ปัญหาหน้าตาที่ไม่สวยงามและความยุ่งยากในการใช้งานเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาลไม่ได้มีอยู่แค่ประเทศไทยเรา ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาก็มีปัญหานี้มายาวนาน ในที่สุดทีม 18F หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งมาเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาบริการทางดิจิตอลของภาครัฐให้ง่ายขึ้น ร่วมกับ U.S. Digital Service (USDS) ได้ประกาศโครงการสร้างมาตรฐานการออกแบบเว็บไซต์สำหรับหน่วยงานรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา
นอกจากต้องเดินหน้าประเด็นร้อนอย่างการทำให้เมืองไทยมี Single Gateway แล้ว อีกผลงานของรมว. ไอซีทีคนใหม่ นายอุตตม สาวนายน คือกระบวนการร่างชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล ว่าด้วยร่างพ.ร.บ. ทั้ง 8 ฉบับที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล่าสุดมีรายงานว่าถูกดึงกลับมาทบทวนใหม่เกือบทั้งหมด
ทางการฟิลิปปินส์ประกาศแผนขยายโครงข่าย Wi-Fi ฟรีครั้งใหญ่ โดยมีเป้าหมายจะครอบคลุมทั่วประเทศก่อนสิ้นปี 2016 ด้วยงบลงทุน 1.5 พันล้านเปโซต่อปี (ประมาณ 1,150 ล้านบาท)
แนวทางของแผนขยายโครงข่าย Wi-Fi นี้ออกมาเพื่อกดดันผู้ให้บริการรายใหญ่ทั้งสองเจ้าอย่าง Philippine Long Distance Telephone Co. และ Globe Telecom Inc ซึ่งคิดค่าบริการแพงกว่าราคาเฉลี่ยทั่วโลกถึงเกือบ 4 เท่าตัว พร้อมกับขยายไปยังจุดที่สัญญาณไปไม่ถึงอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม Wi-Fi ฟรีนี้จะจำกัดความเร็วไว้ที่ 256kbps ซึ่งดูแล้วอาจจะน้อย แต่ก็เพียงพอสำหรับใช้บริการพื้นฐานอินเทอร์เน็ตต่างๆ รวมถึง Facebook ด้วย ตามแผนระบุว่าจะครอบคลุมให้ได้ถึงครึ่งหนึ่งในปี 2015 ก่อนขยายทั่วประเทศในปี 2016
NATO Communications and Information Agency หน่วยงานความมั่นคงสารสนเทศของนาโต้ตกลงเข้าร่วม Government Security Program (GSP) โครงการนี้ทำให้นาโต้สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์สำคัญๆ หลายตัวของไมโครซอฟท์ พร้อมกับสิทธิพิเศษในการแจ้งเตือนความปลอดภัย
โครงการความปลอดภัยนี้ทำให้ชาติที่สงสัยว่าไมโครซอฟท์แอบฝังช่องโหว่ใดไว้หรือไม่ สามารถเข้าตรวจสอบซอร์สโค้ดได้ด้วยตัวเอง พร้อมกับเข้าถึงเอกสารทางเทคนิคเพิ่มเติม
ตอนนี้ GSP มีสมาชิกแล้ว 40 หน่วยงานรวม 25 รัฐบาลทั่วโลก
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (8 กันยายน 2558) อนุมัติมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีประเด็นที่เกี่ยวกับธุรกิจเกิดใหม่ (startup ทุกประเภทไม่จำกัดเฉพาะไอที) ดังนี้
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) ประกาศเตรียมจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้เทคโนโลยีไอทีสำหรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงจะเปิด TED Talk ในฝั่งภาครัฐด้วย
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการของสำนักงานฯ ระบุว่า การเปิดสถาบันการเรียนรู้ในครั้งนี้ เพราะเนื่องจากต้องการให้เจ้าหน้าที่รัฐมีความเข้าใจในเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น โดยในช่วงแรกจะเปิดสอนเนื้อหาเกี่ยวกับ IPv6 และจะขยายเนื้อหาไปในส่วนอื่นๆ เช่น Big Data, Internet of Things เป็นต้น
นอกจากนี้ยังระบุว่า เตรียมที่จะจัด TED Talk ในรูปแบบของภาครัฐ เพื่อทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเกิดความตื่นตัวในการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้กับการทำงานด้วย
ที่มา - อีเมลข่าวประชาสัมพันธ์
Press Release 31/8/58
