DigitalOcean ร่วมกับ GitHub จัดเทศกาล Hacktoberfest เพื่อส่งเสริมให้คนมีส่วนร่วมในโอเพนซอร์สมาตั้งแต่ปี 2015 ตอนนี้ก็มาถึงเทศกาลอีกครั้ง โดยผู้ที่ส่ง pull request (PR) เข้าโครงการโอเพนซอร์สใดๆ ครบสี่ครั้งภายในหนึ่งเดือน จะได้รับเสื้อจากทาง DigitalOcean ฟรี แม้ว่า PR นั้นจะไม่ได้รับเข้าโครงการก็ตามที ยกเว้นว่า PR จะเป็นการไปสแปมโครงการ
นอกจากนักพัฒนาจะสามารถส่งโค้ดเข้าไปเองแล้ว ตั้งแต่ปีที่แล้วทาง DigitalOcean ยังเปิดให้โครงการแปะป้าย Hacktoberfest ไปยัง issue ของตัวเองที่ต้องการโค้ดได้ เพื่อให้นักพัฒนาที่ร่วมโครงการมาเห็นและส่งโค้ดเข้าไป ส่วนปีนี้กฎที่เพิ่มเข้ามาคือหากใครไปสแปมโครงการ นอกจาก PR นั้นจะไม่ถูกนับแล้ว นักพัฒนาคนนั้นจะถูกตัดสิทธิ์การเข้าร่วมไปเลย
Atom โปรแกรมแก้ไขข้อความยอดนิยมจาก GitHub ออกส่วนขยายใหม่ Atom-IDE ที่จะแปลงร่างให้มันกลายเป็นเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ IDE เต็มรูปแบบ
Atom-IDE ประกอบด้วยแพ็กเกจเสริมหลายตัว มีทั้งตัวช่วยเติมโค้ด (autocomplete), ตัวช่วยค้นหาการอ้างอิงชื่อ (find all references), ตัวช่วยวิเคราะห์โค้ดที่เขียนผิด (diagnostics) และแพ็กเกจสำหรับซินแทกซ์ของภาษาต่างๆ เบื้องต้นรองรับ C#, Java, PHP และในอนาคตจะมี Rust, Go, Python ตามมา
ตอนนี้ Atom-IDE ยังอยู่ในช่วงเริ่มพัฒนา และจะมีแพ็กเกจอื่นๆ ตามมาอีกในอนาคต
ที่มา - Atom
โครงการ U2F ที่เริ่มมาจากกูเกิล มีความแข็งแกร่งสำคัญเมื่อเทียบกับการยืนยันตัวตนสองขั้นตอนอื่นคือมันช่วยลดความเสี่ยงจากการปลอมโดเมนได้เป็นอย่างดี แต่ข้อเสียสำคัญอีกเช่นกันคือมันต้องอาศัยกุญแจ USB ที่มีราคาตั้งแต่ 10 ดอลลาร์ขึ้นไป แม้ราคาจะไม่แพงนักแต่ก็อาจจะทำให้หลายคนตัดสินใจไม่ใช้งาน ตอนนี้ GitHub ก็เปิดโครงการ Soft U2F สำหรับแมคแล้ว
Soft U2F จะจำลองตัวเองเป็นอุปกรณ์ USB HID แบบเดียวกับกุญแจ U2F ทั่วไป ทำให้สามารถใช้งานได้กับ Chrome และ Opera ได้ทันที (เพราะเบราว์เซอร์นึกว่ามีกุญแจ USB อยู่) แม้ว่าจะเก็บข้อมูลกุญแจไว้ในคอมพิวเตอร์แต่ Soft U2F ก็อาศัย keychain ของ OS X ช่วยรักษาความลับให้
นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์กลุ่มหนึ่งจาก California Polytechnic State University และ North Carolina State University สำรวจกลุ่มนักโปรแกรมเมอร์ที่เขียนโค้ดลง GitHub พบตัวเลขน่าสนใจว่า ผลงานซอร์สโค้ดที่เขียนโดยผู้หญิงได้รับการนำไปใช้มากกว่าผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุเพศบนแพลตฟอร์ม
