สัปดาห์นี้แอปเปิลประสบชัยชนะในสองศึกที่เกี่ยวข้องกับ iTMS
ศึกแรกคือบรรดาค่ายเพลงใหญ่ Big Four อันได้แก่ Universal, Warner Music, EMI และ Sony BMG ที่เคยออกมาฮึ่มฮั่มว่าจะคิดราคาเพลงแบบไม่ตายตัว (เพลงดังก็ขายแพง) ได้ยอมรับเงื่อนไขในการเจรจากับแอปเปิลแล้ว ทำให้เพลงที่ขายใน iTMS จะยังคงราคาเดิม เพลงละ 99 เซ็นต์ต่อไป อย่างไรก็ตามข่าววงในบอกมาว่าสัญญาอาจเป็นแค่ระยะสั้น ทำให้ปัญหานี้อาจกลับมาอีกในอนาคตอันใกล้
ที่มา - CNN
ใครที่เล่นเกมออนไลน์น่าจะคุ้นกับโฆษณาสินค้าต่างๆ ที่แทรกเข้ามาในเกมกันบ้าง
ตอนนี้มีการประเมินว่าตลาดโฆษณาในเกมจะได้รับความนิยมเพิ่งสูงมากในอีกปีสองปีนี้ และจะมีมูลค่าแค่เฉพาะในสหรัฐถึง 1.8 พันล้านเหรียญภายในปี 2010
นอกจากเกมออนไลน์แล้ว เกมคอนโซลอย่าง Burnout Revenge บน Xbox 360 ยังเปิดให้ดาวน์โหลดรถแข่งเพิ่มเติมฟรีๆ เพียงแต่รถเหล่านั้นจะมีโฆษณาแปะมาด้วย (ทำยังกะ F1) ตัวอย่างโฆษณาที่มีก็อย่างเช่น Alienware และ Dolby เป็นต้น
สงครามแผ่นออปติคอลรุ่นต่อไประอุขึ้นเรื่อยๆ เมื่อค่าย Blu-ray อย่าง TDK ออกมาประกาศว่าพร้อมวางตลาดแผ่น BD-R ที่เขียนได้ครั้งเดียวที่ความจุ 25 กิกะไบต์ และแผ่น BD-RW ที่เขียนซ้ำได้ที่ความจุเดียวกัน โดยแผ่นทั้งสองจะวางจำหน่ายในราคา 19.99 และ 24.99 ดอลลาร์ตามลำดับ
งานนี้ทางด้าน HD-DVD รีบออกมาโต้ว่าแผ่นเขียนได้ความจุ 30 กิกะไบต์ก็กำลังวางตลาดในเร็วๆ นี้เช่นกัน ส่วนด้าน Blu-ray นั้นยังมีไม้เด็ดคือแผ่นแบบสองชั้นที่ให้ความจุถึง 50 กิกะไบต์ ซึ่งทาง TDK ระบุว่าจะวางขายกันในปลายปี เพราะเครื่องที่รองรับยังไม่มีออกมาจนกว่านะถึงช่วงนั้น
Flickr สร้างมาตรฐานให้กับเว็บอัพโหลดรูปไปแล้ว มาถึงคิวของวิดีโอกันบ้าง อันที่คุ้นๆ ตากันหน่อยก็มี Google Video กับ YourTube แต่เอาเข้าจริงยังมีอีกเยอะ
ที่ DVguru มีรีวิวเว็บอัพโหลดวิดีโอจำนวน 10 แห่ง มีตัวที่น่าสนใจอย่าง Revver (คนอัพโหลดคลิปได้ตังจากค่าโฆษณาด้วย) หรือ Jumpcut (ตัดต่อวิดีโอมันออนไลน์เลย) ผลสรุปก็คือยังไม่มีตัวไหนชนะกันเด็ดขาด ขึ้นกับวัตถุประสงค์มากกว่าว่าอยากได้อะไร
ที่มา - DVguru
Designtechnica มีบทความสรุปสถานการณ์เพลงออนไลน์รอบโลกประจำปี 2006
ที่น่าสนใจที่สุดคงเป็นตัวเลขครับ ช่วงระหว่างคริสต์มาสถึงปีใหม่ปีที่แล้วประมาณอาทิตย์นึง มีเพลงออนไลน์ถูกขายในอเมริกาประมาณ 20 ล้านเพลง และในอังกฤษประมาณ 1 ล้านเพลง แต่ถึงแม้เทียบยอดขายตลอดปีกับปี 2004 เพลงออนไลน์จะโตถึง 194% แต่ถ้าคิดทั้งอุตสาหกรรมเพลงแล้ว มันยังเป็นแค่ 6% ของทั้งตลาด
