เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท) แถลงว่าสามารถจับกุมตัวแฮกเกอร์ 9Near ที่โพสต์ขายข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายการ ได้แล้ว โดยเจ้าตัวเข้ามามอบตัวกับตำรวจ
ขณะที่ข้อมูลคนไทย เจ้าตัวยอมรับว่าซื้อมาจาก Dark Web ในราคาเพียง 8,000 บาท แต่ได้มาไม่ถึง 55 ล้านรายการ พร้อมยืนยันว่าข้อมูลยังไม่ได้รั่วไหลไปไหน ส่วนการโพสต์ขายนั้น เพียงเพราะอยากรู้เท่านั้น
ตำรวจไซเบอร์ชี้แจงด้วยว่าจ่าสิบโทคนดังกล่าว เรียนจบปริญญาตรี คณะสารสนเทศ ทำให้มีความรู้ด้านนี้เป็นอย่างดี ขณะที่ภรรยาที่เบื้องต้นตกเป็นผู้ต้องสงสัยร่วมกระทำความผิด หลังการสอบปากคำก็พบว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
MSI ยอมรับว่าโดนแฮ็กระบบภายใน แฮ็กเกอร์เข้าถึงซอร์สโค้ดของบริษัทด้วย ทำให้ MSI ต้องออกมาเตือนลูกค้าว่าจากนี้ไปขอให้ดาวน์โหลดไฟล์เฟิร์มแวร์ หรือ BIOS จากช่องทางอย่างเป็นทางการของบริษัทเท่านั้น เพราะมีโอกาสโดนฝังมัลแวร์สูงหากดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ภายนอก
เหตุการณ์นี้มีแก๊งแรนซัมแวร์ชื่อ Money Message ออกมาประกาศตัวว่าได้ข้อมูลของ MSI ไป และเรียกค่าไถ่เป็นเงิน 4 ล้านดอลลาร์ แลกกับการไม่ปล่อยข้อมูลเหล่านี้ต่อสาธารณะ
เมื่อ 15.00 ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท) แถลงข่าวกรณีการจับกุมแฮกเกอร์ 9Near ที่แฮกข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน ระบุว่าคนร้ายเป็นทหารยศ จ่าสิบโท โดยต้นสังกัดที่ทำงาน ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภารกิจด้านเทคโนโลยี และจากการสืบสวน คนร้ายมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก ส่วนแรงจูงใจคาดว่าน่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว
Western Digital แถลงว่าโดนบุกรุกเข้าระบบเครือข่ายภายใน โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2023
บริษัทระบุว่าแฮ็กเกอร์เข้าถึงระบบภายในจำนวนหนึ่ง จึงต้องนำระบบบางส่วนออฟไลน์ไปก่อน ตอนนี้บริษัทอยู่ระหว่างการสอบสวนและกำลังฟื้นระบบกลับคืนมา
Western Digital คาดว่าแฮ็กเกอร์ได้ข้อมูลภายในไปด้วย แต่ยังไม่ระบุชัดว่ามีอะไรบ้าง และจะประกาศให้ทราบกันต่อไป
ระบบหนึ่งของ Western Digital ที่ถูกปิดไปในช่วงนี้คือ My Cloud ระบบแบ็คอัพสำหรับลูกค้าทั่วไปของบริษัท ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยขณะที่เขียนข่าวนี้ ระบบ My Cloud ยังขึ้นสถานะเป็นออฟไลน์อยู่