ตั้งแต่ที่สี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน ออกนโยบายตรวจเข้มความปลอดภัยบนโลกอินเทอร์เน็ตเมื่อปี 2013 เป็นผลให้มีการสืบสวนคดีความคิดออนไลน์กว่า 7,400 รายการเมื่อปีก่อน จนเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา จีนเพิ่งประกาศแผนกวาดล้างอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ และออกมารายงานผลอย่างเป็นทางการแล้ว
โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ ออกมาเผยตัวเลขของผู้กระทำความผิดผ่านอินเทอร์เน็ตที่ถูกจับกุมแล้วกว่า 15,000 ราย โดยนโยบายนี้มุ่งเป้าไปที่แหล่งที่มาของเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย หรือให้ข้อมูลอันตราย/บิดเบือน รวมถึงการสืบหาต้นตอของกลุ่มอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งแผนต่อไปคือการเพิ่มความเข้มข้นในการทะลายกลุ่มอาชญากรรมออนไลน์ให้เด็ดขาดยิ่งขึ้น
ตามที่มีกระแสข่าวช่วงที่ผ่านมา ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้นำรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนในหลายตำแหน่งขึ้นทูลเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้ว ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที โดยเปลี่ยนจาก ดร.พรชัย รุจิประภา เป็น ดร.อุตตม สาวนายน
ประเด็นร้อนในตอนนี้อย่างแผนการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหญ่ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทีมเศรษฐกิจจาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ไปเป็นสมคิด จาตุศรีพิทักษ์แทน คาดกันว่าจะส่งผลกระทบกับโครงการเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ตอนนี้ก็มีความเห็นจากนายสิทธิชัย โภไคยอุดม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจออกมาบอกว่านโยบาย Digital Economy ส่อแววล่มแล้วหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้
โดยนายสิทธิชัยให้ความเห็นว่า พร้อมข้อมูลประกอบว่า ตั้งแต่ที่ทีมเศรษฐกิจได้ร่างกฎหมายเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย Digital Economy ยังไม่เคยได้ผ่านเข้าไปสู่กระบวนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามกระบวนการ เพราะถูกดองไว้ที่สำนักนายกรัฐมนตรี
ในวันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะการสื่อสารที่ส่งผลกับเด็ก ซึ่งพลเอกประยุทธ์ได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของโลกอินเทอร์เน็ต และโลกโซเชียลที่จะมีผลกับเด็ก ส่งผลให้เด็กโตไปเป็นคนที่ก้าวร้าว โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า
เมื่อวานนี้ (2 มิ.ย. 2558) มีการเผยแพร่ช่องโหว่ ที่อ้างว่าเป็นของเว็บแอพพลิเคชันซึ่งถูกพัฒนาและใช้กันมากในหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่นๆ โดยเป็นช่องโหว่ประเภท SQL injection และกลุ่มแฮกเกอร์ชาวอินเดียเป็นผู้ประกาศช่องโหว่และวิธีการโจมตี
ช่องโหว่นี้จะเป็นการสร้างคำสั่ง SQL ไปยังพารามิเตอร์ &id_sub_menu=
ในไฟล์ /core_main/module/web/blog/blog.php
ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีเข้าถึงข้อมูลในระบบได้โดยไม่ได้รับอนุญาต และในกรณีที่เว็บไซต์นั้นมีความปลอดภัยอยู่ในระดับต่ำ ความเสียหายของการโจมตีจะยิ่งร้ายแรงมากขึ้น จากการตรวจสอบพบว่ามีเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่นี้อยู่ถึง 53,100 ราย ทางที่ดีที่สุดคือควรหยุดใช้งานในทันทีครับ
ThaiCERT ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เตรียมเข้าไปช่วยหน่วยงานภาครัฐไทยเพิ่มระบบความปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้น หลังหน่วยงานภาครัฐถูกโจมตีอย่างมากในช่วงหลัง
