Fedora ออกเวอร์ชัน 29 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันแรกหลัง Red Hat ถูก IBM ซื้อกิจการ
ของใหม่ใน Fedora 29 คือการขยายแนวคิด Modularity ที่เริ่มใน Fedora 27 Server หรือการแยกส่วนเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ ให้สามารถติดตั้งหลายเวอร์ชันพร้อมกันได้ จากเดิมที่มีเฉพาะในเวอร์ชัน Server ไปยังเวอร์ชันย่อยอื่นๆ (เช่น Workstation) ด้วย
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในเดือนมกราคม 2018 ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ซ้อนทับกันคือดิสโทรลินุกซ์จากทั้งสองบริษัท ได้แก่ Container Linux ของ CoreOS และ Red Hat Atomic Host ที่ออกแบบมาสำหรับรันในคอนเทนเนอร์เหมือนกัน
เดือนที่แล้ว Red Hat ประกาศว่าจะยุบดิสโทรสองตัวนี้เข้าด้วยกัน โดยจะให้ Container Linux เป็นตัวหลัก และเปลี่ยนชื่อตัวดิสโทรมาเป็น CoreOS แทน
Fedora ออกเวอร์ชัน 28 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ของใหม่ได้แก่
แต่ฟีเจอร์สำคัญจริงๆ ไปอยู่ที่ Fedora 28 Server โดยเพิ่ม Modular Server ที่เลื่อนมาจาก Fedora 27
ก่อนหน้านี้ Fedora ประกาศแผนว่าจะออก Fedora 27 Server แนวใหม่ที่เรียกว่า Modular Server แยกส่วนการทำงานเป็นโมดูลมากขึ้น
ล่าสุดแผน Fedora 27 Modular Server ถูกพับไว้ชั่วคราว โดยทีมงานเปลี่ยนมาออก Fedora 27 Server แบบดั้งเดิม (เหมือน Fedora 26 Server) แทน การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นแค่การอัพเดตแพ็กเกจซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น
เหตุผลที่แผน Modular Server ถูกชะลอ เป็นเพราะการทดสอบกับรุ่นเบต้ายังให้ผลลัพธ์ไม่ดีพอ ปัจจัยมาจากตัวซอฟต์แวร์ต้นน้ำเอง ที่บางตัวไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการแยกโมดูล ทางทีมงานจึงตัดสินใจกลับไปทำการบ้านมาใหม่ และลองออกแบบแนวทาง Modular ในทางอื่นที่ใช้ได้จริงมากขึ้น
Fedora ออกเวอร์ชัน 27 ในส่วนของรุ่นย่อย Workstation และ Atomic
ส่วน Fedora Server ยังไม่ออกพร้อมกันในรุ่นนี้ เพราะกำลังอยู่ระหว่างการปรับให้ทำงานแยกโมดูลมากขึ้น ตอนนี้ Fedora 27 Modular Server มีสถานะเป็น Beta และจะออกรุ่นจริงในอีกประมาณหนึ่งเดือนข้างหน้า
ที่มา - Fedora
Fedora 26 ออกแล้ว ยังแยกเป็น 3 รุ่นย่อยหลักคือ Workstation, Server, Atomic เช่นเดิม
ของใหม่ใน Fedora 26 Workstation เป็นการอัพเดตแพ็กเกจซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย ได้แก่ GNOME 3.24, LibreOffice 5.3, GCC 7, Golang 1.8, Python 3.6, ปรับปรุงธีม Adwaita ของ Qt, ระบบจัดการแพ็กเกจ DNF เวอร์ชัน 2.0
