ตอนนี้กำลังมีประเด็นใหญ่เรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ โดย Amnesty International และสำนักข่าวใหญ่ 17 แห่ง เช่น The Guardian, Washington Post ออกรายงานเปิดโปงว่ามัลแวร์ Pegasus ของบริษัท NSO Group ในอิสราเอล มีรัฐบาลหลายประเทศนำไปใช้งานสอดส่อง โดยพบว่ามี นักเคลื่อนไหว นักข่าว นักการเมือง ถูกติดตามตัวด้วย แม้ NSO Group จะยืนยันว่าขายเครื่องมือให้รัฐบาลไปติดตามกลุ่มก่อการร้ายและอาชญากร
เมื่อเดือนมีนาคม 2021 เกิดการโจมตีเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ครั้งใหญ่ (รายละเอียดการโจมตี) โดยไมโครซอฟท์ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นการโจมตีจากแฮ็กเกอร์จีน
วันนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริการ่วมกับพันธมิตรคือ สหราชอาณาจักร, EU, NATO ออกมาประกาศว่า แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน และตั้งข้อหาอาญากับแฮ็กเกอร์ 4 คนที่มีประวัติโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของหลายประเทศ
กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นออกเอกสารเผยแพร่การป้องกันญี่ปุ่นในปี 2021 โดยระบุภัยที่ต้องรับมือในด้านต่างๆ ทั้งการเมืองระหว่างประเทศ เช่น เกาหลีเหนือที่พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ หรือจีนที่พยายามรุกน่านน้ำ แต่ในแนวทางส่วนที่ 3 ระบุถึงภัยด้านเทคโนโลยีที่กลาโหมกำลังเตรียมรับมือ ได้แก่ ด้านอวกาศ, ด้านภัยไซเบอร์, และด้านคลื่นความถี่
ด้านอวกาศนั้นเอกสารระบุข้อมูลจากดาวเทียมมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่นสภาพอากาศ, การสื่อสารภายในกองทัพและสื่อสารกับพันธมิตร, ไปจนถึงการสอดแนมต่างๆ แต่ทุกวันนี้ดาวเทียมก็มีความเสี่ยงจากขยะอวกาศและอาวุธต่อต้านดาวเทียม
Instagram เปิดตัว Security Checkup ช่องทางจัดการบัญชีตัวเองสำหรับผู้ที่โดนแฮ็กบัญชี บัญชีใดเจอประสบการณ์ดังกล่าวจะมองเห็นเมนู Security Checkup เพิ่มขึ้นมา ผู้ใช้งานสามารถทำการยืนยันบัญชีอื่นๆ ที่มี ตรวจสอบกิจกรรมการเข้าสู่ระบบ และอัปเดตข้อมูลโปรไฟล์ของเรา
ตัว Security Checkup จะนำพาผู้ใช้ให้อัปเดตหมายเลขโทรศัพท์และอีเมลเป็นของตัวเอง เพื่อช่วยกู้คืนบัญชีจากแฮ็กเกอร์ที่เข้าไปเปลี่ยนข้อมูลของเราได้
ไมโครซอฟท์ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อกิจการ RiskIQ ผู้พัฒนาระบบตรวจสอบความปลอดภัยบนคลาวด์ ดีลดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยมูลค่า แต่ Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าอยู่ที่ราว 500 ล้านดอลลาร์
Eric Doerr รองประธานด้านความปลอดภัยบนคลาวด์ของไมโครซอฟท์กล่าวว่า องค์กรเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลกันมากขึ้น บนแนวคิด Zero Trust มีผลทั้งระดับแอพพลิเคชัน โครงสร้างพื้นฐาน ไปจนถึงระดับ IoT ทั้งในคลาวด์และไฮบริดคลาวด์ การตรวจสอบความปลอดภัยในทุกระดับจึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้น
ทีมงานของ RiskIQ จะเข้ามาร่วมทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์
หญิงสาวคนหนึ่งซึ่งทำงานในวงการไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โพสต์รูปภาพตัวเองในชุดบิกินี่ตอนไปเที่ยวทะเลในทวิตเตอร์ กลายเป็นว่าเธอโดนวิจารณ์ว่าไม่มีความเป็นมืออาชีพ
เรื่องของเธอกลายเป็นไวรัลขึ้นมา จนคนในวงการไซเบอร์ซีเคียวริตี้ทั้งหญิงและชายต่างตอบโต้ด้วยการโพสต์รูปตัวเองในชุดบิกินี่บ้าง เพื่อเป็นการสนับสนุนการแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง แม้ในโปรไฟล์โซเชียลมีเดียจะระบุว่าเป็นคนทำงานในอุตสาหกรรมใดก็ตาม