แฮกเกอร์ที่ใช้นามแฝงบนเว็บบอร์ด Bleach ว่า 9Near โพสต์ขายข้อมูลส่วนตัวคนไทยจำนวน 55 ล้านรายการ ประกอบไปด้วยเลขบัตรประชาชน ชื่อ ที่อยู่ วันเกิดและเบอร์โทรศัพท์ โดยเจ้าตัวบอกว่า ได้ข้อมูลนี้จากหน่วยงานภาครัฐ แต่ไม่ระบุหน่วยงาน
ที่มา - Breach Forums
จากกรณี LastPass โดนแฮ็กครั้งใหญ่ สาเหตุมาจากวิศวกร DevOps ที่เข้าถึงระบบ 1 ใน 4 ราย ถูกแฮ็กเครื่องส่วนตัว ผ่านช่องโหว่ของโปรแกรมตัวหนึ่งที่ไม่ระบุชื่อ ทำให้เกิดความกังวลในแวดวงความปลอดภัยไซเบอร์ว่าเป็นช่องโหว่ที่รู้กันเฉพาะแฮ็กเกอร์หรือไม่ เพราะมันอาจถูกใช้ไปเจาะระบบอื่นๆ ต่อได้อีก
ตอนนี้มีเฉลยออกมาแล้วว่าโปรแกรมที่ทำให้โดนแฮ็กคือ Plex ซอฟต์แวร์ media server ชื่อดัง แต่กลับเป็นช่องโหว่เก่าที่ออกแพตช์ตั้งแต่ปี 2020 แล้ววิศวกรรายนี้ดันไม่ยอมอัพเดตเอง
Reddit ยอมรับว่าถูกแฮ็กระบบภายใน ผ่านบัญชีของพนักงานที่ถูก phishing แต่ยังไม่พบข้อมูลของผู้ใช้รั่วไหล
Reddit ค้นพบการแฮ็กครั้งนี้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2023 โดยแฮ็กเกอร์พยายามส่งลิงก์ที่หน้าตาเหมือนเว็บไซต์ภายในให้พนักงาน เพื่อหลอกเอารหัสผ่านและ token จาก 2FA ซึ่งประสบความสำเร็จ ผลที่ได้คือแฮ็กเกอร์เข้าถึงเอกสารภายใน ข้อมูลของพนักงานจำนวนหนึ่ง โค้ด และแดชบอร์ดข้อมูลธุรกิจ แต่เข้าไม่ถึงระบบโปรดักชันที่รัน Reddit รวมถึงข้อมูลของลูกค้า
หลังจากค้นพบการแฮ็ก ทีมความปลอดภัยได้สอบสวนและปรับปรุงระบบ แต่ก็ย้ำเตือนว่าจุดอ่อนที่สุดย่อมเป็นมนุษย์ดังเช่นในเคสนี้
Riot Games เผยรายละเอียดการถูกแฮ็กระบบ จนทำให้ซอร์สโค้ดของเกมดังอย่าง League of Legends, Teamfight Tactics และระบบป้องกันการโกง (ตัวเก่า) รั่วไหลออกไปสู่มือแฮ็กเกอร์
แฮ็กเกอร์ยังส่งอีเมลมาเรียกค่าไถ่แลกกับซอร์สโค้ดชุดนี้ ซึ่ง Riot Games ประกาศชัดว่าจะไม่จ่ายเงิน ด้วยเหตุผลว่าไม่มีข้อมูลผู้เล่นรั่วไหล ผลกระทบมีเพียงแค่กลุ่มผู้โกงเกมอาจสร้างระบบโกงที่ดีขึ้นจากการเห็นซอร์สโค้ดของเกม ซึ่งทีมงานฝั่ง anticheat จะเตรียมมาตรการต่างๆ ไว้รับมือ หากเจอการโกงแบบใหม่ๆ ก็พร้อมเข้าไปจัดการทันที
Riot Games ยังบอกว่าในซอร์สโค้ดที่หลุดออกไป อาจมีฟีเจอร์หรือโหมดเกมใหม่ๆ ที่ทดลองทำอยู่ และอาจไม่ถูกนำมาใช้จริงเสมอไป ดังนั้นหากแฟนๆ เห็นข่าวฟีเจอร์หลุดเหล่านี้ก็ไม่ควรคาดหวังว่าจะได้ใช้งานกัน
หลายวันมานี้มีข่าวพูดถึงเหยื่อถูกแฮกขโมยเงินจากบัญชีในโทรศัพท์มือถือ โดนหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีการโจมตีด้วยสายชาร์จ USB ที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายโดยเฉพาะ เช่น สาย O.MG ที่มีขายกันก่อนหน้านี้ แต่ในโลกความเป็นจริง การโจมตีด้วยสายเหล่านี้ทำได้ยาก มีต้นทุนที่สูง และหากมีการโจมตีจริงก็ควรจะพบตัวอย่างสายที่ใช้โจมตีบ้างแล้วเนื่องจากเหยื่อมีหลายคน
