Fedora ออกเวอร์ชัน 41 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ซอฟต์แวร์ใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
Fedora Linux ออกเวอร์ชัน 40 มีของใหม่ดังนี้
ที่มา - Fedora
Fedora ประกาศแบรนด์ Fedora Atomic Desktops ดิสโทรย่อยที่ใช้ระบบแพ็กเกจแบบแก้ไขภายหลังไม่ได้ (immutable) โดยใช้ระบบจัดการแพ็กเกจ rpm-ostree ที่มองแพ็กเกจทั้งหมดในอิมเมจเป็นแผนภูมิต้นไม้
Project Atomic ของ Fedora เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2014 (Blognone รายงานครั้งแรกในปี 2016) โดยเริ่มจากการเป็นอิมเมจเพื่อใช้บนคลาวด์อย่างเดียว (ตอนหลังกลายเป็น Fedora CoreOS) แล้วขยายมายังตลาดเวิร์คสเตชันในชื่อ Fedora Silverblue
Fedora โพสต์เสนอชุมชนถึงการเปลี่ยนแปลงใน Fedora Linux ให้มีผลตั้งแต่เวอร์ชัน 40 โดยรวมตำแหน่งของ /usr/bin และ /usr/sbin ไว้ที่เดียวกัน
รายละเอียดที่เสนอเปลี่ยนคือแก้ไข /usr/sbin เป็น symlink ไปที่ bin ทำให้ path ทั้งหมดในกลุ่มนี้ชี้ไปที่ตำแหน่งเดียวกัน และ /usr/sbin จะถูกลบออกจาก $PATH ค่าเริ่มต้นด้วย
ดิสโทร Fedora ออกเวอร์ชันที่รองรับซีพียู Apple Silicon โดยใช้ชื่อว่า Fedora Asahi Remix 39
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Fedora กับ Asahi Linux ที่ทำงานพอร์ตลินุกซ์ไปรันบนซีพียู Apple Silicon อยู่ก่อนแล้ว (ชื่อโครงการ Asahi มาจากชื่อเรียกพันธุ์แอปเปิล McIntosh ในญี่ปุ่น) ส่วนตัวเนื้อของดิสโทรคือการพอร์ต Fedora 39 ไปรันบน Apple Silicon นั่นเอง
ตอนนี้ Fedora Asahi Remix 39 รองรับเครื่องแมคทุกรุ่นที่ใช้ชิป M1, M2 โดยฟีเจอร์ด้านฮาร์ดแวร์ส่วนใหญ่ใช้ได้หมด (อาจมียกเว้นบางอย่าง เช่น Touch ID หรือ Thunderbolt/USB 4) ส่วนเดสก์ท็อปเลือกใช้ KDE Plasma รันบน Wayland และรองรับ OpenGL 3.3 กับ OpenGL ES 3.1 บนจีพียูของ Apple Silicon
Fedora ออกเวอร์ชัน 38 โดยเวอร์ชัน Workstation อัพเกรดมาใช้ GNOME 44 ตามรอบปกติทุก 6 เดือน, รองรับการติดตั้งซอฟต์แวร์จาก repository ภายนอกคือ Flathub, ปรับลดเวลา timeout ของเซอร์วิสตอนสั่งปิดเครื่อง ทำให้ปิดเครื่องเร็วขึ้น
เวอร์ชันแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่ใช้งานคือ kernel 6.2, gcc 13, Golang 1.20, LLVM 16, Ruby 3.2, TeXLive2022, PHP 8.2, dnf5
ของใหม่อีกอย่างสำหรับผู้ใช้ชาวไทยคือ Fedora 38 เปลี่ยนมาใช้ฟอนต์ Noto เป็นดีฟอลต์สำหรับภาษาไทยและภาษาเขมรแล้ว
ที่มา - Fedora, Fedora Workstation
Fedora Linux ออกเวอร์ชัน 37 หลังจากต้องเลื่อนมาเล็กน้อยเพราะรออุดช่องโหว่ OpenSSL ของใหม่คือ
โครงการ Fedora ประกาศเลื่อนการออก Fedora 37 เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากช่องโหว่ระดับวิกฤตของ OpenSSL ที่จะเปิดเผยต่อสาธารณะในวันอังคารหน้า ทำให้ทีม Fedora ตัดสินใจรอแพตช์ OpenSSL ให้เรียบร้อยก่อนออกเวอร์ชัน 37 ตัวจริง (เดิมมีกำหนดออก 8 พฤศจิกายน)
ทีม Fedora บอกว่าตอนนี้ยังไม่รู้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าช่องโหว่ OpenSSL ร้ายแรงแค่ไหน แต่การที่ระดับของช่องโหว่เป็น critical ทำให้ทีมงานตัดสินใจรอแพตช์ก่อน เพื่อลดผลกระทบของการใช้ดิสโทรที่มีช่องโหว่ติดไปด้วย ซึ่งเป็นการตัดสินใจเลือกระหว่างเวลา-คุณภาพ