(ISC)2 หน่วยงานเทรนนิ่งและออกใบรับรองด้านความปลอดภัยดิจิทัล ประเมินความต้องการตำแหน่งงานด้าน cybersecurity ว่าพุ่งสูงขึ้นมากในรอบปีหลังๆ ทำให้แรงงานสายนี้ขาดแคลนมาก
จากการสำรวจของ (ISC)2 พบว่ามีองค์กรสัดส่วน 64% ระบุว่ายังรับคนทำงานสายนี้ได้ไม่พอกับที่ต้องการ มีเพียง 30% ที่บอกว่ามีจำนวนพนักงานพอแล้ว และ 2% ที่บอกว่ามีเยอะเกินไป
ส่วนความต้องการคนทำงาน cybersecurity ทั่วโลกมีอยู่ราว 3.1 ล้านตำแหน่ง (ลดลงจากปี 2019 ที่ประมาณ 4 ล้านตำแหน่ง) โดยภูมิภาคที่ขาดแคลนมากที่สุดคือเอเชียแปซิฟิก ขาดคนมากถึง 2 ล้านตำแหน่ง
(ISC)2 ประเมินว่าเหตุที่ความต้องการคน cybersecurity ลดลง มาจากการลดจำนวนพนักงานทุกประเภทลงในภาพรวม ที่มาจากปัญหาเศรษฐกิจในช่วง COVID-19
เหตุการณ์แฮกบริษัท Colonial ผู้ดูแลท่อส่งน้ำมันฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ, Microsoft Exchange และเหตุการณ์ SolarWinds ผู้ผลิตซอฟต์แวร์มอนิเตอร์เครือข่าย ถูกแฮกเกอร์ฝังมัลแวร์ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกลายมาเป็นปัญหาระดับชาติแล้ว ล่าสุด โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามคำสั่งปรับปรุงประสิทธิภาพ Cybersecurity ในประเทศ
SafetyDetectives กลุ่มนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ cybersecurity ออกรายงานเปิดเผยฐานข้อมูล ElasticSearch แบบเปิด พบว่ามีการใช้รีวิวปลอมใน Amazon อันผิดจรรยาบรรณการค้าขาย พบฐานข้อมูลการรีวิวระหว่างผู้ขายของ Amazon และลูกค้าที่เต็มใจเขียนรีวิวปลอมเพื่อแลกกับสินค้าฟรี โดยรวมแล้วมีบันทึกไว้ 13,124,962 รายการ (ข้อมูล 7 GB) กระทบต่อข้อมูลมากกว่า 200,000 คน
นอกจากสงครามการค้ากับบริษัทจีนแล้ว ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐประกาศมาตรการตอบโต้รัสเซียหลายข้อ จากกรณีการแฮ็ก SolarWinds และการโจมตีไซเบอร์อื่นๆ
กรณีการแฮ็ก SolarWinds ครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานจำนวนมาก ถูกพูดกันมานานแล้วว่าเป็นฝีมือของรัสเซีย แต่วันนี้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศอย่างเป็นทางการว่า หน่วยงานข่าวกรองของรัสเซีย 3 หน่วยคือ Federal Security Service (FSB), Russia’s Main Intelligence Directorate (GRU), Foreign Intelligence Service (SVR) อยู่เบื้องการโจมตีไซเบอร์ต่อสหรัฐหลายครั้ง
สหรัฐชี้ว่า SVR คือหน่วยงานที่แฮ็กระบบ SolarWinds และยังขโมยซอฟต์แวร์ตรวจสอบการโจมตีไซเบอร์ไปจากบริษัทความปลอดภัยของสหรัฐอีกแห่งที่ไม่ระบุชื่อ
ช่วงที่ผ่านมา มีผู้เล่น Genshin Impact ถูกแฮ็กบัญชีหลายราย และทีมงาน miHoYo ก็ไม่สามารถช่วยกู้คืนบัญชีให้ได้ในหลายๆ ครั้ง ทำให้ผู้เล่นร้องขอระบบ 2FA หรือการยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน เช่นต้องใส่รหัสที่ได้รับผ่านข้อความ อีเมล หรือ Google Authenticator ก่อนจะล็อกอิน แต่ทีมงานก็ยังไม่ได้ใส่เข้ามาสักที
ล่าสุดมีผู้ใช้บน Reddit ชื่อ uijbg โพสต์ภาพข้อความอธิบายเป็นภาษาจีนจากทีมงาน miHoYo ซึ่งบอกว่าเอามาจากกรุ๊ป Genshin Impact Thailand Official ที่เอามาจาก Genshin Global Group อีกที
Palo Alto Networks ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการ Bridgecrew บริษัทด้านความปลอดภัยบนคลาวด์สำหรับนักพัฒนา ด้วยมูลค่า 156 ล้านดอลลาร์ โดยจ่ายเป็นเงินสด และไม่รวมรายการหุ้นเพิ่มเติมที่แยกต่างหาก
