ระบบค้นหา Google Search ใช้สัญญาณหลายอย่างมาประมวลผลร่วมกันเพื่อจัดอันดับเว็บ เช่น คำค้น, ความใหม่ของเนื้อหา, พื้นที่ของผู้คนหา, จำนวนลิงก์ (ที่เราเรียกกัน PageRank)
สัญญาณประเภทหนึ่งที่กูเกิลนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2012 คือตัวคัดกรองสแปมผลการค้นหาชื่อ "Penguin" ที่ออกแบบมาจัดการกับพวกเว็บฟาร์มที่สร้างมาปั่นผลการค้นหาโดยเฉพาะ เดิมทีอัลกอริทึม Penguin จะปรับปรุงคะแนนของเว็บเป็นช่วงๆ แล้วค่อยนำคะแนนมาประมวลผลร่วมกับอัลกอริทึมหลัก (เว็บที่เคยถูกมองว่าเป็นสแปม ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะหลุดอันดับใน Penguin)
เมื่อเดือนสิงหาคม Google ได้เริ่มการทดสอบใช้งาน AMP ผ่าน Google Search กับผู้ใช้ไปแล้วนั้น ล่าสุดได้ประกาศว่ารองรับการใช้งาน AMP ผ่าน Google Search อย่างเป็นทางการทั่วโลกแล้ว โดยผู้ใช้สามารถใช้งานได้ผ่าน Google Search บนมือถือไม่ว่าจะเป็นแอพหรือเว็บ เมื่อเว็บไหนที่รองรับการใช้งาน AMP ก็จะแสดงไอคอนรูปสายฟ้าที่ผลการค้นหานั้นๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
Google ได้บอกว่ามีเนื้อหาที่รองรับ AMP แล้วมากกว่า 600 ล้านไซต์ มีเว็บไซต์ดังๆ ที่รองรับแล้วเช่น eBay, Reddit, WikiHow หรือ Skyscanner เป็นต้น และยังมีเว็บไซต์จากทั่วโลกที่รองรับการใช้งานแล้วมากกว่า 232 แห่งและ 104 ภาษา สามารถใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้
ที่มา : Google Inside Search
Google ออกมาเตือนการฝัง widget ลงบนหน้าเว็บ ที่อาจทำผิดกฎ Google Webmaster Guidlines และอาจมีผลต่อ SEO
widget ลักษณะนี้มีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ต้นทาง ปัญหาอยู่ที่เจ้าของเว็บไม่สามารถควบคุมลิงก์และข้อความที่ทำลิงก์ (anchor text) ได้ เนื่องจากฝังอยู่ในสคริปต์ของ widget ทำให้ลิงก์เหล่านี้ได้คะแนน PageRank ไปฟรีๆ
กูเกิลจะมองลิงก์เหล่านี้ว่าเป็น unnatural link หรือลิงก์ที่ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ และถ้าเข้าข่ายสแปม กูเกิลจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าของเว็บไซต์ที่ได้รับลิงก์เหล่านี้ผ่าน Search Console
คำแนะนำของกูเกิลคือให้เอาลิงก์ฝังใน widget เหล่านี้ออก หรือไม่ก็ใส่ rel="nofollow" เพื่อไม่ให้คิดคะแนน PageRank ก็ได้เช่นกัน
กูเกิลเพิ่มความสามารถให้ Google Search บน Android โดยมันสามารถค้นหาเนื้อหาภายในแอพบนเครื่องได้แล้ว (ตัวอย่างเช่น ค้นหาอีเมลใน Gmail หรือค้นหาข้อความใน Facebook Messenger)
วิธีการใช้งานก็แค่เปิดแอพ Google ขึ้นมาแล้วพิมพ์คำค้นตามปกติ แอพจะมีแท็บใหม่ชื่อ In Apps เพิ่มเข้ามา โดยแสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากแอพในเครื่องของเรา (ก่อนหน้านี้ Google มีแท็บชื่อ Apps อันนั้นคือการค้นหาแอพจาก Play Store)
