Google ได้เริ่มทดสอบฟีเจอร์เก็บเรตติ้งภาพยนตร์จากผู้ใช้ในผลการค้นหาโดยตรง ควบคู่ไปกับการแสดงเรตติ้งจากเว็บไซต์ที่เก็บเรตติ้งภาพยนตร์หลักที่โด่งดังอย่าง Rotten Tomatoes และ IMDb
ระบบให้คะแนนของ Google มีเพียงแค่ like หรือ dislike ต่างกับบริการอื่นที่ใช้ตัวเลข และการแสดงสถิติคือจะแสดงเป็นจำนวนผู้ใช้ Google ว่าชอบบริการนี่เป็นกี่เปอร์เซ็นต์
Google ก็ได้ยืนยันโดยบอกว่าฟีเจอร์นี้กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบเท่านั้น ดังนั้นจะมีผู้ใช้เห็นเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น
Google ได้เพิ่มระบบตอบ emoji โดยถ้าผู้ใช้ทวีต emoji และเมนชั่นมายัง @Google จะได้รับการตอบรับพร้อมกับลิงก์ที่เกี่ยวกับการค้นหาสถานที่ในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับ emoji นั้น แนบมาพร้อมกับภาพ GIF ด้วย
สำหรับใครที่อยากจะทดลองก็สามารถทดสอบได้โดยดูตัวอย่างได้จากวิดีโอด้านล่าง แต่ทั้งนี้ Google ไม่ได้รองรับ emoji ทุกแบบ ซึ่งถ้าไม่ได้ Google ก็จะแนะนำให้ใส่ emoji แบบอื่นแทน
ที่มา - Engadget
กูเกิล (ทั้ง Search และ Maps) มีฟีเจอร์ Popular Times แสดงความนิยมของสถานที่ในแต่ละช่วงเวลามาได้สักพักแล้ว ล่าสุดกูเกิลอัพเกรดฟีเจอร์นี้ให้ฉลาดขึ้น ดังนี้
นอกจากนี้ กูเกิลยังเพิ่มข้อมูลของเวลาเปิด-ปิดบริการของสถานที่นั้นๆ ให้ลงรายละเอียดมากขึ้น เช่น ในห้างสรรพสินค้าที่หลายร้านปิดไม่พร้อมกัน หรือพิพิธภัณฑ์ในสวนสาธารณะที่อาจปิดก่อนเวลาสวนปิด ข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกเพิ่มเข้ามาให้ผู้ใช้
ที่มา - The Keyword
หลังประเด็นข่าวปลอมกำลังเป็นปัญหาบนโลกออนไลน์ ไม่เฉพาะเฟซบุ๊กแต่ Google News ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมเว็บข่าวของ Google ก็ประสบปัญหาเช่นกัน จนมีรายงานจากวงในว่า Google เตรียมจะถอดแถบ "In the news" ที่ดึงข่าวมาจาก Google Newsออกจากหน้าผลการค้นหา และแทนที่ด้วยแถบ "Top Stories" แบบที่แสดงบนสมาร์ทโฟนแทน
ความแตกต่างของ 2 ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ใช่มีแต่เฉพาะคำที่อ้างอิงถึง "ข่าว (news)" ที่ Google พยายามหลีกเลี่ยง แต่ยังรวมถึงการทำงานเบื้องหลังของทั้งคู่ด้วย โดย Google News เป็นการแสดงผลข่าวจากทั้งเว็บไซต์ที่ได้รับการรับจองจากทีมงานและเว็บไซต์ประเภทข่าวอื่นๆ ด้วย
เรารู้กันดีว่าระบบดัชนีค้นหา (search index) เก็บข้อมูลเว็บเพจจากทั่วทั้งอินเทอร์เน็ต ข้อมูลทั้งหมดมีปริมาณมหาศาล แต่ถ้าถามว่ามันใหญ่สักแค่ไหน การประเมินอาจทำได้ยาก
กูเกิลเคยประกาศข้อมูลนี้ไว้ในหน้า How Search Works เมื่อปี 2013 ว่าเก็บข้อมูลเว็บเพจไว้ 30 ล้านล้านเพจ (30 trillion)
