รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้จัดตั้งโรงเรียนไซเบอร์เสมือน (Virtual Cyber School) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ของประเทศในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนในสหราชอาณาจักรสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนไซเบอร์ออนไลน์ได้ในระหว่างที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต้องปิดภาคเรียนการสอน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
ความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรเป็นปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ จากทั้งการใช้งานเทคโนโลยีที่เพิ่มและหลากหลายมากขึ้น ขณะที่ภัยคุกคามที่มีความล้ำหน้าและซับซ้อนขึ้นอยู่ตลอดเวลา นอกจากการวางระบบที่ปลอดภัยตามมาตรฐานแล้ว องค์กรที่มีระบบซับซ้อนขึ้นจำเป็นต้องมีการมอนิเตอร์ตลอดเวลาว่ามีความผิดปกติใดบ้างหรือไม่
การลงทุนเพื่อมอนิเตอร์ความปลอดภัยไซเบอร์จึงเป็นสิ่งที่องค์กรหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยเม็ดเงินที่ค่อนข้างมาก อาจทำให้หลายองค์กรไม่กล้าลงทุนด้านนี้อย่างเต็มที่ทั้งที่มีความสำคัญ เพราะการดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรจำเป็นต้องมีการตั้งทีมแยกออกมา ไม่รวมการลงทุนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพิ่ม หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่หน่อย การลงทุนก็น่าจะมากตาม ทั้งการลงทุนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ไม่รวมกระบวนการจัดการต่าง ๆ อีก
บริการ Managed Security Service จึงเข้ามาตอบโจทย์องค์กรนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ AIS เปิดบริการ AIS Cyber Secure ที่จะเข้ามาช่วยดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ให้องค์กร โดยที่ไม่ต้องลงทุนและดูแลจัดการเอง
WHO ถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในช่วงวิกฤต COVID-19 ซึ่งการเป็นองค์กรสำคัญภายใต้วิกฤตนี้ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์ตามมาพร้อม ๆ กัน
Bernado Mariano ซีไอโอของ WHO ระบุว่า ทางทีมงานความปลอดภัยของ WHO พบเห็นจำนวนความพยายามในการโจมตีทางไซเบอร์ต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ WHO จำนวนมากมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม และการโจมตีก็มีข้อสงสัยได้ว่าบางส่วนมาจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่มีภาครัฐหนุนหลังด้วย ซึ่งเป้าหมายของแฮกเกอร์คือกลุ่มคนระดับสูงที่เป็นกุญแจสำคัญในการจัดการวิกฤต COVID-19 โดยทีมความปลอดภัยของ WHO ไม่เคยพบงานหนักระดับนี้มาก่อน
กูเกิลเผยว่า มีบั๊กใน Google Photos ช่วงวันที่ 21 - 25 พ.ย. ปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่าระบบส่งข้อมูลวิดีโอส่วนตัวที่ผู้ใช้สำรองไว้บนคลาวด์ไปให้ผู้ใช้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยผ่านฟีเจอร์ Download your data
กล่าวคือ เมื่อผู้ใช้ทำการดาวน์โหลดข้อมูลของตัวเองออกมา จะติดเอารูปภาพและวิดีโอที่ไม่ใช่ของตัวเองเข้ามาด้วย กูเกิลระบุว่าได้แก้ไขบั๊กตัวนี้แล้ว กูเกิลแนะนำผู้ใช้ที่ export ข้อมูลของตัวเองออกไปในช่วง 21 - 25 พ.ย. ปีที่ผ่านมาให้ลอง export ใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม กูเกิลไม่ได้บอกว่ามีผู้ได้รับผลกระทบกี่ราย บอกเพียงว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 0.01% ของจำนวนผู้ใช้งาน Google Photos