ส่วนผู้ที่ต้องการใช้เดสก์ท็อปตัวอื่น ก็สามารถเลือกใช้ Fedora Spins รุ่นย่อย ที่มีทั้งรุ่น KDE, XFCE, LXQT, Mate, Cinnamon, LXDE
ที่มา - Fedora Magazine
นอกจากข่าวช็อควงการอย่าง iTunes ลง Windows Store แล้ว ไมโครซอฟท์ยังประกาศข่าวว่าลินุกซ์ 3 ค่ายดังคือ Ubuntu, SUSE, Fedora ก็ลง Windows Store ด้วย
Windows 10 มีฟีเจอร์ Linux Subsystem ที่ใช้ Ubuntu อยู่แล้ว เพียงแต่ผู้ใช้ต้องติดตั้งโค้ดส่วนนี้เพิ่มเองที่มีขั้นตอนพอสมควร การเพิ่มตัวเลือกให้กดง่ายๆ บน Windows Store จึงช่วยให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น
ตัว Linux Subsystem สามารถเปลี่ยนจาก Ubuntu เป็นดิสโทรอื่นได้ (เช่น SUSE) ทำให้ไมโครซอฟท์ชักชวน SUSE และ Fedora มาเป็นตัวเลือกอีกสองตัวบน Windows Store ให้ผู้ใช้เลือกดิสโทรที่ต้องการได้เลย
หมายเหตุ: ฟีเจอร์นี้คือเฉพาะตัวแกนของลินุกซ์ที่รันบน Windows Subsystem for Linux นะครับ ไม่ใช่ดิสโทรลินุกซ์ตัวเต็ม
ผู้ใช้ลินุกซ์คงทราบกันดีว่า ดิสโทรลินุกซ์ค่ายต่างๆ ไม่สามารถเล่นไฟล์ MP3 ได้ทันทีหลังติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จ แต่ต้องมาติดตั้ง codec เพิ่มเองในภายหลัง เหตุผลเป็นเพราะ MP3 มีสิทธิบัตรคุ้มครอง ถ้าระบบปฏิบัติการไหนอยากใช้งานต้องจ่ายค่าไลเซนส์ให้สถาบัน Fraunhofer เจ้าของสิทธิบัตร
แต่สิทธิบัตร MP3 หมดอายุไปแล้วในเดือนพฤศจิกายน 2016 ส่งผลให้ดิสโทรลินุกซ์บางตัวเริ่มปรับตัวกันแล้ว ฝั่งของ Fedora ก็ประกาศว่าจะเพิ่มการรองรับ MP3 (ในทางเทคนิคคือเพิ่มแพ็กเกจ gstreamer1-plugin-mpg123 เข้ามาแบบดีฟอลต์) ในอีกไม่ช้านี้ แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาที่แน่ชัดว่าจะเป็นเมื่อไร (น่าจะทัน Fedroa 26 ที่จะเป็นรุ่นถัดไป)
ที่มา - Fedora Magazine
Fedora 25 ออกแล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้แยกตามรุ่นย่อย ได้แก่
ที่มา - Fedora Magazine
ปัญหาสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ทำให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถรองรับการเล่นไฟล์เพลงหรือภาพยนต์หลายประเภท แต่ตอนนี้ทาง Red Hat ก็ประกาศจะรองรับการเล่นไฟล์ MP3 ใน Fedora Workstation 25 แล้ว
สิทธิบัตร MP3 มีจำนวนมาก โดยมีหน่วยงานกลางอย่าง MPEG-LA เป็นผู้รวบรวมสิทธิบัตรเข้ามาเก็บค่าสิทธิบัตร
Tom Callaway จาก Red Hat ผู้ประกาศเรื่องนี้ระบุว่าทางบริษัทจะไม่แสดงความเห็นว่าสิทธิบัตรตัวใดหมดอายุจึงยอมรับไฟล์ MP3 ในครั้งนี้ แต่ OSNews เคยรวบรวมสิทธิบัตรของ MP3 ระบุว่าสิทธิบัตรสุดท้ายที่มีการอ้างกันจะหมดอายุเดือนเมษายนปี 2017