เวลาผ่านมา 3 ปีกว่า กูเกิลอัพเดตข้อมูลหน้า How Search Works ใหม่ จำนวนเว็บเพจเพิ่มขึ้นอีก 100 ล้านล้านเพจ รวมเป็น 130 ล้านล้านเพจแล้ว
ณ เวลาที่เขียนข่าวอยู่นี้ เป็นช่วงเวลาการนับคะแนนเสียงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยผลปัจจุบันมีแนวโน้มว่า Donald Trump ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันจะเป็นผู้ชนะ
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คนที่รับไม่ได้กับผลการเลือกตั้งจึงคิดจะย้ายไปอยู่ประเทศอื่น ซึ่งแคนาดาเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด ส่งผลให้เว็บไซต์สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของแคนาดา (Citizenship and Immigration Canada) ได้ล่มไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อเวลาประมาณ 10:30 น. ตามเวลาประเทศไทย
นอกจากนี้คำค้นบนกูเกิลเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานไปประเทศแคนาดาก็เริ่มพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน
ก่อนหน้านี้เมื่อต้นปีเคยมีเหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้เกิดขึ้นแล้วช่วง Super Tuesday หลัง Trump มีคะแนนนำ
ที่มา - Business Insider
ProtonMail ผู้ให้บริการอีเมลเข้ารหัสที่โฆษณาว่า NSA เจาะไม่เข้า ตั้งเซิฟเวอร์อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออกมากล่าวหากูเกิลว่าลดระดับเว็บไซต์ของตนจากผลการค้นหาอย่างไม่เป็นธรรม
บริษัท ProtonMail เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งในขณะนั้นหากผู้ใช้ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดอย่าง "encrypted email" หรือ "secure email" ก็จะเจอเว็บไซต์ของ ProtonMail อยู่บนหน้าแรกหรือหน้าที่ 2 ของผลการค้นหา แต่หลังจากนั้นราวปลายปี 2015 อันดับของ ProtonMail ก็ร่วงไปไกล โดยบริษัทบอกว่าค่อยๆ ตกไปอยู่ถึงหน้าที่ 5, 10 และในฤดูใบไม้ผลิของปี 2016 ก็หายไปจากผลการค้นหาเลย
วันที่ 8 พฤศจิกายน (ตามเวลาในสหรัฐ) จะเป็นวันเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่ง Google ประกาศว่าจะแสดงผลการเลือกตั้งแบบเรียลไทม์หลังปิดคูหา พร้อมรายละเอียดอื่นๆ หากเสิร์ชคำที่มีการเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐในวันพรุ่งนี้ แต่รวมถึงการเลือกตั้งระดับอื่นๆ หลังจากนี้ด้วย (น่าจะเฉพาะการเลือกตั้งในสหรัฐ)
เมื่อไม่นานมานี้ Google Search ออกข่าวว่าเตรียมแยกดัชนี Mobile Index ออกจาก Desktop Index วันนี้ข่าวอย่างเป็นทางการมาแล้ว
สิ่งที่กูเกิลจะทำคือยังมี Search Index เพียงอันเดียว ไม่แยกสองเวอร์ชัน แต่ดัชนีอันนี้จะเลือกดึงข้อมูลจากเว็บเพจเวอร์ชันอุปกรณ์พกพา (mobile web) เพื่อจัดอันดับผลการค้นหา ก่อนเว็บเพจเวอร์ชันเดสก์ท็อป
