นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอของ MFEC บริษัทผู้พัฒนาโซลูชันด้านไอทีรายใหญ่ของไทย กล่าวในงานสัมมนา MFEC Inspire ชี้ประเด็นเรื่องต้นทุนทางไอทีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเพิ่มขึ้นถึง 100% ในรอบ 3 ปีหลัง และกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญของภาคธุรกิจไทย
การป้องกันภัยคุกคามไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่ตัวโซลูชันเพียงอย่างเดียว แต่การป้องกันที่ดียังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลายเป็น Rule หรือมาตรการบางอย่างเพื่อใช้ป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในองค์กรขนาดใหญ่มักจะมีห้องรวมตัวสำหรับเหล่าผู้เชี่ยวชาญที่คอยติดตามภาวะภัยคุกคามที่รู้จักกันในชื่อ Cybersecurity Operation Center (CSOC) โดยมีหน้าที่หลายด้านที่ช่วยบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยเช่น มอนิเตอร์และตรวจสอบเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย ตอบสนองเหตุภัยคุกคาม บริหารจัดการช่องโหว่และภัยคุกคาม แต่ทั้งหมดต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จากบุคลากร
Bluebik บริษัทคอนซัลท์ด้านดิจิทัลประกาศซื้อกิจการ Innoviz Solutions ที่ปรึกษาและผู้ให้บริการวางระบบ Microsoft Dynamic 365 ซอฟต์แวร์ตระกูล ERP/CRM และหน่วยธุรกิจ Digital Delivery ของ MFEC ทั้งหมด 100% ทั้ง 2 ส่วน มูลค่าราว 1,000 ล้านบาท
Bluebik ระบุว่าการควบรวมกิจการครั้งใหญ่นี้ เป็นการเสริมแกร่งให้กับงานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และต่อยอดบริการด้าน ERP โดยจะมีจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 350 คน เป็น 780 คน เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจและบริการทั้งในและต่างประเทศ
บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) และ F5 Networks ร่วมกับ Red Hat (ประเทศไทย) ขอเรียนเชิญลูกค้าเข้าร่วมฟังสัมมนาออนไลน์ภายใต้หัวข้อ ปกป้อง Containerized Applications ตั้งแต่เริ่มต้นถึง Deploy อย่างมั่นใจด้วย solution จาก MFEC, F5 และ Red Hat
ในภาวะที่ผู้คนต้องทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ย่อมมีโอกาสที่พนักงานหรือองค์กรจะถูกโจมตีทางไซเบอร์จากผู้ไม่ประสงค์ดีได้ง่ายขึ้นหากไม่ได้รับการป้องกัน และเพื่อไม่ให้องค์กรของคุณเป็นเป้านิ่งของเหล่าแฮกเกอร์ MFEC มีโซลูชันเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความมั่นคงปลอดภัย หรือ Cyber Security Operation Center (CSOC) เฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง
แม้คำว่า Digital Transformation จะได้รับการพูดถึงมายาวนาน แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีองค์กรเพียงไม่กี่แห่งที่เริ่มลงมือนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของตนเอง จนก้าวล้ำหน้าและยืนหยัดท่ามกลางสมรภูมิแห่งความไม่แน่นอน
จนเมื่อทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากการเผชิญหน้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด หรือว่ากำลังมีความต้องการพัฒนาองค์กร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งนี้จึงทำให้คำว่า Digital Transformation ได้รับการพูดถึงอย่างมากอีกครั้ง และหลายบริษัทต่างเห็นพ้องต้องกันว่า นี่คือเวลาของความท้าทาย ที่ต้องเร่งปรับตัวเปลี่ยนแปลงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนธุรกิจอย่างจริงจังเสียที