โครงการของ ThaiCERT จะเรียกว่า ThaiCERT Government Monitoring System (ThaiCERT GMS) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ปีนี้ประเด็นสำคัญของโลกออนไลน์ไทยคงเป็นประเด็นกฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอลที่ออกมารวดเดียวสิบฉบับ ขณะที่แรงสนับสนุนกฎหมายเหล่านี้มาจากฝั่งทหาร ที่ระบุว่า "ไม่ได้ทำผิดก็ไม่ต้องกลัวการตรวจสอบ" เมื่อปี 2555 คณะกรรมมาธิการทหาร วุฒิสภา ได้ทำรายงาน "สื่อสังคมออนไลน์กับภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ" (PDF จากเว็บวุฒิสภา) เนื้อหาของรายงานฉบับนี้น่าจะทำให้เราได้เข้าใจมุมมองของการผลักดันกฎหมายและนโยบายหลายอย่างในปีที่ผ่านมา วันนี้ผมจึงยกประเด็นหลายประเด็นจากรายงานนี้มาสรุปไว้
เนื่องด้วยผมมีโอกาสได้ไปเข้าชมงาน eGov Day 2015 ที่จัดขึ้นที่ลาน Eden ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. โดยเฉพาะบูธโครงการ Smart Citizen Info ตามคำเชิญชวนของโปรแกรมเมอร์ที่ผมรู้จักท่านนึงซึ่งมีส่วนร่วมโดยตรงกับโครงการนี้ แม้ว่าจะโดนชวนตั้งแต่ปีที่แล้ว (เกือบลืมไปแล้ว) แต่ด้วยความสงสัยที่มีต่อบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดว่าตกลงมันมีประโยชน์อย่างไรจะได้ใช้งานจริงได้เมื่อไหร่ จึงได้เดินทางไปหาคำตอบที่ผมเองเชื่อว่าหลายๆ คนก็คงอยากทราบเช่นกัน
ข่าวต่อเนื่องจากกสทช. เห็นชอบให้เลื่อนการจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอล ในการประชุมวันเดียวกันทางกสทช. ก็อนุมัติเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นจำนวนเงินกว่า 47 ล้านบาท โดยผ่านการอนุมัติทั้งหมด 14 โครงการ แต่มีโครงการด้านไอที ทั้งหมด 7 โครงการ ได้แก่
นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ บุตรชายคนโตของนายลี กวนยู กล่าวปาฐกถาในงาน Founders Forum แสดงวิสัยทัศน์ถึงนโยบาย Smart Nation ของสิงคโปร์ แม้เนื้อหาส่วนมากจะพูดถึงภาพรวมของนโยบายไอทีประเทศ แต่ช่วงหนึ่งเขาก็พูดถึงเรื่องส่วนตัว ว่าเขาเคยเพลิดเพลินกับการเขียนโปรแกรม โดยโปรแกรมสุดท้ายที่เขาเขียน คือโปรแกรมแก้ Sudoku ที่เขียนด้วย C++ เขาระบุว่าเพราะเขาเขียน C++ จึงค่อนข้างล้าสมัยแล้ว และลูกชายทั้งสองคนของเขาเรียนด้านไอทีจบจาก MIT แนะนำให้เขาอ่านหนังสือสอนภาษา Haskell เขาคิดว่าจะอ่านมันหลังจากเกษียณอายุแล้ว
ศูนย์ความร่วมมือป้องกันไซเบอร์แห่งนาโต้ (NATO Cooperative Cyber Defence Centre of Excellence - CCDCOE) เริ่มงาน Locked Shields 2015 งานซ้อมป้องกันการโจมตีไซเบอร์ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก ปีนี้มีชาติเข้าร่วม 16 ชาติ รวมผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 คน
การซ้อมครั้งนี้จะซ้อมป้องกันการโจมตีระดับรัฐ ผู้เข้าร่วมจะได้รับมอบหมายให้ป้องกันโครงสร้างของประเทศสมมติที่ชื่อว่า Berylia อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งระหว่างชาตินาโต้และรัสเซียทำให้ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าการจำลองครั้งนี้น่าจะจำลองจากการโจมตีจากแฮกเกอร์ที่รัฐบาลรัสเซียหนุนหลัง
หลังจาก กสทช. สุทธิพล ทวีชัยการ ลาออกไปเป็น กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปีที่แล้ว ทำให้คณะกรรมการ กสทช. เหลือ 10 คนจากเดิม 11 คน และต้องสรรหากรรมการคนใหม่มาทำหน้าที่แทน
เพิ่มเติมจากที่คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลฯ ประกาศแผนจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ ในงานสัมมนาที่จัดขึ้นโดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) ว่าด้วยการปูแผนงานเพื่อรับกับการก้าวไปสู่รัฐบาลดิจิทัลยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจอีกดังนี้