ImmuniWeb บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ ทำการสำรวจการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบไอทีในสนามบินแห่งชาติ 100 แห่ง พบว่ามีสนามบินเพียงแค่ 3 แห่งที่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยพื้นฐาน
สนามบินทั้ง 3 แห่งคือ สนามบิน Amsterdam Schiphol ในประเทศเนเธอร์แลนด์, สนามบิน Helsinki Vantaa ในประเทศฟินแลนด์ และสนามบินนานาชาติดับลินในประเทศไอร์แลนด์
นักวิจัยจาก vpnMentor ค้นพบว่ามีข้อมูลส่วนตัวของนางแบบ PussyCash เครือข่ายสื่อโป๊หลุดออกมาร่วม 20GB เป็นข้อมูลชื่อ ที่อยู่ โดยข้อมูลถูกเก็บไว้ใน bucket บริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ Amazon S3 มีนักแสดง,นางแบบที่ได้รับผลกระทบ 4,000 คน
นอกเหนือจากข้อมูลรูปภาพแล้วยังมี ชื่อ, รูปถ่าย ID, หมายเลขหนังสือเดินทาง/หมายเลขประจำตัว, รูปใบอนุญาตขับรถ บางข้อมูลมีอายุเกิน 20 ปี แต่บางข้อมูลยังใหม่ มีอายุแค่เพียงไม่กี่สัปดาห์ ความเสี่ยงก็คือถ้าผู้ไม่หวังดีได้ข้อมูลนี้ไปจะเอาไปใช้ขู่กรรโชก หรือสะกดรอยตามนางแบบได้
บริษัทด้านความปลอดภัย Check Point ออกมาเผยว่า TikTok มีช่องโหว่ร้ายแรง แฮกเกอร์สามารถเข้ามารวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้ โดยแฮกเกอร์สามารถส่งลิงก์ที่เป็นอันตราย ถ้าคลิกเข้าไปผู้โจมตีจะสามารถควบคุมบัญชีผู้ใช้ได้เลยทีเดียวนักวิจัยยังพบอีกช่องโหว่ที่ทำให้นักวิจัยเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน TikTok ได้ด้วย
ล่าสุด TikTok แถลงว่า นักวิจัยจาก Check Point แจ้งช่องโหว่มาทางบริษัทในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา และทาง TikTok ได้แก้ไขช่องโหว่แล้วเสร็จในวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา และยังบอกด้วยว่ายังไม่ปรากฏว่ามีแฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้แต่อย่างใด
ถือเป็นปีที่ไม่ดีเท่าไรนักของทวิตเตอร์ในด้าน security ล่าสุดนักวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Ibrahim Balic ไปพบว่าแอปทวิตเตอร์เวอร์ชั่นแอนดรอยด์มีช่องโหว่ที่สามารถทำให้นักวิจัยสามารถจับคู่เบอร์โทรศัพท์และโปรไฟล์ผู้ใช้งานได้
Balic ใช้วิธีสร้างเบอร์โทรขึ้นมาใหม่เป็นแบบสุ่มกว่า 2 พันล้านเบอร์ และอัพโหลดไปยังทวิตเตอร์ผ่านแอปแอนดรอยด์ เพื่อดูว่ามีใครใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่สุ่มออกไปบ้าง พบว่าสามารถจับคู่ได้ 17 ล้านเบอร์โทร สามารถจับคู่ผู้ใช้งานในประเทศ ฝรั่งเศส กรีซ ตุรกี และมีบางส่วนเป็นนักการเมืองด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่พบช่องโหว่นี้ในทวิตเตอร์เวอร์ชั่นเว็บไซต์
ทวิตเตอร์รับรู้ปัญหาแล้ว และบอกว่าบริษัทกำลังดำเนินการเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อผิดพลาดนี้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก
LaToya Cantrell นายกเทศมนตรีเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน (state of emergency) หลังระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลท้องถิ่นโดนโจมตี
แถลงการณ์ของเมืองนิวออร์ลีนส์ระบุว่าตรวจพบความผิดปกติในเครือข่าย ตอนช่วงประมาณตี 5 ตามเวลาท้องถิ่น หลังเจ้าหน้าที่เทคนิคเข้าไปสอบสวนก็พบว่าเป็นการโจมตีไซเบอร์ ทำให้เมืองต้องปิดระบบเซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันความเสียหาย
เจ้าหน้าที่ยังตรวจพบการใช้ ransomware เรียกค่าไถ่ด้วย แต่ยังไม่พบการเรียกร้องให้จ่ายค่าไถ่แต่อย่างใด