ก่อนหน้านี้เมื่อผู้ใช้ค้นหาเส้นทางบน Google Maps ก็สามารถเรียกรถจากบริการต่างๆ เช่น Uber หรือ Grab ได้ ล่าสุด Google อัพเดตฟีเจอร์แบบนี้ลงไปในแอพ Google บนมือถือแล้ว
เพียงแค่ค้นหาเส้นทางไปยังสถานที่ที่ต้องการบนแอพ Google ก็จะแสดงเส้นทางมาให้ เมื่อเลือกตัวเลือกเรียกรถแท็กซี่ ก็จะแสดงรายชื่อของแอพที่พร้อมให้บริการตามพื้นที่, ค่าโดยสารโดยประมาณและระยะเวลาที่ต้องรอรถ เมื่อกดเรียกก็จะสลับไปยังแอพที่ใช้บริการและเรียกรถให้ทันทีโดยที่ไม่ต้องกรอกข้อมูลใดๆ หากบริการที่เรียกไม่มีแอพติดตั้งอยู่ในมือถือก็จะลิงก์ไปยังร้านค้าเพื่อให้ดาวน์โหลดแอพ
สามารถใช้งานได้แล้วทั่วโลกผ่านแอพ Google บน iOS และ Android
ที่มา : The Next Web
ข่าวสำคัญของวงการ search ที่แสดงให้เห็นทิศทางของโลกยุค mobile-first ได้เป็นอย่างดี
Gary Illyes พนักงานของกูเกิลไปพูดที่งานสัมมนา Pubcon และให้ข้อมูลว่ากูเกิลกำลังแยกดัชนีค้นหาเวอร์ชันสำหรับอุปกรณ์พกพา (mobile index) ออกมาจากดัชนีค้นหาสำหรับพีซีเดสก์ท็อป (desktop index) และกูเกิลจะให้ความสำคัญกับ mobile index เป็นหลักแทน การอัพเดตข้อมูลใน mobile index จะเกิดขึ้นบ่อยกว่า desktop index ด้วย
Illyes บอกว่าเว็บแบบ mobile site เริ่มแตกต่างจากเว็บเวอร์ชันเดสก์ท็อป เช่น มีขนาดไฟล์เล็กลง มีลิงก์น้อยลง มีเนื้อหาน้อยลง กูเกิลจึงต้องแยก mobile index ขึ้นมาอีกชุดหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ถ้าเว็บของเราเหมือนกันทั้งบนเดสก์ท็อปและอุปกรณ์พกพา ก็จะไม่ได้รับผลกระทบอะไร
Google พยายามเพิ่มความสามารถให้ Google Search อยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดรองรับการแปลงค่าสีระหว่างค่า RGB และค่า Hex แล้ว โดยหากผู้ใช้พิมพ์ค่าสีไม่ว่าจะเป็น Hex (#000000) หรือ RGB (0,0,0) ผลการค้นหาก็จะแสดงแพเนลสี พร้อมค่าของทั้งสองตัวมาให้
นอกจากค่า Hex และ RGB แล้ว ยังมีค่าสีอื่นๆ ให้เพิ่มมาด้วยทั้ง HSV, HSL และ CMYK โดยการแปลงค่านี้รองรับทั้งบนเว็บและแอพ
ที่มา - Android Police
Google ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ incognito ใน Google App บน iOS แล้ว ทำให้การค้นหาและเปิดหน้าเว็บผ่านโหมดนี้จะไม่ถูกบันทึกไว้
ที่สำคัญคือเพิ่มความสามารถในการล็อกแท็บที่เป็น incognito ไว้ได้ด้วย Touch ID หากต้องเปลี่ยนแอพ ทำให้มีแต่เจ้าของเครื่องเท่านั้นที่สามารถเข้าไปดูแท็บที่ถูกเปิดไว้ในโหมด incognito ได้ ซึ่งโหมดนี้สามารถเปิดได้จาก setting ของ Google App โดยตรง
นอกจากนี้ยังเพิ่มความสามารถในการดูคลิปวิดีโอ YouTube ผ่าน Google App โดยตรง รวมถึงเพิ่มความเสถียรและแก้ปัญหาการแครชของแอพให้น้อยลงด้วย
ที่มา - Google Search Blog
