ลินุกซ์ดิสโทรอื่นๆ อย่าง Ubuntu และ Fedora นั้นออกรุ่นใหม่ทุกๆ 6 เดือน โดยอิงตามรอบของ GNOME เป็นหลัก (Ubuntu จะออกหลัง GNOME ประมาณ 1 เดือน ส่วน Fedora จะตามหลังอีกเล็กน้อย) ส่วนดิสโทรชื่อดังอีกตัวคือ openSUSE นั้นไม่เคยมีประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะออกรุ่นใหม่ทุกกี่เดือน (แต่ที่แล้วๆ มาทุก 8-10 เดือน)
ตอนนี้ openSUSE ออกมาประกาศแล้วครับว่า รอบการออกรุ่นถัดจากนี้ไปจะเป็นทุกๆ 8 เดือน โดยให้เหตุผลว่า 6 เดือนนั้นสั้นเกินไป ส่วนการล็อคเวลาให้รุ่นใหม่ออกทุกช่วงเวลาที่กำหนด ก็มาจากสาเหตุเดียวกับทาง Ubuntu และ Fedora นั่นคือจะช่วยให้ผู้ที่นำเอาดิสโทรไปใช้ (เช่น องค์กรขนาดใหญ่ หรือผู้ที่นำไปพัฒนาต่อ) สามารถวางแผนการใช้งานได้สะดวกนั่นเอง
สำหรับแผนการออกรุ่นถัดไป 4 รุ่นมีดังนี้
Fedora ได้ออกรุ่น 11 Alpha มาแล้วครับ สำหรับรุ่นนี้มีชื่อรหัสว่า Leonidas (เป็นชื่อเรือในราชนาวีสหรัฐ เช่นเดียวกับเรือ Cambridge ซึ่งเป็นชื่อรหัสรุ่น 10 ครับ) สำหรับของเล่นใหม่ในรุ่นนี้ครับ
ลินุกซ์ตัวแม่ที่เป็นต้นฉบับให้ลูกๆ จำนวนมากนำไปดัดแปลงต่อ เห็นจะไม่มีใครเกิน Debian และล่าสุด Debian 5.0 รหัส Lenny ออกแล้วครับ
Lenny ใช้เวลาพัฒนาทั้งหมด 22 เดือน สนับสนุนสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 12 แบบ มีซอฟต์แวร์ทั้งหมดในคลัง 23,000 ตัว ซอฟต์แวร์สำคัญๆ ได้แก่ เคอร์เนล 2.6.26, KDE 3.5.10, GNOME 2.22.2, X.Org 7.3, OpenOffice.org 2.4.1, Firefox (หรือ Iceweasel) 3.0.6 เป็นต้น
ของใหม่ที่น่าสนใจคือการติดตั้งแบบใช้ซีดีแผ่นเดียว (ถ้าเลือกใช้ GNOME), Live CD โดยโครงการ Debian เอง และที่เจ๋งสุดคือสามารถติดตั้งผ่านแผ่น Blu-ray ได้ (ถ้ามีไดรฟ์นะ)
ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวานิช ผู้บริหารเนคเทค ออกมาเปิดเผยว่ากำลังซุ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการแห่งชาติอยู่ ชื่อว่า Ecolonux ซึ่งมาจากคำว่า Ecology รวมกับคำว่า Linux หมายถึงลินุกซ์ในระบบนิเวศ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะได้นำออกมาใช้ได้เมื่อไหร่ โดยปัจจัยที่จะทำให้ระบบปฏิบัติการแห่งชาตินี้เกิดขึ้นได้ จะต้องผลักดันให้มีผู้ใช้โอเพนซอร์สมากขึ้นจาก 1% เป็น 10% ให้ได้ก่อน (ผมก็จะขอช่วยด้วยอีกคนหนึ่ง) ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี นับจากนี้
โดย ดร.วิรัช กล่าวว่า