GitHub บริการที่จัดเก็บซอร์สโค้ดของโปรแกรม เป็นโอเพ่นซอร์สเปิดให้นักพัฒนานำโค้ดไปต่อยอดได้ ตัวแพลตฟอร์มมีตัวเลขผู้ใช้กว่า 12 ล้านคนแล้ว ทีมวิจัยสำรวจ pull request ที่ส่งเข้าโครงการต่างๆ รวม 3 ล้านรายการแล้วพบว่าอัตราการรับโค้ดไปใช้เมื่อโค้ดส่งมาจากผู้หญิง มีการนำไปใช้ 78.6% สูงกว่าผู้ชายที่มีอัตรา 74.6%
NSA เปิดหน้าเว็บรวม 32 โครงการที่ปล่อยโค้ดออกสู่สาธารณะ ส่วนมากเป็นโครงการด้านความปลอดภัยสำหรับองค์กร, โครงการเก็บล็อก บางโครงการเปิดโค้ดมานานแล้ว เช่น SELinux, SIMP ที่ปล่อยออกมาตั้งแต่ปี 2015, หรือ Nifi
โครงการอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น
GitHub เปิดตัว Marketplace พื้นที่สำหรับการค้นหาและซื้อเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรเจค โดยนักพัฒนาจะสามารถนำเครื่องมือของตัวเองออกขายทาง GitHub Marketplace หรือว่าจะเข้าไปหาซื้อเครื่องมือที่มีขายก็ได้
ปัจจุบัน Marketplace มีเครื่องมือที่วางขายอยู่ เช่น Travis CI, Appveyor, Waffle, ZenHub, Sentry และ Codacy โดย GitHub จะค่อย ๆ ทยอยเพิ่มเครื่องมือที่จะวางขายใน Marketplace อีกในอนาคต ซึ่ง Marketplace สามารถเข้าได้ทาง github.com/marketplace และ GitHub ก็ได้ทำวิดีโอเปิดตัว Marketplace ไว้ด้วย สามารถรับชมได้ด้านล่าง
GitHub ประกาศ Atom เวอร์ชั่นใหม่ ที่ทำงานร่วมกับ GitHub ได้เต็มรูปแบบมากขึ้น โดยสามารถเลือก branch, หรือแก้ conflict จาก Atom ได้เลย
นอกจากการปรับปรุง Atom แล้วบริษัทยังเปิดตัว GitHub Desktop Beta พร้อมกัน โดยเป็นแอปพัฒนาด้วย Electron เช่นเดียวกับ Atom เอง โดยพัฒนาใหม่ทั้งหมดแยกจาก GitHub Desktop เดิม เนื่องจากเดิมพัฒนาแบบเนทีฟแล้วพบว่าการการรองรับแพลตฟอร์มใหม่ๆ ทำได้ยากมากทีมงานระบุว่าได้ทดลองเทคโนโลยีอื่นแล้วแต่สุดท้ายก็หันมาใช้ Electron
GitHub Desktop เดิมยังมีต่อไป
ที่มา - GitHub
ไมโครซอฟท์ประกาศปิดเว็บไซต์ CodePlex ที่ใช้เก็บซอร์สโค้ดโอเพนซอร์สของบริษัทเอง
CodePlex เปิดบริการครั้งแรกในปี 2006 หรือ 11 ปีก่อน เพื่อเป็นศูนย์รวมซอร์สโค้ดที่ไมโครซอฟท์เผยแพร่ออกสู่สาธารณะ และเปิดให้คนนอกใช้งานด้วย
อย่างไรก็ตาม ทิศทางของการแชร์ซอร์สโค้ดหมุนไปทาง GitHub และช่วงหลัง ไมโครซอฟท์ก็แสดงท่าทีชัดเจนว่าต้องการย้ายจาก CodePlex ไปสู่ GitHub การปิด CodePlex จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก
CodePlex จะปิดตัวในวันที่ 15 ธันวาคม 2017 โดยตอนนี้ยังเข้าได้แบบ read-only เท่านั้น และไมโครซอฟท์ก็ขอให้นักพัฒนาภายนอกบริษัทที่ใช้ CodePlex ย้ายไปใช้ GitHub โดยจะมีตัวช่วยย้ายข้อมูลออกมาให้ใช้กันในเร็วๆ นี้
GitHub เพิ่มฟีเจอร์ให้สามารถเลือกผู้ใช้ใน repo ยกเลิกรีวิว pull request ที่อยู่ใน protect branch ได้
ปีที่แล้ว GitHub ได้อัพเดตฟีเจอร์ใน pull request เช่น จัดการ, ร้องขอและยกเลิกรีวิวโค้ด รวมไปถึงสามารถตั้งค่า protect branch และจำกัดการ merge ได้ เพื่อช่วยให้การทำงานภายทีมได้รับผลตอบรับสม่ำเสมอและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโค้ดในโปรเจคให้ดีขึ้น ล่าสุดได้เพิ่มการจำกัดผู้ที่สามารถยกเลิกรีวิว pull request ในโปรเจค
ตัวฟีเจอร์สามารถเลือกผู้ใช้ที่อยู่ในทีมเป็นคนสั่งยกเลิกรีวิวของ pull request ใน protect branch ได้ทันที เหมาะสำหรับ repo ที่ทำงานเป็นทีมหรือองค์กรและมีผู้รีวิวโค้ดอยู่ในทีม สามารถใช้งานได้แล้วโดยเปิดใช้การร้องขอรีวิว pull request ก่อน
ที่มา : GitHub
GitHub ออกส่วนขยาย GitHub for Unity ให้นักพัฒนาเกมที่ใช้เอนจิน Unity สามารถนำโค้ดขึ้นไปเก็บบน GitHub จาก Unity Editor ได้โดยตรง เพิ่มหน้าต่างแยกเข้ามาใน Unity สำหรับจัดการไฟล์ขึ้น Git เลย
นักพัฒนาเกมมีความลำบากกว่านักพัฒนาทั่วไป ตรงที่ไฟล์เกมมีขนาดใหญ่ และบ่อยครั้งที่ต้องเก็บไฟล์แบบไบนารีโดยตรง กระบวนการเก็บข้อมูลเวอร์ชันของไบนารีจึงยุ่งยากกว่าไฟล์ซอร์สโค้ดทั่วไป
GitHub for Unity ผนวกเอา Git LFS (Large File Storage) v2.0 มาให้ในตัว เพื่อไม่ต้องเก็บไฟล์ขนาดใหญ่อย่างวิดีโอหรือเสียงลงใน Git โดยตรง แต่ใช้วิธีสร้าง pointer ชี้ไปยังไฟล์จริงแทน
GitHub for Unity จะเปิดให้ทดสอบรุ่น alpha ในเร็วๆ นี้
GitHub ออกแพ็กเกจแบบเสียเงินตัวใหม่เรียกว่า GitHub Business มาเสริมจากบริการ GitHub Enterprise เดิม
เดิมที GitHub มีบริการแบบพรีเมียม 3 ระดับคือ Developer (ใช้คนเดียว), Team (บัญชีองค์กร) และ Enterprise สำหรับองค์กรที่ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง โดยบริการแบบ Enterprise มีฟีเจอร์ระดับสูงอย่างการเชื่อมต่อ SAML/LDAP และบริการซัพพอร์ต 24 ชั่วโมง
บริการตัวใหม่ GitHub Business ออกแบบมาสำหรับองค์กรที่ต้องการฟีเจอร์ระดับเดียวกับ Enterprise แต่โฮสต์ข้อมูลไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของ GitHub แทนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง โดยคิดราคาเท่ากันที่ 21 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้ต่อเดือน
