AMD เคยเป็นเจ้าแห่งโลกซูเปอร์คอมพิวเตอร์อยู่พักหนึ่ง โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray Titan ที่ใช้ซีพียู Opteron เคยครองแชมป์ของ TOP500 ช่วงปี 2012 แต่พอ AMD เข้าสู่ "ยุคมืด" ทำให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นหลังๆ แทบไม่มีเครื่องที่อันดับสูงๆ ใช้ซีพียู AMD เลย
เมื่อ AMD "คัมแบ็ค" กลับมาด้วยซีพียูสถาปัตยกรรม Zen สิ่งที่ต้องจับตาคืออันดับของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียู EPYC ว่าจะไต่กลับเข้ามาเมื่อไร
ในการประกาศผล TOP500 รอบล่าสุด (กลางปี 2020) ในที่สุด AMD ก็สามารถกลับคืนสู่ TOP 10 ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกได้แล้ว ที่น่าตื่นเต้นกว่าก็คือ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ Selene ของคู่แค้น NVIDIA ที่เลือกใช้ซีพียู EPYC จาก AMD
จากข่าวลือว่า AMD อาจเลื่อนการเปิดตัว Ryzen 4000 ไปปีหน้าเพราะไม่มีคู่แข่งสมน้ำสมเนื้อ โฆษกของ AMD ออกมาปฏิเสธข่าวนี้แล้ว โดยบอกว่าซีพียูที่ใช้แกน Zen 3 จะยังวางขายตามกำหนดเดิมภายในปี 2020
เว็บไซต์ ExtremeTech ชี้ประเด็นว่า AMD ใช้คำว่า "Zen 3" โดยไม่อ้างอิงชื่อผลิตภัณฑ์เจาะจง จึงอาจตีความได้ว่าซีพียู Zen 3 จะมาจริงๆ ภายในปีนี้ แต่หมายถึง Epyc Gen 3 โค้ดเนม Milan ที่เคยประกาศตัวไปแล้วว่าออกปี 2020 แทน Ryzen 4000 (โค้ดเนม Vermeer) อย่างที่เราเข้าใจกัน
Nested Virtualization เป็นการรัน OS ซ้อนใน OS อีกที แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีใน Windows 10 มาตั้งแต่ปี 2015 แต่ยังจำกัดเฉพาะซีพียูฝั่งอินเทลที่มี VT-x เท่านั้น (ตัวอย่างการใช้งานคือ รันอีมูเลเตอร์มือถือ Android ใน VM)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศรองรับ Nested Virtualization กับซีพียูฝั่ง AMD เรียบร้อยแล้ว ทั้ง Ryzen และ Epyc โดยเริ่มตั้งแต่ Ryzen รุ่นแรกขึ้นไป ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้กับ Windows 10 Insider Build 19636 ขึ้นไป
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อกลางเดือนนี้ NVIDIA เปิดตัวจีพียูใหม่ Ampere โดยเริ่มจากจีพียูเซิร์ฟเวอร์รุ่น A100 ที่เปิดตัวพร้อมเซิร์ฟเวอร์ DGX-A100 ที่ประกอบด้วยการ์ด A100 จำนวน 8 ใบ คู่กับซีพียู AMD Epyc 7742
ประเด็นนี้สร้างความสงสัยให้หลายๆ คนว่าทำไม NVIDIA ถึงเลือกใช้ซีพียูจากคู่แข่งจาก AMD ในเซิร์ฟเวอร์รุ่นท็อปของตัวเอง และถ้าย้อนดูเซิร์ฟเวอร์ DGX รุ่นก่อนๆ ก็เลือกใช้ Intel Xeon มาโดยตลอดด้วย
นอกจากจีพียู Navi 2X และซีพียู Ryzen รุ่นที่ 4 AMD ยังมีสินค้าฝั่งเซิร์ฟเวอร์คือ ซีพียูตระกูล Eypc และจีพียู Radeon Instinct ที่ประกาศแผนการออกรุ่นใหม่ดังนี้
