Google ประกาศอัพเดต App Engine ใหม่ โดยเพิ่มเมมโมรี่ให้ App Engine ยุคที่สองเป็น 2 เท่าของเดิม, ประกาศให้ Go 1.12 และ PHP 7.3 เข้าสู่สถานะ GA และรองรับ Java 11 ในสถานะเบต้า
เรื่องแรก คือการเพิ่มเมมโมรี่ให้ App Engine สองเท่าจากเดิม คือผู้ใช้จะสามารถโหลดไลบรารีเข้าไปใน App Engine ได้เยอะกว่าเดิม และการเพิ่มเมมโมรี่นี้ Google เพิ่มให้อัตโนมัติ ฝั่งผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไร และไม่เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมด้วย
ส่วนถัดไปคือ Google ประกาศให้รันไทม์สองภาษาบน App Engine คือ Go 1.12 และ PHP 7.3 เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการ
กูเกิลประกาศซื้อกิจการ Looker บริษัทด้าน business intelligence และ data analytics ด้วยมูลค่า 2.6 พันล้านดอลลาร์ (กูเกิลจ่ายทั้งหมดด้วยเงินสด) หลังซื้อกิจการแล้ว Looker จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม Google Cloud
Looker ก่อตั้งในปี 2012 ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 600 คน เป็นซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจและทำ visualization แสดงผล โดยคู่แข่งของ Looker ได้แก่ Tableau หรือ PowerBI ของไมโครซอฟท์ ทำให้ Looker ถือเป็นซอฟต์แวร์ที่กูเกิลยังขาดอยู่ เพราะมีคลาวด์สำหรับเก็บข้อมูล และซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง BigQuery อยู่แล้ว แต่ยังไม่มีซอฟต์แวร์ที่วิเคราะห์ข้อมูลสำหรับภาคธุรกิจที่ชัดเจนนัก
Google Cloud รายงานถึงสาเหตุการล่ม 5 ชั่วโมงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยระบุว่าเกิดจากการยิงคอนฟิกไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดยตั้งใจจะปรับคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์จำนวนไม่มากนักในโซนเดียว แต่กลับตั้งค่าผิดพลาดจนคอนฟิกถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก ในหลายโซน คอนฟิกนี้ทำให้เซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นไม่ยอมใช้ช่องทางเน็ตเวิร์คไปครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่จริง และพยายามเบียดกันใช้เน็ตเวิร์คส่วนที่เหลือ ทำให้เน็ตเวิร์คเริ่มโอเวอร์โหลด
Google Cloud ประกาศความร่วมมือกับสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (Football Association of England หรือที่เรียกกันว่า FA) โดย FA จะมาเป็นลูกค้าของ Google Cloud และ G Suite
ประเด็นที่น่าสนใจคือ FA จะนำระบบเก็บข้อมูลนักเตะชื่อ Player Profile System (PPS) ที่ใช้เก็บสถิติทุกอย่างของนักเตะทีมชาติในสังกัด FA (ซึ่งมีเยอะถึง 28 ทีมย่อย! รวมนักฟุตบอลหญิงและเยาวชนด้วย) โดยใช้โซลูชันด้าน data analytics และ machine learning ของ Google Cloud มาวิเคราะห์ข้อมูลผู้เล่นให้แม่นยำขึ้นกว่าเดิม ช่วยพัฒนาศักยภาพของนักเตะทีมชาติอังกฤษขึ้นอย่างเป็นระบบมากขึ้น
เมื่อคืนที่ผ่านมา Google Cloud ล่มไปราว 5 ชั่วโมง ซึ่งการล่มครั้งนี้ส่งผลต่อบริการของ Google ไปจนถึงบริการจากบริษัทอื่นที่ใช้คลาวด์ของ Google เช่น Shopify, Snap, Discord โดยผู้ใช้บริการจะพบปัญหาช้า หรือมีข้อผิดพลาดปรากฏขึ้นมาระหว่างการใช้งาน