โลกโอเพนซอร์สพยายามเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการแสดงผลจาก X Window ที่เก่าคร่ำครึ มาเป็นเทคโนโลยีใหม่กว่าอย่าง Wayland แทน แต่การเปลี่ยนผ่านก็ใช้เวลานานมาก เพราะซอฟต์แวร์แต่ละตัวมีความซับซ้อนเชื่อมโยงระหว่างกันมาก กว่าซอฟต์แวร์ตัวหลักๆ จะรองรับ Wayland ก็ต้องใช้เวลานาน
Fedora 24 ออกรุ่นใหม่เรียบร้อย ทิ้งช่วงห่างจาก Fedora 23 ประมาณ 8 เดือน รูปแบบการออกรุ่นยังแยกเป็น 3 รุ่นหลักคือ Workstation, Server, Cloud
โครงการ Fedora เตรียมอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถอัพเกรดเวอร์ชันของดิสโทรแบบข้ามรุ่นได้ (เช่น จาก Fedora 21 เป็น 23, ข้าม 22 ไปเลย) จากในปัจจุบันที่บังคับให้ผู้ใช้ต้องอัพเกรดไปทีละรุ่นเท่านั้น
ทางทีมงาน Fedora ระบุว่าโครงสร้างของการอัพเกรดในปัจจุบันค่อนข้างเสถียร และที่ผ่านมาทางทีมก็ลองอัพเกรดแบบข้ามรุ่นดู พบว่าส่วนใหญ่สามารถใช้งานได้ดี พอถึงคิวของ Fedora 24 ซึ่งเป็นรุ่นถัดไป ความสามารถนี้จะถูกรับรองอย่างเป็นทางการแล้ว
Fedora 24 มีกำหนดออกตัวจริงวันที่ 31 พฤษภาคม 2016
โครงการ Wayland เป็นความพยายามของโลกโอเพนซอร์ส ในการสร้างระบบแสดงผล (display server) แบบใหม่มาใช้แทน X Window ที่เก่าและล้าสมัยไปมาก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ไม่ง่ายเพราะต้องแก้ปัญหาความเข้ากันได้ทั้งฝั่งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
หลังจาก Wayland พัฒนามานานพอสมควร และซอฟต์แวร์ชื่อดังทั้ง GNOME/KDE เริ่มรองรับ ทำให้ความฝันของการแทนที่ X Window ใกล้ความจริงเข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดดิสโทรรายใหญ่อย่าง Fedora เริ่มเปิดใช้ Wayland เป็นค่าดีฟอลต์ใน Fedora Rawhide รุ่นทดสอบแล้ว (Rawhide เปรียบได้กับ nightly ในโลก Fedora) และถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะได้เห็น Fedora 24 รุ่นหน้าเปิดใช้ Wayland เป็นค่าดีฟอลต์เช่นกัน
Fedora 23 ออกแล้ว ทิ้งช่วงห่างจาก Fedora 22 ประมาณ 4 เดือนเท่านั้น
Fedora 23 แยกเป็นหลายรุ่นย่อย โดยรุ่นหลักคือ Fedora Workstation, Fedora Server, Fedora Cloud และยังมีรุ่นย่อยอื่นๆ คือ Spins (ใช้ระบบเดสก์ท็อปอื่น เช่น KDE, Xfce, Cinnamon), Fedora Labs รวมซอฟต์แวร์เฉพาะทางจากชุมชน และรุ่นพิเศษที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับสถาปัตยกรรม ARM
สำหรับ Fedora 23 Workstation ที่คนทั่วไปน่าจะได้ใช้กัน อัพเดตมาใช้ GNOME 3.18 และ LibreOffice 5 ส่วน Fedora Server เพิ่มฟีเจอร์ใหม่คือ Cockpit ซึ่งเป็นหน้าเว็บสำหรับสั่งงานเซิร์ฟเวอร์จากระยะไกล
