บริษัทข้อมูลพันธุกรรม 23andMe ประกาศว่ามีแฮ็กเกอร์เจาะระบบ ได้ข้อมูลพันธุกรรมไปทั้งหมด 6.9 ล้านคน โดยการเจาะระบบเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023 ตอนแรกทาง 23andMe บอกว่ามีผู้ใช้โดนขโมยข้อมูล 14,000 คน แต่เมื่อสอบสวนอย่างละเอียดมากขึ้นก็พบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก
บริษัท 23andMe ก่อตั้งในปี 2006 โดย Anne Wojcicki อดีตภรรยาของ Sergey Brin ผู้ก่อตั้งกูเกิล (เธอยังเป็นน้องสาวของ Susan Wojcicki อดีตซีอีโอ YouTube) รูปแบบธุรกิจเป็นการตรวจสอบ DNA ด้วยน้ำลาย เพื่อตามหาบรรพบุรุษ-รู้จักร่างกายของตัวเอง บริษัทเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ในปี 2021 โดยใช้ตัวย่อว่า ME
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หนึ่งในข่าวที่สะเทือนแวดวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ทั่วโลก คือข่าวที่นักวิจัยจีนออกมายอมรับว่าได้ทำการวิจัยทดลองตัดต่อพันธุกรรมเด็กทารกหญิง 2 คน ก่อให้เกิดประเด็นถกเถียงกันในวงกว้างถึงความเหมาะสมในด้านจริยธรรมของงานวิจัยดังกล่าว มาบัดนี้องค์การอนามัยโลกได้ออกแถลงการณ์อย่างชัดเจนขอความร่วมมือหน่วยงานผู้มีอำนาจในทุกประเทศทั่วโลกสั่งห้ามการตัดต่อพันธุกรรมของเซลล์ต้นกำเนิดทั้งหมดจนกว่าเรื่องนี้จะได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน
สองเดือนหลัง He Jiankui นักวิจัยพันธุกรรมชาวจีนประกาศความสำเร็จในการดัดแปลงพันธุกรรมทารกหญิงสองคนด้วยกระบวนการ CRISPR เมื่อวานนี้ Southern University of Science and Technology ที่เป็นต้นสังกัดของ Jiankui ก็ประกาศว่าเขาถูกไล่ออกแล้ว อย่างไรก็ดีทางรัฐบาลพบว่า Jiankui ทำกระบวนการเดียวกันให้พ่อแม่คู่ที่สอง และแม่กำลังตั้งครรภ์แล้ว
ทางรัฐบาลจีนระบุว่าจะเฝ้าดูฝาแฝดคู่แรกที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมต่อไป
การสอบสวนพบว่า Jiankui ระดมทุนโดยหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ แอบสร้างทีมงานของตัวเอง และปลอมแปลงเอกสารรับรองจากกรรมการจริยธรรมเพื่อใช้หาทีมงาน พร้อมกับระบุว่าเขาทำทั้งหมดเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง
Lexus เผยบริการใหม่ล่าสุด Genetic Select by Lexus ซึ่งเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการใช้พันธุกรรมของผู้ขับรถ ในการเลือกและปรับแต่งรถยนต์ให้เหมาะสม โดยร่วมมือกับ 23andMe บริษัทวิเคราะห์ดีเอ็นเอชั้นนำ
การดูดีเอ็นเอทำให้ฟังก์ชันของรถยนต์มีความเหมาะสมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การปรับที่นั่ง, ขนาดกำลังเครื่องยนต์ ไปจนถึงซันรูฟว่าควรมีหรือไม่ โดยจากการศึกษาของ 23andMe นั้นพบว่าความแม่นยำอยู่ในระดับ 99.99967% เลยทีเดียว
กระบวนการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอนั้นทำได้ง่ายๆ โดยใช้น้ำลาย และสามารถคัดเลือกรถยนต์ได้ในเวลาไม่ถึง 10 นาที และสามารถส่งมอบรถยนต์ได้ใน 48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถนัดหมายเพื่อค้นหารถที่ตรงกับดีเอ็นเอได้ในวันที่ 1 เมษายนนี้