หลังจากกู้ระบบคืนมาได้แล้ว Google ได้แถลงว่า การล่มครั้งนี้มีสาเหตุจากความหนาแน่นของเครือข่ายในทางตะวันออกของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลทั้ง Google Cloud, G Suite และ YouTube โดย Google จะทำการสอบสวนภายในและปรับปรุงระบบเพื่อป้องกันหรือลดการเกิดซ้ำในอนาคต เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว Google จะเปิดเผยรายละเอียดในรายงานของเหตุการณ์ครั้งนี้ต่อไป
หลังโครงการ Kubernetes ออกเวอร์ชัน 1.14 ที่รองรับ Windows container เต็มตัว เมื่อปลายเดือนมีนาคม
ทางดิสโทร Kubernetes ต่างๆ ก็เริ่มนำเวอร์ชัน 1.14 ไปใช้งาน โดยเฉพาะ Kubernetes บนคลาวด์ ไม่ว่าจะเป็น Azure Kubernetes Service (AKS), Amazon EKS และ Google Kubernetes Engine (GKE) ทำให้บริการคลาวด์รายใหญ่ๆ เริ่มรองรับ Windows container กันตามมาด้วย
แต่ด้วยรอบการออกรุ่นใหม่ของ Kubernetes ทุก 3 เดือน อีกทั้งออกรุ่นย่อยที่เป็น point releases บ่อยๆ ทำให้ดิสโทรเหล่านี้เริ่มตามไม่ทัน อีกทั้งยังต้องซัพพอร์ตลูกค้าองค์กรที่ต้องการเสถียรภาพมากกว่าฟีเจอร์ใหม่ๆ ทางออกจึงเป็นการแยก release channel แบบที่เราคุ้นเคยกับ Chrome
ผู้ใช้ Google Cloud จำนวนหนึ่งพบบั๊กหน้าคอนโซล ทำให้ไม่คิดราคาชิปกราฟิก ไม่ว่าจะเพิ่มชิปเข้าไปกี่ตัวในเครื่องก็ตาม โดยเป็นกับชิปบางรุ่น เช่น Tesla T4 แต่ผู้ที่จะเปิดเครื่องโดยใช้ชิปกราฟิกควรระวัง เพราะเวลาคิดเงินจริงๆ กูเกิลจะคิดค่าใช้ชิปเหล่านี้ตามจริง
Tesla T4 คิดค่าบริการถึง 485.45 ดอลลาร์ต่อเดือนต่อชิป หรือประมาณเดือนละ 15,000 บาท ผู้ใช้ที่พบบั๊กจะสามารถเติมชิป T4 เข้าเซิร์ฟเวอร์กี่ชุดก็ได้โดยหน้าจอแสดงราคาเครื่องเท่าเดิม แต่หากรันขึ้นมาจริงๆ จะถูกคิดค่าจีพียูตามจริง ทำให้ราคาเครื่องต่อเดือนที่แสดงไว้ไม่กี่พันบาท อาจจะถูกคิดเงินจริงหลายหมื่นบาทต่อเดือนได้
ทางกูเกิลระบุว่ารับทราบปัญหานี้แล้ว และกำลังแก้ไขอยู่
Google Cloud Functions บริการคลาวด์แบบ serverless ของกูเกิล ประกาศรองรับภาษาโปรแกรมเวอร์ชันต่างๆ เพิ่มเติมดังนี้
Google เปิดตัว GKE Advanced ระบบ Kubernetes แบบที่ Google Cloud จัดการโครงสร้างพื้นฐานให้ โดย GKE Advanced จะเน้นการใช้งานในองค์กรเป็นหลัก
Google ระบุว่า ปัจจุบัน GKE จะเหมาะกับการใช้งานบนโปรเจคขนาดไม่ซับซ้อนมาก ในขณะที่ GKE Advanced จะมีฟีเจอร์ต่าง ๆ เหมือน GKE ในปัจจุบัน เสริมด้วยฟีเจอร์ระดับองค์กรหลายอย่าง เช่น ความยืดหยุ่น, ความปลอดภัย และการจัดการที่ดีขึ้น เพื่อให้รองรับผู้ใช้ระดับองค์กรที่มักจะใช้คลัสเตอร์ขนาดใหญ่และมีหลายโปรเจคเข้ามาใช้ร่วมกัน โดยฟีเจอร์ที่สำคัญใน GKE Advanced เช่น
Google ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ และฟีเจอร์ที่เข้าสู่ GA ของระบบเครือข่ายบน Google Cloud หลายรายการ โดยของใหม่ในรอบนี้มี Traffic Director ระบบจัดการทราฟฟิกเพื่อ service mesh, HA VPN และ 100Gbps Interconnect
ฟีเจอร์แรกคือ Traffic Director เป็นระบบจัดการทราฟฟิกเพื่อ service mesh เนื่องจากปัจจุบัน service mesh กำลังเป็นที่นิยมขององค์กร โดย Traffic Director นี้จะเป็นระบบที่ managed โดย GCP มีการคอนฟิกมาพร้อมใช้งานภาคองค์กร และมีเครื่องมือสำหรับควบคุมทราฟฟิกขั้นสูงจำนวนมาก