สัปดาห์ที่แล้ว โครงการ Fedora ออกเวอร์ชัน 22 โดยแยกออกเป็น 3 รุ่นย่อย ตามที่เริ่มตอน Fedora 21
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โครงการ Fedora ออกลินุกซ์ดิสโทรเวอร์ชัน 21 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือแยก Fedora ออกเป็น 3 รุ่นย่อย ตามนโยบาย Fedora.next ที่เคยประกาศเอาไว้
ทั้ง 3 รุ่นย่อยใช้แกนของระบบปฏิบัติการเหมือนกันคือ เคอร์เนล 3.18.0, ระบบจัดการแพ็กเกจ RPM/yum, ตัวติดตั้ง Anaconda, ตัวบูตระบบ systemd จากนั้นแยกไปมีแพ็กเกจตามการใช้งาน ดังนี้
Fedora 21 กำลังจะออกตัวจริงเร็วๆ นี้มีฟีเจอร์น่าสนใจคือการรวมระบบคอนฟิกการเข้ารหัสไว้ที่เดียวกันทั้งระบบครับ โดยจะรวมไว้ในไฟล์ /etc/crypto-profiles/config
โดยเข้ามาแก้ปัญหาการคอนฟิกระบบเข้ารหัสที่ก่อนหน้านี้มีหลากหลายแยกไปตามแอพพลิเคชั่น เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์, เซิร์ฟเวอร์ VPN, หรือเมลเซิร์ฟเวอร์ บางแอพพลิเคชั่นอาจจะคอนฟิกผิดพลาดทำให้รับการเชื่อมต่อที่เข้ารหัสไม่แข็งแกร่งนัก
ปัญหาคือแต่ละแอพพลิเคชั่นนั้นใช้ไลบรารีเข้ารหัสต่างกันไป เช่น OpenSSL, GnuTLS, และ NSS ทางโครงการ Fedora จะแพตซ์ไลบรารีเหล่านี้ทั้งหมดให้เชื่อฟังคอนฟิกกลางของระบบเท่านั้น
Fedora โครงการดิสโทรลินุกซ์แบบชุมชนโอเพนซอร์สที่ริเริ่มโดย Red Hat (และถูกใช้เป็นฐานสำหรับ RHEL) กำลังกำหนดทิศทางใหม่ของโครงการ หลังจากผ่านมา 10 ปีนับตั้งแต่เริ่มโครงการในปี 2003
แนวทางใหม่มีชื่อเรียกว่า Fedora.next ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่ Fedora 21 (รุ่นหน้า) เป็นต้นไป โดย Fedora จะจัดสถาปัตยกรรมใหม่เป็น "Ring" แบ่งตามระดับชั้นของระบบปฏิบัติการ
Fedora ซึ่งเป็นดิสโทรตั้งต้นของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ประกาศออกรุ่น 20 โดยมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ ARM กลายเป็นสถาปัตยกรรมหลัก (primary architecture) ทำให้ต่อจากนี้การซัพพอร์ต ARM จะเทียบเท่ากับ x86
Fedora รองรับหลายสถาปัตยกรรมมาก่อนแล้ว แต่การปรับ ARM เป็นสถาปัตยกรรมหลักจะทำให้กระบวนการพัฒนาจะต้องคิดถึง ARM ด้วยเสมอ การ check-in โค้ดใดที่ทำให้การทำงานของสถาปัตยกรรมหลักตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหาจะถูกปฎิเสธแพตซ์และต้องแก้บั๊กก่อนจึงรับโค้ดเข้ามาได้
Fedora 20 ยังรองรับการทำงานบนกลุ่มเมฆเป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่ง โดยจะมีอิมเมจของ EC2 และ OpenStack มาให้
Fedora 19 รหัส Schrödinger's Cat ออกรุ่นจริงแล้ว ของใหม่ได้แก่