การใช้สาย USB เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีจริง โดยเฉพาะในยุคที่ผู้ใช้ส่วนมากใช้งานพีซีที่ต้องเชื่อมต่อคีย์บอร์ดและเมาส์ผ่านสาย USB หากแฮกเกอร์สามารถติดตั้งสายของตัวเองได้ ก็จะสามารถดักจับข้อมูลทุกอย่างที่ผู้ใช้พิมพ์ลงไปได้
CircleCI เปิดเผยรายละเอียดการถูกแฮ็กระบบในช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมา
CircleCI ระบุว่าตรวจพบความเคลื่อนไหวผิดปกติในช่องทางการล็อกอิน GitHub OAuth ของลูกค้ารายหนึ่ง จึงเริ่มตรวจสอบ และร่วมมือกับ GitHub สลับ OAuth token ของลูกค้าทั้งหมด
ชายนิรนามคนหนึ่งยื่นขอฟ้องแบบกลุ่ม (class action) กับ LastPass หลังข้อมูลหลุดขนานใหญ่ หลังชายผู้นี้ถูกแฮกบิตคอยน์มูลค่า 53,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 1.8 ล้านบาท โดยที่เก็บกุญแจบิตคอยน์ไว้ใน LastPass
ขายผู้นี้ใช้ LastPass มาตั้งแต่ปี 2016 แต่เพิ่งเริ่มซื้อบิตคอยน์เมื่อกลางปี 2022 ที่ผ่านมาโดยใช้ master password ยาวกว่า 12 ตัวอักษร และเมื่อได้ทราบข่าวก็ลบข้อมูลออกจาก LastPass แต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาก็ถูกขโมยบิตคอยน์อยู่ดี
Slack รายงานว่าช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาพบว่ามีการเข้าถึง repository บน GitHub อย่างผิดปกติ และเมื่อตรวจสอบก็พบว่าพนักงานบางคนถูกขโมยโทเค็นไป
บริษัทไม่ได้ระบุว่าโค้ดส่วนที่คนร้ายเข้าถึงนี้เป็นโค้ดอะไร แต่ระบุว่าโค้ดหลักไม่ได้รับผลกระทบ และส่วนที่ถูกดาวน์โหลดไปไม่มีข้อมูลลูกค้า และคนร้ายไม่ได้เข้าถึงส่วนสำคัญอย่างส่วนข้อมูลลูกค้าหรือระบบโปรดักชั่นอื่นๆ
รายงานของ Slack แสดงให้เห็นว่าบริษัทน่าจะยังไม่แน่ใจนักว่าต้นตอที่คนร้ายได้โทเค็นไปแต่แรกนั้นเป็นช่องทางไหน โดยระบุว่าการสอบสวนพบว่าไม่ได้มาจากช่องโหว่ของ Slack เอง
ที่มา - Slack
PyTorch เฟรมเวิร์คด้าน AI ยอดนิยม โดนแฮ็กระบบแพ็กเกจ (Python Package Index หรือ PyPI) ในช่วงวันคริสต์มาส 2022 ที่ผ่านมา และตัวไฟล์ไบนารีของ PyTorch ถูกฝังมัลแวร์แอบมาด้วย
ความโชคดีคือไบนารี PyTorch ที่ถูกฝังมีเฉพาะเวอร์ชันทดสอบรายวัน (nightly) ที่มีผู้ใช้งานไม่เยอะนัก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้แพ็กเกจ PyTorch-nightly ผ่านระบบแพ็กเกจ pip ของลินุกซ์ระหว่าง 25-30 ธันวาคม 2022 ควรถอนการติดตั้งและตรวจสอบระบบทันที
เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอัยการอัลบาเนียยื่นฟ้องผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ของรัฐบาล 5 ราย ฐานปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (abuse of post) จากการไม่อัพเดตแพตช์ระบบและอัพเดตตัวป้องกันไวรัส จนระบบของรัฐบาลถูกแฮก
ผู้ดูแลระบบทั้ง 5 รับผิดชอบระบบ SharePoint ของรัฐบาล แต่สุดท้ายระบบถูกแฮกด้วยช่องโหว่ CVE-2019-0604 จากนั้นคนร้ายเข้าไปยังระบบอื่นๆ ผ่านทางโปรโตคอลต่างๆ ทั้ง RDP, SMB, และ FTP การแฮกขยายวงไปมากจนกระทบระบบของรัฐบาลเป็นวงกว้าง คนร้ายเข้าถึงระบบอีเมลและ VPN จากนั้นดึงข้อมูลออกไป 3-20GB แล้วเข้ารหัสข้อมูลเรียกค่าไถ่ หรือบางเครื่องก็ถูกลบข้อมูลออก
Okta บริษัทการจัดการข้อมูลระบุตัวตน (identity management) ยอมรับว่าถูกแฮ็กเข้าระบบ GitHub ที่เก็บซอร์สโค้ดของบริษัท แต่ข้อมูลของลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบ
เหตุการณ์เกิดขึ้นช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ โดย GitHub เป็นฝ่ายตรวจพบการเข้าถึง repository ของ Okta และแจ้งเตือนไปยัง Okta โดยซอร์สโค้ดที่ถูกเข้าถึงคือ Okta Workforce Identity Cloud (WIC) ในขณะที่ซอฟต์แวร์ฝั่ง Auth0 ที่ Okta ซื้อกิจการมา ไม่ถูกเข้าถึง
Okta ไม่ได้เปิดเผยว่าถูกเข้าถึง GitHub ได้อย่างไร บอกแค่ว่าจัดการระบบความปลอดภัยของ GitHub ใหม่แล้ว และแจ้งเตือนลูกค้าให้ทราบถึงปัญหานี้ ส่วนบริการยืนยันตัวตนของ Okta ยังเปิดให้บริการตามปกติ
LastPass อัพเดตข้อมูลกรณีการโดนแฮ็กเมื่อเดือนสิงหาคม 2022 ที่ตอนแรกเชื่อว่าข้อมูลลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะแฮ็กเกอร์เข้าถึงเฉพาะซอร์สโค้ดของบริษัท
จากการตรวจสอบอย่างละเอียด LastPass ยอมรับว่าแฮ็กเกอร์เข้าถึงข้อมูลบางส่วนของลูกค้า (certain elements of our customers’ information) แต่ไม่ได้เข้าถึงข้อมูลรหัสผ่านของลูกค้าที่ถูกเข้ารหัสอีกที และตัว LastPass เองก็ไม่สามารถเข้าถึงได้
LastPass บอกว่าตอนนี้กำลังวิเคราะห์อยู่ว่ามีข้อมูลใดบ้างถูกเข้าถึงได้ และจะประกาศข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป
ดราม่า FTX ยังไม่จบลงง่ายๆ แม้ยื่นขอล้มละลายไปแล้ว ล่าสุด FTX รายงานปัญหาผ่านห้องแชทใน Telegram ว่าโดนแฮ็กที่แอพ FTX Wallet ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถโอนเงินคริปโตออกไปได้เป็นมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์ (บางแห่งก็บอก 400 ล้านดอลลาร์)
Dropbox เปิดเผยว่าถูกแฮ็กเข้าระบบจัดการซอร์สโค้ดภายใน (เป็น GitHub แบบบัญชีองค์กร) โดยแฮ็กเกอร์ใช้วิธี phishing หลอกเอาล็อกอิน สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดจำนวน 130 repositories และข้อมูลพนักงาน-คู่ค้าจำนวนหนึ่ง แต่เข้าไม่ถึงซอร์สโค้ดของแอพหลัก และข้อมูลทั้งหมดของลูกค้า