บริษัท Xandros ผู้พัฒนาลินุกซ์ดิสโทรจากแคนาดา ประกาศเข้าซื้อกิจการของ Linspire ดิสโทรอีกยี่ห้อ
Mark Shuttleworth แห่ง Ubuntu เขียนบล็อกเสนอไอเดียให้ดิสโทรรายใหญ่ (Red Hat, SUSE, Debian) มาตกลงกันเพื่อกำหนดช่วงออกรุ่นสำคัญ (เช่น RHEL หรือ Ubuntu LTS) ไล่เลี่ยกัน เป้าหมายของไอเดียนี้คือเพื่อให้โครงการต้นน้ำทั้งหลาย (GNOME/KDE, OpenOffice.org, Mozilla) รู้กำหนดออกของดิสโทรล่วงหน้า และปรับกำหนดออกรุ่นของโปรแกรมของตัวเองตาม ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายคือดิสโทรรุ่นสำคัญจะมีเสถียรภาพมากขึ้น Shuttleworth บอกว่าเขายินดีจะเปลี่ยนกำหนดออกของ Ubuntu รุ่นถัดๆ ไปถ้าไอเดียที่เสนอทำได้จริง
หลัง KDE 4.0 ออกมาโดยมีเสียงตอบรับยังไม่ค่อยดีนัก (ว่ายังไม่สมบูรณ์พอจะแทน KDE 3.5 ในปัจจุบันได้) บรรดาดิสโทรลินุกซ์เลยมีท่าทีแตกต่างกันไปว่าจะนำ KDE 4.0 เข้ามารวมในดิสโทรเวอร์ชันต่อไปของตัวเองหรือไม่
ไม่รู้แถวนี้มีแฟน Slackware กันบ้างหรือเปล่า (บ้านเรามีแต่สาย Fedora กับ Debian) แต่เนื่องจากเป็น major version เลยเอาข่าวมาลงหน่อย
Slackware 11.0 ใช้เคอร์เนล 2.4.33.3 เป็น default แต่สามารถเลือกใช้ 2.6.x ได้ใน /extra หรือ /testing ส่วนโปรแกรมอื่นๆ ในระบบก็ใหม่ที่สุดในบรรดาดิสโทรที่ออกมาช่วงนี้ เช่น KDE 3.5.4 หรือ XFCE 4.2.3.2 เป็นต้น
ที่มา - Announcing Slackware Linux 11!
คราวก่อน เขียนไปว่า SLED หรือ SUSE Linux Enterprise Desktop 10 ได้รับคำวิจารณ์ค่อนข้างดีมาก ตอนนี้มีรีวิวอีกอันในมุมกลับกัน คือ SLED 10 บั๊กเยอะ และฟีเจอร์บางอัน เช่น XGL ไม่ใช่อะไรที่เหมาะกับการใช้งานในองค์กร (อ่าน)
คนรีวิวยังได้เขียนวิธีการติดตั้งแพกเกจเพิ่มเติมสำหรับ SLED 10 เช่น JDK 1.5 (ตัวที่มากับ SLED เป็น 1.4.2) หรือ DVD Playback เป็นต้น (อ่าน)
โครงการ Debian ได้กำหนดวันออก Debian stable รุ่นถัดไปคือ 4.0 หรือรู้จักกันในโค้ดเนม 'etch' (มาจากกระดานวาดรูป Etch the Sketch ในทอยสตอรี่) คือออกในเดือนธันวาคม 2006 นี้
Debian รุ่นนี้จะเป็นรุ่นแรกที่สนับสนุนสถาปัตยกรรม AMD64 ซึ่งทำให้สนับสนุนสถาปัตยกรรมรวมทั้งหมด 11 ชนิด ส่วนของใหม่อื่นๆ (ที่ดิสโทรอื่นถือเป็นของเก่าแล้ว) คือ GCC 4.1, X.Org แทน XFree86 และ Secure APT เป็นต้น
ที่มา - Slashdot
พร้อมกับการมาของ Fedora Core 6 Test 2 ในวันที่ 26 เดือนกรกฏาคมนี้ Fedora จะหยุดการสนับสนุน Fedora และ Red Hat Linux เวอร์ชั่นเก่าอันประกอบไปด้วย Fedora Core 1, Fedora Core 2, Red Hat 7.3 และ Red Hat 9 พร้อมกับหยุดรับบั๊กใหม่ๆ ภายในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ และจะแก้เท่าที่แก้ได้ภายใน 31 ธันวาคมนี้ครับ