รายละเอียดที่เหลืออ่านกันเองใน Release Notes ครับ
ที่มา - Fedora 19 Release Notes
โครงการ Raspberry Pi นั้นทุกวันนี้มีลินุกซ์รุ่นที่ซัพพอร์ตเป็นทางการคือ Raspbian ที่มีฐานมาจาก Debian เช่นเดียวกับโครงการที่ได้รับความนิยมสูงอย่าง Ubuntu แต่ทางฝั่ง Fedora ที่เป็นแกนเดียวกัน RHEL ที่ได้รับความนิยมสูงในระดับองค์กรนั้นก็ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้เช่นกัน และตอนนี้ก็มีโครงการ Pidora ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง Fedora, Raspberry Pi, และ Seneca (ยังมีส่วนโฮสต์ที่ให้บริการโดย Bluehost)
ความสำคัญของ Pidora 18 คือ มันเป็นการพอร์ต Fedora 18 ที่รับ ARMv7 อยู่แล้ว ให้กลับมารับ ARMv6 ของ Raspberry Pi และยังมีไลบรารีเพื่อรองรับ Raspberry Pi อย่างการรองรับ GPIO, I2C, และ SPI มาให้ในตัว
ช่วงหลังเราเห็นความเคลื่อนไหวของ MariaDB โครงการแยกของ MySQL หลังโดนออราเคิลซื้อกิจการมากขึ้นเรื่อยๆ (ข่าวก่อนหน้านี้ Wikipedia เริ่มย้ายฐานข้อมูลจาก MySQL มาใช้ MariaDB แทน)
ล่าสุดโครงการ Fedora ก็มีข้อเสนอว่าจะเปลี่ยนแพกเกจฐานข้อมูลหลัก จากเดิมที่ใช้ MySQL เป็น MariaDB แทน ข้อเสนอนี้ต้องรอการพิจารณาจากชุมชน Fedora และถ้าได้รับอนุมัติก็จะเริ่มใช้ใน Fedora 19 รุ่นหน้า ส่วนแพกเกจ MySQL จะยังมีให้ใช้ใน Fedora ต่อไปแต่ไม่ใช่ดีฟอลต์แล้ว
หลังจาก Fedora 18 เลื่อนแล้ว เลื่อนอีก มาหลายรอบ การรอคอยก็สิ้นสุดเมื่อโครงการ Fedora ประกาศออก Fedora 18 เป็นที่เรียบร้อย
Fedora 18 โค้ดเนม "Spherical Cow" ยังเลือกใช้ GNOME 3.6.2 เป็นเดสก์ท็อปหลักเช่นเดิม แต่ในรุ่นนี้เปิดให้ใช้ MATE (โครงการแยกของ GNOME 2 ที่ริเริ่มโดย Linux Mint) เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งด้วย
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่รองรับ Samba 4 และ Windows Active Directory มาตั้งแต่ต้น, เปิดใช้ Avahi สำหรับเครื่องพิมพ์ที่แชร์ภายในองค์กร, NetworkManager รองรับการทำ hotspot, รองรับ Secure Boot หรือ UEFI ที่เริ่มพบในฮาร์ดแวร์ Windows 8 เป็นต้น
Fedora ออกประกาศเลื่อนกำหนดเปิดตัว Fedora 18 อีกแล้ว จากกำหนดการล่าสุดที่จะต้องเปิดตัวในวันที่ 8 มกราคมเป็น 15 มกราคมนี้ ซึ่งนักพัฒนาจะใช้เวลาที่ยืดออกไปนี้ในการแก้บั๊กและเพิ่มความเสถียร
หาก Fedora 18 เปิดตัวในวันที่ 15 มกราคมนี้จริง ๆ แสดงว่ากำหนดเปิดตัว Fedora 18 ถูกเลื่อนออกจากเดิมถึง 70 วันเต็ม ๆ ถ้าหากไปดูจากข่าวเก่า จะทราบได้ว่าที่ Fedora 18 ต้องเลื่อนกำหนดเปิดตัวมาไกลขนาดนี้เกิดจากบั๊กจำนวนมากที่ยังปิดไม่ลงของ Anaconda และตัวอัพเกรดระบบติดตั้ง