GitHub ได้วางขายผลิตภัณฑ์ใหม่ คือตุ๊กตาชื่อว่า Octoplush ซึ่งเป็นรูปหน้าตาคล้ายกับ Octocat มาสคอตของบริการ GitHub ในราคา 30 ดอลลาร์ โดยตัว Octoplush นั้นจะเป็นตุ๊กตาปลาหมึกที่มีตาขนาดใหญ่ และหนวด 8 เส้น โดย GitHub ได้ทำวิดีโอแนะนำตุ๊กตาตัวใหม่นี้ด้วย สามารถดูได้ท้ายข่าว
ผู้ที่สนใจซื้อตุ๊กตา Octoplush สามารถเข้าไปซื้อได้ที่ GitHub Shop โดยตอนนี้ GitHub มอบโปรโมชั่นคือเมื่อใส่ OCTOCYBER2016 จะลดราคาสินค้าใน GitHub Shop ลง 30% และส่งฟรีเมื่อซื้อสินค้าเกิน 30 ดอลลาร์ จนถึงวันพฤหัสบดีนี้
Github เพิ่มสิทธิพิเศษของ GitKraken ลงใน Student Developer Pack ให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้งานกัน ซึ่ง GitKraken เป็น Git GUI ที่มีจุดเด่นเรื่องหน้าตาที่ใช้งานง่าย ใช้งานโดยไม่ต้องติดตั้ง Git ในเครื่องและรองรับ GitHub อย่างสมบูรณ์แบบ
โดยสิทธิพิเศษที่จะได้รับคือ GitKraken Pro ฟรี 1 ปี ที่สามารถแก้ปัญหาเรื่อง merge conflict ภายในแอพ, สร้างโปรไฟล์แยกกันระหว่างงานกับส่วนตัวและการช่วยเหลือในส่วน GitHub Enterprise
นักเรียนนักศึกษาที่ใช้งาน Github Student Developer Pack สามารถไปกดรับสิทธิ GitKraken ได้แล้ววันนี้ผ่านทาง https://education.github.com/pack
ที่มา : Github Blog
รัฐบาลตุรกีสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ GitHub, OneDrive และ DropBox ผ่านทาง ISP เพื่อแก้ปัญหาและปิดกั้นการเข้าถึงอีเมลของรัฐบาล ที่พูดถึงแผนการเกี่ยวกับโฆษณาชวนเชื่อและการตบตาประชาชนต่างๆ
อีเมลของรัฐบาลกว่า 57,000 ฉบับถูกแฮ็กและปล่อยสู่โลกออนไลน์โดยกลุ่ม RedHack โดยศาลในกรุงอังการามีการยืนยันด้วยว่าอีเมลที่หลุดออกมานั้น ส่วนหนึ่งเป็นจริง อย่างไรก็ตามมีผู้ให้บริการเล็กๆ บางรายในตุรกีไม่ได้บล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้
ที่มา - The Register
วันนี้เวลา 13.09 น. ตามเวลาประเทศไทย GitHub ได้แจ้งว่าบริการของตนใช้งานไม่ได้ (major service outages)
ใครที่ใช้ GitHub ในงานทำงานก็ออกไปหาอะไรทานข้างนอกก่อนก็ได้ครับ
Update 13.27 น. กลับมาใช้งานได้แล้วครับ
We are currently experiencing major service outages.
— GitHub Status (@githubstatus) 4 October 2016
Everything operating normally.