Dropbox บอกว่าได้รับแจ้งเตือนจาก GitHub ที่ตรวจพบความเคลื่อนไหวผิดปกติของบัญชีนักพัฒนา หลังสอบสวนแล้วพบว่าบัญชีถูกแฮ็ก โดยแฮ็กเกอร์ปลอมตัวเป็นอีเมลของระบบ CircleCI บริการ CI/CD ที่ Dropbox ใช้งาน หลอกเอา API key ของบัญชีพนักงานรายหนึ่งไปได้
นักวิจัยจาก University of Glasgow ทำการทดลองแฮครหัสผ่านโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์ภาพถ่ายความร้อนที่ที่ถ่ายคราบความร้อนที่หลงเหลือบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเดาได้ว่าผู้ใช้กดรหัสผ่านอะไรบนแป้นพิมพ์
พวกเขาพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์หารหัสผ่านจากภาพถ่ายความร้อนนี้โดยตั้งชื่อว่า ThermoSecure และเรียกการแฮครหัสผ่านด้วยวิธีการนี้ว่า "thermal attack"
การทดลองนี้ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนมาถ่ายภาพแป้นพิมพ์หลังเพิ่งผ่านการใช้งานใหม่ๆ ภาพถ่ายความร้อนที่ได้จะแสดงร่องรอยความร้อนที่ถูกถ่ายเทจากนิ้วมือของผู้ใช้ลงสู่พื้นผิวของแป้นพิมพ์ของมัน โดยบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงในภาพนั้นบ่งบอกถึงว่าปุ่มดังกล่าวบนแป้นพิมพ์ถูกนิ้วมือของผู้ใช้สัมผัสบ่อยครั้ง
Binance อัพเดตความคืบหน้าของเหตุการณ์การแฮ็ก Binance Smart Chain ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้
บริการเหรียญ BNB ของ Binance มีบล็อกเชนอยู่สองสายเชนคือ BNB Beacon Chain (BEP2) ที่มีเฉพาะเหรียญตัวเอง และ BNB Smart Chain (BEP20 หรือ BSC) ที่เข้ากันได้กับ Ethereum และใช้กับเหรียญอื่นได้ด้วย
บล็อกเชนทั้งสองสายเพิ่งประกาศรวมกันเมื่อต้นปีนี้ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า BNB Chain ในทางปฏิบัติแล้ว บล็อกเชนสองสายยังแยกกันทำงาน แต่มี bridge ที่คอยเชื่อมสองเชนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า BSC Token Hub และนี่คือจุดที่โดนแฮ็ก
แฮกเกอร์แฮก Binance Smart Chain (BSC) Token Hub บริการข้ามเชนระหว่าง BNB Beacon Chain และ Binance Smart Chain เอง ทำให้แฮกเกอร์ได้โทเค็น BNB ไป 2 ล้าน BNB รวมมูลค่าประมาณ 566 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 20,000 ล้านบาท
ทาง Binance หยุดการทำงานของ BSC ทันที ตอนนี้ validator ทั้งหมดไม่มีใครให้บริการยืนยันธุรกรรมแล้วทำให้คนร้ายไม่สามารถโอนเงินไปมาได้ แต่คาดว่ามีโทเค็นบางส่วนถูกโอนข้ามเชนไปก่อนแล้ว มูลค่าประมาณ 70-80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท และทาง Binance กำลังร่วมมือกับเชนต่างๆ เพื่อหยุดการโอนในเชนอื่นๆ อีกที