กูเกิลเปิดตัวชุดบริการปัญญาประดิษฐ์สำหรับธุรกิจระดับองค์กรโดยเฉพาะ โดยเป็น API แยกกันหลายตัว ได้แก่
กูเกิลเปิดตัว AI Platform ชุดเครื่องมือที่ทำให้สามารถสร้างระบบงานปัญญาประดิษฐ์ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (end-to-end) นับแต่การดึงข้อมูลเข้าสู่ระบบ, การพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์, deploy ระบบเพื่อใช้งานจริง
ตัว AI Platform สร้างบนฐานของ Kubeflow แพลตฟอร์มสำหรับฝึกและใช้งานโมเดลของ TensorFlow บน Kubernetes ทำให้ระบบงานที่สร้างขึ้นบน AI Platform สามารถนำมารันบนเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรได้ ด้วยการดึง Kubeflow Pipeline ลงมา
นอกจากการใช้พัฒนาระบบงานเองแล้ว AI Platform ยังรองรับการแชร์ระบบให้กับคนอื่นผ่านทาง AI Hub ที่เป็นเหมือนแอปสโตร์สำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์
กูเกิลอัพเดตบริการฝึกปัญญาประดิษฐ์อัตโนมัติ หรือ AutoML ให้มี ความสามารถเพิ่มเติมจากเดิมใช้จัดหมวดหมู่ภาพ, จัดหมวดหมู่ข้อความ, และแปลภาษา ให้มีความสามารถในการจัดหมวดหมู่วิดีโอ (AutoML Video) เพิ่มเข้ามาทำนายข้อมูลจากข้อมูลตาราง (AutoML Tables) ที่สำคัญคือกูเกิลเปิดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดตัวโมเดลออกมาใช้งานภายนอกได้แล้วสำหรับงานจัดหมวดหมู่ภาพ (AutoML Vision Edge)
กูเกิลประกาศจับมือกับบริษัทฐานข้อมูลสายโอเพนซอร์ส 7 ราย นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สชื่อดังมารันบน Google Cloud Platform (GCP) แบบ fully managed
บริษัททั้ง 7 รายได้แก่
GCP จะนำซอฟต์แวร์เหล่านี้มาให้บริการแบบ fully managed (ดูแลระบบ-ปรับแต่งประสิทธิภาพให้) และคิดเงินรวมไปกับบิลปกติของ GCP, มีบริการซัพพอร์ตเป็นระบบเดียวกับของ GCP และสร้างอินเทอร์เฟซตัวเดียวในการจัดการแอพทุกตัวผ่าน GCP
Google Cloud SQL คือบริการฐานข้อมูลแบบ relational database บน Google Cloud ที่เป็นการรันซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลแบบ fully managed (กูเกิลดูแลระบบให้) ที่ผ่านมา Cloud SQL รองรับ MySQL เพียงอย่างเดียว และเพิ่งขยายมายัง PostgreSQL เมื่อปีที่แล้ว
ปีนี้ กูเกิลประกาศรองรับฐานข้อมูล Microsoft SQL Server เป็นตัวที่สาม (สถานะยังเป็น alpha) เพื่อตอบโจทย์งานขององค์กรที่หลากหลายมากขึ้น และจูงใจให้องค์กรที่ต้องรันงานบน SQL Server ย้ายมาอยู่บน Google Cloud ได้ง่ายขึ้นด้วย
บริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ช่วงหลัง เริ่มมีสตอเรจประเภท archive สำหรับสำรองข้อมูลที่นานๆ ใช้ที ออกแบบเพื่อใช้แทนการเก็บลงเทป ตัวอย่างบริการลักษณะนี้คือ Amazon S3 Glacier Deep Archive ฝั่งของ Azure ก็มีบริการคล้ายๆ กันชื่อ Azure Archive Storage
ล่าสุด Google Cloud Storage ออกบริการเก็บข้อมูลแบบเดียวกันมาสู้ ตอนนี้ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่กูเกิลเรียกมันเล่นๆ ว่า "ice cold"
จุดต่างของ "ice cold" กับสตอเรจคู่แข่งคือวิธีการเรียกข้อมูลคืน โดยฝั่งของ AWS Glacier จะต้องส่งคำขอเรียกข้อมูล (Retrieval Requests) เพื่อให้ AWS ดึงข้อมูลใน Glacier ออกมาให้เราก่อน ซึ่งต้องรอระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่เราจะเข้าถึงข้อมูลของตัวเองได้
