ไมโครซอฟท์ประกาศว่ากระบวนการซื้อกิจการ GitHub เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยซีอีโอคนใหม่ Nat Friedman ก็ย้ำสัญญาเดิมว่า GitHub จะยังคงสปิริตของความเปิดกว้างต่อนักพัฒนาต่อไปเช่นเดิม
แผนการพัฒนา GitHub ในระยะต่อไปแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
ในเบื้องต้น ทีมงาน GitHub จะทำโครงการ Project Paper Cuts ที่ปรับแก้ UI/UX เล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ช่วยให้ประสบการณ์ใช้งาน GitHub ค่อยๆ ดีขึ้น
หมายเหตุ: ประกาศเสร็จสิ้นกระบวนการซื้อกิจการครั้งนี้ ใช้คำว่า Pull request successfully merged. Starting build...
ต่อเนื่องจากข่าว GitHub ล่มทั่วโลก ตั้งแต่ 6 โมงเช้าเมื่อวานนี้
ในที่สุด GitHub ก็กลับมาทำงานได้ปกติในเวลา 6.03 น. ของวันนี้ (23 ตุลาคม) ทำให้การล่มครั้งนี้ยาวนานประมาณ 24 ชั่วโมงพอดี
GitHub ขอโทษต่อปัญหานี้ผ่านบล็อกของบริษัท แต่ไม่ได้อธิบายสาเหตุของการล่มว่าเกิดจากอะไร บอกแค่ว่ากำลังสอบสวนอย่างละเอียดและจะเปิดเผยในเร็วๆ นี้
ที่มา - GitHub
วุ่นกันตั้งแต่เช้า เมื่อ GitHub ประกาศว่าระบบขัดข้อง เนื่องจากปัญหาของระบบจัดเก็บข้อมูล โดยเริ่มมีรายงานปัญหามาตั้งแต่เวลา 6:09น. ตามเวลาในไทย
ทุกคนสามารถติดตามสถานการณ์ล่าสุดได้ ผ่านหน้าเว็บ GitHub Status และทวิตเตอร์ @githubstatus
ที่มา: The Register
GitHub ประกาศฟีเจอร์สำคัญชื่อ GitHub Actions มันคือระบบ workflow สำหรับนำโค้ดโปรแกรมบน GitHub ไปสู่การดีพลอยใช้งานจริง
GitHub Actions ถือเป็นการขยายบริการของ GitHub จากการรับฝากซอร์สโค้ดอย่างเดียว มาสู่บริการ Continuous integration and continuous delivery (CI/CD) ลักษณะเดียวกับคู่แข่งอย่าง GitLab แถมฟีเจอร์ Actions ยังสามารถนำไปใช้กับซอร์สโค้ดที่ไม่ได้เก็บอยู่บน GitHub ได้ด้วย
Sam Lambert หัวหน้าฝ่ายแพลตฟอร์มของ GitHub ให้สัมภาษณ์ว่า Actions ถือเป็นฟีเจอร์ใหญ่ที่สุดของ GitHub นับตั้งแต่ pull request เป็นต้นมา
GitHub ประกาศพัฒนาเครื่องมือเพื่อการเชื่อมต่อกับเครื่องมือติดตามบั๊กและจัดการโครงการ Jira ใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้ที่เก็บโค้ดไว้บนระบบ GitHub สามารถเชื่อมต่อโปรเจคเข้ากับ Jira Software Cloud ได้โดยตรง ทำงานข้ามระบบกันได้สะดวกยิ่งขึ้น
เมื่อเชื่อมต่อ GitHub เข้ากับ Jira แล้ว ก็จะเห็น branch, commit message, pull request และอื่น ๆ บน Jira โดยไม่ต้องสลับการใช้งานไปมา ซึ่งระบบเชื่อมต่อกับ Jira แต่เดิมนั้นเป็นระบบที่ค่อนข้างช้า GitHub จึงพัฒนาใหม่ให้เร็วขึ้นและอินทิเกรตกับระบบของ Jira ได้ดีขึ้น ส่วนระบบเชื่อมต่อ GitHub กับ Jira เดิมจะเข้าสู่สถานะ deprecated เพื่อให้ผู้ใช้มาใช้ระบบใหม่นี้
เมื่อ 4 ปีก่อน ไมโครซอฟท์เปิดซอร์สโค้ดของ MS-DOS และยกให้พิพิธภัณฑ์ Computer History Museum ซึ่งเปิดให้คนทั่วไปดาวน์โหลดมาศึกษาได้ แต่มีเงื่อนไขยุ่งยากพอสมควร เช่น ต้องยืนยันว่าไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่นำซอร์สโค้ดไปเผยแพร่ที่อื่น