ในเบื้องต้น ฟีเจอร์นี้ใช้ได้กับ Gmail, Spotify, YouTube แต่จากนั้นจะมีแอพอื่นๆ เพิ่มมาอีก เช่น Facebook Messenger, LinkedIn, Evernote, Google Keep เป็นต้น ฟีเจอร์นี้ยังจะใช้ได้กับ LG V20 ที่จะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ โดยมีปุ่มลัดบนหน้าจอเพื่อเข้าถึงฟีเจอร์นี้
Google ได้เพิ่มเกมฆ่าเวลายอดนิยมอย่างเกม Solitaire และเกม OX ลงใน Google Search โดยเมื่อผู้ใช้ค้นหาคำว่า "solitaire" หรือคำว่า "tic-tac-toe" ผ่านทางหน้าเว็บหรือแอพ Google บนมือถือ ระบบจะแสดงการ์ดเกมไว้ด้านบนสุดของผลการค้นหาและสามารถเล่นเกมนั้นๆ ได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถเลือกความยากง่ายในการเล่นรวมถึงเกม OX สามารถเลือกเล่นกับเพื่อนด้วยจอเดียวกันได้อีกด้วย
ที่มา : Google Blog
กูเกิลประกาศการเปลี่ยนแปลงของระบบค้นหา Google Search บนอุปกรณ์พกพา 2 เรื่อง ดังนี้
กูเกิลยังเดินหน้าขยายการใช้งาน AMP ต่อไป เดิมทีนั้น Google Search บนอุปกรณ์พกพา แสดงเพจแบบ AMP เฉพาะเซคชั่นข่าว (Top Stories หรือ News) เท่านั้น แต่ล่าสุดกูเกิลกำลังจะปรับให้แสดง AMP กับผลการค้นหาแบบปกติด้วย
ผลการค้นหาที่รองรับ AMP จะแสดงไอคอนสายฟ้า กดไปแล้วจะเห็นเว็บเพจแบบ AMP แทน HTML ปกติ แต่ถ้าเว็บเพจนั้นไม่มี AMP ก็ยังต้องเปิดเว็บเพจ HTML ขึ้นมาเหมือนเดิม
ตอนนี้ Google Search แบบ AMP ยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว ใครสนใจลองเล่น สามารถคลิกได้ที่ https://g.co/ampdemo (ต้องเปิดจากมือถือเท่านั้น)
Google ได้เพิ่มความสามารถให้กับ Google Search คือเป็นการแจ้งเตือนเมื่อชื่อถูกกล่าวถึงบนอินเทอร์เน็ต ผ่านระบบ Google Alerts หนึ่งในสิบของผลิตภัณฑ์ของ Google ที่โลกลืม
วิธีทำงานของฟีเจอร์นี้ ถ้าคุณล็อกอินบัญชีของ Google เอาไว้ และอนุญาตให้ Google บันทึกกิจกรรมบนเว็บและแอพในบัญชีได้ เมื่อค้นหาชื่อคุณเอง Google จะแสดงวิดเจ็ตใหม่ที่ด้านล่างของหน้าแรกในหน้าค้นหา ให้ผู้ใช้ตั้งค่า Google Alerts เพื่อการติดตามอะไรก็ได้บนอินเทอร์เน็ตที่กล่าวถึงชื่อคุณไว้ โดยจะแจ้งเตือนผ่านการส่งข้อมูลมาทางอีเมล และสามารถกำหนดความถี่ในการส่ง, ภาษา และอื่น ๆ ได้ด้วย เพื่อให้แจ้งเตือนตามที่ต้องการ ไม่ให้บ่อยจนเกินไป
ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ดูจะเป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับทั้งค่ายเพลงและค่ายหนัง ทำให้ SNEP ค่ายเพลงในฝรั่งเศสได้ยื่นเรื่องไปยังศาลสูงของกรุงปารีส เพื่อให้ศาลมีคำสั่งบล็อกคีย์เวิร์ด "Torrent" ออกจากผลการค้นหาบน Google และ Bing อย่างไรก็ตามศาลกลับตัดสินไปอีกทาง