ระบบค้นหา Google Search ใช้สัญญาณหลายอย่างมาประมวลผลร่วมกันเพื่อจัดอันดับเว็บ เช่น คำค้น, ความใหม่ของเนื้อหา, พื้นที่ของผู้คนหา, จำนวนลิงก์ (ที่เราเรียกกัน PageRank)
สัญญาณประเภทหนึ่งที่กูเกิลนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2012 คือตัวคัดกรองสแปมผลการค้นหาชื่อ "Penguin" ที่ออกแบบมาจัดการกับพวกเว็บฟาร์มที่สร้างมาปั่นผลการค้นหาโดยเฉพาะ เดิมทีอัลกอริทึม Penguin จะปรับปรุงคะแนนของเว็บเป็นช่วงๆ แล้วค่อยนำคะแนนมาประมวลผลร่วมกับอัลกอริทึมหลัก (เว็บที่เคยถูกมองว่าเป็นสแปม ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะหลุดอันดับใน Penguin)
เมื่อเดือนสิงหาคม Google ได้เริ่มการทดสอบใช้งาน AMP ผ่าน Google Search กับผู้ใช้ไปแล้วนั้น ล่าสุดได้ประกาศว่ารองรับการใช้งาน AMP ผ่าน Google Search อย่างเป็นทางการทั่วโลกแล้ว โดยผู้ใช้สามารถใช้งานได้ผ่าน Google Search บนมือถือไม่ว่าจะเป็นแอพหรือเว็บ เมื่อเว็บไหนที่รองรับการใช้งาน AMP ก็จะแสดงไอคอนรูปสายฟ้าที่ผลการค้นหานั้นๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
Google ได้บอกว่ามีเนื้อหาที่รองรับ AMP แล้วมากกว่า 600 ล้านไซต์ มีเว็บไซต์ดังๆ ที่รองรับแล้วเช่น eBay, Reddit, WikiHow หรือ Skyscanner เป็นต้น และยังมีเว็บไซต์จากทั่วโลกที่รองรับการใช้งานแล้วมากกว่า 232 แห่งและ 104 ภาษา สามารถใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้
ที่มา : Google Inside Search
Google ออกมาเตือนการฝัง widget ลงบนหน้าเว็บ ที่อาจทำผิดกฎ Google Webmaster Guidlines และอาจมีผลต่อ SEO
widget ลักษณะนี้มีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ต้นทาง ปัญหาอยู่ที่เจ้าของเว็บไม่สามารถควบคุมลิงก์และข้อความที่ทำลิงก์ (anchor text) ได้ เนื่องจากฝังอยู่ในสคริปต์ของ widget ทำให้ลิงก์เหล่านี้ได้คะแนน PageRank ไปฟรีๆ
กูเกิลจะมองลิงก์เหล่านี้ว่าเป็น unnatural link หรือลิงก์ที่ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ และถ้าเข้าข่ายสแปม กูเกิลจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าของเว็บไซต์ที่ได้รับลิงก์เหล่านี้ผ่าน Search Console
คำแนะนำของกูเกิลคือให้เอาลิงก์ฝังใน widget เหล่านี้ออก หรือไม่ก็ใส่ rel="nofollow" เพื่อไม่ให้คิดคะแนน PageRank ก็ได้เช่นกัน
กูเกิลเพิ่มความสามารถให้ Google Search บน Android โดยมันสามารถค้นหาเนื้อหาภายในแอพบนเครื่องได้แล้ว (ตัวอย่างเช่น ค้นหาอีเมลใน Gmail หรือค้นหาข้อความใน Facebook Messenger)
วิธีการใช้งานก็แค่เปิดแอพ Google ขึ้นมาแล้วพิมพ์คำค้นตามปกติ แอพจะมีแท็บใหม่ชื่อ In Apps เพิ่มเข้ามา โดยแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากแอพในเครื่องของเรา (ก่อนหน้านี้ Google มีแท็บชื่อ Apps อันนั้นคือการค้นหาแอพจาก Play Store)