MSyne เปิดโครงการ MSpire Academy เพื่อรับน้องใหม่ไฟแรงที่สนใจเรื่อง Big Data & Data Analytics เข้ามาร่วม Workshop เรียนรู้เนื้อหาภาคทฤษฎีที่สำคัญ เพื่อปูพื้นฐานให้แน่น และฝึกภาคปฏิบัติกับข้อมูลที่หลากหลาย สัมผัสกับเคสที่ต้องพบในการทำงานจริง เพื่อพัฒนาศักยภาพด้าน Data อย่างเข้มข้น ด้วยหลักสูตร 2 เดือนเต็ม เตรียมความพร้อมให้คุณก้าวเข้าสู่สายงาน Data ได้อย่างมั่นใจ และทำงานร่วมกับลูกค้าระดับ Enterprise ในหลากหลายอุตสาหกรรม พร้อมกับทีม Mentor ที่จะคอยให้คำแนะนำในการทำงานอย่างใกล้ชิด "เทรนฟรี มีงานทำ"
เอ็มเฟคจับมือไอบีเอ็ม ส่งโซลูชันไฮบริดคลาวด์ ดาต้า และเอไอ ช่วยองค์กรรับมือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน พร้อมเพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพธุรกิจท่ามกลางวิถีใหม่ยุคโควิด-ดิสรัปชัน
นายธนกร ชาลี (Chief Operating Officer) บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็มเฟค (MFEC) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในงานวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายงานสารสนเทศอย่างครบวงจร เปิดเผยว่า เอ็มเฟคในฐานะพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) ของไอบีเอ็ม ได้ร่วมกับไอบีเอ็มในการนำเสนอโซลูชันเพื่อการรับมือกับยุคการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วหรือดิจิทัลทรานสฟอร์เมชัน (Digital Transformation) และวิถีใหม่ท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัสโควิด–19 (Covid Disruption) ที่ทำให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
หลายคนคงเคยได้ยินว่า ข้อมูลคือน้ำมันในโลกยุคใหม่ (Data is the new oil.) และสงสัยว่าทำไมนักธุรกิจจำนวนไม่น้อยมองว่าข้อมูลนั้นมีความสำคัญ และข้อมูลจะสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจได้จริงหรือไม่ และจะเปลี่ยนไปอย่างไร
หากเรามองโลกธุรกิจในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา การดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ นั้นหายไปจากโลกอย่างรวดเร็ว การอาศัยความชำนาญส่วนบุคคลในการทำนายสภาพแวดล้อมทางธุรกิจไม่สามารถตอบสนองต่อธุรกิจทุกวันนี้ได้ ในยุคหนึ่งเราอาจจะอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้จัดการหรือผู้บริหารในการทำนายยอดสั่งซื้อ เตรียมจัดหาสินค้ามาสต็อกไว้ล่วงหน้า หรือประเมินผลประกอบการในช่วงเวลาต่างๆ ว่าดีขึ้นหรือแย่ลงจากยอดสั่งซื้อ แต่ธุรกิจยุคใหม่มีความซับซ้อนสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายครั้งธุรกิจต้องปรับตัวจากความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สินค้าสักตัวอาจจะเป็นไวรัลในโลกอินเทอร์เน็ตและเป็นที่ต้องการอย่างมหาศาล ขณะที่สินค้าบางตัวอาจจะมีปัญหาและต้องการทีมงานเข้าไปดูแลแก้ไขให้ทันท่วงทีก่อนจะเป็นข่าวจนองค์กรเสียหาย
ครั้งแรกของไทยที่หน่วยงานตำรวจ ร่วมมือกับภาคเอกชนจัดการแข่งขัน ให้คนทั่วไปมาแสดงความสามารถในการตรวจจับและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่นับวันมีจำนวนมากขึ้น
บริษัท MFEC และ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. ร่วมกับกระทรวงดีอี ร่วมมือกันจัดงานสัมมนาพร้อมการแข่งขันความปลอดภัยไซเบอร์ภายใต้ชื่อ งาน TCSD Cyber Security Conference 2019
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. ร่วมกับกระทรวงดีอี และบริษัท MFEC จัดงานสัมมนาพร้อมการแข่งขันความปลอดภัยไซเบอร์ไปในตัว คือ TCSD Cyber Security Competition 2019 ทีมที่ชนะเลิศได้เิน 50,000 บาท
ในงานแข่งขันคือเป็นการแข่ง CTF ในสาย Offensive Security เจาะหาคำตอบจากช่องโหว่ในระบบ เปิดให้บุคลากรในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปได้เข้ามาประลองฝีมือแข่งขันกัน