ในอดีต ไมโครซอฟท์ถือเป็นศัตรูตัวฉกาจของโลกโอเพนซอร์ส อดีตซีอีโอสตีฟ บัลเมอร์ ถึงเคยพูดว่า "ลินุกซ์คือมะเร็งร้าย" (Linux is a cancer) แต่ในยุคปัจจุบันปี 2016 เมื่อ GitHub เผยสถิติภาพรวมของการส่งโค้ดโอเพนซอร์สเข้าในระบบของตัวเอง บริษัทที่มีคนร่วมส่งโค้ดโอเพนซอร์สมากที่สุดในตอนนี้คือ "ไมโครซอฟท์"
ปัจจุบันไมโครซอฟท์มีพนักงานที่มีบัญชีบน GitHub จำนวน 2,572 คน (อ้างอิง) และมี repository ของโครงการซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เข้าร่วมพัฒนาประมาณหนึ่งพันโครงการ ตัวอย่างโครงการที่ดังๆ คือ Visual Studio Code, TypeScript, ChakraCore แต่พนักงานไมโครซอฟท์ก็เข้าร่วมพัฒนาโครงการอื่นๆ อย่าง Docker ด้วย
อันดับสองเป็นของ Facebook ตามด้วย Docker, Angular, Google, Atom
ที่งาน GitHub Universe ประกาศเครื่องมือใหม่ๆ รวมถึงฟีเจอร์ที่จะช่วยให้การทำงานระหว่างกันสะดวกมากขึ้น ฟีเจอร์แรกได้แก่การรีวิว ส่วนนี้นักพัฒนาสามารถยอมรับหรือร้องขอเปลี่ยนแปลงของ pull request บนระบบได้ทันทีและสามารถสรุปและแสดงความเห็นได้ อีกทั้งแสดงความเห็นในโค้ดแต่ละบรรทัดได้อีกด้วย
ฟีเจอร์ต่อมาคือเครื่องมือจัดการโปรเจคที่มีการทำงานคล้ายกับ Trello สามารถใช้งานได้ผ่านแต่ละ repository ฟีเจอร์นี้สามารถสร้างการ์ดจากการ pull request, issue หรือเป็นโน้ตลงไปในบอร์ดได้ อีกทั้งแต่ละบอร์ดยังสามารถจัดการเปลี่ยนแปลงหัวข้อได้เองและโยกย้ายการ์ดต่างๆ ไปไว้ในบอร์ดได้ด้วยการคลิ๊กลากลงไป
GitHub เพิ่มบริการจาก Datadog เข้าไปใน Student Developer Pack โดย Datadog เป็นบริการช่วยตรวจสอบระบบเซิร์ฟเวอร์ด้วย cloud ซึ่งมอบชุด Pro ให้กับนักเรียนนักศึกษาใช้ฟรี ประกอบไปด้วยตรวจสอบระบบได้พร้อมกัน 10 เครื่องและเก็บข้อมูลได้สูงสุด 13 เดือน ใช้งานได้ฟรี 2 ปี
นักเรียนนักศึกษาที่ใช้งาน Github Student Developer Pack สามารถไปกดรับสิทธิ Datadog ได้แล้ววันนี้ผ่านทาง https://education.github.com/pack
ที่มา : GitHub Blog
Github ได้เพิ่มบริการ Transifex ลงใน Student Developer Pack ให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้งานกัน ซึ่ง Transifex เป็นบริการ cloud ที่ช่วยจัดการการแปลภาษาของซอฟต์แวร์ให้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยสมาชิกของ Student Developer Pack จะได้รับสิทธิใช้งาน Transifex แพ็คเกจ Starter มูลค่า $99 ต่อเดือน ฟรี 1 ปี ประกอบไปด้วยการจัดการคำได้ 50,000 คำ, สร้างโปรเจคได้ไม่จำกัด, จัดการได้มากสุด 10 คนและเข้าถึงพันธมิตรทั่วโลกที่สนใจในซอฟต์แวร์ของเรา สามารถเข้ามาร่วมแปลภาษาอื่นๆ ได้มากมาย
นักเรียนนักศึกษาที่ใช้งาน Github Student Developer Pack สามารถไปกดรับสิทธิ Transifex ได้แล้ววันนี้ผ่านทาง https://education.github.com/pack
ที่มา : Github Blog