Trend Micro ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ความปลอดภัย เผยผลรายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์อีกครั้ง เทรนด์ภัยคุกคามไซเบอร์มุ่งเป้าไปที่วงการกีฬาธุรกิจ eSports มากขึ้น โดยเหล่าอาชญากรไซเบอร์เริ่มหันมาเล็งเหยื่อในกลุ่มผู้เล่นเกมทั่วไปมาตั้งแต่ปี 2010 แล้ว
ครั้งแรกของไทยที่หน่วยงานตำรวจ ร่วมมือกับภาคเอกชนจัดการแข่งขัน ให้คนทั่วไปมาแสดงความสามารถในการตรวจจับและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่นับวันมีจำนวนมากขึ้น
บริษัท MFEC และ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. ร่วมกับกระทรวงดีอี ร่วมมือกันจัดงานสัมมนาพร้อมการแข่งขันความปลอดภัยไซเบอร์ภายใต้ชื่อ งาน TCSD Cyber Security Conference 2019
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. ร่วมกับกระทรวงดีอี และบริษัท MFEC จัดงานสัมมนาพร้อมการแข่งขันความปลอดภัยไซเบอร์ไปในตัว คือ TCSD Cyber Security Competition 2019 ทีมที่ชนะเลิศได้เิน 50,000 บาท
ในงานแข่งขันคือเป็นการแข่ง CTF ในสาย Offensive Security เจาะหาคำตอบจากช่องโหว่ในระบบ เปิดให้บุคลากรในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปได้เข้ามาประลองฝีมือแข่งขันกัน
ในการแข่งขันมีบริษัท MFEC มาออกแบบโจทย์และการแข่งขันในภาพรวมให้ การแข่งขันมีสองรอบคือ รอบให้โจทย์ ให้ผู้เข้าแข่งขันหาคำตอบและช่องโหว่ที่เกิดขึ้นได้จากสถานการณ์การแฮก หลังจากนั้นจะคัดเลือกเหลือ 10 ทีม เช้าสู่การแข่งขันรอบที่สองที่จะจัดขึ้นทั้งวันทั้งคืนเพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศ
John Bel Edwards ผู้ว่าการรัฐลุยเซียนา (Louisiana) ของสหรัฐอเมริกา ใช้อำนาจผู้ว่าการรัฐประกาศภาวะฉุกเฉิน (Emergency Declaration) หลังพบว่าโรงเรียนในสังกัดรัฐบาลจำนวนมาก ติดมัลแวร์จนไม่สามารถดำเนินการเรียนการสอนตามปกติได้
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่ามัลแวร์ตัวนี้คืออะไร และมีรูปแบบการโจมตีอย่างไร แต่ในแถลงการณ์ของ Edwards ระบุว่าต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มีผลทางกฎหมาย สามารถสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งตำรวจ หน่วยงานด้านบริการไอทีภาครัฐ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจากหลายส่วน เข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาได้โดยเร็ว
เมือง Lake City ในรัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่ 2 ต่อจาก Riviera Beach ที่พบปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานท้องถิ่นติด Ransomware แพร่ระบาด และสภาเมืองก็ได้ลงมติให้จ่ายค่าไถ่แฮกเกอร์เพื่อแลกกับกุญแจถอดรหัสคืน
ทั้งนี้แฮกเกอร์ได้ติดต่อเรียกค่าไถ่ผ่านบริษัทประกันภัยของเมือง โดยคิดค่าถอดรหัส 42 บิตคอยน์ หรือราว 500,000 ดอลลาร์ ซึ่งล่าสุดได้มีการจ่ายค่าไถ่เรียบร้อยแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนถอดรหัสกู้ข้อมูลคืน
ผลกระทบของ Ransomware ต่อเมือง Lake City ครั้งนี้กระทบงานบริการสาธารณะทั้งหมดเนื่องจากใช้เครือข่ายร่วมกัน ยกเว้นแผนกตำรวจและดับเพลิง ที่ใช้เครือข่ายแยกต่างหาก
หนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานข่าววงในว่ารัฐบาลสหรัฐ เตรียมโจมตีระบบโครงข่ายไฟฟ้าของรัฐบาลรัสเซีย เพื่อตอบโต้การแทรกแซงการเลือกตั้งของหน่วยข่าวกรองรัสเซียตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