ศาลให้เหตุผลว่า ถึงแม้ฝรั่งเศสจะมีกฎหมายป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่การกรองผลการค้นหา จะเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและติดต่อสื่อสารของประชาชน รวมไปถึงเข้าข่ายการเซ็นเซอร์ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของศิลปิน 3 คนที่ค่ายเพลงยกมาเท่านั้น ขณะเดียวกันคำว่า "Torrent" ก็ยังมีการใช้งานอย่างถูกต้องอยู่อย่าง BitTorrent Protocol ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารเป็นต้น
ผู้ใช้คงจะคุ้นเคยกับการพิมพ์คำว่า "Speedtest" บน Google และเข้าไปยังหน้าเว็บของ Ookla แต่ล่าสุดดูเหมือน Google กำลังทดสอบเครื่องวัดความเร็วอินเทอร์เน็ตนี้ โดยฝังอยู่บนหน้าแสดงผลการค้นหาอยู่
ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตภาพสกรีนช็อตของฟีเจอร์ดังกล่าว รวมถึงพบหน้าซัพพอร์ทของ Google ที่พูดถึงการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตด้วย โดยหน้าเว็บระบุว่า Google ทดสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตผ่าน Measurement Lab อย่างไรก็ตามยังคงไม่มีภาพหน้าตาของเครื่องมือวัดความเร็วของ Google ออกมาให้เห็นแต่อย่างใดครับ
Google ได้เพิ่มฟีเจอร์แสดงเนื้อเพลงบนหน้าผลการค้นหา เวลาเสิร์ชชื่อเพลงแล้ว โดยเป็นผลมาจากการเซ็นสัญญากับบริษัท LyricFind ในการนำเนื้อเพลงมาแสดง
ตามปกติแล้วเนื้อเพลงถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ที่หลายเว็บไซต์นำไปแสดงอย่างผิดกฎหมาย โดยได้ผลประโยชน์จากโฆษณาบนหน้าเว็บ สัญญาครั้งนี้จะทำให้ผู้ใช้ที่ค้นหาเพลงจาก Google ได้กดเข้าไปดูเนื้อเพลงที่ถูกลิขสิทธิ์ ซึ่งจะทำให้ค่ายเพลงได้เงินจากตรงนี้ไปด้วย โดยเว็บไซต์ Billboard ระบุว่าสัญญานี้ไม่ได้มีแต่เฉพาะเพลงภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเพลงสากลภาษาอื่นๆ ด้วย
Google ได้เซ็นสัญญากับ LyricFind ซึ่งเป็นบริการสำหรับค้นหาเนื้อเพลงเพื่อนำเนื้อเพลงมาแสดงใน Google Play Music และหน้าผลการค้นหาของ Google โดยเมื่อผู้ใช้ค้นหาเพลงตามด้วยคำว่า lyric ก็จะแสดงเนื้อเพลงจาก LyricFind ให้ทันที โดยไม่ต้องคลิกเข้าไปหาเนื้อเพลงในเว็บไซต์อื่น ๆ และ LyricFind ก็จ่ายเงินที่หารายได้จากเนื้อเพลงให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงอยู่แล้ว
Darryl Ballantyne ผู้บริหารของ LyricFinder กล่าวว่าสัญญานี้น่าจะช่วยให้ได้รายได้ที่เหล่าศิลปินและนักแต่งเพลงจะได้นั้นอยู่ที่ประมาณล้านดอลลาร์ โดยการจ่ายเงินจะขึ้นกับการดูข้อมูล คือถ้าผู้ใช้ยิ่งดูเยอะก็จะได้เงินเยอะด้วยเช่นกัน ส่วน Google ก็ทำลิงก์ไปยัง Google Play Music คือผู้ใช้สามารถกดเข้าไปซื้อเพลงได้ทันที