Cloudflare ประกาศเริ่มติดตั้งเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่สิบ หรือ Gen X โดยจุดสำคัญคือมันจะเป็นเซิร์ฟเวอร์รุ่นแรกที่ไม่ใช้ชิ้นส่วนอินเทลเลย ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, สตอเรจ, หรือเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะตัวซีพียูนั้นเลือก AMD EPYC 7642
ก่อนการตัดสินใจครั้งนี้ ทาง Cloudflare ทดสอบซีพียูหลายรุ่นโดยเน้นประสิทธิภาพของจำนวน request ที่รับได้เทียบกับอัตราการกินพลังงาน จึงเลือก AMD EPYC 7642 ที่มี 48 คอร์ 96 เธรดเท่าๆ กับ Intel Xeon Platinum 6162 ที่ใช้ในเซิร์ฟเวอร์รุ่นที่ 9 แบบสองซ็อกเก็ตและมีคอร์รวมเท่ากัน แต่ AMD มีความได้เปรียบที่แคช L3 ขนาดใหญ่มาก (256MB) ทำให้อัตรา cache miss ต่ำลง และอัตราสัญญาณนาฬิกาพื้นฐานก็สูงกว่า ทำให้การรับโหลดสูงๆ ต่อเนื่องยาวนานได้ประสิทธิภาพมากกว่า
Forrest Norrod ผู้บริหารฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD ไปพูดที่งานของธนาคาร Barclays พูดถึงการแข่งขันระหว่าง AMD กับอินเทล ที่รอบปีนี้ AMD ทำผลงานได้ดีมาก
เขาบอกว่าซีพียูฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของ AMD แพ้อินเทลมาโดยตลอด โดยเฉพาะงานประมวลผลเธร็ดเดียวหรือเธร็ดน้อยๆ ปัญหานี้ถูกแก้ไขใน EPYC Rome ที่ปรับปรุงเรื่อง instruction per clock (IPC) จนทำให้ประสิทธิภาพต่อเธร็ดของ Rome ดีกว่าแล้ว
เมื่อบวกกับแต้มต่อของ AMD ในเรื่องกระบวนการผลิตที่เริ่มเหนือกว่าอินเทล (7 นาโนเมตร vs 10 นาโนเมตร) ตอนแรก AMD มองว่าทำได้เสมอกับอินเทลก็ดีใจแล้ว แต่ไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะสามารถแซงหน้าอินเทลได้ (We didn't dream that we would be ahead)
ปี 2019 ถือเป็นปีที่ AMD ทำผลงานได้ดีเยี่ยม ทั้งตลาดซีพียูสำหรับคอนซูเมอร์ (Ryzen/Threadripper) และซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ (Epyc)
Ruth Cotter ผู้บริหารของ AMD ไปพูดที่งาน UBS Global Tech Conference โดยเผยว่าตอนนี้ AMD มีส่วนแบ่งตลาดซีพียูเซิร์ฟเวอร์ประมาณ 7% และต้องการดันส่วนแบ่งตลาดให้ถึง 10% ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020
ในอดีตยุค Opteron รุ่งเรือง AMD เคยมีส่วนแบ่งตลาดเซิร์ฟเวอร์สูงถึง 26% ช่วงราวปี 2005-2006 แต่หลังจากนั้นก็มีส่วนแบ่งลดลงเรื่อยๆ ก่อนจะเริ่มกลับมาสร้างโมเมนตัมได้อีกครั้งในยุคนี้
เดือนที่แล้ว AMD เปิดตัวซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 2 โดยซีพียูตัวที่แรงที่สุดคือ EPYC 7742 มาพร้อม 64 คอร์ 128 เธร็ด, คล็อค 2.25GHz อัดไปได้ถึง 3.4GHz อัตราการใช้พลังงาน TDP 225 วัตต์