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับนโยบายใหม่ แก้ปัญหาความยุ่งยากข้างต้น โดยนำซอร์สโค้ดของ MS-DOS ขึ้นไปไว้บน GitHub ให้ดาวน์โหลดกันง่ายๆ เลย ผู้สนใจเข้าไปดูได้ที่ GitHub
นี่คงเป็นเรื่องดีๆ ที่จับต้องได้ชัดเจน หลัง ไมโครซอฟท์ซื้อ GitHub ล่าสุดทีม Visual Studio Code ประกาศออกส่วนขยาย GitHub Pull Requests ให้ใช้งานกัน
หน้าที่ของมันก็ตรงตามชื่อ คือเราสามารถสั่ง pull request ซอร์สโค้ดใน GitHub ได้จากตัว Visual Studio Code เลย กระบวนการมีตั้งแต่ล็อกอินและยืนยันตัวตนบัญชี GitHub, ดูรายการ pull request, รีวิวและคอมเมนต์ได้จากตัว editor
หลังข่าว ไมโครซอฟท์ซื้อ GitHub เคยมีข่าวออกมาว่า กูเกิลร่วมแย่งซื้อ GitHub ด้วย แต่ไม่สำเร็จ
ในงาน Google Cloud Next '18 กูเกิลมีประกาศความร่วมมือ Cloud Build กับ GitHub ทำให้ Diane Green ซีอีโอของ Google Cloud มีโอกาสพูดถึงเรื่องนี้ด้วยนิดหน่อย ถึงแม้เธอไม่ได้พูดตรงๆ ว่ากูเกิลเคยแย่งซื้อ GitHub แต่เธอก็บอกว่ารู้สึก "เสียใจ" อยู่บ้างที่เห็น GitHub ไปอยู่กับไมโครซอฟท์ (I'm sort of sad they're at Microsoft) และเธอจะรอดูว่า GitHub จะเป็นอย่างไรต่อไป
Google และ GitHub ประกาศความร่วมมือกันครั้งใหม่ โดย Google ได้นำ Cloud Build เครื่องมือ CI/CD ใน Google Cloud Platform อินทิเกรตเข้ากับ developer workflow ของ GitHub โดยตรง สามารถทำ CI จาก repository ใน GitHub ได้เลย ไม่ต้องสลับเครื่องมือไปมาบ่อย ๆ
ฟีเจอร์แรกคือการแนะนำเครื่องมือ หาก GitHub พบ Dockerfile ที่ยังไม่มี CI/CD ที่สอดคล้องกัน ก็จะแสดงคำแนะนำให้นักพัฒนาเลือกใช้เครื่องมือ CI จาก GitHub Marketplace ได้เลย (ซึ่ง Cloud Build ก็มีใน Marketplace ด้วย)
หลังจากต้นปีที่ผ่านมา Github เปิดบริการสแกนช่องโหว่อัตโนมัติจากโครงการที่มีภาษา Ruby และ Javascript ล่าสุด Github ประกาศเพิ่มภาษา Python เข้าไปเป็นภาษาที่ 3 แล้ว
เช่นเดิม โครงการที่มีภาษา Python และเปิดเป็นสาธารณะจะสามารถเข้าถึง dependency graph พร้อมบริการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติ ส่วนโครงการแบบเสียเงินจะต้องเปิดสิทธิ์ให้ Github เข้าถึง โดยโครงการที่จะใช้ฟีเจอร์นี้ได้จะต้องมีไฟล์ requirements.txt และ Pipfile.lock อยู่ในโครงการด้วย
ที่มา - Github
โครงการลินุกซ์ดิสโทร Gentoo ประกาศว่าถูกแฮ็กบัญชี GitHub และแฮ็กเกอร์ได้เปลี่ยนแปลงข้อมูลใน GitHub ของ Gentoo ด้วย ผู้ที่สั่งดึงข้อมูลออกจาก GitHub ตั้งแต่เมื่อวานนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะได้ไฟล์ประสงค์ร้ายติดไปด้วย
Gentoo ประกาศว่าโค้ดทั้งหมดของตัวเองบน GitHub ถือว่าไม่ปลอดภัยและไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย แต่โค้ดต้นฉบับของ Gentoo เก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง (GitHub เป็นแค่ mirror) และไม่ได้รับผลกระทบจากการแฮ็กครั้งนี้ ผู้ที่ต้องการใช้งานก็ยังสามารถดึงจาก gentoo.org ได้ตามปกติ