หลังจากเริ่มมีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของวิดีโอในช่วงหลัง ในที่สุด YouTube เว็บฝากวิดีโอสุดฮิต ก็ออกมาตรการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจะจำกัดความยาวของวิดีโอเหลือ 10 นาที ด้วยเหตุผลว่าวิดีโอที่มีความยาวเกินกว่า 10 นาทีมีแนวโน้มที่จะเป็นของละเมิดลิขสิทธิ์สูง
ต้องแก้ปัญหาแบบนี้กันไปก่อน เพราะคงเป็นเรื่องยากที่จะให้ทีมงาน คอยเฝ้าดูวิดีโอที่ถูกอัพโหลดเข้ามาอย่างไม่ขาดสายในแต่ละวัน หรือจะให้ user ช่วยกันแจ้งก็คงเป็นไปได้ยาก ไม่รู้ว่าต่อไปจะโดนหั่นเวลาเพิ่มอีกมั้ยเนี่ย
ปีที่ผ่านมากระแส Podcast แรงจนแอปเปิลต้องลงมาเล่นเอง แต่จากผลการศึกษาของ TDG Research พบว่า 80% ของไฟล์ Podcast ทั้งหมด ไปไม่ถึงฝั่งฝัน (คือถูกดาวน์โหลดลงอุปกรณ์พกพา) แต่จะอยู่แค่บนโปรแกรมฟังเพลง หรือไม่ก็ถูกลบทิ้งโดยไม่ได้ฟังต่างหาก
อย่างไรก็ตามมีข้อแก้ตัวให้ว่านวัตกรรมของ Podcast อยู่ที่การเผยแพร่เนื้อหาผ่าน Feed และอัพเดตอย่างอัตโนมัติต่างหาก การที่คนฟังจะฟังด้วยอะไร ก็เป็นอีกเรื่องนึง
ป.ล. ผมก็ไม่ได้ฟัง Podcast นะครับ (มีแต่ภาษาอังกฤษฟังไม่ออก) ป.ล.2 อยากทำ Blognone Podcast เล่นๆ ตอนสองตอนเหมือนกัน มีใครสนใจบริจาคที่วาง + transfer มั้ย?
สถานะการณ์ของแอปเปิลในฝรั่งเศสทำท่าจะลำบากซะแล้ว เมื่อมีการเสนอร่างกฏหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ขึ้นมา ที่จะทำให้แอปเปิลไม่สามารถผู้ขาดเพลงจาก iTM เข้ากับโปรแกรมไอจูนส์ได้อีกต่อไป
กฏหมายดังกล่าวมีกำหนดการโหวตรับรองในวันพรุ่งนี้ โดยหากกฏหมายนี้ผ่านออกมา แอปเปิลจะเหลือทางออกเพียงสองทางคือการยอมให้ผู้ใช้ iTMS โหลดเพลงเป็นไฟล์ mp3 ได้ หรือยอมถอนธุรกิจส่วนนี้ออกจากฝรั่งเศส
นอกจากแอปเปิลแล้ว กฏหมายนี้ยังทำให้ธุรกิจดนตรีของฝรั่งเศสวิตกไปตามๆ กัน เนื่องจากการห้ามไม่ให้มีการผูกขาดเพลงที่ผู้ใช้ซื้อไปนั้น ยังคลุมเครืออยู่มากว่าผู้ผลิตจะกันส่วนใดได้หรือไม่ได้บ้าง
อนาคต iPod และ iTunes ส่อแววไม่รอดในประเทศฝรั่งเศส หลังรัฐบาลฝรั่งเศสพิจารณาออกกฎหมายให้ iPod สามารถเล่นและลงเพลงจากบริการเพลงออนไลน์จากเจ้าอื่นๆนอกจาก iTMS ได้
ถึงตอนนี้ผลยังไม่ออกแน่ชัด แต่ผมเชื่อ (คนเขียนข่าวและหลายๆคนก็เชื่อ) ว่าหากผลออกมาไม่สู้ดีนัก Apple คงไม่ยอมผ่อนผันง่ายๆ น่าจะยอมทิ้งตลาดในฝรั่งเศสมากกว่า
ผมว่ารัฐบาลฝรั่งเศสเล่นแรงไปนิดแฮะ เกิดอย่างนี้ขึ้นมาแล้วประเทศอื่นๆจะทำตามไหมเนี่ย??