จากข่าวเปิดตัว Freespire ซึ่งเป็นฐานสำหรับ Linspire อีกทีนั้น ตอนนี้ Freespire ได้ออกเบต้า 1 ออกมาแล้วครับ
จุดเด่นของเจ้าตัวนี้คือ มีทุกอย่างให้อยู่แล้วในตัวมันเอง รวมถึงการสนับสนุนโปรแกรมที่ไม่เปิดเผยซอร์สโค้ด อย่างการสนับสนุน MP3, WMV, QuickTime, Real, Java, Flash, Driver สำหรับ VGA ของ ATi และ Nvidia แต่ก็จะมี Freespire OSS Edition ที่จะมีแต่โปรแกรมเผยซอร์สโค้ดด้วยเช่นกัน
ตัว Freespire เองเป็น Debian-based ใช้ KDE และเปิดเผยซอร์สโค้ดด้วยครับ
หลังจากเสียงตอบรับของ Dapper Drake ค่อนข้างออกมาดี เหล่านักพัฒนา Ubuntu กว่า 60 ชีวิตก็ไปรวมตัวกันที่ปารีสตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมาเพื่อร่างแผนการสิ่งที่ต้องพัฒนาใน Edgy Eft และจนถึงวันนี้มีการเสนอแผนการพัฒนากว่า 170 รายการแล้ว แม้จะมีรายการที่รองรับแล้วไม่ถึง 20 รายการ
เรื่องเด่นๆ ที่ถูกเสนอเข้าไปก็เช่น การรองรับ Xen ในตัว ทำให้สามารถใช้ Edgy เป็น Guest OS ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงอะไรเพิ่มเติม หรือการรองรับ GCC-SSP ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ซอฟต์แวร์หลายๆ ตัว ไปจนถึงการตรวจสอบชนิดไฟล์อัตโนมัติ และการลงโปรแกรมเพื่อเปิดไฟล์นั้นๆ ได้ง่ายกว่าเดิม
Linspire เป็นดิสโทรลินุกซ์ที่ดังเมื่อ 3-4 ปีก่อน เพราะผู้ก่อตั้งคือ Michael Robertson อดีตเจ้าของ MP3.com และวิธีการทำตลาดของ Linspire เป็นที่ถกเถียงกันในวงการโอเพนซอร์สพอสมควร เนื่องจาก Linspire (เดิมชื่อ Lindows) เน้นตลาดผู้ใช้หน้าใหม่ และรวมเอาโปรแกรมที่ไม่โอเพนซอร์ส (เช่น Java, Acrobat) เข้ามาในชุดด้วยเลย รวมถึงมีนโยบายไม่เปิดซอร์สโค้ดระบบแพกเกจ CNR ที่ใช้ด้วย
เรื่องฮาๆ นี้เริ่มต้นขึ้นจากการที่ผู้จัดการเมือง Tuttle ในรัฐโอกลาโฮมา ได้เปิดเข้าไปดูในเวปไซต์ชุมชน แล้วพบเจอหน้าตั้งค่าของ Apache ซึ่งมีชื่อ CentOS แปะอยู่
ผู้จัดการเมืองคนนี้นึกว่า CentOS ได้แฮ็คเวปของเมือง จึงเกิดอารมณ์รักเมือง จึงส่งอีเมลไปหาผู้พัฒนา OS ให้เอาซอฟต์แวร์ของเขาออกไป แต่เรื่องไปๆมาๆ ปรากฎว่า ความผิดไม่ได้เกิดจาก CentOS เลย แต่เกิดขึ้นจากโฮสต์ของเวปชุมชน ซึ่งทำการลงซอฟต์แวร์ใหม่โดยไม่ได้แจ้งลูกค้า ทำให้เกิดความตื่นตระหนก (ของผู้จัดการเมืองคนนี้)