สหรัฐอเมริกาเพิ่งยกระดับกองบัญชาการไซเบอร์ (US Cyber Command) เป็นกองบัญชาการรบเต็มขั้น เมื่อปี 2018 และมีอำนาจเพิ่มขึ้นในการปฏิบัติการทางไซเบอร์
ตามข่าวบอกว่า US Cyber Command ได้แทรกซึมเข้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมระบบโครงข่ายไฟฟ้า (กริด) ของรัสเซียแล้ว แต่ก็ไม่มีข้อมูลเชิงลึกว่าเข้าได้มากแค่ไหน และยังไม่มีรายงานว่าสหรัฐเคยเข้าไปปิดระบบไฟฟ้าของรัสเซีย
CrowdStrike บริษัทผู้พัฒนาโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้ไอพีโอเข้าตลาดหุ้นแนสแดคเมื่อคืนนี้ด้วยตัวย่อการซื้อขาย CRWD โดยราคาหุ้นวันแรกปรับตัวสูงสุดถึงกว่า 80% ที่ 63.5 ดอลลาร์ต่อหุ้น จากราคาไอพีโอที่ 34 ดอลลาร์
บริษัทได้เงินทุนเพิ่มจากการไอพีโออีกราว 600 ล้านดอลลาร์ และจากราคาหุ้นล่าสุด มูลค่ากิจการก็ได้ปรับเพิ่มถึง 11,400 ล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงมูลค่ากิจการของ Symantec แม้รายได้ของ CrowdStrike จะคิดเป็น 5% ของ Symantec
CrowdStrike ให้บริการเทคโนโลยีบนคลาวด์เพื่อตรวจจับและป้องกันการถูกเจาะข้อมูล มีผลงานเด่นในการร่วมตรวจสอบการโจมตีเซิร์ฟเวอร์พรรคเดโมแครตช่วงปี 2016
ค่อนข้างประจวบเหมาะไม่ใช่น้อยเมื่อสำนักข่าว Bloomberg รายงานการค้นพบเอกสารที่ชี้ว่า Vodafone ค้นพบซอฟต์แวร์ backdoor ในเร้าเตอร์ที่เครือข่ายให้ลูกค้าใช้งานตามบ้านและที่ node ของเครือข่ายไฟเบอร์ที่ Vodafone ให้บริการในอิตาลีในปี 2011 ท่ามกลางการโจมตีของรัฐบาลสหรัฐในประเด็นความมั่นคงต่อ Huawei
ทาง Vodafone ยืนยันเรื่องนี้กับ Bloomberg และระบุด้วยว่าได้ติดต่อให้ Huawei นำซอฟต์แวร์ดังกล่าวออก ซึ่งก้ได้รับการยืนยันจาก Huawei ณ ตอนนั้นว่าได้แก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว ทว่าในเอกสารของ Vodafone กลับระบุว่าการทดสอบหลังจากนั้นก็ยังคงพบปัญหานี้อยู่
ในช่วงนี้รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายด้านความมั่นคงทั้งในเชิงรุกและเชิงรับมากขึ้น อย่างกรณีล่าสุดกระทรวงกลาโหมออกมาเปิดเผยว่ามีแผนจะเพิ่มความสามารถในการรับมือภัยคุกคามด้านความมั่นคง ทั้งทางบก, ทางเรือและทางอากาศ ไปจนถึงอวกาศและโลกไซเบอร์ ซึ่งในข้อสุดท้าย กลาโหมรู้ตัวว่ายังคงตามหลังมหาอำนาจเค้าอื่นอยู่มาก
หนึ่งในมาตรการการรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น คือการพัฒนามัลแวร์หรือไวรัสขึ้นมาในฐานะเครื่องมือสำหรับการป้อมปราม โดยกลาโหมยืนยันว่าไวรัสดังกล่าวมีจุดประสงค์สำหรับการป้องกันเท่านั้น จะไม่มีการใช้งานในเชิงรุกหรือนำไปเป็นเครื่องมือในการโจมตีก่อน (pre-emptive attack) อย่างแน่นอน
อินเดียถือเป็นประเทศที่มีบริษัทสตาร์ทอัพด้านการเงินเกิดขึ้นมาเยอะมาก แต่กลับเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยต่ำมาก โดยจากรายงานของ India Fintech 2019 พบว่าอินเดียมีฟินเทคสตาร์ทอัพถึง 2,035 แห่ง แต่มีเพียง 58 แห่งเท่านั้นที่เป็นบริษัทฟินเทคที่มีเทคโนโลยีภายใต้การกำกับดูแล
อินเดียนั้นถือเป็นประเทศที่อยู่ในอันดับที่ 15 ของประเทศที่มีความปลอดภัยไซเบอร์ต่ำที่สุด ซึ่งบริการทางการเงินและธนาคารเป็นเซคเตอร์ที่ตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงสูงมาก และจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเพียงพอ
ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งนี้ จะมีการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต ระบุ ยังมีความน่ากังวลหลายประการ