ขอบ่นอีกนิด เมื่อไหร่ iTMS จะมีในไทยซักที่น้าาา...
ผลการสำรวจโปรแกรมมัลติมีเดียยอดนิยม ปรากฎว่าพิจารณาจากกราฟแล้ว iTunes กำลังจะแซง Real Player ในช่วงกลางปีนี้
โดย iTunes แซง QuickTime Player มาได้นานแล้ว ส่วนอันดับหนึ่งคือ Windows Media Player ยังทิ้งกันค่อนข้างห่าง โดยปัจจัยที่ช่วยส่ง iTunes คงเป็นกระแสเพลงออนไลน์ของ iTMS, กระแส iPod และกระแส Podcast ประกอบกัน
น่าทำ Blognone Podcast เหมือนกันแฮะ
ที่มา - WebSiteOptimization
Amazon พึ่งเปิดตัวบริการ S3 ไปเมื่อวาน บริการนี้มีชื่อเต็มว่า Simple Storage Service มีไว้สำหรับนักพัฒนาเท่านั้น เอาไว้สำหรับงานที่ใช้เนื้อที่มหาศาล และไม่อยากเก็บเอง S3 ก็จะมี APIs ให้เอาไว้สำหรับ เขียน อ่าน ลบ ข้อมูลที่ฝากไว้ใน S3 แต่ต้องเน้นว่า ไม่ฟรีนะครับ $0.15 ต่อ GB ไม่แพงเกินไป ที่น่าสนใจคือเลือกได้ว่าจะดึงข้อมูลออกไปทาง HTTP หรือ BitTorrent
ถึงแม้จะเป็นพันธมิตรกัน และเป็นผู้ผลิตหน่วยความจำแฟลชรายใหญ่ให้แอปเปิล แต่ Samsung เตรียมวางตลาดเครื่องเล่นเอ็มพีสาม Z5 ที่มีจอสี 1.8 นิ้วและเล่นได้ 35 ชม. ออกมาชนกับนาโนตรงๆ (ซื้อเพลงตามมาตรฐาน PlayForSure ของไมโครซอฟท์เช่นเคย)
ที่เป็นข่าวคือซอฟต์แวร์ใน Z5 ออกแบบโดยทีมของ Paul Mercer พนักงานเก่าของแอปเปิลสมัยยุค 80 หนึ่งในทีมสร้าง Newton ภายหลังเค้าได้ออกมาตั้งบริษท ซึ่งรับผิดชอบซอฟต์แวร์ภายในไอพ็อดรุ่นแรก
ที่เหลือในข่าวเป็นเรื่องของ Mercer อย่างละเอียด ประมาณว่าเล่นเรื่องอดีตพนักงานแอปเปิล มาสร้างผลิตภัณฑ์แข่งกับบริษัทเก่า (ซึ่งผมคิดว่าก็ปกตินิ)
ในยุคที่ร้านขายเพลงออนไลน์รุ่งเรืองแบบนี้ แพลตฟอร์มลินุกซ์เป็นลูกเมียน้อยมากๆ เพราะร้านขายเพลงส่วนมากสนับสนุนเฉพาะวินโดวส์ (ส่วนบนแมคนอกจาก iTMS แล้ว ร้านอื่นๆ ก็ได้อานิสงค์จาก iPod) แต่มาวันนี้ Mandriva ได้ประกาศว่าใน Mandriva 2006 ที่จะออกเร็วๆ นี้ จะรวมความสามารถในการซื้อเพลงจากร้าน Mindawn ไว้ด้วย
Mindawn เป็นร้านที่สนับสนุนทั้งสามแพลตฟอร์มหลัก ฟอร์แมตของเพลงจะใช้ Ogg สำหรับ lossy และ FLAC สำหรับ loseless ตามคาด แต่ผมลองกดเข้าไปดูก็คิดว่าไม่รอดแน่ เพราะไม่มีศิลปินที่รู้จักเลย!