GitHub มีบริการแบบ GitHub Education สำหรับใช้งานในโรงเรียนมาได้สักระยะแล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะบางโรงเรียนเท่านั้น ล่าสุดบริษัทประกาศเปิด GitHub Education ให้โรงเรียนทุกแห่งใช้ฟรี
ชุด GitHub Education ประกอบด้วยบริการ GitHub Enterprise หรือ Business Hosted แบบไม่คิดเงิน, ชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา Student Developer Pac (ที่รวมเครื่องมือจากบริษัทอื่นๆ เช่น Travis CI, DigitalOcean มาให้ด้วย), ตัวช่วยจัดการสำหรับครู GitHub Classroom และเอกสารกับบริการฝึกอบรมใช้งาน
โรงเรียนที่สนใจสมัครใช้งาน สามารถดูรายละเอียดได้จาก GitHub Education ในช่องกรอกชื่อประเทศ มีชื่อประเทศไทยให้เลือกด้วย
Nat Friedman ผู้บริหารของไมโครซอฟท์และว่าที่ซีอีโอคนใหม่ของ GitHub ไปตอบคำถามคาใจแฟนๆ บน Reddit มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ไมโครซอฟท์เข้าซื้อ GitHub ในสัปดาห์นี้อาจจะทำให้นักพัฒนาหลายคนกังวลว่าอนาคต GitHub จะเป็นอย่างไร แต่ Jason Fried ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Basecamp เคยทำนายเรื่องนี้เอาไว้ตั้งแต่ปี 2014
แม้จะเป็นคำทำนายในอดีต แต่ก็ไม่ได้เป็นคำทำนายลอยๆ Fried ระบุว่าบริษัทอื่นเช่นแอปเปิล ไม่ "เข้ากัน" กับ GitHub เนื่องจากปัญหาที่แอปเปิลต้องจัดการนั้นเป็นเรื่องของระดับผู้ใช้ร้อยล้านคน และหากซื้อ GitHub ไปก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรขึ้นมา
เขาวิเคราะห์ว่า GitHub มีคุณค่ากับไมโครซอฟต์เพราะไมโครซอฟท์ต้องการฐานนักพัฒนาที่อยู่กับ GitHub จำนวนมาก และเป็นทิศทางใหม่ของ Satya Nadella
ยังมีประเด็นข่าวต่อเนื่องจากไมโครซอฟท์ซื้อ GitHub โดยสำนักข่าว CNBC รายงานว่าก่อนหน้านี้ GitHub เพิ่งเจรจากับกูเกิลและบริษัทอื่นๆ ด้วย
แหล่งข่าวของ CNBC อ้างว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ GitHub เคยได้รับความสนใจจาก Amazon, Tencent และ Atlassian (เจ้าของ Bitbucket) ทาบทามขอเสนอซื้อด้วยเช่นกัน เรื่องนี้ Peter Levine นักลงทุนจากบริษัทลงทุน Andreessen Horowitz ที่ลงทุนใน GitHub ยอมรับว่ามีข้อเสนอเข้ามาจากหลายบริษัทจริง แต่ไม่เปิดเผยชื่อบริษัท
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์ถึงการซื้อกิจการ GitHub มูลค่า 7.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีคำถามตามมามากมาย และซีอีโอคนใหม่ของ GitHub ต้องออกมาชี้แจงว่าทุกอย่างจะเป็นเหมือนเดิม
Nadella ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ยืนยันว่าไมโครซอฟท์จะรักษาความเป็นโอเพนซอร์สอย่างเต็มที่ (we are all in on open source) และ GitHub จะยังเป็นแพลตฟอร์มเปิดสำหรับทุกภาษา ทุกเฟรมเวิร์ค ทุกระบบปฏิบัติการ
ไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศเข้าซื้อ GitHub โดยแต่งตั้ง Nat Friedman จากXamarin เข้ามาเป็นซีอีโอ ตอนนี้ซีอีโอคนใหม่ก็แถลงรับตำแหน่ง โดยยืนยันสองแนวทาง