ในการแข่งขันมีบริษัท MFEC มาออกแบบโจทย์และการแข่งขันในภาพรวมให้ การแข่งขันมีสองรอบคือ รอบให้โจทย์ ให้ผู้เข้าแข่งขันหาคำตอบและช่องโหว่ที่เกิดขึ้นได้จากสถานการณ์การแฮก หลังจากนั้นจะคัดเลือกเหลือ 10 ทีม เช้าสู่การแข่งขันรอบที่สองที่จะจัดขึ้นทั้งวันทั้งคืนเพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศ
สถาบันพลาสติก หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศนำเทคโนโลยีด้าน IoT มาช่วยพัฒนาผู้ประกอบการด้านพลาสติกในเครือข่ายของสถาบัน ตามนโยบายการผลักดัน Industry 4.0
ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่า จากการสำรวจของสถาบันฯ พบว่า 80% ของผู้ประกอบการทั้งหมดประมาณ 3,000 ราย เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) มีรูปแบบการผลิตเน้นปริมาณ มีระบบช่วยการผลิตเข้ามาประยุกต์ใช้บ้าง แต่ยังคงใช้แรงงานเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันเริ่มประสบปัญหาด้านแรงงาน การวิเคราะห์และตัดสินใจ ซึ่งอุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรม 4.0 เข้ามาตอบโจทย์เหล่านี้
MFEC เปิดตัว mDefense โซลูชันวิเคราะห์และแจ้งเตือนล่วงหน้าด้วย Machine Learning เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดกับระบบหลังบ้านของแอปพลิเคชันขององค์กร โดยโซลูชันนี้พัฒนาต่อยอดมาจากแพลตฟอร์ม Cisco Tetration
mDefense จะนำข้อมูลจาก Tetration Telemetry ร่วมกับ Application Performance Monitoring (APM) เพื่อสร้างโมเดลสำหรับ Machine Learning สำหรับคาดการณ์และแจ้งเตือนการเกิด downtime ของเซิร์ฟเวอร์และแอปขององค์กร รวมถึงแจ้งด้วยว่าจะส่งผลต่อผู้ใช้เท่าไหร่ จะสูญเสียเงินเท่าไหร่จากเหตุการณ์นี้ พร้อมบอกแนวทางแก้ไขก่อนเกิดเหตุ
การใช้เทคโนโลยี Big Data เพื่อจัดการข้อมูลสำหรับการตัดสินใจอย่างทันท่วงที หรือค้นพบโอกาสใหม่ๆ จากข้อมูลที่มีอยู่ในองค์กรคงเป็นเรื่องที่หลายองค์กรเริ่มใช้งานไปแล้ว หรือกำลังพัฒนาระบบเพื่อใช้งานในเร็วๆ นี้ แต่การนำ Big Data เข้ามาในองค์กรอาจจะไม่ง่ายเสมอไป
ผลสำรวจจาก GatePoint Research เมื่อปี 2016 พบว่าองค์กรที่ตอบการสำรวจถึง 63% เพิ่งเริ่มใช้งาน Hadoop เพื่อประมวลผล Big Data มาไม่ถึง 1 ปี ประสบการณ์ที่ไม่มากนักทำให้องค์กรถึง 81% ไม่พอใจกับการจัดการงานประมวลผลเหล่านี้นัก เพราะการจัดการที่แยกส่วนกันจำนวนมากทำให้กระบวนการทำงานไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, หลายครั้งงานไม่ได้รันโดยอัตโนมัติแต่ต้องอาศัยระบบประสานงานภายนอก, และการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ก็มีความยุ่งยาก
ผลิตภัณฑ์สตอเรจในปัจจุบันที่เป็นยุคของคลาวด์ จำเป็นต้องตอบสนองรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลแบบ unstructured data ที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการที่ข้อมูลมีปริมาณเติบโตอย่างรวดเร็ว การขยายขีดความสามารถของสตอเรจให้รองรับข้อมูลได้อย่างเพียงพอ ก็ถือเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่ง
ยักษ์ใหญ่ของวงการสตอเรจองค์กร Dell EMC มีผลิตภัณฑ์ออกแบบมาเพื่อจับลูกค้ากลุ่มนี้ นั่นคือ Isilon
การใช้งาน Big Data เป็นแนวทางหนึ่งในการปรับองค์กรให้เข้าสู่ยุคดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูลที่องค์กรเคยได้รับสามารถช่วยปรับแนวทางการทำงาน การให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ไปจนถึงการสร้างบริการและธุรกิจใหม่ๆ เช่นร้านค้าปลีกสามารถจัดสินค้าให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า บริการที่เห็นประโยชน์ในหลังเช่นแอปเรียกรถรับส่ง ที่สามารถใช้ Big Data เพื่อคาดการณ์ว่าช่วงเวลาใดจะมีผู้โดยสารจากที่ใดไปยังที่ใดบ้าง ทำให้ชักจูงให้คนขับรถเข้าไปรับผู้โดยสารในเขตที่มีโอกาสถูกเรียกสูง ผู้โดยสารเองได้รับบริการที่ดีขึ้น