หลายคนอาจเห็น WMP11 ผ่านตาจาก screenshot ของ Vista แล้ว ทีมงาน CNET ได้มีโอกาสลองเล่น WMP11 ในงาน CES 2006 และพบว่าหน้าตามันดูใสสะอาดปิ๊งปั๊งมากขึ้น เอาส่วนดีหลายอย่างจาก iTunes มาใช้ และทำงานได้รวดเร็ว จัดการกับเพลงจำนวนมากๆ (ซักหลักหมื่นเพลงขึ้นไป) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดอ่อนที่สำคัญของทั้ง iTunes และ WMP ตัวเก่าๆ
ทาง Blognone ได้รายงานข่าวเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ว่า iTMS นับถอยหลังสู่พันล้านเพลง โดยวันนั้นจำนวนเพลงที่ถูกดาวโหลดอยู่ที่ประมาณ 953 ล้านเพลง
อีกสิบหกวันถัดมาหรือก็คือวันนี้ iTMS มีลูกค้าดาวโหลดเพลงไปทั้งหมด 1,000,000,000 เพลง แล้ว (หนึ่งพันล้านเพลง!!!)
แอปเปิ้ลยิ้มร่า ลูกค้าร่าเริง...
HDCP ย่อมาจาก High-bandwidth Digital Content Protection เป็นระบบป้องกันทางลิขสิทธิ์ที่จะใช้ใน Blu-Ray และ HD-DVD ยุคหน้า โดยไมโครซอฟท์บอกว่าจะเล่นแผ่น 2 แบบนี้ใน Vista การ์ดจอที่ใช้ต้องสนับสนุน HDCP ด้วย ทั้ง ATI และ Nvidia ได้ออก GPU ที่สนับสนุน HDCP มานานแล้ว แต่เอาเข้าจริง ไม่มีการ์ดจอที่ใช้ HDCP ขายได้ในท้องตลาดเลย
หมายความว่าอะไร? นี่หมายความว่าถ้าคุณออกจากบ้านไปซื้อการ์ดจอใหม่วันนี้ กะว่าอัพเกรดรอ Vista และกะว่าตอนนั้นจะดูหนังโหมดความละเอียดสูงใน Blu-Ray/HD-DVD ได้ คุณจะผิดหวังอย่างแน่นอน และเสียตังค์เปล่า!!!
Songbird เป็น media player ที่มีจุดเด่นคือ
แอปเปิลเคยมีแคมเปญฉลองรับเพลงที่ 100 ล้าน (และ 500 ล้านด้วยถ้าจำไม่ผิด) ที่ขายผ่าน iTunes Music Store ไปหลายรอบ ตอนนี้ถึงคิวของเพลงที่ 1 พันล้านซะที แต่เสียดายงานนี้ คนไทยไม่มีสิทธิ์
ตอนที่ผมเขียนนี้ตัวเลขอยู่ที่ 953 ล้าน ทุกๆ 1 แสนเพลงจะออกรางวัลย่อยคือ iPod nano สีดำแบบ 4GB และคูปองซื้อเพลงมูลค่าร้อยเหรียญ นั่นหมายความว่ามีโอกาสออกประมาณ 500 รางวัล ส่วนรางวัลใหญ่ เพลงที่พันล้าน จะได้รับรางวัลดังนี้
เพิ่งจับมือกันเพียงเดือนเดียว ค่ายทีวีอย่างซีบีเอสก็มีทีท่าว่าจะปันใจไปจากกูเกิลเสียแล้ว โดยเมื่อ Google Video เปิดตัวนั้น มีพันธมิตรรายใหญ่อย่างซีบีเอส นำคอนเทนต์จำนวนมากลงมาให้ดาวน์โหลด แต่ในวันนี้เองทาง ซีบีเอสก็แสดงท่าทีว่าจะขายรายการโทรทัศน์ต่อไปด้วยตัวเอง
โดยรายการแรกที่ทางซีบีเอสจะเริ่มขายเองคือ Survivor อันโด่งดัง ซึ่งรายการนี้จะมีให้โหลดในเว็บของทางซีบีเอส และผู้ซื้อต้องดูเมื่อกำลังออนไลน์เท่านั้น โดยรายการที่โหลดมาจะดูได้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
ตอนนี้ทางกูเกิลเองคงต้องหัวปั่น หารายการมาใส่เพิ่มกันอีกยกใหญ่
เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาเมื่อ สมาิคมธุรกิจภาพนยต์ในสหรัฐฯ หรือ MPAA ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่จ้องไล่ฟ้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ กลับถูกจับได้ว่าเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์เสียเอง เรื่องนี้ถูกแฉโดยนาย Kirby Dick ผู้กำกับสารคดีเรื่อง This Film Is Not Yet Rated ซึ่งเป็นสารคดีที่อธิบายการทำงานของ MPAA โดยนาย Dick ได้ส่งหนังเรื่องนี้ให้ MPAA เพื่อทำการจัดเรต แต่หลังจากนั้้นก็พบว่า MPAA มีการทำสำเนาหนังเรื่องนี้เผยแพร่ให้กับพนักงานภายใน
หลังจากเป็นข่าวลืิอกันมานาน กูเกิลก็ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะมีบริการกูเกิลวีดีโอให้เราได้ซื้อคอนเทนต์กันในเร็วๆ นี้ โดยกูเกิลระบุว่าบริการกูเกิลวีดีโอนั้นจะเปิดโอกาสให้เจ้าของคอนเทนต์ได้ตั้งราคาอย่างอิสระ ต่างจากแอปเปิลที่ล็อกราคาไว้ที่ 1.99 ดอลลาร์ โดยกูเกิลกำหนดเพียงว่ารายได้ร้อยละ 30 นั้นจะเป็นค่าบริการของกูเกิล เรื่องนี้มีผู้ผลิตคอนเทนต์สนใจกันมากอย่างเช่น NBA ต้องการขายบันทึกเกมบาสเกตบอลหลังการแข่งหนึ่งวันในราคา 3.95 ดอลลาร์ หรือช่องฟรีทีวีหลายๆ ข่องอาจต้องการขายในราคาที่ถูกกว่านั้น
เป็นที่รู้กันดีว่าเจ้า DRM ของค่ายต่างๆ ไม่ว่าจะปลอดภัยอะไรแค่ไหน แต่มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าเราเอาไมค์มาจ่อลำโพงอัดเอา เพราะยังไงหูเราฟังได้ ไมค์ก็ต้องอัดได้
ความคิดอย่างนี้กำลังจะไม่เป็นจริง เมื่อมีความพยายามผลักดันกฏหมายในสหรัฐ เพื่อให้มีการบังคับให้ผู้ผลิตเครื่องอัดเสียงและภาพทั้งหลาย ต้องทำผลิตภัณฑ์ของตนให้เข้ากับมาตรฐานการป้องกันสองแบบคือ Video Encoded Invisible Light (VEIL) และ Content Generation Management System—Analog (CGMS-A) ซึ่งจะทำให้แม้ข้อมูลเป็นอนาล็อก แต่หากเครื่องบันทึกเชื่อฟังข้อมูลพวกนี้ ก็จะบันทึกไม่ได้อยู่ดี
ช่วงนี้เราอยู่ในโลกของ Google something ถึงแม้บริการ Google Music จะไม่น่าตื่นเต้นนักเมื่อเทียบกับอย่างอื่น แต่ก็เป็นข่าวได้
Google Music ไม่ได้เป็นการขายเพลงออนไลน์แข่งกับแอปเปิลแต่อย่างใด แต่เป็นบริการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับดนตรี สมมติว่าผมค้นหาคำว่า coldplay ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นศิลปิน, อัลบั้ม และเพลงที่มีคำว่า coldplay มาเกี่ยวข้อง หลังจากนั้นถ้ากดเข้าไปที่ศิลปินชื่อ coldplay ก็จะมีลิงก์ไปยังร้านขายเพลงออนไลน์ต่างๆ เช่น iTunes Music Store หรือ Amazon
หลังจากเติบโตอย่างร้อนแรงมาตลอด ยอดขายเพลงออนไลน์ของเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้ตกลง 0.44% เมื่อเทียบกับยอดขายในช่วงไตรมาสที่สาม ถึงมันจะตกแค่จิ๊บๆ แต่เมื่อเทียบกับยอดการเติบโตที่ผ่านมา อาจแสดงได้ว่าตลาดนี้เริ่มเต็ม หรือถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง
ตอนนี้มีกระแสกดดันให้แอปเปิลต้องปรับปรุง iTunes Music Store เสียที ทางฝั่งค่ายเพลงนั้นต้องการให้ใช้ราคาตามเพลง (เพลงใหม่แพงกว่า) ส่วนผู้ใช้อย่างเราๆ ก็ย่อมต้องการให้มันซื้อได้ทางอื่น ที่ไม่ใช่กดเข้าไป iTMS เพียงอย่างเดียว
ข่าวจาก BusinessWeek