คาดว่าผู้อ่านคงเคยมีประสบการณ์ค้นหาอาการป่วยจาก Google และผลลัพธ์คือ "ไม่ได้ผลลัพธ์อะไรเลย" เพราะมีบทความปรากฏขึ้นมาเยอะมากเกินกว่าจะรู้ว่าอันไหนเกี่ยวข้องกับอาการที่คุณเป็นอยู่จริงๆ หรือไม่ก็พบว่าคุณอาจเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงน่ากลัวจากการค้นหาด้วยคำว่า "ปวดหัว"
ล่าสุด Google ออกมาบอกว่าการค้นหาอาการป่วยจะดีขึ้นกว่าเดิม Google ร่วมมือกับทีมแพทย์ทั้งแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และ Mayo Clinic ในด้านคอนเทนต์อาการป่วย เพื่อให้ผลการค้นหามีประสิทธิภาพและเกี่ยวข้องกับอาการจริงมากขึ้น แสดงอาการที่พบบ่อย และเสนอหนทางรักษาเบื้องต้นด้วย (Google ยังยืนยันว่าเป็นประโยชน์ด้านข้อมูล การพบแพทย์ยังจำเป็นอยู่)
Google Search อยู่ในระห่างอัปเดต ใช้ได้ช่วงอาทิตย์หน้า และใช้ได้แค่ภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยอนาคตจะพัฒนาให้ครอบคลุมอาการป่วยอื่นและภาษาอื่นๆด้วย
ที่มา - Google Official Blog
Google เริ่มปรับปรุงหน้าเว็บ Google Search ทั้งหน้าแรกและหน้าแสดงผลการค้นหาบนคอมพิวเตอร์ โดยรอบนี้เปลี่ยนไปใช้ Material Design ที่คล้ายกับบน Android, Chrome OS และบนเว็บ
ในหน้าผลการค้นหา Google จะเลือกใช้พื้นหลังสีเทาสว่าง และผลการค้นหาแต่ละผลการค้นหาจะถูกใส่ไว้ในกล่องสีขาวและมีเงาเล็กๆ ส่วนตัวไอคอนจะถูกปรับเปลี่ยนเหมือนกัน เช่น การตั้งค่าที่เป็นรูปฟันเฟือง เปลี่ยนเป็นจุดสามจุดเรียงตั้งแทน ส่วนเนื้อหาแบบ informative modules ที่ Google แสดงข้างๆ ผลการค้นหา เช่นเมื่อค้นคำว่า Run The Jewels จะแสดง card ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับนักดนตรีและอีเว้นท์ที่จะเกิดขึ้น
Google ได้ออกอัพเดตแอพ Google Search บน iOS เวอร์ชัน 15.1 ซึ่ง Google ได้อธิบายไว้ว่า แอพเวอร์ชันใหม่นี้จะมีฟีเจอร์ที่สำคัญ ดังนี้
กูเกิลปรับวิธีการแสดงผลของ Google Search บนอุปกรณ์พกพาอีกรอบ โดยเพิ่มการแสดงการ์ดข้อมูลพร้อมภาพประกอบ ที่เรียกว่า 'rich card' เข้ามาที่ด้านบนของผลการค้นหา
การ์ดข้อมูลแบบใหม่จะถูกแสดงเป็นรายการวนแนวนอน (carousel) ผู้ใช้งานสามารถเลื่อนไปมาได้ก่อนกดลิงก์ กูเกิลระบุว่าเจ้าของเว็บจะแสดงภาพรีวิวเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ง่ายและเตะตามากขึ้น ผ่านการระบุข้อมูลอย่างเจาะจง (metadata) ในฟอร์แมต JSON-LD เพิ่มเข้ามา
ในช่วงแรก rich card จะรองรับข้อมูลประเภท "เมนูอาหาร" และ "ภาพยนตร์" ใน Google Search ภาคภาษาอังกฤษก่อน ข้อมูลแบบ rich card จะถูกแสดงผลเฉพาะบนมือถือเท่านั้น
ที่มา - Google Webmaster Blog
หลังจากที่ Google Play Music รองรับการฟัง Podcast ในตัวไปแล้ว ตอนนี้ Google ก็ได้เพิ่มความสามารถนี้ลงไปในแอพ Google Search บน Android ด้วย