เริ่มต้นด้วยเรื่องการขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้มีการจัดตั้งบรอดแบนด์แห่งชาติสำหรับติดตั้งเครือข่ายใยแก้วนำแสงให้เข้าถึงได้จากทุกพื้นที่ทั้งสถานประกอบการ หรือพื้นที่พักอาศัยของประชาชน โดยไม่ต้องออกกฎหมายมารองรับ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 นี้
ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 (งานเดียวกับข่าวเห็นชอบ กสทช. เดินหน้าประมูล 4G) คณะกรรมการฯ ยังมีมติให้หน่วยงานราชการไทยไม่สามารถของบซื้อ-ทำศูนย์ข้อมูล (data center) เฉพาะหน่วยงานของตัวเองได้อีกต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนมาใช้ "ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ" แทน ตามแผนการบูรณาการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Data Center Consolidation) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณ
ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลโครงการในเร็วๆ นี้ โดยโครงการจะต้องดำเนินการเสร็จภายใน 12 เดือน ตอนนี้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (EGA) กำลังศึกษารายละเอียด
ในยุคสมัยแห่ง big data ที่การวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลสหรัฐก็ตอบรับความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการแต่งตั้ง "หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ข้อมูล" (Chief Data Scientist) ขึ้นมาวางนโยบายด้าน big data ของประเทศแล้ว
รัฐบาลบารัค โอบามา ใช้วิธีดึงผู้บริหารสายไอทีไปช่วยงานหลายคน โดยสหรัฐอเมริกามีทั้ง CTO (Chief Technology Officer) และ CIO (Chief Information Officer) ครั้งแรกในสมัยรัฐบาลโอบามารอบแรก
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ว่า โลกโซเชียลมีเดียในปัจจุบันนั้นมีความโหดร้ายอยู่มาก โดยเฉพาะการให้ร้ายคนอื่นอย่างไม่มีหลักฐานหรือข้อเท็จจริง ที่ทำให้คนเสพข้อมูลเหล่านี้เกิดความโกรธเกลียดซึมลึกเข้าไปในใจ โดยไม่มีการให้อภัยกัน ซึ่งพลเอกประยุทธ์มองว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ควรจะมีการให้อภัยกันบ้าง และถ้ามีอะไรขัดข้อง ตนเองก็พร้อมพูดคุยและเข้าสู่กระบวนการ เพื่อไม่ให้ลุกลามบานปลาย ทั้งนี้ขอให้ทุกคนไม่ใช้โซเชียลเป็นช่องทางในการตอบโต้กัน เพื่อแสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย สร้างตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน
หนึ่งสัปดาห์หลังพันโทกิตติภพ เธียรสิริวงษ์ แสดงความเห็นในงานเสวนาพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ว่า "ไม่ได้ทำผิดก็ไม่ต้องกลัวการตรวจสอบ" เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางเว็บสำนักข่าวอิศราก็ได้รับแจ้งจากบริษัท CSLOXINFO อ้างคำสั่งคสช. ให้ระงับบทความบัญชีทรัพย์สินของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยเหตุผลว่า "ยุยง+ปลุกระดม"
คำสั่งนี้ส่งมาทางออนไลน์ เมื่อตรวจสอบกลับไปยังปลัดไอซีทีก็ยังไม่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจน
เมื่อวานนี้ (6 ก.พ.) ตัวแทนสมาคมวิชาชีพด้านสื่อและไอทีหลายราย เช่น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ดูแแลเว็บไทย, สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, สมาคมผู้ผลิตสื่อออนไลน์, กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ได้เข้าพบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอความเห็นต่อร่างกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในชั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายวิษณุ ให้สัมภาษณ์หลังการพูดคุยว่ารัฐบาลต้องการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยยอมรับว่าร่างกฎหมายชุดนี้มีปัญหาจริงใน 3 ประเด็น คือ