หลังจากที่เป็นข่าวลือกันมาในช่วงไม่กี่วัน ล่าสุด Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ออกประกาศอย่างเป็นทางการผ่านบล็อกทางการของบริษัทว่า บริษัทจะเข้าซื้อ GitHub อย่างเป็นทางการ ด้วยมูลค่ากว่า 7.5 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.3 แสนล้านบาท) โดยเป็นหุ้นของบริษัทไมโครซอฟท์ทั้งหมด (มูลค่าแพงกว่าตอนเข้าซื้อแผนกมือถือของโนเกียในปี 2013 เสียอีก)
Nadella ระบุว่านักพัฒนาจะมีความสำคัญอย่างมากในโลกอนาคตที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การธนาคาร ไปจนถึงการขายของ การเข้าซื้อ GitHub จึงเป็นการเสริมวิสัยทัศน์ให้นักพัฒนาสามารถทำงานร่วมกันได้ และไมโครซอฟท์เองก็เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาจากนักพัฒนาอยู่แล้ว ดังนั้นเป้าหมายของทั้งสององค์กรซึ่งต้องการทำให้นักพัฒนาทำงานร่วมกันได้ดี จึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกัน และนำมาสู่การเข้าซื้อในครั้งนี้
หลังจากมีข่าวลือออกมาหลายวัน ตอนนี้ Microsoft ได้ออกมายืนยันแล้วว่าได้เข้าซื้อ GitHub ในมูลค่าถึง 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการซื้อด้วยหุ้นของ Microsoft เอง ไม่ใช่เงินสด
โดย Satya Nadella ซีอีโอของ Microsoft ได้ออกมาแถลงว่า
"Microsoft เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับนักพัฒนาเป็นอันดับหนึ่ง และการได้ทีมงานของ GitHub มาร่วมทีมกับเราเป็นการยืนยันจุดมุ่งหมายของเราต่ออิสรภาพ ความเปิดกว้าง และ นวัตกรรม ของนักพัฒนา เราตระหนักดีถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนนักพัฒนานับจากนี้ไป และเราจะทำทุกอย่างอย่างดีที่สุดเพื่อส่งเสริมนักพัฒนาในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญาที่ท้าทายทั้งหลายของโลกใบนี้"
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวระบุว่าไมโครซอฟท์ได้เข้าซื้อ GitHub เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้มีข่าวหลุดออกมาว่าไมโครซอฟท์พยายามเจรจาขอซื้อมาแล้วหลายครั้ง
แหล่งข่าวอีกรายระบุกับ Bloomberg ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไมโครซอฟท์และ GitHub เป็นไปในทางที่ดีมาตลอด แม้ขาดช่วงไปบ้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยการเจรจาช่วงแรกเป็นการเจรจาเป็นพันธมิตร แต่ก็กลายเป็นการเจรจาเข้าซื้อบริษัทในที่สุด
ตอนนี้ทั้งสองบริษัทยังไม่ตอบคำถามนักข่าวแต่อย่างใด
ที่มา - Bloomberg
มีรายงานว่าไมโครซอฟท์ได้เจรจาเพื่อขอซื้อกิจการ GitHub ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และไมโครซอฟท์เองเคยพยายามซื้อหลายครั้งแล้วด้วย
แหล่งข่าวบอกว่าเรื่องเริ่มจาก ไมโครซอฟท์และ GitHub ได้พูดคุยเพื่อทำแผนการตลาดร่วมกัน จากนั้นการพูดคุยก็ไปจนถึงว่าไมโครซอฟท์ต้องการซื้อกิจการ GitHub เลย แต่ราคาที่ GitHub ต้องการนั้นสูงกว่าที่ไมโครซอฟท์ประเมิน