วิธีฟัง Podcast บนแอพ Google Search เพียงแค่ค้นหา Podcast ที่อยากฟัง จากนั้น Google จะแสดงตอนล่าสุด 3 ตอนของ Podcast ซึ่งสามารถกดปุ่ม play เพื่อฟังได้ทันที และมีตัวเลือกให้ดูรายละเอียดของตอนอื่นๆ รวมถึง Podcast ที่เล่นในแอพ Google Search สามารถเล่นใน background ด้วย ฉะนั้นไม่ว่าจะล็อคหน้าจอหรือใช้งานแอพอื่นก็สามารถฟัง Podcast ต่อได้
ที่มา - Google Inside Search
กูเกิลประกาศจะเพิ่มน้ำหนักให้ปัจจัยเรื่อง mobile-friendliness หรือความเป็นมิตรต่ออุปกรณ์พกพา ในการจัดลำดับผลการค้นหา โดยจะมีผลในเดือนพฤษภาคม 2016 เป็นต้นไป
เจ้าของเว็บไซต์ท่านใดที่อยากรู้ว่าเว็บของตัวเอง มีค่า mobile-friendliness มากน้อยแค่ไหน เช็คคะแนนได้ที่ Mobile-Friendly Test และอ่านคำแนะนำเรื่องการทำเว็บให้เหมาะกับอุปกรณ์พกพาที่ Mobile Friendly Websites
หลังจากที่ศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรปได้สั่งให้เสิร์ชเอ็นจินต้องลบผลการค้นหาตามคำร้องขอ ผู้ให้บริการเสิร์ชเอ็นจินรายใหญ่อย่างกูเกิลก็ได้ยอมทำตาม โดยที่ผู้ใช้จะไม่สามารถค้นหาผลที่ถูกลบได้ผ่านกูเกิลเวอร์ชันสำหรับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อาทิ google.co.uk สำหรับสหราชอาณาจักร) ต่อมาศาลพยายามขยายสิทธิ์ที่จะถูกลืมไปยังส่วนอื่นทั้งหมดของผู้ให้บริการสำหรับการให้บริการในสหภาพยุโรป
อาทิตย์ที่ผ่านมา Google ได้จับมือกับรายการเพลงของเกาหลี M Countdown ของช่อง Mnet เปิดตัวฟีเจอร์โหวตศิลปินเกาหลีที่ชื่นชอบผ่านทาง Google Search ได้ทันที
การใช้งานฟีเจอร์นี้ไม่จำเป็นต้องลงแอพอะไรทั้งสิ้น ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานผ่าน google.com แล้วค้นหาคำว่า M Countdown Vote, vote M Countdown หรือ MCountdown vote ก็ได้ (ผ่านมือถือและแท็บเล็ตเท่านั้น) จากนั้น Google จะแสดงการ์ดฟีเจอร์นี้ขึ้นมา ก่อนโหวตต้องล็อกอินด้วยบัญชีของ Google ก่อน จากนั้นเลือกศิลปินที่ชื่นชอบได้เพียงคน/กลุ่มเดียว แล้วกดโหวตได้ทันที สามารถโหวตได้เพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์และเปลี่ยนแปลงไม่ได้เมื่อส่งผลโหวตไปแล้ว
คนทำ SEO รุ่นก่อนคงคุ้นเคยกับการดูค่า PageRank ใน Google Toolbar กันเป็นอย่างดี แต่ช่วงหลังเมื่อกูเกิลปรับนโยบาย พยายามซ่อนไม่ให้เห็นค่า PageRank เป็นตัวเลข วิธีการเหล่านี้ก็ถูกลดความสำคัญลงเรื่อยมา (กูเกิลถอด PageRank ออกจาก Toolbar ของตัวเองมานานแล้ว แต่ยังมีเครื่องมือจาก 3rd party ที่ใช้ดูข้อมูลได้อยู่)
ล่าสุด กูเกิลยืนยันกับเว็บไซต์ Search Engine Land ว่าถอดฟีเจอร์ Toolbar PageRank อย่างเป็นทางการแล้ว ในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ตัวเลข PageRank เหล่านี้จะไม่ถูกแสดงผลอีกต่อไป
วงการท่องเที่ยวออนไลน์มาถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อกูเกิลเปิดตัวฟีเจอร์ Google Destinations ระบบค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวครบวงจรได้จาก Google Search