ในเบื้องต้น ฟีเจอร์นี้ใช้ได้กับ Gmail, Spotify, YouTube แต่จากนั้นจะมีแอพอื่นๆ เพิ่มมาอีก เช่น Facebook Messenger, LinkedIn, Evernote, Google Keep เป็นต้น ฟีเจอร์นี้ยังจะใช้ได้กับ LG V20 ที่จะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ โดยมีปุ่มลัดบนหน้าจอเพื่อเข้าถึงฟีเจอร์นี้
Google ได้เพิ่มเกมฆ่าเวลายอดนิยมอย่างเกม Solitaire และเกม OX ลงใน Google Search โดยเมื่อผู้ใช้ค้นหาคำว่า "solitaire" หรือคำว่า "tic-tac-toe" ผ่านทางหน้าเว็บหรือแอพ Google บนมือถือ ระบบจะแสดงการ์ดเกมไว้ด้านบนสุดของผลการค้นหาและสามารถเล่นเกมนั้นๆ ได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถเลือกความยากง่ายในการเล่นรวมถึงเกม OX สามารถเลือกเล่นกับเพื่อนด้วยจอเดียวกันได้อีกด้วย
ที่มา : Google Blog
กูเกิลประกาศการเปลี่ยนแปลงของระบบค้นหา Google Search บนอุปกรณ์พกพา 2 เรื่อง ดังนี้
กูเกิลยังเดินหน้าขยายการใช้งาน AMP ต่อไป เดิมทีนั้น Google Search บนอุปกรณ์พกพา แสดงเพจแบบ AMP เฉพาะเซคชั่นข่าว (Top Stories หรือ News) เท่านั้น แต่ล่าสุดกูเกิลกำลังจะปรับให้แสดง AMP กับผลการค้นหาแบบปกติด้วย
ผลการค้นหาที่รองรับ AMP จะแสดงไอคอนสายฟ้า กดไปแล้วจะเห็นเว็บเพจแบบ AMP แทน HTML ปกติ แต่ถ้าเว็บเพจนั้นไม่มี AMP ก็ยังต้องเปิดเว็บเพจ HTML ขึ้นมาเหมือนเดิม
ตอนนี้ Google Search แบบ AMP ยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว ใครสนใจลองเล่น สามารถคลิกได้ที่ https://g.co/ampdemo (ต้องเปิดจากมือถือเท่านั้น)
Google ได้เพิ่มความสามารถให้กับ Google Search คือเป็นการแจ้งเตือนเมื่อชื่อถูกกล่าวถึงบนอินเทอร์เน็ต ผ่านระบบ Google Alerts หนึ่งในสิบของผลิตภัณฑ์ของ Google ที่โลกลืม
วิธีทำงานของฟีเจอร์นี้ ถ้าคุณล็อกอินบัญชีของ Google เอาไว้ และอนุญาตให้ Google บันทึกกิจกรรมบนเว็บและแอพในบัญชีได้ เมื่อค้นหาชื่อคุณเอง Google จะแสดงวิดเจ็ตใหม่ที่ด้านล่างของหน้าแรกในหน้าค้นหา ให้ผู้ใช้ตั้งค่า Google Alerts เพื่อการติดตามอะไรก็ได้บนอินเทอร์เน็ตที่กล่าวถึงชื่อคุณไว้ โดยจะแจ้งเตือนผ่านการส่งข้อมูลมาทางอีเมล และสามารถกำหนดความถี่ในการส่ง, ภาษา และอื่น ๆ ได้ด้วย เพื่อให้แจ้งเตือนตามที่ต้องการ ไม่ให้บ่อยจนเกินไป
ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ดูจะเป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับทั้งค่ายเพลงและค่ายหนัง ทำให้ SNEP ค่ายเพลงในฝรั่งเศสได้ยื่นเรื่องไปยังศาลสูงของกรุงปารีส เพื่อให้ศาลมีคำสั่งบล็อกคีย์เวิร์ด "Torrent" ออกจากผลการค้นหาบน Google และ Bing อย่างไรก็ตามศาลกลับตัดสินไปอีกทาง
