัทขาดทุน 43.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2020
แบบฟอร์ม S-1 นี้เป็นเพียงเวอร์ชั่นแรก ยังไม่ระบุราคาต่อหุ้นและมูลค่าบริษัทโดยรวม
Canalys บริษัทวิเคราะห์ตลาดรายงานภาพรวมตลาดคลาวด์ทั่วโลกประจำไตรมาส 3 ปี 2020 พบว่าตลาดกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มูลค่าตลาดรวม 36,500 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้นจากปีที่แล้ว 32.5% หรือเป็นเงิน 9,000 ล้านดอลลาร์ โดย AWS ยังคงครองตลาดได้ 32% ตามมาด้วย Azure 19%, Google Cloud 7%, และ Alibaba Cloud 6% แต่หากนับเฉพาะตลาดจีน Alibaba Cloud ยังคงอันดับหนึ่งต่อไป เนื่องจากภาครัฐหันมาใช้คลาวด์มากขึ้นในช่วงหลัง
ในรายงานยังระบุว่าความสนใจของตลาดเทไปทางเทคโนโลยี multi-cloud และ hybrid IT เนื่องจากองค์กรพยายามหาแนวทางการใช้งานที่เหมาะกับแต่ละงาน
ที่มา - Canalys
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Microsoft Azure Modular Datacenter (MDC) บริการศูนย์ข้อมูลพร้อมใช้แบบยกไปที่ไหนก็ได้ เหมาะกับภารกิจนอกสถานที่ เช่น ศูนย์บัญชาการเคลื่อนที่, การช่วยเหลือภัยพิบัติ, ปฎิบัติการทางทหาร, ไปจนถึงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ โดยที่คนทำงานหน้างานต้องการเชื่อมต่อกับศูนย์ข้อมูลที่ความเร็วสูง
ในยุคนี้การใช้คลาวด์ในองค์กรทุกขนาดคงเป็นเรื่องปกติกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเต็มรูปแบบหรือการใช้งานบางส่วนก็ตาม แต่แนวโน้มการใช้งานคลาวด์คงมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับสัดส่วนการติดตั้งโครงสร้างในสำนักงานเอง ทำให้การเตรียมเครือข่ายให้พร้อมต่อการใช้งานกลายเป็นปัจจัยสำคัญของระบบไอทีที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้
AWS เปิดฟีเจอร์ Cost Anomaly Detection สำหรับเตือนเมื่อค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติให้ลูกค้าทั่วไปใช้งานแบบพรีวิว โดยสามารถติดตามค่าใช้จ่ายทั้งในบัญชีเดียวกัน, ตามกลุ่มบัญชี, แยกประเภทบริการ, และแยกตามแท็กของบริการที่ใช้งาน
บริการนี้ไม่ได้ใช้เงื่อนไขตรงไปตรงมา เช่น การตั้งเพดานค่าใช้จ่ายหรือความเปลี่ยนแปลงรายวัน แต่ AWS ใช้อัลกอริทึมแบบ machine learning เพื่อตรวจจับแนวโน้มค่าใช้จ่าย โดยผู้ใช้สามารถกำหนดได้ว่าความผิดปกติเกินระดับใดจะแจ้งเตือน และจะให้บริการแจ้งเตือนบ่อยเพียงใด
นอกจากการใช้ machine learning ในการตรวจจับความผิดปกติแล้ว เมื่อมีการแจ้งเตือนบริการจะระบุต้นเหตุว่าเกิดค่าใช้จ่ายจากส่วนใด พร้อมลิงก์ไปยังบริการ Cost Explorer เพื่อตรวจสอบปัญหาต่อไป
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวันของเรา เราดูวีดีโอ เล่นเกมส์ อ่านข่าว และซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตแทบทุกวัน ในช่วงหลายปีนี้การศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต การทำงานทางไกล และการให้บริการสุขภาพแบบออนไลน์ (eHealth) ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่อยู่เบื้องหลังบริการออนไลน์เหล่านี้ก็คือ Content Delivery Network หรือ CDN ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยส่งคอนเทนต์ประเภทต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าเราอาจไม่สนใจหรือไม่รู้ว่ามี CDN ทำงานอยู่เบื้องหลังก็ตาม
AWS เคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2018 ว่าจะเปิดศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในแอฟริกา และวันนี้ทาง AWS ก็ได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งนี้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยใช้ชื่อ AWS Region ว่า Africa (Cape Town) และใช้ชื่อ API ว่า af-south-1