วิธีการใช้งานคือพิมพ์คำค้นเกี่ยวกับท่องเที่ยวลงใน Google Search บนมือถือ แล้วพ่วงคำว่า "destinations" ลงไป ระบบจะแสดงข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาที่เหมาะสม ราคาโดยประมาณ เราสามารถคลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม เช่น แผนการท่องเที่ยวตัวอย่าง ราคาโรงแรม ค่าใช้จ่ายทั้งทริปตามจำนวนวันที่เราต้องการ รวมถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว ที่คนน่าจะน้อยที่สุด เป็นต้น
ข่าว กูเกิลเลิกแสดงโฆษณา AdWords ด้านขวามือในหน้าผลการค้นหา เพิ่มตำแหน่งโฆษณาด้านบน สร้างผลกระทบต่อวงการ SEO และ online marketing อยู่พอสมควร ซึ่ง Blognone เคยลงบทวิเคราะห์จากบริษัท iProspect มาแล้วครั้งหนึ่ง คราวนี้เป็นบทวิเคราะห์อีกชิ้นที่เขียนโดย Matt Lawson พนักงานของกูเกิลเอง
Lawson วิเคราะห์คล้ายๆ กันว่าสล็อตโฆษณาในหนึ่งหน้าลดจาก 11 สล็อตเหลือ 7 สล็อต โฆษณาที่ถูกแสดงผลจึงมีโอกาสตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
Google เริ่มเปิดระบบโพสต์ข้อความลงบนหน้าผลการค้นหา ให้กับองค์กรธุรกิจ, คนดัง และแบรนด์ใหญ่ๆ ใช้งานแล้ว จากก่อนหน้านี้จำกัดให้เฉพาะเหล่าผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีโพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับการดีเบตและจุดยืนไปก่อน
สำหรับโพสต์ในหน้าการค้นหาของ Google จะมีดีไซน์เป็น cards เหมือนบนมือถือ สามารถปาด, คลิก หรือแตะเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ตัวโพสต์สามารถแชร์ได้ แต่ไลค์หรือคอมเม้นท์ไม่ได้
Google บอกว่าระบบนี้จะทำให้ผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกับข้อความ, รูปภาพ และวิดีโอผ่านทาง search engine ได้โดยตรง ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามสร้างผลการค้นหาให้ดูมีชีวิตชีวา โดยตอนนี้ Google ยังไม่มีแผนเก็บเงินจากบริการ
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เป็นวัน Super Tuesday เลือกตั้งตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคการเมืองในสหรัฐ (ขณะนี้เลือกไปแล้ว 10 กว่ารัฐจาก 50 รัฐ) และ Donald Trump ผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันกำลังมีคะแนนนำในหลายรัฐ
หลังจากผลการเลือกตั้งออกมา พนักงานของกูเกิล Simon Rogers ได้ทวีตเกี่ยวกับสถิติการค้นหาว่าคำถาม "ฉันจะย้ายไปอยู่แคนาดาได้อย่างไร" พุ่งขึ้นในระบบถึง 350% ในเวลาเพียง 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นตอนเที่ยงคืนตามเวลาสหรัฐฯ ยอดค้นหาเดียวกันนี้ยังพุ่งต่อเนื่องขึ้นไปถึง 1,150% เลยทีเดียว และตามมาห่างๆ ด้วยคำถามแนวเดียวกันอีก 4 ลำดับ