Google เปิดตัว Cloud Code ในงาน Google Cloud Next โดย Cloud Code นี้คือเซ็ทของปลั๊กอินสำหรับ IntelliJ และ VS Code เพื่อช่วยให้ระบบพัฒนาเป็น automate มากขึ้น สามารถคุม software development lifecycle ได้ดีขึ้นผ่านเครื่องมือที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่แล้ว
Google ระบุว่า Cloud Code เวอร์ชันแรกนี้ จะโฟกัสที่การพัฒนาแอปสำหรับรันบน Kubernetes (รวม GKE) ซึ่งปลั๊กอินนี้จะต่อขยายให้ IDE ทั้งสองตัวสามารถใช้พัฒนาแอปแบบ cloud-native Kubernetes ได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีเบื้องหลังเป็นเครื่องมืออย่างเช่น Skaffold, Jib หรือ Kubectl รันอยู่เบื้องหลัง
กูเกิลประกาศเป็นพันธมิตรกับผู้ใหบริการฐานข้อมูลโอเพนซอร์สสายหลักหลายราย นับแต่ Confluent, DataStax, Elastic, InfluxData, MongoDB, Neo4j, และ Redis Labs มาให้บริการบน Google Cloud
หลายบริษัทให้บริการผ่านคลาวด์เจ้าต่างๆ รวมถึง Google Cloud อยู่แล้ว แต่การเป็นพันธมิตร จะทำให้ลูกค้าสามารถใช้ Google Cloud Console ของกูเกิลจัดการบริการเหล่านี้ได้ทันที, การออกใบเสร็จก็ออกจากกูเกิลรายเดียว, และการขอซัพพอร์ตก็ใช้ระบบ ticket ของ Google Cloud เช่นกัน
นอกจากร่วมมือในแง่ธุรกิจและเอกสารแล้ว กูเกิลระบุว่าจะทำงานร่วมกับพันธมิตรให้บริการทำงานร่วมกับ GCP ได้ดีขึ้น เช่น log ใน Stackdriver และการยืนยันสิทธิ์ด้วย IAM
กูเกิลเปิดตัวบริการ Cloud Run บริการแบบ serverless สำหรับสร้างบริการที่รันคำสั่งทาง HTTP โดยตัว Cloud Run เองสร้างจาก Knative ทำให้สามารถย้ายโหลดงานจากในองค์กรที่ทำ Kubernetes เองไปยังบริการ Kubernetes อื่น เช่น Google Kubenetes Engine (GKE) หรือย้ายกลับมายัง Cloud Run ได้อิสระ ไม่ติดกับแฟลตฟอร์ม
ตัว Cloud Run คิดค่าบริการที่ละ 0.1 วินาที คิดแยกทั้งซีพียู, แรม, ปริมาณรีเควส, และทราฟิก โดยทั่วไปสำหรับบริการที่ใช้งานไม่บ่อยนักน่าจะได้เปรียบอย่างมาก เพราะหากงานที่ใช้ต่อเนื่อง เฉพาะค่าซีพียูก็ประมาณ 62 ดอลลาร์ต่อเดือนแล้ว
Clound Run เปิดตัวมาเป็นเฟสเบต้าเลย คนทั่วไปสามารถใช้งานได้แล้ว สำหรับผู้ใช้ GKE เดิม ราคารวมกับ GKE อยู่แล้ว
ปีที่แล้ว กูเกิลเปิดตัว Cloud Services Platform (CSP) ชุดซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการแอพพลิเคชันบนคลาวด์ โดยเป็นการรวมเอา Kubernetes, Istio เข้ากับซอฟต์แวร์อื่นๆ ของกูเกิล
CSP เป็น "ซอฟต์แวร์" มันจึงใช้บริหารจัดการได้ทั้งคลาวด์ของกูเกิล และคลาวด์ในองค์กรที่เป็น on-premise ได้ด้วย
ปีนี้ในงาน Google Cloud Next กูเกิลประกาศรีแบรนด์ CSP ใหม่ในชื่อว่า Anthos พร้อมประกาศว่า สามารถใช้ Anthos ไปจัดการคลาวด์ค่ายคู่แข่งทั้ง AWS และ Azure ได้เช่นกัน
เรื่องเล่นใหญ่เล่นโตนั้นต้องให้กูเกิลเนเธอร์แลนด์ (ผลงานปี 2017: Google Wind) โดยปีนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดด้าน Machine Learning เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของดอกไม้ที่เป็นผลิตผลหลักในประเทศอย่างดอกทิวลิปในชื่อโครงการ Google Tulip