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาบริษัทต่างๆ พากันหาโอกาสที่จะปรับปรุงการทำงานหรือพัฒนาบริการด้วยการใช้ข้อมูลมาค้นหาแนวทางใหม่ๆ โดยเหล่า Data Scientist ที่มีความสามารถในการสกัดเอาความรู้ออกมาจากข้อมูลจำนวนมากที่มีอยู่ในองค์กรได้ ความสำเร็จในการใช้ข้อมูลเหล่านี้ทำให้งานสาย Data Scientist กลายเป็นงานที่ร้อนแรงที่สุดในปี 2017 จากการจัดอันดับโดย CompTIA และ Glassdoor
เว็บจัดหางานระดับโลกอย่าง Glassdoor ระบุว่างาน Data Scientist เป็นงานที่ดีที่สุดในสหรัฐฯ จากรายได้เฉลี่ยที่สูง, ความต้องการมีจำนวนมากกว่าอันดับสองอย่าง DevOps Engineer เกือบเท่าตัว และผู้ทำงานก็มีความพึงพอใจกับงานที่ทำมากกว่า
การวางระบบบนไอทีใหม่ๆ แล้วใช้ระบบคลาวด์เป็นเรื่องปกติไปแล้วในยุคนี้ แต่การใช้คลาวด์ไม่ใช่แค่เรื่องของการหยุดซื้อเซิร์ฟเวอร์แล้วไปเช่าเซิร์ฟเวอร์รายวันบนคลาวด์เพื่อวางระบบเดิมๆ แต่ต้องอาศัยความเข้าใจเฉพาะทางเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ขยายระบบได้เต็มความสามารถของคลาวด์เอง และประหยัดต้นทุนเมื่อระบบถูกใช้งานน้อยลง
การปรับธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิตอล (digital transformation) ทุกวันนี้ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวรอบด้าน ทั้งการปรับตัวด้านการตลาด, กระบวนการการดำเนินธุรกิจ แต่ความเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่เปลี่ยนไปคือการเชื่อมต่อกับธุรกิจรอบข้างผ่านซอฟต์แวร์รอบข้าง เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจ
การใช้บริการคลาวด์เข้ามาทดแทนหรือเสริมกับโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กรคงเป็นเรื่องปกติสำหรับองค์กรสมัยใหม่ทุกวันนี้กันอยู่แล้ว พร้อมๆ กับการรวมศูนย์กลางการจัดการทรัพยากรในองค์กรให้กลายเป็นคลาวด์ภายในเพื่อให้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิ์ภาพ
การใช้คลาวด์ภายนอกสร้างความได้เปรียบให้กับองค์กรที่ไม่ต้องลงทุนเป็นก้อนเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานชุดใหม่ สำหรับงานบางประเภทที่มีโหลดใช้งานเพียงบางช่วงบางเวลา แต่ขณะเดียวกันการใช้คลาวด์เหล่านี้ก็สร้างความเสี่ยง ตั้งแต่ความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายที่อาจจะมีการเปิดใช้งานเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่เกินความจำเป็นทิ้งเอาไว้บนคลาวด์ภายนอก หรือความปลอดภัยที่เซิร์ฟเวอร์หรือสตอเรจบางชุดอาจจะไม่ได้ถูกควบคุมภายใต้นโยบายเดียวกัน
Blognone เคยสัมภาษณ์ คุณศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร หรือคุณเล้ง ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC มาแล้วเมื่อสองปีก่อน ผ่านมาสองปีธุรกิจไอทีเปลี่ยนไปอย่างมาก การใช้บริการคลาวด์ไม่ใช่เรื่องสำหรับบริษัทขนาดเล็กอีกต่อไป แต่องค์กรทุกขนาดกลับใช้งานกันเป็นปกติ บริการสตรีมมิ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราทุกคน และอินเทอร์เน็ตแบบไม่จำกัดไม่ใช่เพียงบริการสำหรับกลุ่มคนมีกำลังซื้อสูงอีกต่อไป
วันนี้ขอเสนอข่าวควบรวมกิจการในประเทศบ้าง โดยบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันนี้ว่าบริษัทได้อนุมัติเข้าซื้อกิจการบริษัท เมกัส จำกัด และบริษัท นอร์ธเทอร์นสตาร์ซอฟต์แวร์ จำกัด (NTS) โดยใช้วงเงินรวมไม่เกิน 842 ล้านบาท MFEC ชี้แจงเหตุผลว่าการเข้าซื้อกิจการนี้จะทำให้บริษัทมีความหลากหลาย ขยายฐานลูกค้าและครอบคลุมในทุกกลุ่มธุรกิจมากขึ้น