เบื้องต้นทีมงานคาดว่าจะออก Fedora 37 ในวันที่ 15 พฤศจิกายน แต่ก็ต้องรอข้อมูลแพตช์อีกครั้ง
Fedora ออกเวอร์ชัน 36 ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
ที่มา - Fedora
ในยุคนี้ การเขียนแอพแบบดั้งเดิมหลายอย่างถูกเปลี่ยนมาเขียนด้วยเทคโนโลยีเว็บแทน กระแสนี้ลามไปถึงตัวติดตั้งระบบปฏิบัติการ (OS installer) ที่เราเห็นเป็นอย่างแรกๆ ตั้งแต่เครื่องพีซียังไม่มีระบบปฏิบัติการด้วยซ้ำ
ดิสโทรลินุกซ์ Fedora มีตัวติดตั้งชื่อ Anaconda ถูกใช้งานมายาวนาน (ใช้กับทั้ง Fedora และดิสโทรในสาย Red Hat ทั้ง RHEL และ CentOS) เดิมที Anaconda เขียนด้วย GTK+ ซึ่งเป็นชุดพัฒนา GUI สำหรับลินุกซ์ (ตัวเดียวกับ GNOME และ GIMP) แต่มันกำลังจะถูกเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีเว็บแทน
AWS ปล่อย Amazon Linux 2022 (AL2022) รุ่นพรีวิวให้ทดลองใช้งาน โดยเวอร์ชั่นนี้จะเป็นเวอร์ชั่นแรกที่ AWS หันไปใช้ Fedora เป็นจุดตั้งต้นแทนที่จะเป็น CentOS
โครงการ Amazon Linux ถูกแยกออกมาจากบริการคลาวด์ของ AWS ตั้งแต่ปี 2017 และมักใช้ CentOS/RHEL เป็นฐาน พร้อมกับปรับแต่งเองหลายอย่าง แพ็กเกจหลายตัวไม่ได้เลือกตามเวอร์ชั่นของ CentOS ไปทั้งหมด ใน AL2022 จะใช้ Fedora 34/35 เป็นฐานแทน แต่ทาง AWS ก็ปรับแต่งค่อนข้างมากเช่นเดิม ตั้งแต่เคอร์เนลที่อาจจะใช้เวอร์ชั่นไม่ตรงกับ Fedora, คอนฟิกเริ่มต้น (เปิดใช้ SELinux แบบ enforce แต่แรก), และแพ็กเกจต่างๆ
Fedora ออกเวอร์ชัน 35 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ของใหม่ที่สำคัญได้แก่
Fedora ออกเวอร์ชัน 34 ของใหม่ที่สำคัญดังนี้
Fedora ออกเวอร์ชัน 33 มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรุ่นย่อยดังนี้
Lenovo เริ่มวางขายโน้ตบุ๊ก ThinkPad บางรุ่นที่พรีโหลด Fedora ตามที่เคยประกาศไว้ในเดือนเมษายน
ThinkPad ที่สามารถเลือก Fedora ได้มี 3 รุ่นคือ ThinkPad P1 Gen 2, ThinkPad P53, ThinkPad X1 Gen 8 โดยสามารถสั่งได้จากหน้าเว็บ Lenovo.com
Immutable OS เป็นแนวคิดใหม่ของวงการระบบปฏิบัติการ ที่พยายามสร้าง OS แบบอัพเดตแยกส่วนไม่ได้ (ป้องกันอัพเดตบางส่วนแล้วพัง) แต่หันมาใช้ระบบอัพเดตทั้งอิมเมจแทน (แล้วสลับอิมเมจเอา) หากอัพเดตแล้วมีปัญหาก็สามารถสลับคืนไปอิมเมจเก่าได้ทันที
ตัวอย่างของ OS กลุ่มนี้คือ CoreOS ซึ่งมักใช้ในงานเซิร์ฟเวอร์-คอนเทนเนอร์ หรือ Android/Chrome OS ก็ใช้แนวทางการอัพเดตตัวระบบปฏิบัติการหลักแบบนี้เช่นกัน
Fedora ออกเวอร์ชัน 32 ของใหม่ได้แก่
เราเห็นข่าวผู้ผลิตโน้ตบุ๊กบางเจ้าออกเวอร์ชัน Ubuntu พรีโหลดมาให้ด้วย (เช่น Dell XPS คราวนี้เป็นข่าวของฝั่ง Fedora ที่ประกาศความร่วมมือกับ Lenovo ThinkPad บ้าง
Lenovo จะออก ThinkPad 3 รุ่นคือ ThinkPad P1 Gen 2, ThinkPad P53, ThinkPad X1 Gen 8 ที่เป็น Fedora Edition ใช้ระบบปฏิบัติการ Fedora 32 Workstations (ที่กำลังจะออกตัวจริงในเร็วๆ นี้)
วิธีการสั่งซื้อสามารถเลือก OS ได้จากหน้าเว็บของ Lenovo ตามปกติ รายละเอียดเพิ่มเติมจะประกาศในงาน Red Hat Summit สัปดาห์หน้า
CoreOS Container Linux (CL) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สำหรับคอนเทนเนอร์ ของบริษัท CoreOS เดิมที่ถูก Red Hat ซื้อกิจการเมื่อปี 2018 จะสิ้นอายุขัยในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020