เราได้เห็นการนำปัญญาประดิษฐ์ มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์มาแล้วหลายโครงการ ทั้งการวินิจฉัยปอดบวม, การทำนายภาวะออทิสติก และตรวจหาเซลล์มะเร็ง ล่าสุด ทีมนักวิจัยจากบริษัท Human Longevity ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับพันธุศาสตร์มนุษย์ ได้รายงานผลงานวิจัยเรื่อง การทำนายรูปลักษณ์ภายนอกจากสารพันธุกรรม (DNA) โดยใช้ machine learning ลงในวารสาร Proceedings from the National Academy of Sciences (PNAS)
ในอีกไม่นาน แอปเปิลพันธุ์ Golden Delicious ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมแบบใหม่เพื่อขจัดปัญหาเนื้อแอปเปิลเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลคล้ำ จะถูกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา
ผลงานการพัฒนาแอปเปิลนี้เป็นของ Arctic Apples ซึ่งอธิบายได้คร่าวๆ ว่าการที่ทำให้แอปเปิลไม่เปลี่ยนสีคล้ำเข้มหลังจากที่หั่นหรือปอกไว้นานนั้น ทำได้โดยการทำให้กระบวนการปฏิกิริยาทางเคมีของสารที่เรียกว่า PPO (polyphenol oxidase) และ Polyphenolics นั้นไม่เป็นที่สังเกตเห็นได้
อธิบายถึงเรื่องปฏิกิริยาของสารเคมี 2 ตัวหลักที่ทำให้แอปเปิลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำกันเสียเล็กน้อย
Google Genomics เป็นบริการจัดเก็บจีโนมของมนุษย์ ซึ่งก็คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่อยู่บนดีเอ็นเออันเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะทางชีวภาพของร่างกายนั้น โดย Google Genomics มีเป้าหมายเพื่อสร้างบริการที่ช่วยให้การศึกษาและค้นคว้าวิจัยข้อมูลพันธุกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Sergey Brin หนึ่งในผู้ก่อตั้งกูเกิล ได้เปิดเผยลงในบล็อกส่วนตัวของเขาว่า เขามีสิทธิ์ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน โดยมีความเสี่ยงระหว่าง 20-80%
ภรรยาของ Sergey นั้นก่อตั้งบริษัทด้านวิจัย DNA ชื่อ 23andMe และนำเอา DNA ของ Sergey ไปทดสอบ พบว่ายีนของเขามีการกลายพันธุ์ชนิดหนึ่งที่หาได้ยาก แต่มีโอกาสทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน Sergey ยังเล่าว่าในเครือญาติของเขาก็มีคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มาก่อนแล้ว
นักวิทยาศาสตร์สร้างเอมบริโอมนุษย์ดัดแปลงพันธุกรรมขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ได้สอดใส่ยีนเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์เข้าไปในเอมบริโอ ซึ่งหลังจากนั้นเอมบริโอจะถูกทำลายใน 5 สัปดาห์ต่อมาจากโปรตีนที่แสดงออก ซึ่งนี้เป็นครั้งแรกของการยีนยันการดัดแปลงยีนในมนุษย์
งานวิจัยครั้งนี้ทำมาต่อจากการทำ เอมบริโอมนุษย์ ผสมสัตว์ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวถูกตั้งคำถามทางจริยธรรมมากมายว่าเหมาะสมหรือไม่ ทางนักวิจัยอ้างว่าการสอดใส่ยีนอื่นลงไปเป็นเพื่อการตอบคำถามสมมติฐาน เพื่อนำไปใช้ในการหาทางรักษาโรค และนักวิจัยยังยืนยันว่าจะไม่ยอมให้เอมบริโอโตได้ โดยหลังจากวิจัยเอมบริโอจะถูกทำลายภายในไม่กี่อาทิตย์ และจะไม่ยอมให้มีการฝังตัวอ่อนในผู้หญิงเด็ดขาด