CrowdStrike บริษัทด้านความปลอดภัยออกรายงาน Global Threat Report ระบุว่าแฮกเกอร์เกาหลีเหนืออยู่อันดับ 2 ที่ใช้เวลาในการเจาะระบบเร็วที่สุดรองจากรัสเซีย
สถิติของเกาหลีเหนือคือ 2 ชั่วโมง 20 นาที ขณะที่รัสเซียอยู่ที่ 18 นาที 47 วินาที โดยนับเวลาตั้งแต่เครื่องถูกเจาะจนกระทั่งแฮกเกอร์สามารถแฮกเข้าไปได้ ส่วนอันดับ 3 คือจีนที่ระยะเวลา 4 ชั่วโมง และอิหร่าน 5 ชั่วโมง 9 นาที โดยรายงานระบุด้วยว่ามีแฮกเกอร์ชาวจีนพุ่งเป้าโจมตีสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ (Ministry of National Defense) ออกรายงานที่ระบุว่าคอมพิวเตอร์ 30 เครื่องในหน่วยงาน Defense Acquisition Program Administration ที่ดูแลเรื่องการจัดหายุทโธปกรณ์ ถูกโจมตีพร้อมกัน ก่อนจะสามารถเจาะได้เพียง 10 เครื่อง ทำให้มีข้อมูลหลุดออกไป
ข้อมูลที่หลุดออกไปคือรายละเอียดการซื้อเครื่องบินรบรุ่นใหม่ของเกาหลีใต้ โดยรายงานยืนยันว่าแฮกเกอร์ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับจากการโจมตีครั้งนี้ พร้อมระบุด้วยว่าจะมีการสืบสวนเพิ่มเติมต่อไปว่าแฮกเกอร์นี้มาจากเกาหลีเหนือหรือกลุ่มอื่น
การโจมตีเกิดขึ้นในวันที่ 4 ตุลาคมก่อนหน่วยงานข่าวกรองเกาหลีใต้จะค้นพบความผิดปกติในเซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมและเพิ่งออกรายงานมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมจะทบทวนไกด์ไลน์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน 14 ด้าน อาทิ ไฟฟ้า, ประปาและแก๊ส เพื่อรับมือการโจมตีที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมถึงเตรียมตัวสำหรับโอลิมปิกปี 2020 ด้วย
รัฐบาลระบุว่าถึงแม้ภาครัฐจะไม่เคยตกเป็นเหยื่อการโจมตีจนไม่สามารถให้บริการโครงสร้างพื้นฐานได้ แต่เหตุการณ์คล้ายๆ กันก็เคยเกิดกับภาคเอกชน อย่างล่าสุดที่ SoftBank ให้บริการไม่ได้ก็เกิดจากปัญหาซอฟต์แวร์ จนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมาแล้ว
นอกจากนี้ช่วงเดือนเมษายนนี้ ภาครัฐ, ภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยจะร่วมวงประชุมกันในประเด็นการโจมตีทางไซเบอร์, มาตรการตอบโต้และเทคนิคต่างๆ ที่แฮกเกอร์ใช้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ภาครัฐและเอกชนร่วมวงพูดคุยเรื่องนี้กัน
นับเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างสาหัสสำหรับ Huawei นับตั้งแต่ถูกหน่วยงานด้านความมั่นคงสหรัฐเตือนเรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัย จนทำให้ภาครัฐและเอกชนในหลายๆ ประเทศทยอยถอนตัวจากการใช้งานอุปกรณ์โครงข่าย Huawei ไม่รวมเรื่องที่ผู้บริหารถูกจับที่แคนาดา
ล่าสุด Huawei เปิดเผยว่าเตรียมจะลงทุนราว 2 พันล้านเหรียญเป็นระยะเวลา 5 ปีในด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อรับมือและแก้ปัญหาความเชื่อมั่นข้างต้น พร้อมกันนั้น Ken Hu ประธานบริษัทเผยว่าพยายามพูดคุยกับรัฐบาลทั่วโลก เพื่อยืนยันความเป็นอิสระในการทำงาน รัฐบาลจีนไม่ได้เข้ามาแทรกแซง และยืนยันว่ารัฐบาลฝรั่งเศสรวมถึงญี่ปุ่น ยังไม่ได้แบน Huawei อย่างเป็นทางการ
Twitter รายงานว่าระหว่างการตรวจสอบบั๊คที่อาจทำข้อมูลผู้ใช้รั่วไหลได้และถูกแก้ไขแล้วเมื่อวันที่ 16 ที่ผ่านมานั้น ได้พบทราฟิคแปลกๆ จำนวนมากในหน้าฟอรัมสนับสนุนลูกค้า (customer support) มาจากหมายเลขไอพีที่มาจากจีนและซาอุดิอาระเบีย
อย่างไรก็ตาม Twitter ระบุว่าไม่สามารถระบุความตั้งใจและที่มาของไอพีเหล่านี้ได้เจาะจง แต่ก็คาดว่าไอพีบางส่วนอาจเกี่ยวข้องกับแฮกเกอร์ที่ทำงานให้รัฐบาล
หลังข่าวนี้ออกมา หุ้น Twitter ร่วงลงราว 7%
ที่มา - SCMP