Red Hat ซื้อ CoreOS แล้วผนวกเอาดิสโทร Container Linux เข้ามารวมกับโครงการ Fedora กลายเป็น Fedora CoreOS (FCOS) ทำให้ตัว Container Linux ต้องหลีกทางให้กับดิสโทรใหม่
ตอนนี้ทีมงาน CoreOS ถอด Container Linux ออกจากหน้าอิมเมจของ AWS Marketplace แล้ว จากนั้นจะออกอัพเดตครั้งสุดท้ายให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020 และปิดเซิร์ฟเวอร์อย่างถาวรในวันที่ 1 กันยายน
Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 และประกาศรวมดิสโทรโอเพนซอร์ส CoreOS Container Linux เข้ากับโครงการ Fedora
Fedora CoreOS จะกลายเป็นดิสโทรตัวเดียวสำหรับงานรันคอนเทนเนอร์ (ก่อนหน้านี้มีทั้ง CoreOS กับ Fedora Atomic) โดยมันออกรุ่นทดสอบแรกเมื่อกลางปี 2019 และตอนนี้พร้อมใช้งานแบบ production แล้ว
Fedora CoreOS ถือเป็นอีก edition ในสังกัด Fedora โดยเวอร์ชันเสถียรตัวแรกพัฒนาต่อมาจาก Fedora 31 ที่ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2019 ใช้เคอร์เนลเวอร์ชัน 5.4, systemd 243, Podman 1.7
Fedora เวอร์ชัน 31 ออกแล้ว ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ ได้แก่
เมื่อไม่นานมานี้ เราเห็นข่าว Ubuntu 19.10 เตรียมเลิกซัพพอร์ตสถาปัตยกรรม x86 แบบ 32 บิต แต่สุดท้ายต้องยอมถอยบางส่วน หลังโดนเสียงวิจารณ์
ล่าสุดฝั่ง Fedora ก็ออกมาประกาศคล้ายๆ กัน โดย Fedora เวอร์ชันหน้า 31 จะไม่มีเคอร์เนล i686 แบบ 32 บิตมาให้ รวมถึงอิมเมจ Fedora 31 แบบ 32 บิตแล้ว
อย่างไรก็ตาม โครงการ Fedora จะยังออกแพ็กเกจซอฟต์แวร์บางตัวเป็น 32 บิต เช่น ไลบรารีที่จำเป็น เพื่อให้ซอฟต์แวร์อย่าง Wine หรือ Steam ยังสามารถทำงานต่อได้
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 ก็ประกาศยุบรวมดิสโทร CoreOS Container Linux เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fedora โดยจะใช้แทน Fedora Atomic Host ที่เลิกทำไปเพราะทับซ้อนกัน
เวลาผ่านมาประมาณปีครึ่ง Fedora CoreOS ทำเสร็จเรียบร้อย เข้าสถานะพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบได้แล้ว
Fedora CoreOS เป็นดิสโทรลินุกซ์ขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อรันในคอนเทนเนอร์ และมีฟีเจอร์ด้านบริหารจัดการ คอนฟิก อัพเดต เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล VM จำนวนมากๆ ตัวอย่างฟีเจอร์เหล่านี้คือการอัพเดตตัว OS เวอร์ชันใหม่อัตโนมัติ ติดตั้งและรีบูตเองให้เสร็จสรรพ ลดภาระการดูแลของแอดมินลง
Fedora ออกเวอร์ชัน 30 การเปลี่ยนแปลงสำคัญในเวอร์ชันนี้ได้แก่
เวอร์ชันของซอฟต์แวร์ที่อัพเดตใน Fedora 30 ได้แก่ GCC 9, Bash 5.0, PHP 7.3
ผู้ที่รัน Fedora รุ่นก่อนๆ อยู่แล้วสามารถอัพเกรดได้จากคำสั่ง
ตามเวลา 1.45 น. ของประเทศไทย ทาง official account ของ Fedora project ประกาศการเสียชีวิตของนาย Cristian Gafton อดีตหัวหน้าโครงการ Fedora (Fedora Project Leader)
ตามระบบของโครงการ Fedora มีหัวหน้าโครงการ (Project Leader) เป็นผู้รับผิดชอบ โดยหมุนเวียนตำแหน่งทุก 2 ปี ซึ่ง Cristian Gafton เคยดำรงตำแหน่งนี้ระหว่างปี 2004-2005 ในช่วงยุคแรกๆ ของ Fedora (รับผิดชอบการออก Fedora Core 2, 3, & 4)
Cristian Gafton เคยทำงานกับทั้ง Red Hat และ Canonical โดยตำแหน่งล่าสุดของเขาคือ Principal Software Engineer ของ Amazon
ขอแสดงความเสียใจและไว้อาลัยมา ณ ที่นี้