GitHub เพิ่มทุนครั้งสุดท้ายในปี 2015 ที่มูลค่ากิจการ 2 พันล้านดอลลาร์ แต่หากประเมินในปัจจุบัน มูลค่าน่าจะอยู่ราว 5 พันล้านดอลลาร์
ที่มา: CNBC
GitHub ได้ส่งแจ้งอีเมลผู้ใช้บางคน เรื่องการค้นพบบั๊กในฟังก์ชันรีเซ็ตพาสเวิร์ด ที่เก็บพาสเวิร์ดในรูปของ plaintext ในล็อกของบริษัท โดย GitHub ยืนยันว่ามีเพียงพนักงานไม่กี่คนเท่านั้นที่เข้าถึงล็อกนี้ได้ และข้อมูลนี้ไม่รั่วไหลไปถึงภายนอกหรือผู้ใช้คนอื่นๆ
GitHub ยืนยันว่าปกติแล้ว รหัสผู้ใช้ถูกเข้ารหัสด้วยอัลกอริทึมแฮช bcrypt และมีเพียงผู้ใช้ไม่กี่รายที่รีเซ็ตพาสเวิร์ดเมื่อเร็วๆ ที่เท่านั้นที่เจอกับบั๊ก และถูกเก็บในรูป plaintext ส่วนการค้นพบครั้งนี้ เป็นการค้นพบจากการตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์ตามรอบปกติ ไม่ได้ถูกแฮ็กใดๆ ทั้งสิ้น
GitHub เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Learning Lab สำหรับนักพัฒนาเพื่อเรียนรู้การใช้ GitHub อย่างรวดเร็ว โดยเน้นการใช้บอทสอน
GitHub เผยว่าฟีเจอร์ Learning Lab ถูกสร้างจากประสบการณ์สอนผู้ใช้ใน GitHub โดย Training Team ซึ่งระบบนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้วิธีใช้ Git และ GitHub ได้จากบน GitHub โดยตรง คือแทนที่จะใช้การสอนแบบเดิม ๆ Learning Lab จะเปลี่ยนเป็นการใช้งานจริง โดยมีบอทมาแนะนำวิธีเริ่มใช้งาน และเมื่อเสร็จงานหนึ่งแล้วบอทก็จะคอมเมนต์พร้อมคำแนะนำให้ทำสิ่งถัดไป
GitLab ซอฟต์แวร์จัดการโครงการชื่อดัง ประกาศออกเวอร์ชันใหม่ 10.6 ที่สามารถทำงานร่วมกับซอร์สโค้ดที่เก็บบน GitHub ได้แล้ว
GitLab เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นจาก Git โดยมีหน้าที่สองส่วนคือเก็บซอร์สโค้ด (repository) และการจัดการโครงการ (CI/CD ย่อมาจาก continuous integration and continuous delivery)
ที่ผ่านมา GitLab ต้องการให้ลูกค้าเก็บซอร์สโค้ดไว้บนโฮสต์ของตัวเอง แต่ในความเป็นจริง ผู้ใช้อาจเก็บซอร์สโค้ดไว้กับผู้ให้บริการรายอื่นๆ อยู่แล้ว และไม่อยากเปลี่ยนมาเก็บบน GitLab ทำให้สุดท้าย GitLab ต้องยอมเปิดกว้าง ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการรายอื่นมากขึ้น
แนวทางของ GitLab จะเริ่มจากโฮสติ้งยอดนิยมอย่าง GitHub ก่อน แต่เปิดกว้างให้เชื่อมกับรายอื่นๆ (เช่น BitBucket) ผ่าน API ได้เช่นกัน
GitHub รายงานสรุปโครงการ Bug Bounty ในปีที่แล้วว่าได้รับการแจ้งช่องโหว่มาทั้งหมด 840 ช่องโหว่ผ่านแพลตฟอร์ม HackerOne และจ่ายเงินรางวัลไปทั้งหมด 166,495 เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่จ่ายไป 95,300
ส่วนช่องโหว่ที่ GitHub จ่ายเงินรางวัลไปมากที่สุดคือ ช่องโหว่ในมาตรฐานการยืนยันตัวตน Security Assertion Markup Language (SAML) ใน GitHub Enterprise ที่บริษัทจ่ายเงินรางวัลไป 10,000 เหรียญซึ่งสูงทีสุดที่ตั้งเอาไว้ในโครงการตอนนั้น โดยวิศวกรด้านความปลอดภัยที่แจ้งช่องโหว่นี้ได้รับโบนัสเพิ่มอีก 12,000 เหรียญด้วย เนื่องจากเป็นการแจ้งในช่วงครบรอบ 3 ปีของโครงการ Bug Bounty