สำหรับศูนย์ข้อมูล AWS Region Africa (Cape Town) แห่งนี้ถือเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 23 ของ AWS และเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งแรกในแอฟริกา โดยมี Availability Zone ทั้งหมด 3 แห่ง ซึ่งบริการหลัก ๆ ของ AWS ใน Africa (Cape Town) พร้อมใช้งานแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ลูกค้า AWS สามารถเลือกดีพลอยโดยใช้ AWS Region แห่งใหม่นี้ได้ทันที
ช่วงโรค COVID-19 ระบาดทำให้หลายหน่วยงานตัดสินใจแจกหนังสือ และวิชาเรียนออนไลน์ต่างๆ สัปดาห์ให้ฝั่งผู้ให้บริการคลาวด์และซอฟต์แวร์ระดับองค์กรก็เริ่มออกมาเปิดให้บทเรียนฟรีกันแล้ว
Amazon ประสบความสำเร็จในการขอให้ศาลสหรัฐฯ หยุดโครงการคลาวด์สำหรับกระทรวงกลาโหม (Joint Enterprise Defense Infrastructure - JEDI) จากการกล่าวหาว่าโดนัลด์ ทรัมป์ นั้นเข้ามากดดันให้กระทรวงกลาโหมไม่เลือก AWS จนไมโครซอฟท์เป็นผู้ชนะไปในที่สุด โดยฝั่ง Amazon ก็ยื่นฟ้องหลังการประกาศผลไม่นาน
การออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวนี้ ศาลยังระบุให้ Amazon ต้องจ่ายค่าเสียหาย 42 ล้านดอลลาร์หากสุดท้ายแล้วพบว่าการออกคำสั่งคุ้มครองไม่ถูกต้อง
โครงการ JEDI มีมูลค่าถึงหมื่นล้านดอลลาร์ในอายุสัญญา 10 ปี
SOLIDWORKS คือซอฟต์แวร์ออกแบบเชิงวิศวกรรมและอุตสาหกรรม ล่าสุดทาง Dassault Systèmes ผู้พัฒนาได้จัดงาน 3DEXPERIENCE FORUM 2020 ที่แนชวิลล์, รัฐเทนเนสซี สหรัฐฯ ซึ่ง Blognone ได้เข้าร่วมงานด้วย โดยในงานแถลงข่าวได้ประกาศอัพเดตแพ็กเกจ 3DEXPERIENCE platform เสียใหม่
การเปิดตัว 3 แพ็กเกจใหม่เป็นทางเลือกให้บุคคลและบริษัทที่ออกแบบ CAD (computer-aided design) รวมโปรแกรมออกแบบและความสามารถการเข้าถึงแหล่งข้อมูลชุดออกแบบสามมิติไว้ด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ Standard, Professional และ Premium
VMware ได้ประกาศปิดดีลการเข้าซื้อ Pivotal แล้วอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ประกาศเข้าซื้อด้วยมูลค่า 2.7 พันล้านดอลลาร์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
การเข้าซื้อ Pivotal เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของ VMware ที่กำลังทยอยเปลี่ยนผ่านตัวเองในยุค virtualization มาเป็นมัลติคลาวด์และคอนเทนเนอร์ ซึ่งการจะเป็นได้นั้น VMware จะต้องมีเครื่องมือสำหรับจัดการโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะอยู่บนคลาวด์เจ้าใดก็ตาม
Pivotal เป็นบริษัทเดิมในเครือ VMware ซึ่งแยกออกมาแล้วราว 7 ปี โดยซอฟต์แวร์ในเครือของ Pivotal ที่นิยมใช้กันก็มี Spring, Cloud Foundry รวมถึงช่วงหลังทางบริษัทได้ขยายมาทำ Kubernetes ในชื่อว่า Pivotal Container Service ด้วย
จากเหตุแอป SCB Easy มีเหตุล่มวันละครั้งในช่วงสามวันที่ผ่านมา แม้ไม่มีแถลงจากทางธนาคารไทยพาณิชย์โดยตรงถึงสาเหตุ แต่ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งคือทางธนาคารเปลี่ยน load balancer จากการยิงตรงเข้าศูนย์ข้อมูลของธนาคารไปใช้ Elastic Load Balancing (ELB) ของ AWS
AWS ประกาศเพิ่มบริการฐานข้อมูลชุดใหม่ คือ Amazon Managed Apache Cassandra Service (MCS) บริการฐานข้อมูลแบบ NoSQL จาก Apache Cassandra ที่ใช้การคิวรีภาษา CQL ที่ใกล้เคียง SQL
MCS เป็นบริการแบบ serverless ทำให้ไม่ต้องกำหนดขนาดคลัสเตอร์ล่วงหน้า อย่างไรก็ตามในช่วงพรีวิวจะใช้งานได้แบบ on-demand เท่านั้น แอปพลิเคชั่นสามารถใช้ไดร์เวอร์เดิมเชื่อมต่อเข้ากับ MCS ได้เลย แต่บังคับต้องเชื่อมต่อแบบเข้ารหัส
บริการเปิดให้คนทั่วไปใช้งานแล้ว ค่าบริการประมาณ 1.6 ดอลลาร์ต่อการเขียนล้านครั้ง 0.33 ดอลลาร์ต่อการอ่านล้านครั้ง ค่าสตอเรจ 0.34 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์ เริ่มใช้งานได้แล้ว ในศูนย์ข้อมูลสหรัฐฯ, ยุโรป, ญี่ปุ่น, และสิงคโปร์