เครื่องมือของ Bridgecrew จะถูกนำมารวมเข้ากับ Prisma ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยของ Palo Alto Networks ที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม ไปจนถึงกระบวนการ DevOps ตลอดวงจรของการพัฒนา
Palo Alto Networks ให้ข้อมูลในการแถลงข่าวออนไลน์วันนี้ เกี่ยวกับเทรนด์ความปลอดภัยในปี 2021 โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 ท่าน คือคุณฌอน ดูคา รองประธานและหัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยประจำภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, ดร. ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการ บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ค ประเทศไทย และอินโดจีน และคุณคุณคงศักดิ์ ก่อตระกูล ผู้จัดการวิศวกรรม ประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน
ข้อสำคัญ 4 ประการที่น่าจะเป็นจุดเสี่ยงในปีนี้ คือการแชร์ข้อมูลส่วนตัวกับหน่วยงานเพื่อใช้ในการติดตามข้อมูลความเสี่ยง COVID-19 ระบบโครงข่าย 5G ที่ต้องปลอดภัยมากขึ้น ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการทำงานนอกสถานที่ และความเสี่ยงที่มาจากการจัดระเบียบการทำงานที่อิงระบบคลาวด์มากขึ้น
Palo Alto Networks ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการ Expanse ผู้พัฒนาโซลูชันสำหรับตรวจสอบการโจมตีทางไซเบอร์ เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและบรรเทาปัญหาสำหรับองค์กร โดยมีมูลค่าดีลรวม 800 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นเงินสดและหุ้นของ Palo Alto Networks 670 ล้านดอลลาร์ และหุ้นส่วนเพิ่มเติมอีก 130 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน Expanse มีลูกค้าที่เป็นบริษัทระดับ Fortune 500 กระจายในหลายอุตสาหกรรมทั้งการเงิน สุขภาพ บันเทิง และเทคโนโลยี รวมทั้งมีลูกค้าเป็นหน่วยงานรัฐบาลด้วย
Palo Alto Networks จะนำบริการของ Expanse มาเสริมกับผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Cortex ที่มีอยู่แล้วเพื่อให้เป็นโซลูชันที่ครอบคลุมมากขึ้น
จากงานแถลงข่าว Cisco ลงนามความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มช. พัฒนา Telehealth ผู้สื่อข่าวได้ถามเพิ่มเติมกรณีโรงพยาบาลสระบุรีถูก Ransomware โจมตี ผศ.นพ. ภาสกร สวัสดิรักษ์ รอง ผอ. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เผยว่า ช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลเองก็เคยถูก Ransomware โจมตีเช่นกัน แต่ไม่เกิดความเสียหายใดๆ ในตอนนั้น
The Guardian รายงานเมื่อ 4 พ.ค. 63 ว่า ศูนย์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติของสหราชอาณาจักร (National Cyber Security Agency : NCSC) ประกาศเตือนมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยในสหาราชอาณาจักร ท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ว่าแฮกเกอร์ที่อาจได้รับการสนับสนุนโดยรัฐ (state-sponsored) จากรัสเซีย อิหร่าน และจีน อาจพยายามขโมยข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับ COVID-19 จากสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะงานวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนต้าน COVID-19 ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศกำลังเร่งการวิจัยวัคซีนต้าน COVID-19 และหากประเทศใดสามารถคิดค้นวัคซีนได้สำเร็จ จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตตามความต้องการวัคซีนโลก งานวิจัยด้าน COVID-19 จึงไม่เป็นเพียงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่มีมูลค่าต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย
รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้จัดตั้งโรงเรียนไซเบอร์เสมือน (Virtual Cyber School) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ของประเทศในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนในสหราชอาณาจักรสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนไซเบอร์ออนไลน์ได้ในระหว่างที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต้องปิดภาคเรียนการสอน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
ความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรเป็นปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ จากทั้งการใช้งานเทคโนโลยีที่เพิ่มและหลากหลายมากขึ้น ขณะที่ภัยคุกคามที่มีความล้ำหน้าและซับซ้อนขึ้นอยู่ตลอดเวลา นอกจากการวางระบบที่ปลอดภัยตามมาตรฐานแล้ว องค์กรที่มีระบบซับซ้อนขึ้นจำเป็นต้องมีการมอนิเตอร์ตลอดเวลาว่ามีความผิดปกติใดบ้างหรือไม่
การลงทุนเพื่อมอนิเตอร์ความปลอดภัยไซเบอร์จึงเป็นสิ่งที่องค์กรหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยเม็ดเงินที่ค่อนข้างมาก อาจทำให้หลายองค์กรไม่กล้าลงทุนด้านนี้อย่างเต็มที่ทั้งที่มีความสำคัญ เพราะการดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรจำเป็นต้องมีการตั้งทีมแยกออกมา ไม่รวมการลงทุนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพิ่ม หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่หน่อย การลงทุนก็น่าจะมากตาม ทั้งการลงทุนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ไม่รวมกระบวนการจัดการต่าง ๆ อีก
บริการ Managed Security Service จึงเข้ามาตอบโจทย์องค์กรนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ AIS เปิดบริการ AIS Cyber Secure ที่จะเข้ามาช่วยดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ให้องค์กร โดยที่ไม่ต้องลงทุนและดูแลจัดการเอง
WHO ถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในช่วงวิกฤต COVID-19 ซึ่งการเป็นองค์กรสำคัญภายใต้วิกฤตนี้ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์ตามมาพร้อม ๆ กัน
Bernado Mariano ซีไอโอของ WHO ระบุว่า ทางทีมงานความปลอดภัยของ WHO พบเห็นจำนวนความพยายามในการโจมตีทางไซเบอร์ต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ WHO จำนวนมากมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม และการโจมตีก็มีข้อสงสัยได้ว่าบางส่วนมาจากการกระทำของแฮกเกอร์ที่มีภาครัฐหนุนหลังด้วย ซึ่งเป้าหมายของแฮกเกอร์คือกลุ่มคนระดับสูงที่เป็นกุญแจสำคัญในการจัดการวิกฤต COVID-19 โดยทีมความปลอดภัยของ WHO ไม่เคยพบงานหนักระดับนี้มาก่อน
กูเกิลเผยว่า มีบั๊กใน Google Photos ช่วงวันที่ 21 - 25 พ.ย. ปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่าระบบส่งข้อมูลวิดีโอส่วนตัวที่ผู้ใช้สำรองไว้บนคลาวด์ไปให้ผู้ใช้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยผ่านฟีเจอร์ Download your data
กล่าวคือ เมื่อผู้ใช้ทำการดาวน์โหลดข้อมูลของตัวเองออกมา จะติดเอารูปภาพและวิดีโอที่ไม่ใช่ของตัวเองเข้ามาด้วย กูเกิลระบุว่าได้แก้ไขบั๊กตัวนี้แล้ว กูเกิลแนะนำผู้ใช้ที่ export ข้อมูลของตัวเองออกไปในช่วง 21 - 25 พ.ย. ปีที่ผ่านมาให้ลอง export ใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม กูเกิลไม่ได้บอกว่ามีผู้ได้รับผลกระทบกี่ราย บอกเพียงว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 0.01% ของจำนวนผู้ใช้งาน Google Photos