ล่าสุด AMD เปิดตัว EPYC ที่แรงกว่านั้นอีกชั้นคือ EPYC 7H12 ที่ยังเป็น 64 คอร์ 128 เธร็ดเท่าเดิม แต่เพิ่มคล็อคฐานให้สูงขึ้นเป็น 2.6 (คล็อคสูงสุดลดลงเหลือ 3.3GHz) และเพิ่ม TDP เป็น 280 วัตต์
AMD ระบุว่า EPYC 7H12 ออกแบบมาสำหรับงานประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) เท่านั้น และต้องใช้ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวถึงจะเอาอยู่ ผลคือ EPYC 7H12 สามารถให้ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่า EPYC 7742 อีก 11% (วัดจากเบนช์มาร์ค LINPACK)
ในขณะโลกกำลังตื่นเต้นกับ AMD Ryzen Gen 3 ที่โดดเด่นในแง่ประสิทธิภาพต่อราคา AMD ยังมีซีพียูอีกตัวรออยู่คือ ซีพียูเซิร์ฟเวอร์ EPYC Gen 2 รหัส "Rome" ที่เปิดตัวมาสักพัก และเริ่มวางขายแล้ววันนี้
EPYC Gen 2 ใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 บนกระบวนการผลิต 7 นาโนเมตร โดยมีจำนวนคอร์ให้เลือกตั้งแต่ 8-64 คอร์ ขยายขนาดแคช L3 ให้มากขึ้น เบนช์มาร์คของ AMD เองระบุว่า AMD EPYC 7742 รุ่นท็อปสุด มีประสิทธิภาพสูงกว่า EPYC รุ่นแรก 7601 ประมาณ 2 เท่า
เก็บตกข่าว AMD ที่เหลือจากงาน CES 2019 นอกจาก Ryzen Mobile Gen 2, Ryzen Desktop Gen 3, Radeon VII ยังมีซีพียูเซิร์ฟเวอร์ EPYC รุ่นที่สองรหัส "Rome"
AMD เคยโชว์ EPYC "Rome" มารอบหนึ่งแล้วเมื่อปลายปีก่อน มันเป็นการอัพเกรดใหญ่ของ EPYC รุ่นแรก มาใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 และกระบวนการผลิตขนาด 7 นาโนเมตร เช่นเดียวกับ Ryzen Gen 3 ที่จะออกช่วงกลางปีนี้ โดยบริษัทระบุว่ามีประสิทธิภาพต่อซ็อคเก็ตดีขึ้น 2 เท่า, ประสิทธิภาพการประมวลผลทศนิยมดีขึ้น 4 เท่า และยังใช้ซ็อคเก็ตแบบเดียวกับรุ่นก่อน
นอกจาก สถาปัตยกรรม Zen 2 แล้ว AMD ยังโชว์ซีพียูของจริงที่ใช้สถาปัตยกรรมตัวใหม่นี้ พร้อมใช้กระบวนการผลิต 7 นาโนเมตรรุ่นใหม่ล่าสุด นั่นคือซีพียู EPYC รุ่นหน้ารหัส "Rome"
ข้อมูลของ EPYC "Rome" เท่าที่เปิดเผยคือ ใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 และมีจำนวนคอร์สูงสุด 64 คอร์, รองรับ PCIe 4.0, เพิ่มแบนด์วิดท์หน่วยความจำอีกเท่าตัว, ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากรุ่นก่อน และประสิทธิภาพด้านการประมวลผลทศนิยมเพิ่มขึ้น 4 เท่า
EPYC "Rome" ยังใช้ซ็อคเก็ตแบบเดียวกับ EPYC รุ่นปัจจุบัน (โค้ดเนม "Naples") และจะรักษาความเข้ากันได้กับ EPYC ตัวถัดไป (โค้ดเนม "Milan")
EYPC "Rome" จะวางขายในปีหน้า 2019 แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาชัดเจน
AWS ประกาศความร่วมมือกับ AMD ให้บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ EC2 ตระกูลใหม่ ได้แก่ R5a, M5a, และ T5a ที่ใช้ซีพียู AMD EPYC 2.5GHz โดยราคาถูกกว่าซีพียูอินเทลลง 10% โดยเน้นสำหรับลูกค้าที่ต้องการประหยัดและต้องการหน่วยความจำสูง ในราคาไม่แพงนัก
เครื่อง R5a ขนาดใหญ่สุดที่ 96 vCPU พร้อมแรม 768GB ส่วนเครื่อง M5a ใหญ่สุด 96 vCPU พร้อมแรม 384GB และเครื่อง T3a ใหญ่สุดที่ 8 vCPU แรม 32GB ความต่างเช่น M5 นั้นเครื่องใหญ่สุดเชื่อมต่อเน็ตเวิร์คที่ 25Gbps ส่วน M5a เน็ตเวิร์คสูงสุด 20Gbps
ออราเคิลประกาศเครื่องตระกูล E ที่ใช้ชิป AMD EPYC โดยสามารถซื้อได้มากที่สุดคือทั้งเครื่อง (bare metal) รวม 64 คอร์ แรม 512GB โดยเริ่มใช้งานได้แล้วตอนนี้
เครื่องแบบ VM เริ่มให้บริการแบบ 1, 2, 4, 8 คอร์โดยต้องขอใช้งานล่วงหน้า ขณะที่เครื่องแบบ 16 และ 24 คอร์จะเริ่มให้บริการในอนาคต
ออราเคิลระบุว่าเครื่อง EPYC มีคอร์สูงสุดถึง 64 คอร์มากที่สุดในคลาวด์สาธารณะ และแบนวิดท์หน่วยความจำ 269 กิกะบิตต่อวินาที สูงที่สุดอีกเช่นกัน
ราคา 0.03 ดอลลาร์ต่อคอร์ต่อชั่วโมงหรือ 1.92 ดอลลาร์ต่อเครื่องต่อชั่วโมง (ไม่รวมสตอเรจ) ถูกกว่าเครื่อง bare meteal เดิมของออราเคิลเช่น Standard2 กว่าครึ่ง
นอกจาก AMD โชว์ Threadripper รุ่น 32 คอร์ ในงานแถลงข่าวยังพูดถึงจีพียู Radeon Vega รุ่นใหม่ด้วย
AMD เคยประกาศแผนการออก Radeon ว่าจะออกรุ่นใหม่เป็นประจำทุกปี และจะใช้ระบบ Tick-Tock แบบเดียวกับซีพียูอินเทลในอดีต นั่นคือสลับการเปลี่ยนสถาปัตยกรรม และเปลี่ยนกระบวนการผลิตในแต่ละปี สำหรับปีนี้จะเป็นการลดขนาดของ Radeon Vega ลงมาใช้ระดับ 7 นาโนเมตร และจะออก Radeon Vega Instinct รุ่น 7nm ในครึ่งหลังของปีนี้ และเน้นลูกค้ากลุ่มเวิร์คสเตชันและ AI เป็นหลัก
Radeon Instinct รุ่นใหม่ของปี 2018 จะยังมีฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างการใช้บัส Infinity Fabric (IF) ที่ใช้กับซีพียู Ryzen มาใช้กับจีพียู Radeon ด้วย เพื่อให้การทำงานหลายจีพียูทำได้ดีขึ้น
ถึงแม้ซีพียูค่าย AMD จะไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ Meltdown แต่ก็ยังมีช่องโหว่ Spectre ที่ค้นพบโดย Project Zero เช่นกัน
AMD ประกาศข้อมูลเกี่ยวกับแพตช์ของซีพียูตัวเอง ดังนี้
ความพยายามของ AMD เพื่อกลับมาในตลาดเซิร์ฟเวอร์เริ่มเห็นผล หลังการเปิดตัวซีพียู EPYC ก็เริ่มมีผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์หลายรายนำไปใช้งาน ล่าสุด Microsoft Azure เป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกที่เปิดให้ใช้เครื่องที่เป็น EPYC แล้ว