ที่มา - Bleeping Computer
เว็บข่าว The Desk รายงานว่าตำรวจลอนดอนจับวัยรุ่นอายุ 17 ปีรายหนึ่ง ที่ระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีแฮ็ก Rockstar จนเป็นเหตุให้คลิปของเกม GTA 6 ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา หลุดออกสู่สาธารณะ
เว็บไซต์ BBC รายงานข้อมูลจากตำรวจลอนดอนว่ามีการจับกุมวัยรุ่นรายนี้จริง แต่ตำรวจไม่เปิดเผยรายละเอียดของคดี
แหล่งข่าวของ The Desk บอกว่าวัยรุ่นรายนี้โดนคดีแฮ็กระบบคอมพิวเตอร์ 2 แห่ง ซึ่งอีกแห่งอาจเป็น Uber ที่โดนแฮ็กในช่วงไล่เลี่ยกัน
2K Games ประกาศแจ้งเตือนลูกค้าว่าพบการแฮ็กเข้ามายังระบบ help desk ของบริษัทภายนอกที่ 2K ใช้งาน (2K ไม่เปิดเผยชื่อ แต่จากภาพตัวอย่างคือ Zendesk) และพบการส่งข้อความ phishing ทางอีเมล หลอกให้ผู้ใช้กดลิงก์ประสงค์ร้าย
2K Games เตือนว่าหากพบอีเมลจากบัญชี 2K Games support ให้ไม่ต้องเปิดและคลิกลิงก์ใดๆ แต่หากกดไปแล้ว ก็ควรตรวจสอบรหัสผ่านของตัวเอง และพยายามเปิดใช้ระบบ MFA ของบัญชีต่างๆ เท่าที่ทำได้
ผู้ที่ได้รับอีเมลจาก 2K Support คือผู้ที่เคยเปิด ticket ผ่านระบบซัพพอร์ตของ 2K มาก่อน และอีเมลอยู่ในระบบของ 2K Support แม้เคยเปิด ticket มานานมากแล้วก็ตาม
Uber ออกรายงานชี้แจงการถูกแฮ็กครั้งใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จุดเริ่มต้นเกิดจากบัญชีพนักงานสัญญาจ้าง (Uber EXT) ถูกแฮ็กก่อน โดยคาดว่าแฮ็กเกอร์ใช้วิธีซื้อรหัสผ่านรั่วมาจากแหล่งใต้ดิน dark web อีกที
ระบบของ Uber มีการยืนยันตัวตน 2FA ช่วยป้องกันอยู่ แฮ็กเกอร์จึงพยายามล็อกอินอยู่หลายครั้ง และมีครั้งที่พนักงานรายนี้เผลอกดยืนยันการล็อกอิน (ของแฮ็กเกอร์) เลยเข้าระบบได้
จากนั้น แฮ็กเกอร์เข้าถึงบัญชีของพนักงานคนอื่นๆ ได้ และสุดท้ายได้สิทธิเข้า G-Suite กับ Slack และโพสต์ข้อความประกาศการแฮ็กใน Slack ของบริษัท
Kiwi Farms เว็บบอร์ดที่มีชื่อเรื่องรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อโจมตีบุคคลข้ามเพศ ตอนนี้โดนแฮ็กเรียบร้อย ถูกเข้าถึงข้อมูลอีเมล รหัสผ่าน และหมายเลขไอพี
Joshua Moon ผู้ก่อตั้ง Kiwi Farms บอกว่าบัญชีแอดมินบอร์ดของเขาโดนแฮ็ก ดังนั้นขอให้ผู้ใช้ทุกคนทำใจว่าข้อมูลข้างต้นทั้งหมดหลุดไปด้วย เขาขอให้ผู้ใช้อ่านวิธีป้องกันตัวจากเว็บไซต์ privacyguides.org แม้จะเกลียดเว็บนี้ก็ตาม
ตอนนี้ ระบบเว็บบอร์ดของ Kiwi Farms ถูกปิดไปชั่วคราว และจะเปิดระบบกลับมาโดยใช้แบ็คอัพของวันที่ 17 กันยายน