Ronald Cordoba อดีตผู้จัดการไอทีหน่วยงานการศึกษานอกเวลาของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (technical and further education - TAFE) ถูกตัดสินจำคุก 8 ปีหลังสำนักงานต่อต้านการคอรัปชั่นพบว่าเขาขายเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งในบ้านตัวเองเป็นบริการคลาวด์ แล้วเรียกเก็บเงินหน่วยงานของตัวเองมูลค่าถึง 1.7 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือ 35 ล้านบาท
คดีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2014 โดย Cordoba เซ็นสั่งซื้อเซิร์ฟเวอร์คลาวด์จากบริษัท ITD Pty Ltd ที่เป็นของเขาเอง โดยระหว่างการสั่งซื้อ เขาใช้อีเมลทำงานคุยกับ "ตัวแทนขาย" ของ ITD Pty ที่เขาเองเล่นบทบาทเป็นตัวแทนชื่อว่า Alicia
ออราเคิลเพิ่มแพ็กเกจคลาวด์ฟรีดึงดูดนักพัฒนา เพิ่มจากการแจกเครดิตฟรีในช่วงแรก โดยบริการ Oracle Cloud Free Tier จะให้บริการไปเรื่อยๆ ไม่มีกำหนด
แพ็กเกจที่ให้มาค่อนข้างครบถ้วน ทำแอปพลิเคชั่นพื้นๆ ได้ทั้งระบบ ได้แก่
ออราเคิลประกาศอัพเดตบริการเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์เมื่อใช้ระบบปฎิบัติการเป็น Oracle Linux จะมีบริการเสริม Oracle Autonomous Linux ที่อัพเดตระบบปฎิบัติการให้เอง จากเดิมที่ผู้ใช้ต้องเข้าไปสั่งการอัพเดตเป็นระยะ
Oracle Autonomous Linux จะอัพเดตแพตช์รายวันให้ลูกค้าอัตโนมัติ โดยไม่มี downtime แม้จะอัพเดตเคอร์เนล ด้วยการใช้เทคโนโลยี ksplice มาอัพเดต
นอกจากตัวลินุกซ์ ออราเคิลยังเปิดตัว Oracle OS Management Service หน้าจอบนคอนโซล Oracle Cloud ที่แสดงสถานะของเซิร์ฟเวอร์ว่าแพตช์ครบถ้วนดีหรือไม่ และสั่งอัพเดตได้จากคอนโซลคลาวด์ พร้อม API สำหรับการพัฒนาเพิ่มเติม เช่น การทำ auto-scaling
ไมโครซอฟท์ประกาศเปลี่ยนเงื่อนไขการใช้งานไลเซนส์ซอฟต์แวร์ on-premise โดยระบุว่าเป็นการ "แสดงความชัดเจน" ระหว่างการใช้งานแบบ on-premise และการใช้งานคลาวด์ ทำให้ไลเซนส์ซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่สามารถใช้งานบนคลาวด์บนเครื่อง dedicated host ได้อีกต่อไป
ประกาศของไมโครซอฟท์ชี้แจงว่า แม้เครื่องเหล่านี้จะเป็นเครื่องเช่าสำหรับลูกค้ารายเดียว แต่ก็เปิดเครื่องใหม่ได้ทันทีและคิดค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาใช้งานเหมือนคลาวด์ที่แชร์เครื่องระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไลเซนส์ครั้งนี้ระบุรายชื่อผู้ให้บริการคลาวด์อย่างเจาะจง ได้แก่ ไมโครซอฟท์, อาลีบาบา, อแมซอน, และกูเกิล ไม่มีผลต่อผู้ให้บริการรายอื่น
ในปัจจุบันมีหลากหลายบริษัททางด้าน Systems Integrator (SI) ที่ให้บริการระบบ ERP ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ระบบบัญชีเล็ก ๆ ไปจนถึงระบบใหญ่อย่าง SAP และจะดีกว่าหรือไม่? หากระบบ ERP สามารถ On Top/ต่อยอด เพิ่มได้ด้วยระบบ e-Tax Invoice & Receipt ที่ผู้ประกอบการทุกรายจำเป็นต้องใช้ในอนาคตอันใกล้นี้
AWS ประกาศว่า Security Hub บริการเพื่อตรวจสอบด้านความปลอดภัยของ resource ต่าง ๆ บนคลาวด์ และรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในพื้นที่เดียวเพื่อความง่ายในการตรวจสอบ ได้เข้าสู่สถานะ GA พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว
Security Hub นี้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ด้านความปลอดภัย เนื่องจากนักพัฒนามักจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และบ่อยครั้งอาจคอนฟิกระบบพลาดจนทำให้เกิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่สำคัญ ซึ่ง Security Hub จะมีคอนฟิกที่คอยตรวจสอบ resource บนคลาวด์ให้อัตโนมัติตามมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า resource ต่าง ๆ จะเป็นไปตามเงื่อนไขด้านความปลอดภัยที่กำหนดไว้