ImmuniWeb บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ ทำการสำรวจการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบไอทีในสนามบินแห่งชาติ 100 แห่ง พบว่ามีสนามบินเพียงแค่ 3 แห่งที่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยพื้นฐาน
สนามบินทั้ง 3 แห่งคือ สนามบิน Amsterdam Schiphol ในประเทศเนเธอร์แลนด์, สนามบิน Helsinki Vantaa ในประเทศฟินแลนด์ และสนามบินนานาชาติดับลินในประเทศไอร์แลนด์
นักวิจัยจาก vpnMentor ค้นพบว่ามีข้อมูลส่วนตัวของนางแบบ PussyCash เครือข่ายสื่อโป๊หลุดออกมาร่วม 20GB เป็นข้อมูลชื่อ ที่อยู่ โดยข้อมูลถูกเก็บไว้ใน bucket บริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ Amazon S3 มีนักแสดง,นางแบบที่ได้รับผลกระทบ 4,000 คน
นอกเหนือจากข้อมูลรูปภาพแล้วยังมี ชื่อ, รูปถ่าย ID, หมายเลขหนังสือเดินทาง/หมายเลขประจำตัว, รูปใบอนุญาตขับรถ บางข้อมูลมีอายุเกิน 20 ปี แต่บางข้อมูลยังใหม่ มีอายุแค่เพียงไม่กี่สัปดาห์ ความเสี่ยงก็คือถ้าผู้ไม่หวังดีได้ข้อมูลนี้ไปจะเอาไปใช้ขู่กรรโชก หรือสะกดรอยตามนางแบบได้
บริษัทด้านความปลอดภัย Check Point ออกมาเผยว่า TikTok มีช่องโหว่ร้ายแรง แฮกเกอร์สามารถเข้ามารวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้ โดยแฮกเกอร์สามารถส่งลิงก์ที่เป็นอันตราย ถ้าคลิกเข้าไปผู้โจมตีจะสามารถควบคุมบัญชีผู้ใช้ได้เลยทีเดียวนักวิจัยยังพบอีกช่องโหว่ที่ทำให้นักวิจัยเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน TikTok ได้ด้วย
ล่าสุด TikTok แถลงว่า นักวิจัยจาก Check Point แจ้งช่องโหว่มาทางบริษัทในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2019 ที่ผ่านมา และทาง TikTok ได้แก้ไขช่องโหว่แล้วเสร็จในวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา และยังบอกด้วยว่ายังไม่ปรากฏว่ามีแฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้แต่อย่างใด
ถือเป็นปีที่ไม่ดีเท่าไรนักของทวิตเตอร์ในด้าน security ล่าสุดนักวิจัยด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Ibrahim Balic ไปพบว่าแอปทวิตเตอร์เวอร์ชั่นแอนดรอยด์มีช่องโหว่ที่สามารถทำให้นักวิจัยสามารถจับคู่เบอร์โทรศัพท์และโปรไฟล์ผู้ใช้งานได้
Balic ใช้วิธีสร้างเบอร์โทรขึ้นมาใหม่เป็นแบบสุ่มกว่า 2 พันล้านเบอร์ และอัพโหลดไปยังทวิตเตอร์ผ่านแอปแอนดรอยด์ เพื่อดูว่ามีใครใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่สุ่มออกไปบ้าง พบว่าสามารถจับคู่ได้ 17 ล้านเบอร์โทร สามารถจับคู่ผู้ใช้งานในประเทศ ฝรั่งเศส กรีซ ตุรกี และมีบางส่วนเป็นนักการเมืองด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่พบช่องโหว่นี้ในทวิตเตอร์เวอร์ชั่นเว็บไซต์
ทวิตเตอร์รับรู้ปัญหาแล้ว และบอกว่าบริษัทกำลังดำเนินการเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อผิดพลาดนี้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก
LaToya Cantrell นายกเทศมนตรีเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน (state of emergency) หลังระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลท้องถิ่นโดนโจมตี
แถลงการณ์ของเมืองนิวออร์ลีนส์ระบุว่าตรวจพบความผิดปกติในเครือข่าย ตอนช่วงประมาณตี 5 ตามเวลาท้องถิ่น หลังเจ้าหน้าที่เทคนิคเข้าไปสอบสวนก็พบว่าเป็นการโจมตีไซเบอร์ ทำให้เมืองต้องปิดระบบเซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันความเสียหาย
เจ้าหน้าที่ยังตรวจพบการใช้ ransomware เรียกค่าไถ่ด้วย แต่ยังไม่พบการเรียกร้องให้จ่ายค่าไถ่แต่อย่างใด