Azure จะเริ่มให้บริการ EPYC ใน VM ซีรีส์ใหม่ที่เรียกว่า Lv2 ที่เน้นงานด้านสตอเรจ มีประสิทธิภาพด้าน I/O สูง เหมาะกับการรันฐานข้อมูลอย่าง MongoDB, Cassandra, Cloudera โดยมันจะใช้ AMD EPYC 7551 ความถี่ 2.2GHz และสามารถขยายซีพียูเสมือนได้สูงสุด 64 ตัว แรม 512GB
ปีนี้นอกจาก Ryzen แล้ว AMD ยังมี EPYC ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์มาทำตลาดด้วยอีกตัว
ล่าสุด AMD ประกาศเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ EPYC จากผู้ผลิตหลายราย เช่น ASUS, BOXX, EchoStreams, Gigabyte, HPE, Penguin Computing, Supermicro, TYAN โดยมีกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันไป เช่น เซิร์ฟเวอร์ของ ASUS เน้นตลาด HPC/Virtualization หรือ HPE เน้นที่งานประมวลผลที่ซับซ้อน
นอกจากนี้ยังมีเครื่อง Inventec P47 ที่ใช้ EPYC เป็นซีพียูร่วมกับ Radeon Instinct อีก 4 ตัว ทำสมรรถนะได้ 12.3 TFLOPS ซึ่งถ้าใช้เครื่องนี้ 20 เครื่องก็สามารถอัดขึ้นไปแตะหลัก PetaFLOPS ได้ด้วย ของจะเริ่มวางขายในไตรมาสแรกของปี 2018
AMD ประกาศวางขายซีพียู EPYC สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen และเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว (ออกเสียงเหมือนคำว่า Epic)
ซีพียู EPYC ชุดแรกมีด้วยกัน 9 รุ่นย่อย ตั้งแต่รุ่นเล็ก 8 คอร์ ไปจนถึงรุ่นใหญ่สุด 32 คอร์ (ทุกคอร์มี 2 เธร็ด) โดยมีทั้งแบบซ็อคเก็ตเดี่ยว (มีรหัส P ห้อยท้ายรุ่น) และดูอัลซ็อคเก็ต
ส่วนผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ที่เข้าร่วมก็มีหลายราย ทั้ง HPE, Dell EMC,Supermicro เป็นต้น รายชื่อลูกค้าที่สั่งซื้อแล้วคือ Microsoft Azure, Baidu Cloud, Dropbox, Bloomberg
เบนช์มาร์คของ AMD เองระบุว่า EPYC 7601 รุ่นท็อปสุด ทำคะแนนเบนช์มาร์คได้ดีกว่า Xeon E5-2699A V4 ที่ระดับราคาเดียวกัน ถึง 47% (integer) และ 75% (floating point)
วันนี้มีงาน 2017 Financial Analyst Day ของ AMD ซึ่งเขาใช้โอกาสนี้เปิดตัวของใหม่หลายรายการ ทั้งซีพียู Ryzen ในรูปแบบต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ EPYC บนเครื่องระดับดาต้าเซ็นเตอร์ ผู้สืบทอดตำนาน Opteron
AMD EPYC มากับ 32 คอร์ 64 เธรด โค้ดเนม Naples ตามข่าวลือ พื้นฐานเป็น Zen ผลิตบนเทคโนโลยี FinFET 14nm ความเร็ว 1.4GHz บูสต์ที่ 2.8GHz และบอกว่าตัวเองเป็นชิปแบบ SoC จัดการบัสไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตัวเองไม่ใช้ชิปเซ็ต พร้อมทำงานสองซ็อกเก็ตบนหนึ่งเมนบอร์ด (AMD บอกว่าในตลาดมีเครื่องแบบนี้เยอะสุด) ผ่านบัสที่ชื่อ Infinity Fabric รับแรม DDR4 ได้ 32 โมดูล 16 แชนแนลที่ความจุสูงสุด 4TB โดยอวดว่าแบนด์วิดธ์และ I/O ดีกว่าเดิมระดับร้อยละเลขสองหลักถึงเท่าตัว