กูเกิลบอกว่าคนมักนำดอกทิวลิปมาตกแต่งสถานที่ แต่ไม่รู้จักการบำรุงรักษาที่ดี ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีทำให้กูเกิลพบว่าดอกทิวลิปนั้นสามารถสื่อภาษา Tulipish ออกมาได้ กูเกิลจึงนำภาษานี้แปลงข้อมูลว่า IoT นั่นคือกระถางอัจฉริยะ แล้วประมวลผลข้อความผ่าน Google Cloud Platform เพื่อตีความออกมาว่าดอกทิวลิปต้องการสื่อสารอะไรกันแน่
ตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคคลาวด์ เราก็เห็นปัญหาความปลอดภัยของคลาวด์หลากหลายระดับ ตั้งแต่ ลืมปิดสิทธิการเข้าถึง Amazon S3 ไปจนปัญหาอื่นๆ อีกมาก ทำให้ทักษะด้านความปลอดภัยของคลาวด์ก็เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ล่าสุด Google Cloud ประกาศเปิดคอร์สเฉพาะทาง Security in Google Cloud Platform Specialization ให้เรียนกันฟรีๆ บน Coursera โดยเนื้อหาครอบคลุมด้านความปลอดภัยหลากหลาย ตั้งแต่เรื่อง Identity and Access Management (IAM), Isolation, การตรวจสอบข้อมูลล็อกด้วย StackDriving, การป้องกัน DDoS และการอุดรูรั่วต่างๆ เป็นต้น
กูเกิลประกาศสถิติโลกใหม่ฉลองวันพาย (Pi Day) 14 มีนาคม โดยสามารถคำนวณหาค่า Pi ได้ละเอียดถึง 31 ล้านล้านตำแหน่งทศนิยม โดยสถิติดังกล่าวได้รับการรับรองจากกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดแล้ว และเพื่อให้สมเป็นกูเกิลจำนวนตำแหน่งทศนิยมที่คำนวณได้แบบละเอียดนั้นคือ 31,415,926,535,897 ตำแหน่ง หรือเท่ากับ π * 1013 ส่วนสถิติโลกก่อนหน้านี้อยู่ที่ 22 ล้านล้านตำแหน่ง
นอกจากเป็นจำนวนตำแหน่งทศนิยมที่มากที่สุด กูเกิลบอกว่านี่เป็นครั้งแรกที่การคำนวณหาค่า Pi นี้เกิดขึ้นบนคลาวด์และสามารถทำลายสถิติโลกได้ ซึ่งก็คือบน Google Cloud Platform นั่นเอง (แต่ Yahoo! เป็นรายแรกที่ลองคำนวณค่า Pi บนคลาวด์ แต่ไม่ได้บันทึกสถิติ)
ปัจจุบัน องค์กรหลายแห่งเริ่มหันมาใช้งานคลาวด์มากขึ้น โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลที่เมื่อนำข้อมูลมาเก็บรวมไว้ที่เดียวก็จะทำให้ลดความซับซ้อนในการจัดการ แต่ปัญหาที่ผู้ใช้มักจะพบอยู่เป็นประจำคือข้อมูลในปัจจุบันมีปริมาณมาก และทำนายการเติบโตยาก
Google จึงได้เปิดตัวแพลนค่าใช้จ่ายใหม่ของ Google Cloud Storage ในชื่อว่า Storage Growth Plan ซึ่งเป็นระบบการคิดค่าใช้จ่ายของสตอเรจแบบใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้องค์กรคำนวณค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องพบกับปัญหาค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่คาดไว้จากปริมาณข้อมูลมหาศาลที่เข้ามาโดยคาดไม่ถึง
วิธีคำนวณค่าใช้จ่ายของ Storage Growth Plan มีดังนี้
กูเกิลเปิดตัว Cloud IoT Device SDK ชุดพัฒนาสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้าไปยังบริการ Cloud IoT
ตัว SDK เขียนด้วยภาษา Embedded C มีขนาดเล็กมาก โดยเล็กสุด 25KB และเพิ่มเป็น 80KB หากต้องคอมไพล์ไลบรารี TLS เข้าไปด้วย รองรับไลบรารี TLS ทั้ง wolfSSL และ mbedTLS การใช้งานไลบรารีสามรถใช้ได้ทั้งแพลตฟอร์มที่ไม่มีระบบปฎิบัติการเลย, มีระบบปฎิบัติการขนาดเล็ก (Mbed OS, Zephyr, FreeRTOS) และระบบปฎิบัติการ POSIX เต็มรูปแบบเช่นลินุกซ์
บริษัทที่เข้าเป็นพันธมิตรแล้ว เช่น Arm นำ Mbed OS มารองรับ SDK, Cypress, Nordic Semicondutor, Espressif System, Microchip, NXP โดย Espressif นั้นระบุว่าจะร่วมมือกับกูเกิลเพื่อให้ SDK ทำงานได้บน ESP32 และ ESP8266 ต่อไป