ศาลให้เหตุผลว่า ถึงแม้ฝรั่งเศสจะมีกฎหมายป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่การกรองผลการค้นหา จะเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและติดต่อสื่อสารของประชาชน รวมไปถึงเข้าข่ายการเซ็นเซอร์ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของศิลปิน 3 คนที่ค่ายเพลงยกมาเท่านั้น ขณะเดียวกันคำว่า "Torrent" ก็ยังมีการใช้งานอย่างถูกต้องอยู่อย่าง BitTorrent Protocol ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารเป็นต้น
ผู้ใช้คงจะคุ้นเคยกับการพิมพ์คำว่า "Speedtest" บน Google และเข้าไปยังหน้าเว็บของ Ookla แต่ล่าสุดดูเหมือน Google กำลังทดสอบเครื่องวัดความเร็วอินเทอร์เน็ตนี้ โดยฝังอยู่บนหน้าแสดงผลการค้นหาอยู่
ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตภาพสกรีนช็อตของฟีเจอร์ดังกล่าว รวมถึงพบหน้าซัพพอร์ทของ Google ที่พูดถึงการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตด้วย โดยหน้าเว็บระบุว่า Google ทดสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตผ่าน Measurement Lab อย่างไรก็ตามยังคงไม่มีภาพหน้าตาของเครื่องมือวัดความเร็วของ Google ออกมาให้เห็นแต่อย่างใดครับ
Google ได้เพิ่มฟีเจอร์แสดงเนื้อเพลงบนหน้าผลการค้นหา เวลาเสิร์ชชื่อเพลงแล้ว โดยเป็นผลมาจากการเซ็นสัญญากับบริษัท LyricFind ในการนำเนื้อเพลงมาแสดง
ตามปกติแล้วเนื้อเพลงถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ที่หลายเว็บไซต์นำไปแสดงอย่างผิดกฎหมาย โดยได้ผลประโยชน์จากโฆษณาบนหน้าเว็บ สัญญาครั้งนี้จะทำให้ผู้ใช้ที่ค้นหาเพลงจาก Google ได้กดเข้าไปดูเนื้อเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์ ซึ่งจะทำให้ค่ายเพลงได้เงินจากตรงนี้ไปด้วย โดยเว็บไซต์ Billboard ระบุว่าสัญญานี้ไม่ได้มีแต่เฉพาะเพลงภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเพลงสากลภาษาอื่นๆ ด้วย
Google ได้เซ็นสัญญากับ LyricFind ซึ่งเป็นบริการสำหรับค้นหาเนื้อเพลงเพื่อนำเนื้อเพลงมาแสดงใน Google Play Music และหน้าผลการค้นหาของ Google โดยเมื่อผู้ใช้ค้นหาเพลงตามด้วยคำว่า lyric ก็จะแสดงเนื้อเพลงจาก LyricFind ให้ทันที โดยไม่ต้องคลิกเข้าไปหาเนื้อเพลงในเว็บไซต์อื่น ๆ และ LyricFind ก็จ่ายเงินที่หารายได้จากเนื้อเพลงให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงอยู่แล้ว
Darryl Ballantyne ผู้บริหารของ LyricFinder กล่าวว่าสัญญานี้น่าจะช่วยให้ได้รายได้ที่เหล่าศิลปินและนักแต่งเพลงจะได้นั้นอยู่ที่ประมาณล้านดอลลาร์ โดยการจ่ายเงินจะขึ้นกับการดูข้อมูล คือถ้าผู้ใช้ยิ่งดูเยอะก็จะได้เงินเยอะด้วยเช่นกัน ส่วน Google ก็ทำลิงก์ไปยัง Google Play Music คือผู้ใช้สามารถกดเข้าไปซื้อเพลงได้ทันที