Inbox by Gmail แอพอีเมลตัวใหม่ของกูเกิล เพิ่มฟีเจอร์อีกหลายอย่างดังนี้
บริษัท Crytek เจ้าของเอนจินเกม CryEngine อัพโหลดซอร์สโค้ดทั้งหมดของเอนจินขึ้นไปไว้บน GitHub เพื่อให้นักพัฒนาเกมสามารถดูและเปรียบเทียบซอร์สโค้ดได้สะดวก
ที่ผ่านมา Crytek เผยแพร่ซอร์สโค้ดของ CryEngine ให้นักพัฒนาอยู่แล้ว เพียงแต่แจกไฟล์เป็นก้อน zip แถมมากับตัวเอนจิน การนำโค้ดขึ้น GitHub เป็นการอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาเกมมากขึ้น นักพัฒนาสามารถเปรียบเทียบดูได้ว่า CryEngine แต่ละเวอร์ชันมีข้อแตกต่างกันอย่างไร
โครงการ TLWG ย้ายระบบซอร์สโค้ดจาก linux.thai.net ไปยัง GitHub แล้ว เนื่องจากระบบโฮสต์มีเงื่อนไขให้ VPN ก่อนการเชื่อมต่อ
โค้ดของ TLWG ที่เราใช้งานกันบ่อยๆ เช่น libthai ที่ช่วยตัดคำในลินุกซ์
การย้ายครั้งนี้จะย้ายเฉพาะซอร์สโค้ดเท่านั้น โดยประกาศโครงการต่างๆ ยังคงอยู่ที่เว็บเดิม
ที่มา - TLWG
หลังจากปีที่แล้ว GitHub ปล่อยเครื่องมือสร้างแอพบนเดสก์ท็อปนาม Electronออกมา ล่าสุดได้อัพเดตเข้าสู่เวอร์ชัน 1.0 ภายใต้คอนเซป "a major milestone in API stability and maturity" (หลักสำคัญของความเสถียรและสมบูรณ์ของ API)
Electron เปิดตัวในช่วงที่ Atom ปล่อยให้ใช้งานกันเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย Atom เองก็ถูกพัฒนามาจาก Atom Shell ซึ่งก็คือ Electron ในปัจจุบัน หลังจากเปิดตัว Electron อย่างเป็นทางการก็มีนักพัฒนานำไปสร้างแอพบนเดสก์ท็อปมากมาย จนปีที่แล้วก็มีผู้ดาวน์โหลด Electron ไปใช้งานกันมากถึง 1.2 ล้านครั้งแล้ว
GitHub ประกาศปรับแพ็กเกจแบบเสียเงินใหม่ (สำหรับคนที่อยากเก็บโค้ดแบบ private ไม่ให้คนอื่นเห็น ส่วนโค้ดแบบ public ใช้ได้ฟรีหมดทุกกรณีมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว) โดยแพ็กเกจแบบเสียเงินจะเหลือแค่ 2 แบบคือ
แพ็กเกจทั้งสองแบบจะปรับโควต้าให้สร้าง private repository ของโค้ดได้ไม่อั้น ตราบเท่าที่จ่ายเงิน จะมีกี่ repository ก็จัดมาได้เต็มที่ (เทียบกับของเดิมที่มีให้เลือกหลายขนาด) ทาง GitHub บอกว่าเลือกปรับแพ็กเกจใหม่ เพื่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ ไม่ต้องมาสนใจว่าจะมีได้กี่ repository อีกต่อไป
GitHub ประกาศรองรับการ commit และ tag โค้ดที่ยืนยันด้วย GPG เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับโค้ดว่าไม่ได้ถูกดัดแปลง แม้ว่า GitHub จะถูกแฮกไปก็ตาม (แต่ถ้ากุญแจลับ GPG หลุดอีกก็ช่วยไม่ได้)
หน้าเว็บของ GitHub เองจะแสดงเครื่องหมายยืนยันว่าโค้ดที่ commit ครั้งใดบ้างที่ได้รับการยืนยันด้วย GPG แล้วบ้าง
ความสามารถในการตรวจสอบโค้ดด้วย GPG เป็นความสามารถของ Git มาก่อน เป็นประโยชน์ในกรณีเราไม่ได้ดึงโค้ดจากแหล่งของนักพัฒนาโดยตรง หรือโค้ดที่ต้องระวังการถูกแก้ไขจากภายนอกกว่าปกติ สำหรับคนทั่วไปอาจจะไม่จำเป็นเท่าใดนัก
ที่มา - GitHub